ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 21 May 2012

ยังไม่หายร้อน "ว่าด้วยบทกวีที่สำรากอย่างไร้รสนิยมฯ"

ที่มา Thai E-News


21 พฤษภาคม 2555
ที่มา จดหมายเปิดผนึกถึงบรรณาธิการฟ้าเดียวกัน: ว่าด้วยบทกวีที่สำรากอย่างไร้รสนิยมฯ
ความเดิม  วิวาทะร้อน:ว่าด้วยบทกวีที่สำรากอย่างไร้รสนิยม และ ปัญหาของกวี/ศิลปินรักชาติ



เรียน     บรรณาธิการฟ้าเดียวกัน
เรื่อง      ว่าด้วยบทกวีที่สำรากอย่างไร้รสนิยม และ ปัญหาของกวี/ศิลปินรักชาติ

จากการที่ท่านบรรณาธิการได้กรุณานำ “บทกลอน” – ส้นตีนแด่มหากวีผู้ยิ่งใหญ่ - ของผมไปตีพิมพ์ในวารสารฟ้าเดียวกันของท่าน และนำไปสู่วิวาทะในหลายหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนผมจึงต้องขออนุญาตชี้แจงท่าน ดังต่อไปนี้

๑. ผมได้เขียนบทกลอนชิ้นนี้ โดยมีหมายเหตุพ่วงท้ายเพื่ออธิบายความ โดยได้อ่านหมายเหตุก่อนอ่านบทกลอนในงาน “กลับสู่แสงสว่าง” ที่จัดโดยกลุ่มกวีราษฎร์ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคมที่ผ่านมา แต่หลงลืมมิได้นำตัวบทลงเขียนในบันทึกใน “เฟซบุ๊ค”  ของตัวเองเช่นเคย จึงขอนำลงในจดหมายฉบับนี้ด้วย ดังความในล้อมกรอบต่อไปนี้

 “หมายเหตุ
* ท่อนที่ว่า “มัวแต่อุดหูหัวอยู่ในห้อง” มาจากการพบเจอบทกวีและข้อความจำนวนมากที่มหากวีซี 8 ท่านหนึ่งเขียนด่าคนตายแล้วได้เจ็ดล้านเจ็ดในหน้ากระดานของตัวเองซึ่งจำกัด การมองเห็นแค่เพื่อนตัวที่มีอยู่พันกว่าคน โดยหลงลืมหรืออาจจะไร้สติไปว่าเพื่อนบางคนของเขาอาจจะแชร์แล้วตั้งค่า สาธารณะ เพียงแค่นั้นความมืดบอดของเขาก็ปรากฏสู่สายตาชาวโลก

เมื่อครั้งริแต่กลอน ไม่ใช่เพื่อจะเอาไปใช้จีบสาวแต่เห็นว่าการชมธรรมชาติอันสวยงามของโลกมนุษย์ นั้นใช้ร้อยแก้วรู้สึกไม่สมใจ และยึดติดในกมลสันดานมาตลอดว่าการเขียนบทกวีควรเขียนเรื่องสวยงาม ภาษาที่กลั่นเกลาอย่างสละสลวย คำศัพท์ที่ต้องแปลกลับไปมา และพยายามไม่เฉพาะเจาะจงในเรื่องอะไร โดยแสร้งบอกคนอ่านว่า “แล้วแต่ตีความ” เพื่อสร้าง “ความขลัง” ให้ตัวเองขึ้นมาสักนิดก็ยังดี

