ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Thursday, 26 January 2012

จาก FB ชมรม"คนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทย

ที่มา thaifreenews

โดย แม่ปังคุง

"ชมรม"คนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทย

ด่วน !!!!!! ด่วนมากๆ เพื่อนๆ ช่วยกันทำเพื่อพ่อหลวงของเรา ก่อนจะสายเกินไปนะครับ..
...ตอนนี้คุณหมอตุลย์ได้รายชื่อคัดค้านการแก้ ม.112 แค่ประมาณ 2 พันชื่อเองครับ ซึ่งเราต้องการทั้งหมด 5 หมื่นรายชื่อ
** สำหรับคนที่ไปร่วมลงชื่อด้วยตัวเองไม่ได้ ให้ทำดังนี้คครับ...ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม กรอกชื่อและแนบสำเนาบัตรประชาชน ขีดคร่อมว่า “ใช้ในการร่วมคัดค้านการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย 112 เท่านั้น”.. แล้วส่งไปตามที่อยู่ในแบบฟอร์มด่วนด้วยนะครับ ... การคัดค้านแก้/ยกเลิก ม. 112 สำคัญกว่า พรฎ.คัดค้านการอภัยโทษทักษิณมากมายนัก เพราะถ้าผ่านมติรัฐสภา...ล้มเจ้าได้แน่ครับ ด่วน ๆๆๆ !!!!!!!!!!!! นะครับเพื่อน ๆ

(ส่งด่วน !!!! หมดเขตวันที่ 31 ม.ค. ส่งไปที่ ตู้ปณ. 60 ปท.รองเมือง กท. 10330 ส่งทางจดหมายดีที่สุดนะคะถ้าไปร่วมชุมนุมไม่ได้) อย่าบอกรักในหลวงกันแต่ลมปาก ช่วย ๆ กันหน่อยนะครับ พี่น้องคนไทยทุกคน...
— กับ Bank Piyapong, Tree' Chan, Sirikwan Khanurai, Jarussri Jomritchai, King Mivecturbo, อิ๋ว หระรี, Kenji Momotaro, Skybike Phattarakorn, Turkz Evolution, Jang Dixcy, สำเริง นุ่มนวล, Kantapatch Pum, ปิดทองหลังพระ ปกป้องสถาบันและ Runglawan Inchan

ถูกใจ · · แชร์ · 20 มกราคม


(แอด มินเพจนี้เป็นไส้เดือนแหงๆ มี 2 เพศ เดี๋ยวครับ เดี๋ยวค่ะ ในประโยคเดียวกัน ..ขนาดเรื่องเพศตัวมันเอง มันยังไม่เข้าใจ ดังนั้น ดิฉันไม่แปลกใจเลยว่าทำไมมันไม่เข้าใจข้อเสนอของนิติราษฎร์ เพราะมันเข้าใจยากกว่าตั้งเยอะ หุหุ)





http://www.facebook.com/photo.php?fbid=305801342804003&set=a.228018310582307.76301.226268960757242&type=1&theater

Re:

โดย แม่ปังคุง

สลิ่มดิ้นพล่าน ..งานนี้ตีโดนจุดจริงๆ



สมศักดิ์ จันทร์เรือง

"กนก" ถามฝ่ายหนุนแก้ ม.112 "พ่อแม่สั่งสอนหรือเปล่า?" "สนพ.ปราบดา-นักวิชาการ" โต้ทันควัน
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 22:53:54 น.


เมื่อ วันที่ 25 ม.ค. เว็บไซต์ข่าวประชาไท รายงานว่า นายกนก รัตน์วงศ์สกุล ผู้ประกาศข่าวเครือเนชั่น ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก "Kanok Ratwongsakul" วิจารณ์กลุ่มที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า

"ทุกๆ 10 นาที จะมีคนโพสต์ต่อต้านกลุ่มที่จะขอแก้มาตรา 112 ลงที่เฟซบุ๊กนี้ ผมก็ตามอ่านตลอด บางคนลงรูปของอาจารย์นิติฯ ธรรมศาสตร์ ที่เป็นหัวหอกแก้มาตรานี้ ซึ่งผมจะลบออกทุกครั้ง เพราะไม่อยากเห็นหน้าคนกลุ่มนี้บนเฟซบุ๊กผม ถ้าพวกนี้อายุ 30 – 40 กว่าปี ตามที่เสธ.หนั่นไล่ให้ไปอ่านประวัติศาสตร์ ผมสงสัยว่า พ่อแม่เขายังอยู่หรือเปล่า รุ่นพ่อรุ่นแม่น่าจะทันได้เห็น ′ในหลวง′ ทรงงานมาตลอด ถ้าลูกไม่ใส่ใจในความเป็นกษัตริย์นักพัฒนา มัวแต่ดื้อด้านจะแก้กฎหมายท่าเดียว แล้วพ่อแม่พวกนี้ทำอะไรอยู่..ไม่ห้ามปรามเลยหรือ? หรือวายชนม์ไปหมดแล้ว? ผมขอโทษนะครับ อย่าหาว่าผมก้าวล่วง แต่อยากถามคนกลุ่มนี้จริงๆว่า พ่อแม่คุณอบรมสั่งสอนหรือเปล่า?"

