ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Friday, 13 July 2012

ศาล รธน.ชี้แก้ ม. 291 ไม่ล้มล้างการปกครอง แก้รายมาตราได้ แก้ทั้งฉบับ 'ควร' ทำประชามติ

ที่มา ประชาไท

 
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำตัดสิน การแก้มาตรา 291 ไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง แก้รัฐธรรมนูญรายมาตราได้ แต่ทั้งฉบับ 'ควร' ทำประชามติ
 
13 ก.ค. 55 - เวลา 14.45 น. ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัย 3 ประเด็น หนึ่ง วินิจฉัยว่ามีอำนาจพิจารณาหรือไม่ สอง แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ สาม การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการกระทำที่ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ จากนั้นจะวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวนำไปสู่การยุบพรรคการเองและเพิกถอน สิทธิหัวหน้าพรรคได้หรือไม่
 
ประเด็นที่ 1 เห็นว่า ม. 68 วรรคสอง ให้สิทธิผู้ทราบการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 68 วรรค 1 โดยให้สิทธิสองประการ คือหนึ่งให้เสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดตรวตสอบข้อเท็จจริงและประการที่สอง สามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยสั่งการได้อัยการสูงสุดมี หน้าที่ตรวจสอบแต่ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องโดยตรง โดยอ้างความเกี่ยวโยงกับมาตรา 69 สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยสันติวิธี ศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาและวินิจฉัยได้ตามมาตรา 68 วรรค 2
 
ประเด็นที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับทำได้หรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มาจาการลงประชามติ การแก้ไขโดยยกร่างแก้ไขทั้งฉบับก็ควรผ่านการลงประชามติ
 
ประเด็นที่ 3 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่
 
ศาลวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 มีเจตนาเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราเป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยให้อำนาจไว้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจากตัวรัฐธรรมนูญเอง
 
ร่างฯ ฉบับที่ .....จึงเป็นผลจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 291 มีที่มาจาก รัฐธรรมนูญจากปัจจุบันเอง 
 
การที่สภาร่างฯ ดังที่ผ่านวาระ 2 และกำลังจะผ่านวาระสาม ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่เห็นได้ว่ามีการกระทำที่เป็นการล้มล้าง และขั้นตอนการจัดทำก็ยังไม่เป็นรูปธรรม 
 
แต่หากต่อไปมีข้อเท็จจริงในการร่างฯ พบว่ามีการกระทำในลักษระที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็ยังสามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยได้
 
ผู้ถูกร้องทั้งหมดได้แสดงถึงเจตคติที่ตั้งมั่นว่าจะดำรงคงไว้ซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษํตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ เช่น พิจารณาเห็นว่าข้ออ้างของผู้ร้องไม่ชี้ให้เห็นว่าผู้ถูกร้อง
 
ข้ออ้างเป็นเพียงการคาดการณ์หรือเป็นความห่วงใยของสถาบันกษัตริย์ในการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงไม่พอฟังได้ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข
 
ศาลให้ยกคำร้องในส่วนนี้ เมื่อวินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นเหตุให้วินิจฉัยข้ออื่นอีก ยกคำร้องทั้งห้าคำร้อง