ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 8 July 2012

จุดยืน (๑) โดย จักรภพ เพ็ญแข

ที่มา Thai E-News



คอลัมน์ เขียนถึงคนรัก
ตอน จุดยืน (๑)
จาก Red Power ฉบับที่ ๒๖ (เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕)


มวลชนที่รัก


ก่อน จะเขียนจดหมายถึงมวลชนคนรักกันเป็นฉบับที่ ๒ นั้น ผมได้รับการติดต่อขอสัมภาษณ์จาก “คุณจอม เพชรประดับ” แห่ง Voice TV ในห้วงเวลาเดียวกับที่อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางเยือนนครเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อพบปะมวลชนจำนวนหลายหมื่นที่ข้ามชายแดนมารอพบท่านในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ไทยหรือในวันสงกรานต์ ผมตอบรับทันที เพราะ Voice TV เป็นสื่อที่ช่วยพัฒนาขบวนการประชาธิปไตยมาตลอดและตัวผู้สัมภาษณ์เองก็เป็น พี่น้องเพื่อนฝูงกันมานาน แต่เหตุการณ์หลังจากนั้นเป็นสิ่งที่ผมไม่คาดฝัน เพราะไม่นึกว่าจะเกิดขึ้นซ้ำอีก


การ บันทึกเทปสัมภาษณ์เป็นไปอย่างราบรื่น เวลาเป็นชั่วโมงๆ ผ่านไปโดยที่ผู้สัมภาษณ์และวิทยากรแทบจะไม่รู้ตัว ผมเองนึกนิยมอยู่ในใจว่า ทั้ง “คุณจอมฯ” และ Voice TV มีความกล้าหาญ เราต่างก็รู้กันว่าการเปิดช่องทางสื่อสารให้ผมขณะนี้ถือเป็นความเสี่ยง เสี่ยงอันตรายทั้งจากคนที่เห็นผู้ที่มีความคิดอย่างเราเป็นฝ่ายตรงกันข้าม และเสี่ยงความกดดันจาก “ฝ่ายเดียวกัน” ที่เขาเห็นว่าเราเป็นกระแส “เกินธง” ผมก็ได้แต่ขอบคุณที่ทีมสัมภาษณ์เขาเลือกมองการณ์ไกล ไม่ร้อนรนรอมชอมกับศัตรูของฝ่ายประชาธิปไตยจนฝ่ายตรงข้ามดูแคลน แต่ก็ไม่ลืมว่าทีมเดียวกันนี้เคยมาสัมภาษณ์ผม และถูกห้ามออกอากาศโดยผู้บริหารงานของทางสถานีเองมาแล้วครั้งหนึ่ง 


และ ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยอีกครั้ง เมื่อผู้บริหารระดับใดไม่ปรากฏของ Voice TV สั่งห้ามออกอากาศการสัมภาษณ์ครั้งล่าสุดนี้อีก คราวนี้ผมไม่ได้รับแจ้งโดยตรงจาก Voice TV แต่กลับทราบจากนักข่าวคนหนึ่งของเว็บไซต์ “ประชาไท” เนื่องจากมีผู้ส่งเทปสัมภาษณ์ดังกล่าวให้ “ประชาไท” พิจารณานำออกเผยแพร่แทน ผมเองไม่รู้จักผู้บริหารทั้ง Voice TV และเว็บประชาไทเป็นการส่วนตัว และไม่ได้สนใจจะสอบสวนอะไรในเรื่องนี้ ได้แต่นึกเอาเองว่า ยิ่งนานไปเรายิ่งเห็นความซับซ้อนของขบวนประชาธิปไตยในขณะนี้ คำว่า “เรา” และ “เขา” มีความหมายอันลี้ลับในตนเอง จนไม่อาจแยกพวกได้อย่างชัดเจนจนเกิดพลัง นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องมีความรอบคอบระมัดระวัง ไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันจนแยกไม่ออก และไม่ห่างเหินจนขาดความเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่งเป็นทักษะที่เรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นส่วนใหญ่ Voice TV ในวันนี้คือใคร จึงเป็นโจทย์ที่ไม่ต้องรีบตอบอะไรนัก


แทน ที่จะเขียนจดหมาย ผมจึงนึกถึงท่านผู้อ่านที่อาจจะไม่มีโอกาสเข้าเว็บไซต์ประชาไท และขอให้เขาช่วยนำบทสัมภาษณ์มาตีพิมพ์ในหน้ากระดาษนี้แทน ซึ่งอาจต้องใช้เนื้อที่ต่อกันถึงสามฉบับจึงจะหมดสิ้นพลความ ถือเป็นจดหมายรักอีกรูปแบบหนึ่งจากผมสู่ท่านผู้อ่านที่รัก....


