บทบรรณาธิการ
ในยุคที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศว่า จังหวัดใดก็ตามที่เลือกพรรคไทยรักไทย จะได้รับงบประมาณหรือโครงการพัฒนาก่อน
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ดังขึ้นว่าการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานเช่นนี้ จะก่อปัญหาให้กับสังคม
พลังและเหตุผลของการวิพากษ์วิจารณ์หนักแน่นเสียจนกระทั่งพ.ต.ท.ทักษิณต้องออกมาแก้ตัว ว่าไม่ได้มีเจตนาจะปฏิบัติเช่นนั้นจริง และต้องล้มเลิกแนวความคิดดังกล่าวไปในที่สุด
โดยหนึ่งในผู้ที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านพ.ต.ท.ทักษิณในขณะนั้น มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วย
แล้วเหตุใดนายอภิสิทธิ์จึงเดินซ้ำรอยพ.ต.ท.ทักษิณเสียเอง
เพราะนับแต่เสร็จสิ้นการชุมนุมของประชาชนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมเป็นต้นมา และมีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 90 ราย และบาดเจ็บกว่า 2,000 ราย
นอกจากไปเยี่ยมเยือนเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บแล้ว นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนแสดงความเห็นใจกับความสูญเสียของประชาชนเลย
ถ้าเกรงว่าการไปเยี่ยมเยือนแสดงความเห็นใจ จะทำให้น้ำหนักของคำประกาศว่าผู้ชุมนุมบางส่วนเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เจือจางลง
ก็ยังมีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากราย ที่พิสูจน์ทราบชัดเจนแล้วว่าเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์
เป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับการชุมนุม
ท่าทีเหมือนเมินเฉยหรือเลือกปฏิบัติ เมื่อเทียบกับภาพของความเอาใจใส่ในการให้ความสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับความสูญเสียด้านเศรษฐกิจการค้า ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อตัวนายกรัฐมนตรีเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะทำให้แนวทางการปรองดองที่เสนอขึ้นมา หมดหรือลดน้ำหนักและความน่าเชื่อถือลงไปในทันที
เพราะเพียงแต่มีน้ำจิตน้ำใจในการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมสังคมด้วยกัน ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ด้วยความตระหนักในคุณค่าความเป็นคนของผู้อื่นเท่ากับตนเอง
ไม่ต้องอาศัยแผนปรองดองใด ก็สามารถเรียกเอาหัวใจของผู้ได้รับน้ำใจจากตนเองมาได้
คำพูดไพเราะที่ไม่มีการปฏิบัติรองรับ ไม่เคยสร้างผลดีอะไรได้
ในยุคที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศว่า จังหวัดใดก็ตามที่เลือกพรรคไทยรักไทย จะได้รับงบประมาณหรือโครงการพัฒนาก่อน
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ดังขึ้นว่าการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานเช่นนี้ จะก่อปัญหาให้กับสังคม
พลังและเหตุผลของการวิพากษ์วิจารณ์หนักแน่นเสียจนกระทั่งพ.ต.ท.ทักษิณต้องออกมาแก้ตัว ว่าไม่ได้มีเจตนาจะปฏิบัติเช่นนั้นจริง และต้องล้มเลิกแนวความคิดดังกล่าวไปในที่สุด
โดยหนึ่งในผู้ที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านพ.ต.ท.ทักษิณในขณะนั้น มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วย
แล้วเหตุใดนายอภิสิทธิ์จึงเดินซ้ำรอยพ.ต.ท.ทักษิณเสียเอง
เพราะนับแต่เสร็จสิ้นการชุมนุมของประชาชนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมเป็นต้นมา และมีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 90 ราย และบาดเจ็บกว่า 2,000 ราย
นอกจากไปเยี่ยมเยือนเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บแล้ว นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนแสดงความเห็นใจกับความสูญเสียของประชาชนเลย
ถ้าเกรงว่าการไปเยี่ยมเยือนแสดงความเห็นใจ จะทำให้น้ำหนักของคำประกาศว่าผู้ชุมนุมบางส่วนเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เจือจางลง
ก็ยังมีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากราย ที่พิสูจน์ทราบชัดเจนแล้วว่าเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์
เป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับการชุมนุม
ท่าทีเหมือนเมินเฉยหรือเลือกปฏิบัติ เมื่อเทียบกับภาพของความเอาใจใส่ในการให้ความสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับความสูญเสียด้านเศรษฐกิจการค้า ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อตัวนายกรัฐมนตรีเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะทำให้แนวทางการปรองดองที่เสนอขึ้นมา หมดหรือลดน้ำหนักและความน่าเชื่อถือลงไปในทันที
เพราะเพียงแต่มีน้ำจิตน้ำใจในการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมสังคมด้วยกัน ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ด้วยความตระหนักในคุณค่าความเป็นคนของผู้อื่นเท่ากับตนเอง
ไม่ต้องอาศัยแผนปรองดองใด ก็สามารถเรียกเอาหัวใจของผู้ได้รับน้ำใจจากตนเองมาได้
คำพูดไพเราะที่ไม่มีการปฏิบัติรองรับ ไม่เคยสร้างผลดีอะไรได้