"มีชัย ฤชุพันธุ์"
โพสต์ข้อความตอบคำถามไขข้อสงสัย กรณีศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามมาตรา 68
แจงมีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
ให้ไปดูรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคห้า
วันนี้ (5 มิ.ย.) ในเว็ปไซต์มีชัยไทยแลนด์ดอทคอม (http://www.meechaithailand.com) ได้มีเข้ามาตั้งคำถาม โดยใช้นามว่านักศึกษานิติศาสตร์ ได้สอบถามนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 ว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง กรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อ เท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดัง กล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว ข้อความนี้อาจตีความได้ 2 นัยคือ
(1) ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิ "เสนอเรื่อง" ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ "ยื่นคำร้อง" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว หรือ
(2) ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด "ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
มี 7 คนเห็นตาม(1) และ 1 คนเห็นตาม(2) หากจะตีความตามหลักกฎหมายอย่างแท้จริง ควรจะตีความอย่างไรให้ถูกต้อง
ขณะที่ นายมีชัย ได้ตอบว่า เห็นสื่อรายงานว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วไม่ใช่หรือ ถ้าได้มีการวินิจฉัยแล้ว ก็คงต้องไปดูรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคห้า ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ.
Source : www.talkystory.com (Image)
by
pakornr
วันนี้ (5 มิ.ย.) ในเว็ปไซต์มีชัยไทยแลนด์ดอทคอม (http://www.meechaithailand.com) ได้มีเข้ามาตั้งคำถาม โดยใช้นามว่านักศึกษานิติศาสตร์ ได้สอบถามนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 ว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง กรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อ เท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดัง กล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว ข้อความนี้อาจตีความได้ 2 นัยคือ
(1) ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิ "เสนอเรื่อง" ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ "ยื่นคำร้อง" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว หรือ
(2) ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด "ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
มี 7 คนเห็นตาม(1) และ 1 คนเห็นตาม(2) หากจะตีความตามหลักกฎหมายอย่างแท้จริง ควรจะตีความอย่างไรให้ถูกต้อง
ขณะที่ นายมีชัย ได้ตอบว่า เห็นสื่อรายงานว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วไม่ใช่หรือ ถ้าได้มีการวินิจฉัยแล้ว ก็คงต้องไปดูรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคห้า ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ.
Source : www.talkystory.com (Image)