Core Respondence จอม เพชรประดับ – จักรภพ เพ็ญแข


จอม หลังจากที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง คุณจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคดีหมิ่นสถาบันฯ ไปแล้วนั้นนะครับ หลังจากนี้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย บทบาทของคุณจักรภพ จะเป็นอย่างไร... 


หลังจากที่อัยการสั่งไม่ฟ้องแล้ว หลายคนก็คิดถึงและก็ถามว่าจะกลับประเทศไทยไหมครับ มีโอกาสไหมครับ


จักรภพ คิดถึงบ้านอยู่เสมอแหละครับ เพียงแต่อยู่ก็เพราะว่าการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยของเรายังไม่ถึงจุดที่เรา ปรารถนา คำว่าเราผมอาจจะพูดทึกทักไปหน่อย ผมหมายถึงตัวผมเองกับผู้ที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน เรื่องการสั่งไม่ฟ้อง ผมคิดว่าในแง่ความกล้าหาญที่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของ สนง.อัยการสูงสุดท่านแสดงออกมา ผมต้องแสดงความชื่นชมและแสดงความขอบคุณ แต่ขณะเดียวกัน มันก็เป็นการบอกว่าข้อกล่าวหาแบบนี้มันเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องมีมูล หรือมีเหตุให้ต้องเป็นคดีความ ผมก็เอาเรื่องนี้มานึกถึงคน ๒ กลุ่ม 


กลุ่ม แรกคือ เพื่อนร่วมทุกข์ ที่โดนคดีใกล้เคียงกัน อย่างคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข, คุณดา ตอร์ปิโด, อากง-อำพล ตั้งนพกุลหรือท่านอื่นๆ อีกมากมายหลายท่าน ว่าถ้าหากท่านเหล่านั้นก็ยังไม่ได้รับอิสรภาพหรือยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลาย อุโมงค์ ผมเองคงไม่สามารถดีใจในการพ้นเปลาะนี้ของตัวเองได้


และ คนกลุ่มที่ ๒ ที่ผมนึกถึงก็คือ คนไทยทั่วประเทศที่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ คือประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ และมาตรา ๘ ของรัฐธรรมนูญ ว่า สามารถที่จะทำให้ทุกคนมาอยู่ในสภาพเดียวกันกับผม และท่านที่ผมเอ่ยนามมานั้นได้ทุกเวลา เนื่องจากว่าเป็นกระบวนวิธีที่ค่อนข้างจะแปลก คือทุกคนสามารถเป็นผู้เสียหายได้หมด สามารถจะเดินเข้าไปแจ้งความกับเจ้าพนักงานสอบสวน แล้วเจ้าพนักงานสอบสวนก็สามารถจะรับเรื่องแล้วก็ดำเนินคดี และคดีก็สามารถจะไปได้เร็วหรือช้าตามใจท่านหรือตามคำสั่ง และจนสุดท้าย ก็ต้องไปลุ้นกันว่าแม้กระทั่งยังไม่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล มีสิทธิ์ที่จะได้รับประกันหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับการประกันก็ต้องติดคุก อย่าง คุณสุรชัย, คุณสมยศ, คุณดา, คุณอำพลหรืออากงที่เราเรียกกัน ทุกคนก็คือโดนชะตากรรมนี้หมด คือก่อนเข้าสู่การพิจารณาคดีก็ติดคุกหมด ตรงนี้ผมถือว่าเป็นการดำเนินคดีที่น่าจะมีปัญหา นี่แหละครับที่ผมนึกถึง 


เพราะ ฉะนั้นการพ้นเปลาะตรงนี้ไม่ค่อยดีใจเท่าไหร่ แต่ก็ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความยินดีเข้ามา เพราะท่านรัก แล้วก็เป็นห่วง เพราะฉะนั้นความปรารถนาดีระหว่างกันผมรับเต็มๆ และผมก็ชื่นใจที่มีคนเป็นห่วงเรา แต่ต้องกราบเรียนท่านด้วยความเคารพว่า ไม่ใช่ดัดจริต หรือพยายามจะพูดให้เป็นอื่น แต่เรื่องนี้มันยังไม่สามารถปลงใจได้ว่าปัญหามันสิ้นสุดยุติลง สำหรับโครงสร้างของสังคม มันอาจจะดีขึ้นขั้นหนึ่งสำหรับตัวผมเองก็ได้ 