จนกระทั่งผมล้มที่รัชดาลัย จึงพบว่าบทกวีบางชิ้นที่รังสรรค์ขึ้นสำหรับอวยเทวดา นางฟ้า หรือผู้มีบุญญาธิการ ด้วยภาษาชั้นสูง ใช้ขนบของร้อยกรองที่สามัญชนธรรมดายากที่จะเลียนแบบ กลับกลั่นออกมาจากสมองของคนที่จิตใจมืดดำ ไร้ความเป็นมนุษย์ อาจจะเพราะผู้ประพันธ์มัวแต่อวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์จนตัวเองก็รู้สึกว่าสูงตาม สิ่งที่ตนยกยอไปด้วย จึงเห็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเป็นเพียงสัตว์ชั้นต่ำที่ต้องโบยตีหรือเข่นฆ่า ให้บรรลัย หากไม่ยอมศิโรราบหรืออยู่ในอาณัติ ซึ่งบทกวีแบบนั้นสำหรับผมแล้ว มันก็เป็นเพียงแค่ “ส้นตีนชนิดหนึ่ง”
 
ภาพ "ตีนร้าวระบม" ถ่ายโดย ด.ญ.พันมายด์ ผักไหม

ผมจึงเห็นว่าการเขียนบทกวีถึงคนเหล่านั้นจึงควรใช้ภาษาชั้นต่ำ หยาบคายเพื่อเปิดเปลือยให้เห็นความไร้หัวจิตหัวใจของคนที่ไม่ใช่คนอีกต่อไป เพราะเขาคือ “มหากวี” ที่ไม่สามารถอ่าน “ภาษาคน” รู้เรื่องอีกต่อไป

ผมร่างตัวบทส่วนใหญ่ตอนเย็นย่ำวันเด็กปีนี้ บนรถเมล์สาย 89 จากเจริญนครถึงตลิ่งชัน และนั่งนึกเรื่อยเปื่อยต่อบนรถเมล์สาย 127 โชคดีที่บ้านอยู่ไกลพอที่จะทะลุบางคำเมื่อรถถึงบางบัวทองแล้ว

อย่างที่บอก หลังจากล้มที่รัชดาลัยผมเลยนึกถึงส้นตีนอยู่บ่อยบ่อย ยิ่งเพื่อนรุ่นพี่บอกกล่าวว่าจะพาไปแดกตีนที่ “ฟ้าสูง” หลังงานนิติราษฎร์ด้วยแล้วผมยิ่งกระตือรือร้นเป็นพิเศษ

ขอขอบคุณสัตว์ชั้นสูงสมองเลอเลิศที่ขยันหาเรื่องราวให้ผมเสาะหาส้นตีนให้พวกมันแดกได้อยู่เรื่อยเรื่อย.

พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
คืนวันเด็กปี 2555”

๒. การที่ศิริวอน แก้วกาน กวีซีรอง กล่าวถึงบทกลอนของผมในหน้า เฟซบุ๊คของศิริวอนเองว่า
 
Siriworn Kaewkan: จากสเตตัสนี้ อาจารย์ต้นหรือใครก็ได้ ช่วยอธิบายปรากฏการณ์(ผ่านมรณกรรมของผู้ประพันธ์)ที่ ไพวรินทร์ ขาวงาม เขียนบทกวี "เจ็ดล้านเจ็ด" และนักกลอนที่ชื่อพันธ์ศํกดิ์ ศรีเทพ เขียนตอบโต้(แบบสำรากไร้รสนิยม)ในบท "ส้นตีนแด่มหากวีผู้ยิ่งใหญ่" ที่ฟ้าเดียวกันเล่มใหม่เอามาลงคู่กัน) ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมครับ-อิอิ อยากขอความรู้หลังสมัยใหม่บ้างน่ะครับ

ทำให้หลายคนเห็นว่า ความคิดเห็นดังกล่าวของศิริวอนเป็นการดูถูกและยกตนข่มผู้อื่นอย่างมาก แต่ผมกลับเห็นว่าความคิดเห็นของศิริวอนนั้นถูกต้องตามเจตนารมณ์ของผมดีอยู่ แล้ว ดังข้อความในล้อมกรอบที่ผมยกมาขีดเส้นใต้อีกครั้ง ดังนี้