ขณะที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำข่าวดังกล่าวมาแปะไว้บนหน้าเฟซบุ๊กของตนเอง พร้อมแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า

"นั่น น่ะสิครับ ผมก็แปลกใจอยู่ เพราะปกติพ่อแม่เขาก็จะสั่งสอนว่ามีอะไรก็พูดกับเขาเถียงกับเขาดีๆ ด้วยเหตุด้วยผลนะลูก ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ไปลำเลิกพ่อแม่เขา แบบนั้นมันอันธพาลนะลูก... ยังไงก็ฝากรำลึกถึงคุณพ่อคุณแม่ของคุณกนกด้วยนะครับ"



นอกจากนั้น เฟซบุ๊กสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น (TyphoonBooks Thailand) ของนายปราบดา หยุ่น นัก เขียนรางวัลซีไรต์ และหนึ่งในปัญญาชน 112 รายแรก ผู้ร่วมลงนามเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ รวมทั้งเป็นบุตรชายนายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น ได้โพสต์ข้อความว่า

"ปกติ ไม่ชอบพูดเรื่องส่วนตัวเลย แต่บางข่าววันนี้ทำให้อยากบอกว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นคนโชคดีมากๆ คือการมีพ่อกับแม่ที่มอบสิ่งมีค่าที่สุดกับเรามาตลอด นั่นคืออิสระทางความคิดและการใช้ชีวิต สำหรับเรา ความหมายของการอบรมสั่งสอนลูกที่ดีคือแบบนี้ ไม่ใช่แบบที่อบรมให้ไหม้เกรียมไปด้วยการบังคับ และสั่งสอนให้ตกเป็นทาสของขนบงมงาย"



เผยชื่อผู้รณรงค์แก้ไขม.112


เผย ชื่อผู้รณรงค์ให้แก้ไขมาตรา 112 "นักวิชาการ - นักคิด - นักเขียน" เพียบ เตรียมใช้เวลา 112 วัน ล่ารายชื่อก่อนเสนอสภา "นิธิ" แนะแยกกฎหมายหมิ่นสถาบันออกจากหมวดความมั่นคง "วรเจตน์" แจงข้อเสนอนิติราษฎร์ยังมีกฎหมายปกป้องสถาบัน แต่ต้องปรับปรุง
ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 15 ม.ค. ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา112 (ครก.112) ซึ่งนำโดยนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์และเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคม อาทิ กลุ่มสันติประชาธรรม กลุ่มมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กลุ่มนักคิดนักเขียน ได้จัดเวทีวิชาการ-ศิลปวัฒนธรรม “แก้ไขมาตรา112” โดยมีการเปิดโต๊ะลงชื่อประชาชนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ครบ 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอรัฐสภาพิจารณา พร้อมมีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) ซึ่งระบุให้ยกเลิกมาตรา 112 และให้บัญญัติโทษเกี่ยวกับการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ตลอดจนองค์รัชทายาทขึ้น มาใหม่

โดยมีท่ามกลางความสนใจของประชาชนที่เข้ามาร่วมงานกันอย่าง คึกคัก รวมถึงมีนักวิชาการมาร่วม อาทิ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , นายเบนเนดิก แอนเดอร์สัน นักวิชาการชื่อดัง เข้าร่วมงานด้วย ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่มาร่วมรับฟังสวมเสื้อสีแดง ขณะที่บรรยากาศโดยรอบนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังเป็นปกติ ไม่มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมใด ๆ

-----------------------------------------------------------------------------------------------
เปิดชื่อ 112 นักคิด-นักเขียนดัง ร่วมสนับสนุนเพียบ

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อผู้ที่เสนอให้ยกเลิกกฎหมาย ม.112 นั้น มีทั้งสิ้น 120 คน ประกอบไปด้วย นักวิชาการ - สื่อมวลชน - นักเขียน - ศิลปิน ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก อาทิ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , นายสุจิตต์ วงศ์เทศ นักเขียนอาวุโส , นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ , นางอุบลรัตน์ ศิริยุวศักด์ นักวิชาการ , นายปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ , นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล - นายธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการ , นายสมบัติ บุญงามอนงค์ , บินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนซีไรท์ , วัฒน์ วรรลยางกูร ศิลปินแห่งชาติ , นายซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ , นายคำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ , นายอภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย ผู้กำกับชื่อดัง , นายวิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับชื่อดัง นอกจากนี้ยังมีคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมเป็นกรรมการด้วย