จอม ครับ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ดำเนินการอยู่ ณ เวลานี้ เป้าหมายคืออะไรครับ แค่ไหน อย่างไร


จักรภพ คือ อย่างนี้ครับ วันนี้เราพยายามจะพูดถึงเรื่องกระบวนการปรองดอง พอหลังจากที่เราเกิดความขัดแย้งทางการเมือง มีการแบ่งสีแบ่งข้าง มีการพูดถึงเรื่องที่เราไม่เคยคิดว่าจะมาพูดกันด้วยเสียงดังๆ เราก็สะเทือนขวัญกันทั้งประเทศว่ามันจะพาประเทศไปสู่จุดไหน มันจะแตกสลายกันไปหมด เราก็นัดกันว่า เอาล่ะ จะมาขีดเส้นแล้วก็ปรองดองกัน แต่บังเอิญว่าการล้ำเส้นของช่วงที่ผ่านมา มันหนักไง มันถึงขั้นเอาอำนาจรัฐผ่านทางอาวุธสงคราม โดยฝีมือของกองทัพมาฆ่าประชาชนกลางถนน โดยที่ประชาชนเองนั้นก็ไม่ได้มีวี่แววหรือมีหลักฐานว่าจะเป็นผู้ที่เข้าข่าย เรื่องการก่อการร้าย หรือผู้ก่อความไม่สงบในทางที่ใช้อาวุธแต่อย่างใด 


อย่า ลืมว่าเหตุเกิดขึ้นที่ราชประสงค์ ไม่ได้เกิดขึ้นนอกฟ้าป่าหิมพานต์ที่ไหน แล้วก็มีสื่อมวลชนต่างประเทศ มีชาวต่างประเทศ และชาวไทยอีกมากจับตามองดูอยู่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป้าหมายในขณะนี้ก็คือ เราต้องรวบรวมความกล้าหาญทางจริยธรรมแล้วตั้งประเด็นปัญหาของบ้านเมืองให้ ได้ ว่าการปรองดองครั้งนี้ มันปรองดองแล้วจะนำไปสู่การพูดคุยเรื่องอะไรกัน พูดง่ายๆ ว่าคนไทยต้องมาสนทนาธรรมกันต่อจากปรองดองอีกนะ 


ปรองดอง พูดกันตรงๆ เถอะ มันก็คือภาวะที่ไม่มีทางเลือกใช่ไหม ต่างฝ่ายต่างต่อสู้กันมาจนเปลืองเลือดเปลืองเนื้อ เปลืองจิตเปลืองใจมามาก แล้ววันหนึ่งก็บอกว่าเอาล่ะ จับมือกันแล้วก็ถอยกัน มีเส้นขนานที่ ๓๘ ขึ้นมาเหมือนเกาหลี แล้วก็มายืนอยู่คนละข้าง แล้วหาทางให้กฎหมายมันตอบสนองความเป็นธรรม แต่คำถามก็คือว่า มันแก้ปัญหาในระยะยาวของประเทศได้หรือไม่


เพราะ ฉะนั้นเป้าหมายประชาธิปไตยตามที่คุณจอมถาม ผมคงต้องตอบว่า มันต้องเป็นปรองดองบวก คือเป็นปรองดอง plus กับการพูดคุยกันในเรื่องสำคัญอื่นๆ ในอนาคต จะบอกว่าปรองดองเป็นทางออกของสังคมไทยคงจะไม่ได้ แต่ถามว่าจะเป็นการแก้ปัญหาระยะเฉพาะหน้าตอนนี้ไหม ก็ลองดู มันอาจจะได้ผลก็ได้ ซึ่งมันก็ดีตรงที่ช่วยให้เราไม่ต้องมานั่งเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรง แต่ถ้าหากปรองดองกันแล้ว ตัดสินใจว่าจะเลิกคิดกันทั้งหมด แล้วปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามครรลองเดิม ผมก็คิดว่ามันก็รอให้วงจรอุบาทว์เวียนกลับมาอีกครั้งหนึ่งเท่านั้นเอง 


จอม ครับ ถ้าพูดถึงเรื่องการปรองดองโดยไม่ได้พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถที่จะปรองดองได้ไหมครับ 


