25 มกราคม 2555
โดย ดวงจำปา
ที่มาเฟสบุค Doungchampa Spencer
เมื่อสองปีที่แล้ว ดิฉันมีโอกาสเดินทางไปพักที่ Glacier Bay National Park, Alaska มี โอกาสได้เห็นธารน้ำแข็ง (Glacier) และภูเขาน้ำแข็ง (iceberg) อันมหึมา จริงๆ น้ำแข็งเหล่านี้ ถูกสร้างมาด้วยฝีมือธรรมชาติอย่างแข็งแกร่งเป็นเวลานับพันปี แต่มันก็มีการสูญสลาย เมื่อมีปัจจัยอื่นๆ แทรกเข้ามาแทน
เลยนึกถึงว่า อะไรหนอที่สามารถทำลายความแข็งแกร่งและทนทานของก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ คำตอบก็คือ ทั้งปัญหาโลกร้อน และคลื่นที่กระทบโถมอยู่ตลอดเวลาที่สามารถสลายความแข็งแกร่งเช่นนี้ได้
เปรียบเสมือนกับการตื่นตัวของคลื่นลูกใหม่ นั่นก็คือ การตื่นตัวต่อทางเลือกของพรรคการเมืองแนวที่สามนั่นเอง
พรรค การเมืองพรรคที่สาม ก่อตัวขึ้นมามากขึ้นในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากระบบการสื่อสารที่ดีรวมไปถึงหลักการของโลกาภิวัฒน์ การตื่นตัวในเรื่องนี้ เกิดขึ้นเพราะกระแสกระตุ้นในความต้องการการปกครองที่เป็นแบบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง
ประชาชนจำใจที่ต้องเลือกพรรคที่เลวน้อยกว่าอีกพรรคหนึ่ง เพราะในปัจจุบันมีทางเลือกอยู่เพียงสองทาง
หลัก การง่ายๆ ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง คือ จะมีพรรคการเมืองในรูปแบบของฝ่ายเสรีนิยม หรือ Progressives จะเกิดควบคู่ด้วยการคานอำนาจกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม หรือ Conservatives เสมอ มีทั้งเรื่องดีและเรื่องเสีย คือฝ่าย Progressives นั้น ชอบใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างนับไม่ถ้วน เพื่อการพัฒนาบ้านเมืองรวมไปถึง mega projects หลายอย่าง ซึ่งสร้างหนี้สร้างสินให้กับประเทศ ดังนั้น นโยบายของทางฝ่าย Progressives จึงดูเหมือนสร้างฐานทางวัตถุ และรวมไปถึงการขึ้นภาษีอากรอย่างสูงมาก เป็นต้นว่า ภาษีการซื้อขาย, ภาษีรายได้ และ ภาษีทางการค้า เสรีภาพมีมาก งบประมาณจะมีน้อยในเรื่องของความมั่นคงและทางการป้องกันรักษา ประเทศ ฝ่าย Progressives จะสนับสนุนในเรื่องการช่วยเหลือธุรกิจเล็กๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการก่อให้เกิดแรงงาน
สำหรับฝ่ายอนุรักษ์นิยม นั้น ชอบระบบที่เคยทำกันมาอย่างแต่ก่อน รัฐบาลที่เล็กและควบคุมได้ ไม่ชอบการสร้างหนี้สร้างสิน แต่ชอบเอาเงินภาษีมาใช้อย่างพอควร ไม่มีเรื่อง mega projects มากนัก พยายามลดภาษีให้กับนายจ้าง เพื่อการสร้างงานในขอบเขต ภาษีของทางฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นภาษีระดับต่ำ ทางฝ่ายอนุรักษ์นิยมชอบใน เรื่องความรักชาติ และการปลุกกระแสต่อการใช้สินค้าในพื้นที่หรือประเทศของตนเอง เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้ภายในประเทศกัน ฝ่ายอนุรักษ์นิยมชอบหลักการของการปกป้องประเทศด้วยกองทัพที่แข็งแกร่ง งบประมาณจะถูกส่งไปในการคุ้มครองประเทศ สิทธิเสรีภาพมีเหมือนกัน แต่ถูกจำกัดในเรื่องความมั่นคงของรัฐ
การกำเนิดของพรรคการเมืองคลื่น ลูกใหม่ หรือ แนวที่สาม คือ การนำเอาสิ่งที่ดีๆ ของทั้งสองระบบ เข้ามาอยู่คู่กัน กลายเป็นระบบ hybrid เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของหลายๆ ประเทศ จะยึดเอาพรรคการเมืองเป็นหลัก เพื่อความมั่นคงต่อการบริหารประเทศ ไม่ว่าพรรคเหล่านั้น จะทำอะไรไม่เข้าท่า ประชาชนที่มีความศรัทธาต่อพรรคการเมืองเหล่านั้น ก็ยังเป็นแก่น (core) ของพรรคอยู่นั่นเอง ดังนั้น ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่า พรรคการเมืองจะชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายแค่ไหนก็ตาม หลักการของ 52% ต่อ 48% ยังใช้ได้อยู่เสมอ คือ ได้รับเสียงเกินครึ่งหนึ่ง ถ้ามีการสูสีขึ้นมาก็เป็นแบบ 50.05% ต่อ 49.95%
