ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 18 February 2012

ความป่าเถื่อนของระบบศาลและคุกในประเทศไทย

ที่มา Thai E-News


17 กุมภาพันธ์ 2555
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


ระบบ ศาลและคุกในประเทศไทยเป็นระบบป่าเถื่อนที่ล้าหลังกว่ามาตรฐานสากลหลายร้อยปี และเป็นที่น่าอับอายขายหน้าชาวโลก แต่การที่ชนชั้นปกครองไทยไม่เคยสนใจที่จะสร้างวัฒนธรรมพลเมืองเสรี และไม่เคยเคารพความเป็นมนุษย์ของประชาชน เพราะมัวแต่มองว่าประชาชนเป็นเพียง “ราษฎร” ที่ควรจะเจียมตัวยอมรับการปกครองจากเบื้องบน ทำให้ชนชั้นปกครองไทยไร้จิตสำนึกโดยสิ้นเชิงในการพัฒนาระบบศาลและคุก

สำหรับ ฝ่ายประชาชนเอง ซึ่งเจ็บปวดกับสภาพสังคมในหลายด้าน ก็ถูกข่มขู่ ฆ่าหรือขัง เมื่อลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ พร้อมกันนั้น ในปัจจุบัน พรรคเพื่อไทย และแม้แต่แกนนำ “นปช. แดงทั้งแผ่นดิน” ก็ไม่เคยสนใจเรื่องระบบยุติธรรม และในกรณีพรรคเพื่อไทยมีการจงใจแช่แข็งความป่าเถื่อนผ่านการจับมือกับทหาร อีกด้วย

อย่างไรก็ตามการตื่นตัวของพลเมือง ทั้งเสื้อแดงบางส่วน และคนที่ไม่สังกัดสีอีกส่วน ภายใต้กระแสนิติราษฎร์ และการแก้ไขกฎหมาย 112 แสดงว่าพลเมืองไทยไม่น้อยพร้อมที่จะเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปสังคมอย่างจริงจัง ดังนั้นถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะมาร่วมกันพิจารณาปัญหาความป่าเถื่อนของ ระบบศาลและคุกในประเทศไทย เพราะสภาพความย่ำแย่ของระบบ “ยุติธรรม” และสภาพคุกในไทย ถูกเปิดโปงจากวิกฤตทางการเมือง


โดยรวมแล้วปัญหาของระบบศาลและคุกไทย สามารถแบ่งเป็นหัวข้อสำคัญๆ ดังนี้คือ

1. ผู้พิพากษาเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจในระบบเผด็จการมาตลอด และไม่สามารถถูกวิพากษ์วิจารณ์ และตรวจสอบโดยประชาชน ตามกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อการสร้างความโปร่งใสและความเป็นธรรม เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งผู้พิพากษาและการมองว่าเขาไม่ใช่เจ้า หน้าที่ที่ต้องได้รับการตรวจสอบจากสังคม มีการใช้ “กฎหมายหมิ่นศาล” ในลักษณะเดียวกับกฎหมาย 112 เพื่อบังคับกีดกันไม่ให้ใครวิจารณ์คำตัดสินของศาลและกระบวนการของศาล แต่ในหลักสากล “การหมิ่นศาล” มีความหมายต่างออกไปคือ คนที่ “หมิ่นศาล” เป็นเพียงคนที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเท่านั้น ส่วนใครจะวิจารณ์ผู้พิพากษา การตัดสินของศาล หรือกระบวนการของศาล ทุกคนทำได้อย่างเสรี ตามสิทธิในระบบประชาธิปไตย

นอกจากนี้ในระบบศาลไทย พลเมืองธรรมดาไม่มีส่วนร่วมเลย เพราะไม่มีระบบลูกขุนที่คัดเลือกจากประชาชนโดยไม่เลือกหน้า ระบบลูกขุนและการมีส่วนร่วมของพลเมือง มีความสำคัญในการคานอำนาจความอคติของผู้พิพากษา ลูกขุนมีสิทธิ์ตัดสินว่าผู้ต้องหาผิดหรือไม่ ส่วนผู้พิพากษามีหน้าที่ชี้แจงประเด็นกฎหมาย และลงโทษผู้ที่ถูกตัดสินว่ากระทำความผิด ระบบนี้เป็นระบบที่ขยายพื้นที่ประชาธิปไตยเข้าสู่ระบบศาล

