ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 13 July 2011

วิวาทะประชาชนvsตัวตนประธานกรรมการสิทธิฯ

ที่มา Thai E-News

คำ ถามที่ย้อนกลับไปกระแทกตัวตนของศ.ดร.อมราได้ทันที คือ เมื่อไม่สามารถออกโรงแถลงปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่แกนนำนปช.และคน เสื้อแดง โดยการอธิบายว่า ไม่อาจดำเนินการในเรื่องที่ยังไม่มี “ความชัดเจน” แล้วเหตุใดจึงสามารถปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้นายวีระ สมความคิด ได้ในขณะที่ก็ระบุเองว่า ยังไม่มีความชัดเจนเช่นกัน

โดย รศ.ดร. วรพล พรหมิกบุตร

หมายเหตุผู้เขียน:ข้อเขียนชิ้นนี้ เขียนเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่เก็บไว้ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน เนื่องจากคาดการณ์ไว้ว่า คณะกรรมการสิทธิฯจะต้องนำเสนอผลสรุปคำแถลงบางอย่างเกี่ยวกับกรณีรัฐบาล อภิสิทธิ์สลายการชุมนุม นปช.

ผมเห็นว่าเวลาเหมาะสมแล้วที่จะนำออกเผยแพร่ให้สาธารณชนตื่นตัวตรวจสอบการทำ งานของ กก.สิทธิฯชุด ศ.ดร.อมรา ที่ไม่เข้าใจหลักการสิทธิมนุษยชนสากล

*******

จดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ:กรณีวิวาทะประชาชน vs ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ได้รับการสรรหาแต่งตั้งด้วยอำนาจตามขั้นตอนวิธีการในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ (รัฐธรรมนูญรัฐประหาร ๒๕๔๙) ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สืบต่อจากศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ซึ่งได้รับตำแหน่งจากการสรรหาแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐

บทบาทของศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ในฐานะนักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อต้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทย (นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) และรัฐบาลพรรคพลังประชาชน (นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช) แต่สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ (นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นที่รับรู้ทั้งในแวดวงการเมืองระดับลึก และในแวดวงสาธารณชนที่สนใจติดตามข่าวสารสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง

การวางท่าทีเกือบนิ่งเฉยต่อการที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์และกองทัพใช้ความรุนแรง สลายการชุมนุมและสังหารประชาชนจำนวนมากในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ๒๕๕๓ (โดยคำสั่งปฏิบัติการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) ทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและตัวประธานเองถูกตั้งข้อสังเกต วิพากษ์วิจารณ์ถึงความลำเอียง เลือกปฏิบัติ และเลือกข้างทางการเมือง

; การนิ่งเงียบเป็นเวลาหลายเดือนในปี ๒๕๕๓ (1)ต่อการที่แกนนำนปช.และประชาชนจำนวนมากที่ร่วมชุมนุมกับนปช.ถูกควบคุมตัว ในเรือนจำหลายแห่งโดยไม่มีการให้ประกันตัว (ขณะที่ผู้ต้องหาคดียึดสนามบินและทำเนียบรัฐบาลที่เป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตยได้รับการคุ้มครองสิทธิให้ประกันตัว) ทำให้ประธานและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัย

การตั้งข้อสงสัยยิ่งเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น เมื่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยออกโรงแถลงเป็นนัยเกี่ยว กับความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้คนไทยที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุม ตัวในข้อหาเดินทางล่วงล้ำเขตแดนกัมพูชาอย่างผิดกฎหมายในช่วงต้นปี ๒๕๕๔ (2) โดยแถลงเหตุผลว่า พื้นที่ดังกล่าวยังมีสถานะคลุมเครือและยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจน ระหว่างไทย-กัมพูชา

นอกจากจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องโดยสาธารณชนในกลุ่มคนเสื้อแดงและ นปช.แล้ว ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ยังถูกวิจารณ์โดยนักวิชาการจำนวนหนึ่งซึ่งต่อมามีการเขียน “จดหมายเปิดผนึก” โดย ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร นักมานุษยวิทยาจากคณะสังคมวิทยาและมานุษย วิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาสตราจารย์อมรา ในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยตรง

ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ตอบโต้จดหมายเปิดผนึกของ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร ด้วยการอธิบายซึ่งมีประเด็นสำคัญส่วนหนึ่งว่าการทำงานในฐานะประธานคณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของตนไม่สามารถจะมี “อิสระ” เหมือนขณะที่ทำงานเป็นนักวิชาการ เพราะการทำงานในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องรับฟังสิ่ง ต่าง ๆ จากบุคคลอื่นด้วย และจะต้องให้มี “ความชัดเจน” ในประเด็นที่เป็นปัญหาพิจารณาเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้

คำอธิบายจากศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ฟังดูสมเหตุสมผลหรือน่าเชื่อถือสนับสนุนได้ (ดูรายละเอียดจดหมายเปิดผนึกตอบโต้กันระหว่างบุคคลทั้งสองได้จากเว็บไซ ต์ต่าง ๆ ที่มีผู้นำไปเผยแพร่เป็นจำนวนมากแล้ว โดยข่าวสารตอบโต้กันกรณีนี้ไม่ได้ถูกทางการไทยสั่งปิดเหมือนกรณีอื่นเป็น จำนวนนับหมื่นรายการที่วิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง หลังรัฐประหาร ๒๕๔๙)

