โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรพล พรหมิกบุตร
นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธิ
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การยื่นคำร้องของนักการเมืองฝ่ายค้านให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการลงมติวาระ
3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ขึ้นนั่งบัลลังก์ร่วมกันประชุมพิจารณารับเป็นคดีแล้วมี
หนังสือคำสั่งให้ประธานรัฐสภารอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไปในเดือน
กรกฎาคมนั้น
เป็นข้อเท็จจริงปรากฏที่ทำให้เกิดการโต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มข้น
และยังอาจเป็นชนวนสาเหตุสำคัญข้อหนึ่งให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายส่งแรงกระทบ
ต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางการเมืองของไทยในยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มีนาง
สาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ความรู้และการทำงานทางวิชาการเข้าช่วย
ป้องกันการลุกลามบานปลายของชนวนความขัดแย้งรุนแรงอันจะกระทบความมั่นคงดัง
กล่าว ผู้เขียนได้พิจารณาเหตุการณ์ บริบททางสังคมการเมือง
และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประชุมและคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ
ข้างต้นรวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว
มีข้อสรุปดังนี้ ;
1.
นักการ
เมืองฝ่ายค้านมีสิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 68
ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งระงับการกระทำที่อาจก่อให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหรือการกระทำที่เป็นการมุ่งให้ได้มาซึ่ง
อำนาจโดยมิใช่วิธีการตามรัฐธรรมนูญ
แต่ผู้ยื่นคำร้องต้องรับผิดชอบการกระทำของตนต่อไปหากพิสูจน์ได้ในที่สุดว่า
ไม่มีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและผู้ร้องควรรู้โดยข้อเท็จจริงมาแต่ต้น
แต่กลับจงใจเจตนาใส่ร้ายหรือทำให้เกิดการกระทบต่อความมั่นคงภายในราช
อาณาจักร
2.
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตราเดียวกัน (มาตรา 68) ในการรับคำร้องข้างต้นไว้เพื่อพิจารณาต่อไปภายในขอบเขตของกฎหมาย
ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติให้ผู้ยื่นคำร้องไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ
3.
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะนั่งบัลลังก์ประชุมพิจารณาและมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้เกี่ยวข้อง
(โดยเฉพาะผู้ถูกกล่าวหา) ก่อนที่จะมี “การตรวจสอบข้อเท็จจริง” จากอัยการสูงสุด
แจ้งมาให้ทราบเพื่อประกอบการประชุมพิจารณาว่าจะรับให้เป็นคดีในศาลรัฐ
ธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตาม
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช
2550 มาตราเดียวกัน (มาตรา 68)
ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่าให้ผู้ยื่นคำร้องต่อ “อัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและศาลรัฐธรรมนูญ”
เพื่อพิจารณาเรื่องที่ร้องเรียน
เจตนารมณ์ทางกฎหมายของมาตราดังกล่าวปรากฏชัดเจนว่าในกรณีที่มีผู้ร้องเรียน
ตามมาตรา
68 นี้
รัฐธรรมนูญมิได้ให้อำนาจสิทธิขาดเป็นเอกเทศแก่ศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณา
วินิจฉัยทางคดีได้โดยปราศจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุด
4.
ข้อ
เท็จจริงที่ปรากฏว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเข้าร่วมนั่งบัลลังก์ประชุม
พิจารณาแล้วมีคำสั่งทางราชการเกี่ยวข้องกับกรณีร้องเรียนดังกล่าวจึงเป็นข้อ
เท็จจริงที่แสดงว่า
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดดังกล่าวใช้อำนาจเหนือกว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68
ที่ระบุขอบเขตการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีเช่นนี้ไว้ชัดเจนว่าเป็น
อำนาจที่สามารถใช้ได้เมื่อมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุดประกอบ
ด้วย
[1]
5.
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวข้องประกอบกันทำให้เกิดภาวะทางกฎหมายเพิ่มเติม กล่าวคือ
ประชาชนทั้งประเทศที่เป็นผู้เสียหายทางอ้อมสามารถใช้สิทธิของตนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
(ตำรวจ) ให้ใช้อำนาจหน้าที่ของตนตามกระบวนการยุติธรรมในการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดดังกล่าว
ซึ่งกระทำการอุกอาจโดยใช้อำนาจเหนือกว่ารัฐธรรมนูญ และฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ [2]
ภาคผนวก
เพื่อการรักษาสิทธิของตนเองและการมีส่วนร่วมในการขจัดหรือลดปัญหาการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมอันก่อให้เกิดภาวะ
“ความยุติธรรมสองมาตรฐาน” เป็นภัยทางการเมืองที่มีความร้ายแรงบั่นทอนชีวิต ขวัญกำลังใจ
และจิตใจของประชาชนผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากในประเทศมาเป็นเวลายาวนาน
ผู้เขียนได้เดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เพื่อให้ดำเนินคดีอาญาต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดดังกล่าว
โดยมีข้อความในการแจ้งความร้องทุก๘กล่าวโทษ
ดังนี้ ;
“ข้าฯ
มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับประธานตุลาการศาลรัฐ
ธรรมนูญกับพวก
ซึ่งได้ร่วมกันประชุมพิจารณาเรื่องคำร้องขอให้ระงับการประชุมรัฐสภาที่จะลง
มติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 แล้วมีคำสั่งให้ประธานรัฐสภารอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
ข้าฯเห็นว่าการประชุมศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวอาจเป็นการละเมิดบทบัญญัติแห่ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 มาตรา 68 ที่ระบุว่า
ต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดด้วย
แต่ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจประชุมพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยไม่รอการตรวจสอบของ
อัยการสูงสุด
ซึ่งข้าฯเห็นว่าการกระทำของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นการปฏิบัติหรือ
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”
[1] หากจะกล่าวอย่างถึงที่สุดว่า
แม้แต่พระมหากษัตริย์ในการเมืองไทยปัจจุบันยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยทรงมีพระราชอำนาจอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายและรัฐธรรมนูญเท่านั้น
พสกนิกรไทยอาจกล่าวต่อไปได้ว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนั้นวางสถานะของตนเองสูงสุดบนบัลลังก์อย่างไร
วันที่ 5
มิถุนายน พ.ศ. 2555