จนกระทั่งผมล้มที่รัชดาลัย จึงพบว่าบทกวีบางชิ้นที่รังสรรค์ขึ้นสำหรับอวยเทวดา นางฟ้า หรือผู้มีบุญญาธิการ ด้วยภาษาชั้นสูง ใช้ขนบของร้อยกรองที่สามัญชนธรรมดายากที่จะเลียนแบบ กลับกลั่นออกมาจากสมองของคนที่จิตใจมืดดำ ไร้ความเป็นมนุษย์ อาจจะเพราะผู้ประพันธ์มัวแต่อวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์จนตัวเองก็รู้สึกว่าสูงตาม สิ่งที่ตนยกยอไปด้วย จึงเห็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเป็นเพียงสัตว์ชั้นต่ำที่ต้องโบยตีหรือเข่นฆ่า ให้บรรลัย หากไม่ยอมศิโรราบหรืออยู่ในอาณัติ ซึ่งบทกวีแบบนั้นสำหรับผมแล้ว มันก็เป็นเพียงแค่ “ส้นตีนชนิดหนึ่ง”

ผมจึงเห็นว่าการเขียนบทกวีถึงคนเหล่านั้นจึงควรใช้ภาษาชั้นต่ำ หยาบคายเพื่อเปิดเปลือยให้เห็นความไร้หัวจิตหัวใจของคนที่ไม่ใช่คนอีกต่อไป เพราะเขาคือ “มหากวี” ที่ไม่สามารถอ่าน “ภาษาคน” รู้เรื่องอีกต่อไป

ส่วนการที่หลายคนเห็นว่าศิริวอนมีนิสัยเสียดังกล่าว ผมก็ไม่เห็นว่าจะเป็นการเข้าใจผิดแต่อย่างใด เพราะแม้แต่เจ้าตัววิวาทะกับเพื่อนร่วมอาชีพ ก็ยังแสดงนิสัยเฉพาะตัวนั้นมาให้เห็น เช่น

Siriworn Kaewkan โอววววว แดงทั้งแผ่นดินจริงๆ จะบอกตรงนี้เลย ผมจะไม่ลดตัวคุยกับคุณ Fah อะไรนั่นแน่ๆ-อิอิ ผมไม่ชอบสูบบุหรี่แล้วมีควัน-อิอิ-เพราะคุณ Fah แกเขียนบทกวีมีสำนึกทางสังคมและชนชั้นมาตั้งแต่อยู่ "แผ่นดินหวาน"-อิอิ
April 5 at 12:51am · Like ·  1

Fah Na Ayudthaya ทำไมต้องไม่ลดตัวมาคุยกับฟ้าอะคะ อยู่สูงมากเหรอ
April 5 at 12:52am · Like ·  4

Siriworn Kaewkan ก็ไม่ลดตัวคุยแล้วไง-อิอิ
April 5 at 12:52am · Like ·  1

Fah Na Ayudthaya จริงๆ เราก็เคยชอบงานคุณศิริวรณ์นะคะ เคยพบกัยสมัยก่อน มันก็แค่คิดต่างกันในประเด็นบางอย่าง แปลกใจที่การมีความคิดเห็นต่างกัน มันต้องเป็นการลดตัว เลยเหรอ คุณวางตัวเองไว้สูงกว่าคนอื่นๆเสมอเหรอคะ
April 5 at 12:54am · Unlike ·  14

ดังนั้น การที่ผมกล่าวว่าแม้ข้อเขียนจะออกมาดีอย่างไร ก็เพียงแต่สำแดงทักษะที่ได้ฝึกฝนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเท่านั้น หาได้แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีทักษะในการใช้ชีวิต หรือมีความเป็นมนุษย์มากเพียงพอแต่อย่างใดไม่ แต่ที่ทำให้ผมตกใจมากกว่าคือแม้กระทั่งกวีซีไรท์ ระดับไพวรินทร์ ขาวงามยังกล้าขานรับคำของคนนิสัยอย่างศิริวอนไปใช้ด้วยคำกล่าวในวิวาทะกับ เกษียร เตชะพีระที่ว่า