แต่คำอธิบายดังกล่าว อาจย้อนกลับไปทิ่มแทง “ภาพพจน์และตัวตน” ที่งดงาม ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. อมราเองอาจพยายามสร้างและปกป้องมาโดยตลอด (3) เนื่องจากการออกโรงแถลงปกป้องสิทธิมนุษยชนให้แก่นายวีระ สมความคิดและคณะบุคคลชาวไทยที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัวดำเนินคดีดังกล่าว แม้จะเป็นการแสดงท่าทีอันเหมาะสมของนักสิทธิมนุษยชนที่สามารถปกป้องสิทธิ มนุษยชนให้บุคคลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นนักโทษหรือยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาโดยที่ข้อเท็จ จริงที่เกี่ยวข้องยังคลุมเครือหรือยังไม่มี “ความชัดเจน” ว่ากระทำผิดจริงหรือไม่

แต่คำถามเรื่อง“ตัวตน”ที่ย้อนกลับไปกระแทกตนเอง (ตัวศาสตราจารย์ ดร. อมรา) ได้ทันที คือ ในกรณีก่อนหน้านี้เมื่อศาสตราจารย์ ดร. อมรา ไม่สามารถออกโรงแถลงปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่แกนนำนปช.และคนเสื้อ แดงที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำไทย โดยการอธิบายว่า ไม่อาจดำเนินการในขณะที่เรื่องยังไม่มี “ความชัดเจน” (ตามที่เขียนจดหมายเปิดผนึกตอบโต้ ดร. ยุกติ) แล้วเหตุใดศาสตราจารย์ ดร. อมราจึงสามารถออกโรงแถลงเป็นนัยปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้นายวีระ สมความคิดและพวกได้ในขณะที่ศาสตราจารย์ ดร. อมราเองระบุว่า เรื่องคดีนายวีระและพวกที่ถูกจับกุมโดยทางการกัมพูชานั้นยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งไปกว่านั้น การที่ศาสตราจารย์อมราอธิบายถึงภาวะการทำงานที่ไม่สามารถมีอิสระเหมือนขณะ ที่เป็นนักวิชาการ แต่ต้องรับฟังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนคนอื่น ๆ ในการตัดสินใจต่าง ๆ นั้น ก็ฟังดูเหมาะสมในหลักการและระเบียบวิธีปฏิบัติงานแบบองค์กรโดยทั่วไป แต่ในกรณีนี้คำอธิบายของศาสตราจารย์อมราเองกลับมีข้อบ่งชี้ร่องรอยว่าปัญหา ความลำเอียงเลือกปฏิบัติหากมีอยู่จริง ก็อาจไม่ใช่ปัญหาเฉพาะตัวของผู้เป็นประธานเพียงท่านเดียว แต่อาจเป็นปัญหาของคณะกรรมการโดยองค์รวมทั้งคณะร่วมกัน

วรพล พรหมิกบุตร

วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔


1 ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ แถลงให้สื่อมวลชนทราบและเผยแพร่คำเรียกร้องในทางคุ้มครองสิทธิการได้ รับประกันตัวชั่วคราวของแกนนำนปช.ในต้นปี ๒๕๕๔ โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตต่อมาว่าเป็นเพียง “การสร้างภาพพจน์” อีกเรื่องหนึ่งเท่านั้น

2 นายวีระ สมความคิด (แกนนำแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) และคณะบุคคลที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์รวมอยู่ด้วย

3 ดูคำอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติทางสังคมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องได้จากหนังสือ “The Presentation of Self in Everyday Life” ของ Goffman หรือจากตำราทฤษฎีสังคมวิทยาว่าด้วยสภาวะ “Dramaturgy” ในสังคมมนุษย์


*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง

-กรรมการสิทธิด้วยกันใจไม่ด้านพอ เบรกรายงานฉบับหมอชูชัย92ศพผิด-ฆาตกรถูก ไล่กลับไปเขียนใหม่

-แม่น้องเกดพ้อกรรมการสิทธิฯหูหนวกตาบอดไม่ได้ยินเสียงร่ำไห้ญาติคนเจ็บคนตาย

-จรัล ดิษฐาอภิชัย วิพากษ์รายงานอัปยศกรณีพฤษภาเลือดของกก.สิทธิฯ:ขัดหลักสากล-ไม่เป็นกลาง


หมายเหตุไทยอีนิวส์:ขอแนะนำให้อ่านรายงานที่องค์กรต่างๆสรุปเกี่ยว กับเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค.53ซึ่งจะพบว่ามีเพียงคณะกรรมการสิทธิฯที่หลุดโทนออก มาแบบเดี่ยวๆว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ทำถูก ผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายผิด

-รายงานAMNESTYปี2011:ไทยกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

-ฮิวแมนไรต์ว็อตช์:ความล้มเหลวในการเอาผิดเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลตอกย้ำปัญหาการปล่อยให้คนผิดลอยนวล

-คอป.สรุปชี้ชัดทหารฆ่าให้ลากขึ้นศาล DSIตกเป็นเครื่องมือมาร์ค-จี้ยุติขังลืมแดง-ค้านนิรโทษ