จักรภพ ผม คิดว่าเราปรองดองได้เสมอแหละ แต่ถามว่าผลมันเบ็ดเสร็จสมบูรณ์หรือไม่ ผมขออนุญาตตอบว่า เราไม่สามารถจะพูดถึงอนาคตของประเทศไทยได้โดยไม่พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องเลิกเลี่ยงเรื่องนี้เสียทีนะครับ ถ้าหากว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ หรือมาตรา ๘ ของรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคในการพูดเรื่องนี้ ก็ไปแก้ตรงนั้นก่อน 


นี่ คือเหตุที่กลุ่มอย่างนิติราษฎร์, อย่างอาจารย์สมศักดิ์, อย่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, อย่างอีกหลายกลุ่มเรียกร้องว่าไปแก้ตรงนี้ เขาไม่ได้เรียกร้องให้แก้เพื่อจะไปทำร้ายหรือทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์นะ เขาเรียกร้องเพื่อจะให้พูดกันเรื่องนี้ได้ ไม่ใช่ว่าใครตั้งต้นพูดก็คดีมารออยู่แล้ว คุกมารออยู่แล้ว อย่างนี้วันไหนจะได้พูดอย่างสร้างสรรค์ แล้วถ้าหากไม่ได้พูดอย่างสร้างสรรค์แล้วเมื่อไหร่จะแก้ปัญหาได้ 


เหตุที่ผมพูดอย่างนี้ทั้งๆ ที่หลายคนบอกว่า คุณจะไปพูดอย่างนั้นได้ยังไง ในเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง 


จอม ใช่ครับ


จักรภพ อยู่ เหนือจริงไหมล่ะ? ถ้าหากว่ามีวิกฤติทางการเมืองขึ้นมา ทุกครั้งเกี่ยวข้องกับสถาบันทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาบันเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือคนอัญเชิญสถาบันเข้ามาแก้ปัญหา ตั้งแต่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖, พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ จนกระทั่งมาถึงล่าสุด แม้กระทั่งการที่มีการรัฐประหาร แล้วหัวหน้าคณะรัฐประหารเข้าไปกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ ให้ลงพระปรมาภิไธย ตั้งคณะบริหารราชการแผ่นดินต่อจากการรัฐประหาร นี่ก็คือการเมือง 


เพราะ ฉะนั้น เราอย่าเอาคำว่าสถาบันอยู่เหนือการเมืองมาเป็นเหตุให้เราไม่แก้ปัญหาที่ สำคัญที่สุดของบ้านเมือง แล้วเรื่องนี้แหละครับที่ผมคิดว่า การตัดสินใจของสถาบัน ผมพูดถึงสถาบันไม่ใช่องค์หรือบุคคลนะครับ เป็นการตัดสินใจที่อาจจะหมายถึงอนาคตของประเทศ คือทุกอย่างในโลกนี้มันมีครรลองของมัน ไม่มีอะไรที่มันตั้งอยู่ได้โดยที่ไม่มีปัจจัยแปรปรวนเข้ามามีผล บางทีเรายืนอยู่นิ่งๆ แต่ถ้าหากน้ำไหลมาที่พื้น ดินที่เรายืนอยู่มันก็เปลี่ยน เราก็ยืนไม่อยู่เหมือนกัน ฉันใดก็ฉันนั้น 


เพราะ ฉะนั้น ผมกำลังพูดว่า ถ้าสถาบันเป็นผู้เป่านกหวีดเองว่าเราจะนัดคุยกันยังไง ปัญหาที่ผ่านมาเป็นยังไง แล้วต่อไปจะเป็นยังไง นี่คือเรื่องที่ผมเชื่อว่าจะมีประโยชน์มาก ทุกประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ, ญี่ปุ่น, กัมพูชา, สวีเดน, นอรเวย์ และอื่นๆ อีกหลายประเทศ อีกเกือบ ๓๐ ประเทศ ล้วนแล้วแต่ผ่านวิกฤติเรื่องของสถาบันกับประชาชนมาแล้วทั้งนั้น 


พูดง่ายๆ ว่าเขาผ่านบทพิสูจน์ ว่าถ้าสถาบันกับประชาชนเกิดความ


เข้า ใจไม่ตรงกันจะปรับตัวกันได้ยังไง ถามว่าประชาชนต้องการสถาบัน ทั่วโลกมีไหม ก็ดูตัวอย่างประเทศเหล่านี้สิครับ นี่คือตัวอย่างเพราะเขาผ่านการเผชิญหน้ามาแล้ว และคนส่วนใหญ่ยังบอกว่าต้องการอยู่