ระบุเสรีภาพไทยล้าหลังเทียบเกาหลีเหนือ

นางกฤตยา อาชวนิจกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะตัวแทน ครก.112 อ่านคำแถลงการณ์ระบุตอนหนึ่งว่า ตั้งแต่มีการรัฐประหาร พ.ศ.2549 มีสถิติผู้ต้องโทษตามมาตรา 112 หรือที่รู้จักกันดีในนามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2553 ซึ่งมีการฟ้องร้องถึง 478 ข้อหา ซึ่งเปรียบเสมือนว่าความจงรักภักดีนี้ได้เป็นอาวุธสำหรับการข่มขู่ คุกคาม และในความอ่อนไหวของข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ มักทำให้ผู้ถูกกล่าวหาประสบกับการบังคับใช้กฎหมายไม่คำนึงถึงสิทธิพลเมือง เช่น ไม่ให้มีการประกันตน มีการไต่สวนด้วยวิธีปิดลับ อีกทั้งยังมีการกดดันจากสังคม อย่างเช่นกรณีการล่าแม่มด ทั้งนี้รายงานปี 2554ขององค์กรฟรีดอมเฮาส์ได้เปลี่ยนสถานะเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยจากกึ่งเสรี เป็นไม่เสรี ส่งผลให้ไทยถูกจัดอับอยู่ในกลุ่มเดียวกับเกาหลีเหนือ , พม่า , จีน , คิวบา , อัฟกานิสถาน , อิหร่าน นอกจากนี้ยังมีกรณีที่มีผู้ถูกดำเนินคดี เช่น กรณีอากง , กรณีนายโจ กอร์ดอน ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยดังกระหึ่มทั่วโลก ซึ่งทำให้องค์กรระหว่างประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรา 112 ทั้งนี้จะใช้เวลารวบรวมรายชื่อ 112 วัน และจะนำเสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้ลุล่วง


"นิธิ" แนะปรับออกจากหมวดความมั่นคง

นาย นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ปาฐกถาผ่านวีดีโอตอนหนึ่งว่า กฎหมายดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนถึง 478 คดี แต่เชื่อว่าถ้านับรวมความเดือนร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดัง กล่าวนี้เป็นจำนวนมากกว่านั้น มีคนบอกว่าหากเราไม่ทำผิดก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าวิเคราะห์ในรายละเอียดจะพบว่ากฎหมายนี้ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการ วินิจฉัยผู้กระทำความผิด ทั้งที่ผู้ที่ไม่มีเจตนาแต่อาจพลั้งเผลอไปก็อาจถูกเหมารวมดำเนินความผิดเช่น เดียวกับผู้ที่เจตนาและทำขบวนการเช่นกัน ทั้งนี้ตนเห็นว่าควรจะมีการยกเลิกและปรับปรุงสาระในกฎหมาย อาทิ การเอาความผิดกับกรณีดังกล่าวที่ ๆไม่ควรเอาไปไว้ในหมวดความผิดต่อความมั่นคง การระบุอำนาจการฟ้องร้องที่ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยให้ใครก็ได้สามารถฟ้องร้อง ซึ่งสุ่มเสียงต่อการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แทนที่ควรจะมีบุคคลที่มีวิจารณญาณ มาร้องทุกข์กล่าวโทษ ทั้งนี้หากไม่มีการแก้ไขก็จะไม่มีการรับประกันได้เลยว่ากฎหมายดังกล่าวจะไม่ ถูกใช้อย่างฉ้อฉลหรือมีการเข้าใจผิดอีก