ผมมิใช่คนฉลาดรอบรู้สูงส่งลึกล้ำหรอกครับ มิใช่อาจารย์ มิใช่นักวิชาการ มิใช่นักทฤษฎี มิใช่นักประวัติศาสตร์ แต่ผมก็เชื่อว่าตัวเองมีสามัญสำนึกในการรู้สึกนึกคิด กับเหตุการณ์ที่สัมผัสรับรู้ด้วยหัวใจ ไม่ต้องเสียเวลาน่าเศร้าน่าเสียดายอะไรกับผมหรอกครับ ถ้าจะกรุณาก็ลองไปอ่าน "ฟ้าเดียวกัน" ที่เขานำกลอนของผมไปเทียบเคียงกับคำสำรากไร้วัฒนธรรมนั้นบ้างเถอะครับ

ที่น่าขำ คือในขณะที่ไพวรินทร์ตอบเกษียรที่ดูเหมือนจะมีสถานะทางสังคม และ/หรือ อาชีพการงานสูงกว่า ฯลฯ ไพวรินทร์กลับออกตัวได้ “เยอะ” แต่ยังไม่วายแสดงความคิดเห็นเหยียดหยามผมที่มีสถานะทางสังคม และ/หรือ อาชีพการงานต่ำกว่าได้อย่างสบายใจในวรรคเดียวกัน (หากท่านบรรณาธิการลองเปลี่ยนข้อความนั้นเป็นคำของผมที่กล่าวกับไพวรินทร์ ผมว่าคงได้ความรู้สึกประหลาดประหลาดปนขำขื่นชอบกล)

ดังนั้น ความคิดเห็นของศิริวอน และอาการคล้อยตามของไพวรินทร์ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า ความรู้สึกว่าตัวเองสูงส่งและมีคุณค่าความเป็นมนุษย์มากกว่าคนอื่นอยู่แล้ว จนเมื่อมีคนที่ทำท่าว่าจะมีสถานะเหนือกว่าเมื่อนั้นทั้งสองจึงจะยอมเจียม อยู่บ้าง ซึ่งผมก็ไม่เห็นว่าแปลกอะไรเพราะเป็นขนบส่วนใหญ่ของคนไทยอยู่แล้ว

เพราะ ฉะนั้นการที่เพื่อนหลายคน(ในเฟซบุ๊ค)ต้องการคำอธิบายจากศิริวอนหรือไพวริ นทร์ว่าอะไรคือ “คำสำรากไร้วัฒนธรรม” หรือ “แบบสำรากไร้รสนิยม” ผมกลับเห็นว่าไม่มีความจำเป็นเพราะทั้งคู่ได้กรุณาแสดงตัวอย่างพฤติกรรมนั้น ให้ประจักษ์อยู่แล้ว

แต่เรื่องที่น่าประหลาดใจมากกว่าเห็นจะ เป็นการที่ผู้ที่ได้อ่านบทกวีของมหากวีซีไรท์แล้ว มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเนื้อหากันอย่างกว้างขวาง ส่วนเนื้อหาในบทกลอนของผมทั้งสองท่านกลับไม่หือไม่อือแต่อย่างใด เรื่องนี้ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะทั้งสองท่านนั้นเห็นว่าเนื้อหาผมถูกต้องตาม ที่แต่งไป จนไม่รู้จะแย้งอย่างไร หรือว่าทั้งสองท่านอ่านบทกลอนไม่แตกก็เป็นแน่ ตรงนี้เป็นเรื่องพ้นเกินสติปัญญาคนขับแท็กซี่อย่างผมที่ไม่อาจวินิจฉัยได้

ไม่ทราบท่านบรรณาธิการเคยได้ยินสำนวนไทยที่ว่า “นายว่าขี้ข้าพลอย” ไหมครับ แต่กรณีนี้ค่อนข้างจะผิดฝาผิดตัวสลับหัวหางกันเท่านั้นเอง


ด้วยความเคารพ

พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
บ้านบางบัวทอง
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ปล. คราวหน้าหากจะนำบทกลอนของผมไปตีพิมพ์อีก รบกวนจ่ายค่าต้นฉบับจะขอบพระคุณอย่างสูง