การออกมากวนตีนไม่ยินดีต้อนรับรัฐบาลใหม่ของประธานหอการค้า การออกมาต้านค่าแรง300บาทของสภาอุตฯ หากรู้ว่าที่ไปที่มาของคนพวกนี้เป็นใคร ก็คงไม่ต้องแปลกใจอะไรต่อไป บางทีก็ต้องถาม"คนที่อยู่หลังม่าน"เรื่องนี้ให้บ้างว่า จะปล่อยให้เละเทะไปทุกวงการ ผลาญชาติบ้านเมืองไปอีกขนาดไหน จึงจะหนำใจของท่าน!?
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
13 กรกฎาคม 2554
ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ เท่าที่เปิดรายชื่อมารู้จักเพียงแค่ 2-3 คนเท่านั้น ที่เหลือเป็นใครก็ไม่รู้ อยากให้แต่งตั้งคนที่ฉลาด มาทำงาน และหวังให้เป็นคนดี-ดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,INN
นั่นเป็นท่าทีรับน้องใหม่แบบไม่เต็มใจรับกันเห็นๆของประธานหอการค้า อันต่างไปจากท่าทีต่อรัฐบาลก่อน ที่สภาหอการค้าร่วมกับภาคีสมาคมพ่อค้าที่เหลือทั้งแบกทั้งอุ้มอย่างเต็ม เหนี่ยว
กล่าวได้ว่านาทีพลิกผันที่ส่งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯแบบ"ปล้นมา"แลกกับความวิบัติของเศรษฐกิจบ้านเมือง ก็เนื่องจากสภาหอการค้าไทยนั่นเอง เป็นคนทั้งผลักทั้งดัน และออกมาเล่นบทห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่ชนะเสียงข้างมากได้เป็นรัฐบาลต่อไป หลังเหตุการณ์ยึดสนามบินจบลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 แล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างลุกลนยุบพรรคพลังประชาชนทิ้ง (อ่านเรื่องนี้ในลิ้งค์ข่าวนี้:ประธานสภาอุตฯสปอนเซอร์พธม. ประธานสภาหอฯคนสายวัง นำทีมสลายขั้วรัฐบาล หนุนมาร์คนายกฯหุ่นเชิด )
หอการค้าไทยยังคงอุ้มชูอภิสิทธิ์อย่างออกนอกหน้า ในเวลาต่อมา ที่สังคมต้องประหลาดใจมากก็คือการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้นโยบายคลั่งชาติ ประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับกัมพูชานั้นกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศซึ่งมีนับแสนล้านบาท แทนที่ประธานหอการค้าจะออกมาเรียกร้องสันติภาพจะได้ทำมาค้าขายกันต่อไป กลับออกมาสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า
และเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แทนที่จะแสดงความยินดีตามมารยาท ก็กลับออกมา"กวนตีน"ว่าให้หารัฐมนตรีที่ฉลาดๆมาหน่อย เพราะทีมเศรษฐกิจมีแต่พวกโนเนม(ทั้งที่มีบิ๊กเนมอย่างดร.โอฬาร ไชยประวัติ กับมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อยู่ในหัวแถวทีมเศรษฐกิจเพื่อไทยก็ตาม...)
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเมื่อต้นปี 2552 แบบ"ลึกลับ แต่รู้กันแซดในวงการพ่อค้าใหญ่ แต่ใครหละจะกล้าพูด"
ตามคิวและตามสัญญาสุภาพบุรุษแล้ว เมื่อนายประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าคนก่อนหมดวาระลง จะเป็นคิวของนายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าคนที่ 1 ขึ้นเป็นแทน แม้แต่นายประมณฑ์ก็กล่าวสนับสนุน(ดูข่าว คลิ้ก) จนมีการแจกประวัติ"ว่าที่ประธานหอการค้าคนใหม่"และเตรียมเลี้ยงฉลองยกใหญ่( ลิ้งค์ )
แต่แล้วพอใกล้วันเลือกประธานเข้าจริงๆ ก็เกิด"ข้อมูลใหม่"ขึ้นมา อันมีผลให้นายพงษ์ศักดิ์ต้องประกาศไม่ขอชิงตำแหน่งนี้ โดยอ้างเหตุผลอย่างกะทันหันว่า ต้องไปดูแลธุรกิจทอผ้าของตัวเอง เพราะเจอผลกระทบทางเศรษฐกิจ และขอให้รองประธานคนที่2คือดุสิต นนทะนาคร ขึ้นเป็นแทน...