อังกฤษ-ประชาชน วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์เต็มที่ เรียกว่าไม่มีบันยะบันยังกันเลย จนถึงขั้นหนึ่งต้องลงประชามติเกี่ยวกับสถาบัน ปรากฏว่าสถาบันชนะ คนรักมีมากกว่าคนไม่รัก สถาบันพระมหากษัตริย์ในอังกฤษก็อยู่มาได้อย่างมีเสถียรภาพ คือทั้งหมดมันก็อยู่ในสร้อยพระนามของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์นั่นแหละ คือ “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” อเนกคือมากมาย, นิกรคือประชาชน, สโมสรคือมารวมกัน, สมมติคือให้เป็น, “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” ก็คือประชาชนมารวมกันแล้วยกให้ท่านเป็น เพราะฉะนั้นถ้ามันเกิดปัญหาว่ามีคนไม่พอใจก็เรียกประชุมใหม่ สโมสรกันใหม่ อเนกนิกรจะได้มา แล้วจะสมมติอะไรต่อไปก็ว่ากัน 


เพราะ ฉะนั้นผมคิดว่าหลักไทยโบราณของเราก็สามารถใช้ได้ ผมเองเป็นคนที่บังเอิญส่วนตัวสนใจเรื่องของสถาบันมามากนะครับ คือสนใจเพราะชอบ ชอบว่าเป็นวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ มีความอลังการ มีความมลังเมลือง มีความละเมียดละไมทุกอย่าง สิ่งที่ดีที่สุดของชาติหลายอย่างอยู่ในสถาบันกษัตริย์ เช่น เรื่องช่างสิบหมู่ เรื่องการก่อสร้างพระราชวัง แม้กระทั่งพิธีอวมงคล อย่างพระราชพิธีถวายพระเพลิงยังสวยงาม


เพราะ ฉะนั้นมันมีของดีที่เราจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงระหว่างคนไทย ด้วยกันโดยผ่านสถาบันอีกมาก แต่วันนี้มันมีคำถามเดียวเท่านั้นเอง ว่าบทบาททางการเมืองจะทำอย่างไร ขออนุญาตพูดเป็นภาษาอังกฤษคำหนึ่ง เพราะไทยมันอาจจะแปลไปแล้วยวบยาบ คือต้อง depoliticized สถาบันพระมหากษัตริย์ คือเอาการเมืองออกไปจากสถาบัน นี่แหละคือวิธีการที่เราจะต้องเดินไป เพียงแต่ว่าด้วยความที่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นของสูงในวัฒนธรรมไทย แล้วก็มีกฎหมายห้ามไม่ให้พูดถึง แล้วก็เสี่ยงหมด แค่พูดถึงก็ไม่รู้แล้วจะอยู่จะไปนะ มันก็ทำให้เริ่มนับหนึ่งไม่ได้ พูดง่ายๆ ว่าทุกคนรู้โจทย์ แต่ทุกคนนับหนึ่งไม่ได้ อย่างนี้มันก็แก้ไขปัญหาไม่ได้


จอม ครับ แต่ทีนี้ถ้าจะให้สามารถนับหนึ่งได้ จะต้องเป็นสถาบันเองใช่ไหมครับ ที่เริ่มต้นให้ประชาชนนับหนึ่งในการที่จะพูดถึงได้ วิจารณ์ได้ 


จักรภพ ผม คิดว่าหลายเรื่องมันเป็นจิตวิทยา หลายเรื่องมันเป็นความรู้สึก อย่างเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามา ทั้งฝ่าย รสช. ซึ่งตัวแทนคือ พลเอกสุจินดา คราประยูร ทางฝ่ายผู้ประท้วงตอนนั้นคือ พลตรีจำลอง ศรีเมือง แล้วท่านก็เรียกประธานองคมนตรี คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งตอนนั้นรู้สึกเป็นแค่องคมนตรีด้วยซ้ำ เพราะอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านยังอยู่ แต่ก็เป็นบทบาทนำแล้ว เข้ามาเพื่อแก้ปัญหา 