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีนักโทษการเมือง ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย นักโทษการเมืองคือคนที่ติดคุกอันเนื่องมาจากการแสดงความเห็นทางการเมือง โดยที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด นี่คือบทพิสูจน์ว่าทั้งศาล คุก และกฏหมายไทย รับใช้ผู้มีอำนาจเผด็จการ

2. ผู้พิพากษา ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศาล ไร้ความเคารพต่อพลเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบศาลโดยสิ้นเชิง โดยมองว่าประชาชนเหล่านั้นเป็นคนชั้นต่ำที่ “ย่อมทำความผิด” ผู้พิพากษา ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศาล ไม่เคยมองว่าตนควรจะบริการรับใช้ประชาชนแต่อย่างใด

บ่อย ครั้งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะใช้ท่าทีเหยียดหยามดูหมิ่นประชาชน มีหลายกรณีที่ผู้พิพากษาไม่ยอมลงมาตัดสินคดีในห้องศาล ผู้ต้องหาจึงต้องคุยกับผู้พิพากษาผ่านโทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งเป็นการกีดกันระบบยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพในการชี้แจงข้อมูลให้ผู้ พิพากษาอย่างเต็มที่ ในกรณีอื่นผู้พิพากษาบังอาจใช้เสียงในการอ่านคำตัดสินคดีค่อยเกินไป จนผู้ต้องหาและประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะรับฟัง ซึ่งขัดกับกระบวนการยุติธรรมพื้นฐาน

มีหลายกรณีที่ผู้ต้องหาถูกขัง ไว้ในรถขังนักโทษกลางแดดหลายชั่วโมง มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ศาลจงใจกลั่นแกล้งผู้ที่จะมาประกันผู้ต้องหา เพื่อให้ “นักประกันธุรกิจ” ได้ประโยชน์จากความทุกข์ของประชาชน

ใน กรณีคดี 112 ประชาชนทั่วไปไม่สามารถร่วมพิจารณาคดีได้ และไม่สามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงของศาลได้ เพราะสื่อจะถูกห้ามไม่ให้รายงานรายละเอียดของคดีทุกครั้ง

3. ระบบศาลในไทย ไม่ปฏิบัติตามหลักพื้นฐานที่ถือว่าผู้ต้องหาทุกคนบริสุทธิ์ก่อนที่จะมีการ ตัดสินคดี ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ระบุไว้เป็นนามธรรมในรัฐธรรมนูญ ศาลไทยมอง “ผู้ต้องหา” ว่า “ผิดแต่แรก” โดยเฉพาะคดีการเมืองเช่น 112 ไม่มีการประกันตัว พร้อมกันนั้นมีการกีดกันไม่ให้คนจนในคดีธรรมดาสามารถได้รับการประกันตัว เพราะต้องหาหลักประกันสูงเกินไป สรุปแล้วผู้ที่ควรจะถูกมองว่าเป็น “ผู้บริสุทธิ์” ก่อนตัดสินคดี ถูกคุมขังเป็นเวลานานโดยไม่เป็นธรรม

การ ที่รัฐบาลไทยรักไทยในอดีตเคยสั่งให้เจ้าหน้าที่ฆ่าผู้ต้องสงสัยว่าค้ายาเสพ ติด ก่อนที่จะนำมาขึ้นศาล เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมหาศาล เพราะขัดกับหลักการณ์ที่ถือว่าผู้ต้องหาทุกคนบริสุทธิ์ก่อนที่จะมีการตัดสิน คดี

การที่ทหารและนักการเมืองสั่งฆ่าประชาชน โดยใช้ข้อแก้ตัวว่าเขาเป็นพวก “ล้มเจ้า” หรือ “ผู้ก่อการร้าย” โดยไม่มีการนำมาขึ้นศาลก่อน ถือว่าขัดกับหลักการณ์ที่ถือว่าผู้ต้องหาทุกคนบริสุทธิ์ก่อนที่จะมีการ ตัดสินคดี

นอกจากนี้มีปัญหาใหญ่ในเรื่องการล่ามโซ่และการบังคับใส่ชุดนักโทษ

4. การล่ามโซ่และบังคับให้ผู้ต้องหาที่อยู่ในขั้นตอนก่อนตัดสินคดี ต้องแต่งชุดนักโทษ เป็นการละเมิดมาตรฐานยุติธรรมพื้นฐาน เพราะคนเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การที่ผู้ต้องหาเหล่านี้ต้องเข้าไปในห้องศาลในสภาพแบบนั้น แทนที่จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของตนเองและปราศจากโซ่ เป็นการสร้างภาพในห้องศาลว่าคนนี้เป็น “ผู้ร้าย” ซึ่งแน่นอนจะมีผลต่อการตัดสินคดี นอกจากนี้การล่ามโซ่เป็นการปฏิบัติแบบป่าเถื่อน ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และทำให้ไทยล้าหลังประเทศอารยะทั้งหลายในโลก เพราะปฏิบัติต่อนักโทษเหมือนสมัย “ยุคกลาง”

5. ในระบบศาลและคุกไทย และในสังคมไทยโดยรวม ไม่มีการมองถึง “สิทธิมนุษยชน” ของนักโทษที่ได้รับการตัดสินคดีไปแล้ว แต่อย่างใด การปฏิบัติต่อนักโทษจึงขาดแง่ของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยสิ้น เชิง เรื่องนี้เป็นผลพวงของสังคมที่คลั่งลำดับชนชั้น โดยที่ผู้น้อยต้องคลานหรือก้มหัวเมื่อเข้าไปหาผู้ใหญ่ คนที่เป็นนักโทษอาจทำความผิดไปแล้ว ตามกฏหมายของสังคม แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ใช่มนุษย์ ทุกคนสามารถผิดพลาดได้ แต่สำหรับประชาชนตาดำๆ ธรรมดา การทำอะไรผิดกฏหมายกลายเป็นเงื่อนไขที่จะปฏิบัติต่อเขาเหมือนกับว่าเขาเป็น แค่สัตว์

6. สภาพคุกไทย แย่พอๆ กับสภาพกรงสัตว์ ไม่มีการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์แต่อย่างใด และเราจะสังเกตได้ว่าในทุกประเทศของโลก สภาพคุกเป็นเครื่องชี้วัดถึงความอารยะหรือความป่าเถื่อนของสังคม มันเป็นเรื่องน่าอับอายขายหน้าที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสังคมป่าเถื่อนของโลก มีการให้นักโทษติดโซ่นอนถึงสามสิบคนต่อห้องเดียว บางครั้งไม่มีเตียง สภาพห้องน้ำย่ำแย่ อาหารก็แย่ ไม่มีห้องสมุด ไม่มีวิธีการออกกำลังกายที่สร้างสรรค์ ไม่มีโอกาสที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง และเจ้าหน้าที่คุกก็เต็มไปด้วยพฤติกรรมคอร์รับชั่น นอกจากนี้สังคมไทยใช้นักโทษในการทำงานขุดโคลนออกจากท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นงานสกปรก อันตราย และขาดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

7. คุกไทยเต็มไปด้วยคนจน ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีคดีประเภท “ลักขโมย” หรือคดียาเสพติด สังคมไทยไม่มีการถกเถียงและพิจารณาว่ามีระบบคุกไว้ทำไม คือเพื่อแก้แข้น? เพื่อลงโทษ? หรือเพื่อปกป้องสังคมจากคนอันตราย? และไม่มีการพิจารณาความจริงเกี่ยวกับสาเหตุของการลักขโมย หรือสาเหตุของการใช้ยาเสพติด เพื่อหาทางแก้ไขแต่แรกโดยไม่ใช้ความรุนแรงป่าเถื่อน คำตอบของชนชั้นปกครองป่าเถื่อนของไทย สำหรับคนจนคือ ขัง ขัง ขัง ลงโทษ ลงโทษ ลงโทษ นี่คือวัฒนธรรมล้าหลังที่พวกอนุรักษ์นิยมต้องการปกป้องมากมายเหลือเกิน

โทษ ประหารเป็นการแก้แค้นเท่านั้น เพราะไม่มีผลในการลดอาชญากรรม ไม่มีผลในการส่งเสริมให้คนปรับตัว มันเป็นเพียงการใช้ความรุนแรงป่าเถื่อน และบ่อยครั้งคนที่ถูกรัฐฆ่า อาจเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ถูกตัดสินผิดด้วย

การ ลักขโมยมีต้นเหตุจากความยากจนในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ในไทยคนรวยรวยเท่าเศรษฐีสากล แต่คนจนจนเท่าประชาชนโลกที่สาม ไทยไม่มีรัฐสวัสดิการ ไม่มีการลดความเหลื่อมล้ำ และลัทธิเศรษฐกิจที่ชนชั้นปกครองมักใช้ จะเน้นกลไกตลาดแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” และการจงใจแช่แข็งความเหลื่อมล้ำผ่านการสั่งสอนให้คนจน “รู้จักออม”

ปัญหา ยาเสพติดถูกทำให้แย่มากขึ้นผ่านการปกปิดข้อมูลจริงเรื่องผลของการใช้ยา ซึ่งทำให้ประชาชนบริหารชีวิตยากขึ้น และสภาพการทำงานหลายต่อหลายชั่วโมง ก็มีส่วนในการส่งเสริมการใช้ยากระตุ้นต่างๆ อีกด้วย

คุกไทยมีนักโทษ มากเกินไป ควรลดจำนวนนักโทษให้เหลือแต่คนที่เป็นอันตรายสูงต่อเพื่อมนุษย์ในสังคมเท่า นั้น และไม่ควรมีนักโทษการเมืองแม้แต่คนเดียว

8. คนรวย คนที่มีเส้น นายพลระดับสูง นักการเมืองที่ใกล้ชิดกับทหารหรืออำมาตย์ ลูกชายนักการเมือง ฯลฯ ไม่เคยต้องรับโทษหรือถูกพิพากษาในระบบไทย คนที่ฆ่าประชาชนเป็นหมู่ เช่นแกนนำรัฐบาลประชาธิปัตย์ และผู้บังคับบัญชาทหารในปี ๒๕๕๓ และคนที่เคยก่อเหตุนองเลือดในอดีต มักลอยนวลเสมอ ดังนั้นเราต้องสรุปว่าระบบศาลและคุกไทยมีไว้ลงโทษ กลั่นแกล้ง และกดขี่คนชั้นล่างเท่านั้น เพื่อให้ถูกปกครอง และเพื่อไม่ให้มีประชาธิปไตยกับสิทธิเสรีภาพ ศาลและคุกไทยไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างความยุตธรรมแต่อย่างใด มีไว้เพื่อแช่แข็งระบบสองมาตรฐาน

ถ้าเราจะพูดถึงคดีการเมืองในไทย เราจะเห็นว่าการวิจารณ์ผู้มีอำนาจหรือสัญญลักษณ์ที่ทหารใช้ในการให้ความชอบ ธรรมกับตนเอง ทำให้ประชาชนติดคุกได้ แต่การทำลายระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขด้วยการทำรัฐประหาร เป็นเงื่อนไขในการได้ดิบได้ดีในสังคม

9. การลงโทษในระบบศาลไทย ไม่สมเหตุสมผล คดีฆ่าคน หรือทำร้ายคน จะได้รับโทษเบากว่าคดี 112 ซึ่งมาจากการแสดงความเห็นต่อระบบการเมือง โดยที่ผู้กระทำไม่เคยใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด อันนี้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ว่าศาลและคุกไทยมีไว้เพื่อแช่แข็งสอง มาตรฐานของชนชั้นปกครอง

ทั้งหมดนี้ฟ้องถึงความย่ำแย่ป่าเถื่อนของ ระบบศาลและคุกในประเทศไทย ถ้าเราจะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงให้สังคมเราเป็นสังคมอารยะตามมาตรฐานสากล เราต้องนำผู้มีอิทธิพลทั้งหลายที่เคยฆ่าประชาชนหรือทำรัฐประหาร มาลงโทษ เราต้องลดอำนาจมืดในระบบการเมืองและเพิ่มอำนาจประชาชน เราต้องปลดผู้พิพากษาที่ไม่มีจิตวิญญาณแห่งความยุติธรรมออกไป เราต้องแก้หรือยกเลิกกฏหมายต่างๆ ที่สนับสนุนเผด็จการและความป่าเถื่อน และเราต้องเริ่มสร้าง “วัฒนธรรมพลเมือง” ที่ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กับทุกคน แม้แต่นักโทษ

สังคม ไทยในรอบร้อยปีที่ผ่านมา ไม่เคยเคารพความเป็นพลเมืองของคนส่วนใหญ่ ไม่เคยเคารพสิทธิของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน และไม่เคยเคารพความเป็นมนุษย์ของนักโทษเลย

การ “ปรองดอง” ยอมจำนนต่ออำนาจทหาร ที่รัฐบาลทำอยู่ ไม่ใช่คำตอบ เพราะปัญหาจะยิ่งแย่ลง คำตอบคือเราควรร่วมกันสนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ และช่วยกันพัฒนาการปฏิรูปในขั้นตอนต่อไปจากนั้น