ซึ่งคนในวงการบอกว่า เป็นเหตุผลที่ต้องประกาศไปทั้งน้ำตา และไม่มีใครเชื่อ แต่ก็ต้อง"ตามนั้น" เพราะนี่เป็นเหตุผลที่ฟังแล้วดูจะกล้อมแกล้มไปได้ที่สุดแล้วต่อสถานการณ์ พลิกผันครั้งใหญ่ของวงการหอการค้า
อะไรคือเหตุของการพลิกผัน และทำไมต้องเป็นดุสิต?
ดุสิต มีบทบาทก่อนหน้านั้น โดยออกมาพูดตอนม็อบพันธมิตรยึดสนามบินเมื่อปลายปี 2551 ว่า
"ไทย จะต้องยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อ ภาคธุรกิจจะมีปัญหาแน่นอน โดยมองว่า การที่รัฐบาลไม่สามารถยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ขณะที่สังคมไทยก็มีความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี ทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงควรที่จะประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองอื่น ๆ เข้ามาบริหารประเทศ อย่างไรก็ตาม หากนายกรัฐมนตรีไม่ลาออก ก็ควรที่จะประกาศยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่"
ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขปัญหาพันธมิตรยึดสนามบินด้วยการรีบร้อนสั่งยุบพรรคพลัง ประชาชน มีผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ธันวาคม
ตอนนั้นดุสิตซึ่งเป็นรองประธานสภาหอฯก็ออกมาเป็นตัว ตั้งตัวตีแถลงข่าวร่วมกับสภาอุตสาหกรรม กับสมาคมธนาคารไทยว่า พรรคพวกแม้วพอได้แล้ว เป็นนายกฯมา 2 คนแล้ว ทั้งสมัคร สุนทรเวช ทั้งสมชาย บ้านเมืองก็ชิบหายมากพอแล้ว ให้คนอื่นคือฝ่ายมาร์ค-ประชาธิปัตย์ลองเป็นมั่ง พวกพ่อค้าจะได้ทำมาหากินกันเป็นปกติสุข...
ต่อมาไม่นานก็เกิดม็อบเสื้อแดงชุมนุมใหญ่ไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ตอนสงกรานต์ ปี 2552 และเดือนมีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งหากเป็นไปตามมาตรฐานเดิม ดุสิตก็ควรต้องออกมาแถลงข่าวให้ท้ายม็อบ และไล่รัฐบาลออกเพราะคุมม็อบไม่อยู่บ้านเมืองวุ่นวาย พ่อค้าทำการค้าขายไม่ได้ แต่หนหลังนี้ดุสิตพูดอีกอย่างว่า
ภาคเอกชนเรียกร้องให้ผู้ที่ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาล ยุติการกระทำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนที่ผลกระทบจะส่งผลเสียหายไปมากกว่านี้ เอกชนได้พยายามร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศคลี่คลาย ส่วนรัฐบาลก็ได้ดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อทำให้บรรยากาศด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งความเชื่อมั่นของประเทศดีขึ้น บุคคลที่เป็นต้นเหตุของการบั่นทอน ควรจะใช้สติทบทวนและไตร่ตรองโดยรอบคอบ ต้องมองถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ มิใช่ประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง
เหลือแค่ดุสิตไม่พูดซะให้ตรงๆเหมือนสุเทพเทือกกับมาร์คว่า "ม็อบเสื้อแดงทำเพื่อทักษิณคนเดียว"...
ลูกหม้อเครือซิเมนต์ไทยผู้สืบมรดกต่อจากลูกหม้อซิเมนต์ไทยอีกราย
หลังพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ยอมกลืนเลือดสละการชิงเก้าอี้ประธานหอแล้ว ดุสิตก็หมดก้างฉลุยขึ้นเป็นประธานสภาหอการค้าคนใหม่ฉลุยในวันที่ 26 มีนาคม 2552
ดุสิตจบปริญญาโทจากอเมริกา เป็นลูกหม้อทำงานกับเครือซิเมนต์ไทยมาแต่ต้นจนเกษียณ เขาเป็นมือบริหารปูนใหญ่ในรุ่นเดียวกับชุมพล ณ ลำเลียง มีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของเครือซิเมนต์ไทยหลายบริษัท ตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาฝ่ายจัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)ขึ้นชื่อเรื่องเป็นมือการตลาดของซิเมนต์ไทย
เป็นเครือซิเมนต์ไทยอันมีสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ก่อนหน้าดุสิตนั้น ประธานหอการค้าไทยชื่อ ประมนต์ สุธีวงศ์ โดยเขามีโควต้ามาจากการเป็นประธานคณะกรรมการโตโยต้าประเทศไทย และเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นประธานโตโยต้า
เขาเก่งกล้าสามารถมาจากไหน? หากใครรู้จักบริษัทญี่ปุ่นดีก็จะพบว่าเขาใช้คนญี่ปุ่นเป็นประธานทั้งนั้น หรือไม่งั้นก็ต้องเรียนจบญี่ปุ่น แต่ประมนต์นี่จบตรี โทจากอเมกา...แล้วทำไมมาเป็นได้..