คน ที่ไม่รู้อะไรเลยมองภาพนั้นภาพเดียวก็จะสรุปว่า ประเทศไทยมีลักษณะการเมืองการปกครองพิเศษที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยองค์พระมหากษัตริย์สามารถจะแก้ไขปัญหาที่คนอื่นเขาแก้ไขไม่ได้ ปัญหาที่นำไปสู่สงครามกลางเมือง คนต้องฆ่ากันตายเป็นพันๆ หมื่นๆ แสนๆ แต่เราแก้ไขด้วยวิธีนี้ คำถามก็คือ ภาพประทับใจในวันนั้น เมื่อปี ๓๕ มันมีความหมายยังไงใน พ.ศ.นี้ จู่ๆ เราจะลุกขึ้นมาบอกว่าบัดนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวแล้วหรือ แล้วปี ๓๕ คืออะไร 


เพราะ ฉะนั้นเราต้องสม่ำเสมอต่อเนื่องในความคิด ในเมื่อเรารู้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง แต่ขณะเดียวกันเราก็รู้ว่าในทางปฏิบัติแล้วต้องช่วยแก้ปัญหาทางการเมืองหรือ มีบทบาททางการเมือง ในตอนนี้ก็คือปัญหาการเมืองล้วนๆ เพราะฉะนั้นผมไม่เห็นเลยว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องได้ อย่างไร ส่วนว่ากระบวนการในการเข้ามาเกี่ยวข้องผมจึงเห็นด้วยกับกลุ่มนิติราษฎร์ที่ ว่า อย่างน้อยที่สุดต้องมีการปรับเปลี่ยนและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พูดอย่างนี้ไม่ใช่เพราะผมโดนคดีหมิ่นฯ แล้วจะหาทางให้ตัวเองพ้นทุกข์ ไม่ใช่ เพราะมันไม่มีผลย้อนหลัง แต่เราพูดถึงคนในอนาคตที่เขาจะลุกขึ้นมาพูดเรื่องนี้ 


อย่า ลืมนะครับว่าสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป รุ่นคุณจอม, รุ่นผม เราก็เรียกพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นเหมือนกับบิดาแห่งชาติ เป็นพ่อแห่งชาติ วันที่ ๕ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาก็เป็นวันพ่อ คนรุ่นลูกของคุณจอมหรือผมหรือหลานเรา โดยอายุแล้วก็มีฐานะถ้าจะนับไปแล้วเป็นหลานหรือเป็นเหลนแล้ว มันมีความห่างโดยธรรมชาติในอายุ ยิ่งจำเป็นจะต้องสร้างความเกี่ยวพันเกี่ยวข้องระหว่างสถาบันกับประชาชนมาก ขึ้น พูดในเชิงถ้าใช้ศัพท์การตลาดก็ต้อง rebranding จะต้องทำให้สิ่งที่เขารับรู้รับทราบมันเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันเขา


ปัญหา ของสถาบันหรือปัญหาเรื่องสถาบันไม่ใช่เรื่องความดีหรือความไม่ดี ปัญหาที่ควรห่วงก็คือ ในอนาคตยังมีความเกี่ยวพันกับชีวิตของคนแต่ละคนอยู่หรือเปล่า ชีวิตแต่ละวันของเขายังเกี่ยวข้องกับสถาบันอยู่ไหม ถ้าหากเขารู้สึกว่าไม่เกี่ยวข้องวันหนึ่งมันก็จะหมางเมินห่างกันไปเอง โดยไม่ต้องมีใครมาทำอะไรเลย จะมีกฎหมายป้องกันกี่ฉบับก็ป้องกันไม่ได้ ถ้าสายใยนั้นมันไม่มีเชื่อมโยง ผมกำลังพูดถึงสิ่งนี้ 


จอม ครับ เพราะฉะนั้นการที่จะสร้างให้สายใยเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันตลอดไปก็จะต้องเริ่มจากอะไร 


จักรภพ ผมคงจะไปเสนออย่างนั้นไม่ได้ เป็นเพียงว่าพูดว่าถ้าหากบุคคลในสถาบันท่านมีความประสงค์จะทำท่านทำได้ ผมขอพูดไว้แค่นี้แล้วกันครับ...


(ต่อฉบับหน้า) 
************************************************************************************
ข่าว สั้นผ่านมือถือ ข่าวการเมือง, คนเสื้อแดง, นิติราษฎร์, พรรคเพื่อไทย, กิจกรรมเพื่อปชต. ฯลฯ สมัคร เข้าเมนูเขียนข้อความ พิมพ์ PN กดส่งมาที่เบอร์ 4552146 สมัครวันนี้ ใช้ฟรี14วัน ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน