ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 18 February 2012

คณะนิติราษฎร์คือรถไฟขบวนสุดท้าย

ที่มา Thai E-News


17 กุมภาพันธ์ 2555
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

วิกฤต การเมืองไทยปัจจุบัน เริ่มเมื่อต้นปี 2549 ผ่านรัฐประหาร 19 กันยายน ได้ยืดเยื้อมากว่าห้าปี นี่เป็นการต่อสู้ระหว่างพลังสองฝ่ายที่ช่วงชิงกันว่า ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน ระหว่างเผด็จการในอดีต กับประชาธิปไตยในอนาคต

ความ ขัดแย้งได้คลี่คลายขยายตัวจากการต่อสู้ที่ไม่ใช้อาวุธ ไปสู่การใช้กำลังรุนแรงอย่างเปิดเผย และฝ่ายที่ลงมือกระทำก่อนก็คือ ฝ่ายเผด็จการ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการชักใยให้กลุ่มอันธพาลการเมือง “พันธมิตรประชาชนเพี่อประชาธิปไตย” ออกมาก่อการจลาจลบนท้องถนน บั่นทอนรัฐบาลไทยรักไทยที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 ตามด้วยการใช้องค์กรตุลาการในมือเชือดเฉือนรัฐบาลทีละน้อย ๆ แล้วลงมือเบ็ดเสร็จเด็ดขาดด้วย รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

การก่อตัว ของฝ่ายประชาธิปไตยเพื่อต่อต้านรัฐประหารได้เป็นไปอย่างช้า ๆ จากการชุมนุม เดินขบวน ปะทุเป็นการเข้าเผชิญหน้าโดยตรงกับระบอบเผด็จการแฝงเร้น ตั้งแต่การเสียสละชีพของ “ลุงนวมทอง ไพรวัลย์” นายณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสง ยกระดับขึ้นเป็น “สงกรานต์เลือด เมษายน 2552” ถึง “การสังหารหมู่ประชาชน เมษายน−พฤษภาคม 2553” รวมแล้ว เสียชีวิตนับร้อย บาดเจ็บหลายพันคน ทั้งหมดนี้ทำให้ “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการยึดอำนาจที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย”


แล้วความขัดแย้งใหญ่ครั้งนี้ จะคลี่คลายขยายตัวต่อไปอย่างไร?


เมื่อ ฝ่ายประชาธิปไตยก่อตัวขึ้นเป็นขบวนการคนเสื้อแดงอย่างชัดเจนในกลางปี 2551 จนถึง “สงกรานต์เลือด เมษายน 2552” ยุติลง โอกาสที่ความขัดแย้งนี้จะได้รับการแก้ไขโดยสันติยังมีอยู่ เนื่องจาก แม้จะถูกทำร้ายด้วยกำลังอาวุธเป็นครั้งแรก แต่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง ชาติ (นปช) ในเวลานั้นก็ยังหวังที่จะเห็นการประนีประนอมจากฝ่ายปกครองเผด็จการอยู่

ความ หวังนี้เองที่นำมาซึ่งการชุมนุมครั้งใหญ่ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 เรียกร้องให้ยุบสภาและมีการเลือกตั้ง โดยเชื่อว่า ระหว่างการเข่นฆ่าประชาชนกับการยอมยุบสภา ฝ่ายปกครองจะเลือกประการหลังและจะยอมรับผลการเลือกตั้งที่คาดว่า พรรคฝ่ายประชาธิปไตยจะได้ชัยชนะ เป็นการยุติความขัดแย้งทั้งมวลลงอย่างสันติ

แต่ การชุมนุมใหญ่เมษายน−พฤษภาคม 2553 ก็จบลงด้วยการปราบปรามประชาชนอย่างนองเลือดที่สุดเท่าที่เคยมีมา ความหวังของประชาชนที่จะบรรลุประชาธิปไตยโดยไม่ต้องแตกหักกับฝ่ายเผด็จการ แฝงเร้นก็เป็นอันสูญสิ้นไป ดูเหมือนว่า นับแต่นี้ ความขัดแย้งมีแต่จะขยายตัวไปสู่การนองเลือดอีก ไม่ช้าก็เร็ว

แม้แนว ร่วมพรรคเพื่อไทยกับขบวนการคนเสื้อแดงจะชนะเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 ฝ่ายประชาธิปไตยก็รู้ดีว่า นี่เป็นชัยชนะเฉพาะหน้า และคาดว่า จะต้องเผชิญกับการโต้กลับของฝ่ายเผด็จการอีก เช่นเดียวกับที่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนได้ถูกกระทำมาแล้วในช่วงปี 2551 ฝ่ายประชาชนจึงเฝ้ารอเตรียมพร้อมรับอย่างเต็มที่

แต่แล้ว ก็เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า คณะนิติราษฎร์ เสนอทางออกจากวิกฤตการเมืองปัจจุบันด้วยการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในกรอบรัฐธรรมนูญสามฉบับของคณะราษฎร นี่คือความปรารถนาดีของปัญญาชนนักวิชาการที่รักความเป็นธรรม ที่ไม่ต้องการให้มีการนองเลือดอีกต่อไปและให้บรรลุประชาธิปไตยอย่างสันติ

นี่ จึงเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับฝ่ายเผด็จการแฝงเร้นที่จะถอยออกไปโดยยังคงรักษา ที่ยืนในสังคมไทยไว้ได้ ท่าทีของฝ่ายเผด็จการต่อข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์จะเป็นตัวชี้ว่า วิกฤตการเมืองครั้งนี้ ประเทศไทยจะไปบรรลุประชาธิปไตยโดยมีเหตุการณ์เมษายน−พฤษภาคม 2553 เป็นการนองเลือดครั้งสุดท้าย หรือวิกฤตครั้งนี้จะยกระดับขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองที่นองเลือดก่อนจะบรรลุ ประชาธิปไตย ดังเช่นที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วในบรรดาประเทศอารยะ

แต่ การตอบโต้จากฝ่ายเผด็จการก็มิได้ผิดไปจากความคาดหมาย เพราะจาก 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันนี้ พวกเขาก็ยังคงเป็นพวกเผด็จอำนาจ ปฏิกิริยาถอยหลังเข้าคลองอย่างที่สุดเหมือนเดิม จึงไม่แปลกที่บรรดาเครือข่ายเผด็จการทั้งกลุ่มอันธพาลอดีตเสื้อเหลืองที่ แปลงเป็นเสื้อหลากสี สื่อมวลชนกระแสหลักส่วนใหญ่ ไปจนถึงกลุ่มนายทหาร พากันดาหน้าออกมาส่งเสียงคำราม โกรธเกรี้ยว ข่มขู่ แสดงอาการกระหายเลือดกันถ้วนหน้า


และที่น่าสมเพชที่สุดคือ พวกนักวิชาการและนักกฎหมายทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ที่มีจิตใจอิงแอบอยู่กับเผด็จการและเคยรับใช้รัฐประหาร 19 กันยายน ก็มิได้เสนอการถกเถียงอันมีสาระทางปัญญาหรือทางวิชาการอะไรเลย นอกไปจากการประสานเสียงกับกลุ่มข้างต้น โจมตีใส่ไคล้ ข่มขู่คุกคามคณะนิติราษฎร์อย่างกระหายเลือดไม่แตกต่างกัน พวกเขาบางคนถึงกับคร่ำครวญ ร่ำร้องเรียกหารัฐประหารกันอย่างไร้ยางอาย

แม้ แต่นักวิชาการที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ก็ยังใช้อำนาจในมือไปกดดันคณะนิติราษฎร์ กระทั่งส่อนัยว่า “อาจใช้มาตราการทางวินัย” ต่อคณะนิติราษฎร์ โดยลืมไปว่า ตำแหน่งบริหารนั้นเป็นของชั่วคราว แต่ที่เป็นสิ่งถาวรติดตัวไปจนวันตายนั้นคือ ความเป็นนักวิชาการและความเป็นนักกฎหมายที่จะต้องซื่อตรงต่อหลักการและ วิชาชีพของตน


แทนที่จะเห็นข้อ เสนอของคณะนิติราษฎร์เป็นความหวังดีและทางออกสุดท้ายเพื่อหลีกเลี่ยงการนอง เลือดครั้งใหม่ ฝ่ายเผด็จการกลับพยายามฉวยใช้เป็นข้ออ้าง สร้าง “กระแสคลั่งเจ้า” ในหมู่ประชาชน ปลุกปั่นความเกลียดชังต่อคณะนิติราษฎร์อย่างสุดขั้ว สร้าง “6 ตุลา 2519” ขึ้นมาอีก เพื่อเป็นข้ออ้างนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กระทั่งก่อรัฐประหารเพื่อปราบปรามประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยอีกครั้ง


บาง ที ปรากฏการณ์ “คณะนิติราษฎร์” จะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า กลุ่มเผด็จการไทยก็มิได้แตกต่างไปจากพวกเผด็จการทั้งหลายในอดีตทั่วโลก คือล้วนดื้อดึงในอำนาจของตนไปจนถึงที่สุด โดยไม่ยี่หระว่า ฝ่ายประชาชนจะต้องสูญเสียล้มตายไปสักเพียงใด

สำหรับใครบางคนที่เชื่อ อย่างผิด ๆ ว่า รัฐประหารและการใช้กำลังปราบปรามประชาชนในขอบเขตที่ใหญ่โตยิ่งกว่ากรณี เมษายน−พฤษภาคม 2553 จะเป็นการ “แก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ” ก็จงพินิจดูเหตุการณ์ในตะวันออกกลางที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เป็นเครื่องเตือนใจ