คำตอบคือพอดีว่าประมนต์มาจากเครือซิเมนต์ไทย
นายประมณฑ์เป็นลูกหม้ออยู่ที่เครือซิเมนต์ไทยมาแต่หนุ่มยันเกษียณในปี2542 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย..ปูนซิเมนต์ไทยที่มีสำนักงานทรัพย์สินฯถือหุ้นใหญ่นั่น เอง
เครือซิเมนต์ไทยถือหุ้นใหญ่ในโตโยต้าประเทศไทย 10% เช่นเดียวกับบริษัทจากต่างประเทศที่มาลงทุนในไทยโดยทั่วไปที่เครือสำนักงาน ทรัพย์สินฯจะได้รับเกียรติให้เข้าไปร่วมถือหุ้นด้วยในฐานะเจ้าบ้านที่ดี รวมทั้งกรณีของรถไถนาคูโบต้า รถไถนาเดินตามที่มียอดขายสูงสุดในเมืองไทย ก็มีทรัพย์สินเข้าไปถือหุ้น 10 %
เมื่อประมณฑ์หมดวาระลง แทนที่เก้าอี้ประธานหอการค้าจะตกเป็นของแคนดิเดตอันดับ1 กลับถูกผูกขาดจากคนที่เป็นลูกหม้อเครือทรัพย์สินฯ จากนั้นก็มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองสอดคล้องกับรัฐบาลอภิสิทธิ์และเครือ ข่ายอำมาตย์อย่างเป็นจังหวะจะโคน ก็ทำให้ข้อสงสัยต่างๆคลี่คลายลงว่า เพราะเหตุใดนายดุสิต นนทนาคร จึงเหมาะสมกับตำแหน่งประธานหอการค้า
ประธานสภาอุตฯก็คนปูนใหญ่ส่งมา ทำสภาแตกยับ
สำหรับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ออกมาต่อต้านนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ปัจจุบันมีนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล เป็นประธาน จากมติที่ประชุมกรรมการสภาอุตฯ เมื่อวันวันที่ 20 เมษายน 2553 แน่นอนว่าเขาเป็นลูกหม้อของปูนซิเมนต์ไทย
โดยทำงานในเครือซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ ปี 2518 - มกราคม 2553
การแข่งขันช่วงชิงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คนใหม่อย่างดุเดือด ผ่านมานานหลายเดือน กว่าจะมาจบที่นายพยุงศักดิ์ ตามโผ
ก่อนหน้าวันเลือกตั้งประธานสภาอุตฯ ทางกลุ่มคู่แข่งขันของนายพยุงศักดิ์ ถึงกับได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้ช่วยคุ้มครองการเลือกตั้ง โดยให้ระงับการเลือกตั้งออกไปก่อน เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความโปร่งใส แต่เป็นการจัดตั้งที่รู้ผลคะแนนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งศาลปกครองฯ ได้รับคำร้องแต่ยังไม่มีการพิจารณาออกมา ทำให้สามารถเดินหน้าเลือกตั้งต่อได้ แต่ในส่วนของคดีความหลักก็ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฯ
"การทำงานของผมใน สภาอุตฯตลอด 20 ปีนี้ ผมเห็นว่าแย่ลงทุกวัน ซึ่งผมต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขระบบการผูกขาด เพราะเห็นได้จากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มาว่า ฝ่ายที่แพ้การเลือกตั้งต้องถูกเฟดออกไปทั้งหมด ซึ่งก็มีบางคนที่ต้องย้ายไปอยู่สภาหอการค้าฯ แทน เพราะถึงอยู่ต่อก็ไม่มีเวทีให้เล่น" นายสุรพร สิมะกุลธร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธาน ส.อ.ท.กล่าว
บางทีก็ต้องถาม"คนที่อยู่หลังม่าน"เรื่องนี้ให้บ้างว่า จะปล่อยให้เละเทะไปทุกวงการ ผลาญชาติบ้านเมืองไปอีกขนาดไหน จึงจะหนำใจของท่าน.