“วรเจตน์” ดักทางใครขวางเข้าข่ายขัด พ.ร.บ.เสนอกฎหมาย

นาย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า เป้าหมายของ ครก.112 คือการรวบรวมรายชื่อให้ได้ 10,000 รายชื่อ ภายใน 112วัน เพื่อเสนอต่อประธานสภาฯให้กฎหมายที่ร่างใหม่นี้ เข้าสู่การพิจารณา และแม้วันนี้พรรคการเมืองต่างๆจะไม่เห็นด้วย แต่เชื่อว่าหากมีประชาชนจำนวนมากสนับสนุนพรรคการเมืองเหล่านั้นอาจจะเปลี่ยน ใจ เพื่อมาสนับสนุนแนวทางของ ครก.112 แต่หากไม่มีใครเห็นด้วยเราก็ต้องทำใจ เพราะไม่มีอำนาจไปบังคับสมาชิกรัฐสภาให้พิจารณากฎหมายได้ และตนอยากฝากบอกบุคคลที่ขัดขวาง อาทิ การข่มขู่ประชาชนที่เข้าชื่อเสนอรายชื่อแก้ไขกฎหมายนั้น เข้าข่ายผิดกฎหมาย พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ปี 2542 โดยมีโทษจำคุก 1-5 ปี หรือปรับ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ แต่หากมีการรวบรวมรายชื่อไม่เห็นด้วยโดยการล่ารายชื่อก็ถือว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพ และเป็นความต่างทางความเห็นตามระบอบประชาธิปไตย


ปัดจุดชนวนความขัดแย้ง

“มี คนบอกว่า จะเป็นการจุดชนวนความขัดแย้ง ประเทศเราอ่อนไหวเรื่องความขัดแย้งเหลือเกิน ผมอยากบอกว่าคนเหล่านี้เสแสร้งเหลือเกิน เพราะความขัดแย้งทางความคิดเป็นเรื่องปกติของระบอบประชาธิปไตย แต่ขอโอกาสให้คนเห็นต่างได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็นบ้าง ไม่ใช่ไล่ไปอยู่ที่อื่นหรือไปถือสัญชาติอื่น เพราะทุกคนในที่นี้ดำเนินตามขั้นตอนตามกฎหมาย โดยมีพวกท่านเป็นผู้บังคับใช้อยู่” นายวรเจตน์ กล่าว


แนะบัญญัติ 7 ประการก่อนเขียน "กฎหมายหมิ่นฯ" ใหม่

นาย วรเจตน์ กล่าวว่า จากการหารือกับกลุ่มนักวิชาการ พบว่ายังมีข้อสรุปที่ต้องปรับปรุงในสาระของกฎหมาย ม.112 คือ การยกเลิก ม.112 ไปก่อน และมีการเขียนบทบัญญัติเพิ่มเติม โดยมีประเด็นสำคัญประกอบไปด้วย
1. ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร เพราะจะทำให้มีความผิดรุนแรง และศาลจะไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยอ้างว่ากระทบกับจิตใจกับประชาชน
2. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระ ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะแบ่งแยกลักษณะความผิดในการลงโทษ ไม่เหมารวมเช่นที่ผ่านมา


เสนอเลิกโทษขั้นต่ำให้สำนักราชเลขาฯกล่าวโทษแทนเท่านั้น

นาย วรเจตน์ กล่าวว่า 4.เปลี่ยนบทกำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปี สำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
6. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้นแทนพระองค์ เนื่องจากสุ่มเสี่ยงต่อการกลั่นแกล้งทางการเมือง ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถกล่าวโทษกับผู้อื่นได้ และเชื่อว่าจะไม่เป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นคู่ความกับประชาชน เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ลงมาฟ้องร้องเอง แต่ในสำนักราชเลขาธิการซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฟ้องร้องแทนได้อยู่แล้ว


แจงข้อเสนอนิติราษฎร์ยังมีบทบัญญัติคุ้มครองสถาบัน

นาย วรเจตตน์ กล่าวว่า ส่วนที่มีผู้มองว่าอาจขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่สถาบันฯ จะต้องเป็นที่เคารพสักการะนั้น ตนยืนยันว่าข้อเสนอของคณะ มีการบัญญัติบทคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ ส่วนประเด็นการเข้าชื่อเพียง 10,000 ชื่อ แทน 50,000 ชื่อ เป็นเพราะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 163 ระบุชัดว่า ให้ประชาชนเพียง 10,000 ชื่อ สามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เลย และประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพโดยตรง เพราะกฎหมายดังกล่าวเชื่อมโยงกับการแสดงความคิดเห็น มีบทลงโทษที่กระทบกับเสรีภาพประชาชน ดังนั้นการเคลื่อนไหวของ ครก.112 จึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

ส่วนที่มีการมองกันว่าหากมีการ แก้ไขเกี่ยวกับกับกฎหมาย ม.112 จะส่งผลให้กฎหมายคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ของไทย มีความเข้มข้นน้อยกว่าประมุขของประเทศอื่นๆนั้น นายวรเจตน์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่รัฐสภาต้องทราบอยู่แล้ว พร้อมกับให้มีการดำเนินการแก้ไขในคราวเดียวกัน แต่หากไม่มีใครทำ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์จะดำเนินการเอง


http://www.facebook.com/photo.php?fbid=240466669364056&set=a.137354946341896.33865.100002021732863&type=1&theater