การตื่นตัวของพรรคการ เมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งแนวที่สาม เกิดขึ้นเนื่องจากว่า การเลือกเอาบุคคลที่เลวน้อยกว่าเข้าไปบริหารประเทศ มันไม่ได้ทำอะไรก้าวหน้าให้กับประเทศชาติเลย แถมสร้างความเบื่อหน่ายด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง แทนที่จะจับมือกันเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราจะเห็นว่า มีหลายครั้งที่ผู้แทนของประชาชนแต่ละรัฐ กระทำการโหวดตรงกันข้ามกับพรรคการเมืองที่เขาสังกัดอยู่ เพราะต้องการช่วยเหลือประชาชนที่เลือกเขาขึ้นมา
แนวทางของพรรคการเมืองแนวที่สามนั้น เคยเกิดขึ้นในสมัยการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1992 ซึ่ง นาย Ross Perot (รอสส์ เพอโรท์) ได้คะแนนเสียงความนิยมเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ประธานาธิบดี จอร์ช เฮอร์เบิร์ท วอล์กเกอร์ บุช พ่ายแพ้ต่อ ผู้ว่าการรัฐอาแคนซอร์ คือ นายวิลเลี่ยม เจฟเฟอร์สัน คลินตั้น หรือ ประธานาธิบดี บิลล์ คลินตั้น นั่นเอง
คะแนนเสียงของพรรคการเมืองแนวที่สามนั้น สามารถฉุดดึงให้พรรคการเมืองที่ถือว่า “เป็นต่อ” ประสบความพ่ายแพ้ได้ที เดียว จากนั้น ประธานาธิบดีคลินตั้น ได้นำเอานโยบายบางส่วนของนาย เพอโรท์เข้ามาในการบริหารประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงานที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศที เดียว เขาเป็นผู้ต่อต้านนโยบายเขตการค้าเสรีในทวีปอเมริกาเหนือ จึงได้รับคะแนนนิยมเป็นอย่างยิ่ง (ผลเลือกตั้งของ นายเพอโรท์ในรัฐ ยูท่าห์ และ รัฐเมนท์นั้น นายเพอโรท์มาเป็นอันดับสอง ทั้งสองรัฐ โดยสามารถชนะ ประธานาธิบดีบุช ในรัฐเมนท์ และ ประธานาธิบดีคลินตั้นในรัฐยูท่าห์ได้)
ในประเทศอังกฤษ ดิฉันได้สังเกตุเห็นการเคลื่อนตัวในพรรคการเมืองแนวที่สามมาหลายปีแล้ว ดูจากตัวอย่างที่:
รายชื่อพรรคการเมืองในประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่ง แสดงให้เห็นการพุ่งขึ้นของพรรคการเมืองแนวที่สามจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2010 มีพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมและสหภาพหรือ (Conservative and Union Party), ฝ่ายพรรคแรงงาน หรือ(Labour Party) และ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย (หัวก้าวหน้า) (Liberal Democrats) ประเทศอังกฤษได้รับสามแนวทาง ทำให้เกิดนโยบายพรรคร่วมมาตลอด
เมื่อปีที่แล้ว เราได้เห็นการพุ่งของพรรคการเมืองแนวทางที่สามขึ้นมาเช่นเดียวกันในประเทศแคนาดา
แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ทางเลือกของพรรคการเมืองแนวทางที่สามได้ผุดขึ้น จาก นายรอน พอลล์ ซึ่งเป็นผู้แทนของพรรครีพับลิกัน แต่นโยบายของเขามีความแตกต่างกับทางฝ่ายรีพับลิกันใหญ่ คะแนนของนายรอน พอลล์อาจจะน้อยแบบไม่สามารถเป็นตัวแทนของพรรครีพับลิกันได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง เพราะเขาเป็นผู้ฉุดคะแนนประชาชนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองและจากฝ่ายรีพับลิ กันเองออกไปด้วย
-------------------------------------------------------------
แนวทางของพรรคการเมืองที่สามเกิดขึ้นด้วยเหตุผลอะไร?
ถ้าจะให้ดิฉันวิเคราะห์ มันมีความเป็นไปได้ด้วยเหตุผลดังนี้:
1. ความเบื่อหน่ายต่อพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด ซึ่ง ไม่ปฎิบัติตามสัญญาหลังจากที่ได้รับเลือกเข้าไปบริหารประเทศ สัญญาประชาคมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เรื่องนี้รวมไปถึงความคับแค้นใจ และความหมดหวัง จากพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรค ซึ่งไม่สามารถปฎิบัติหรือแก้ไขได้
2. การยึดถือนโยบายหลักเพียง 1-2 นโยบายซึ่งเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนจากพรรคการเมืองอื่นๆ และ เมื่อประชาชนวิเคราะห์แล้ว มีความเชื่อมั่นว่า นโยบายเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งแตกต่างกับ พรรคการเมืองโดยทั่วไป ที่ทำคำมั่นสัญญาไว้หลายๆ ข้อ ตัวอย่างเช่น ของนายรอน พอลล์ ตั้งชื่อการเคลื่อนไหวของฝ่ายตนเองว่า Tea party ซึ่งมีนโยบายในการ ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล, งดการเก็บภาษีอย่างโหดเหี้ยม รวมไปถึงการลดจำนวนหนี้สินที่รัฐบาลก่อนๆ ได้เคยก่อเอาไว้ รวมไปถึงการยึดถือความเป็นอิสรภาพตามที่ว่าไว้โดยรัฐธรรมนูญ
3. โลกาภิวัฒน์ของอินเตอร์เนท ประชาชน มีความรู้สึกว่า ความเห็นของตนเองซึ่งได้เผยแพร่เป็นกระแสอยู่ตามโลกอินเตอร์เนท เป็นต้นว่าที่ Social Networks และเวปบอร์ดทางการเมืองต่างๆ รวมไปถึง Facebook ด้วย มีคนได้ฟัง และ ได้รับความคิดเห็นในทางสาธารณะ ประชาชนรู้สึกว่า เสียงของตนเองเพียงเสียงเดียว ในการโต้ตอบหรือสนทนา สามารถสร้างความแตกต่างที่ดีขึ้นในทางสังคม เหมือนกับภาษาอังกฤษที่เรียกกันว่า you alone can make a difference. เลยเกิดความคิดที่ว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยกับพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่โดยเสมอไป
4. ระบบการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทำให้ เรื่องการโปรปรากานด้า หรือ โฆษณาชวนเชื่อที่เคยประสบผลสำเร็จในอดีต กลับกลายเป็นเรื่องที่หลอกลวงประชาชนให้เชื่อ ตัวอย่างที่เห็นๆ กันคือ ที่ประเทศเกาหลีเหนือ เป็นต้น
เรื่องนี้รวมไปถึงแรงจูงใจและแรงดล บันดาลใจที่ได้จากนักเขียน, นักจัดรายการวิทยุเพื่อประชาธิปไตย รวมไปถึงนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและองค์กรอื่นๆ อีกด้วย
5. การสาดโคลนใส่ร้ายป้ายสีนักการเมืองอย่างไม่เว้นวัน แทนที่ จะทำให้ประชาชนเห็นคล้อยไปด้วย กลับเป็นการทำลายพรรคการเมืองเหล่านั้นเอง พรรคการเมืองเหล่านี้อาจจะมีฐานเสียงอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเพิ่มความนิยมอะไรได้นัก สมัยโลกาภิวัฒน์ ประชาชนต้องการที่จะเห็นการสร้างสรรค์ มากกว่าการทำลายล้าง ดิฉันจะเรียกสภาพของพรรคการเมืองแบบนี้ว่า มีแต่ ทรงกับทรุด เนื่องจาก ประชาชนมีความเบื่อหน่าย ไม่ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับท้องถิ่นเขากันเลย
อาจจะมีเหตุผลอีกหลายประการที่พรรคการเมืองแนวทางที่สามสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ดิฉันอาจจะยังไม่ได้กล่าวอย่างครบถ้วน
พรรคการเมืองแนวที่สามสามารถผุดเกิดที่ประเทศไทยได้ ด้วยหลักการที่กล่าวมา คือ “การกล่าวถึงนโยบายเดียวอย่างชัดเจนว่า ต้องการทำอะไรเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนบ้าง” นี่ คือสิ่งที่พรรคการเมืองแนวที่สามสามารถสร้างความแตกต่างและปูทางเลือกให้กับ ประชาชน ดิฉันจะไม่แปลกใจเลย ถ้ามีการผุดขึ้นมาเป็นต้นว่า “พรรคของเรา ขอสัญญาว่า จะกระทำการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะ......” อะไรก็ว่ากันไป
จากกระแส การประโคมข่าวแบบหักหน้าประชาชนที่ตนเองเป็นตัวแทน รวมไปถึงเสียงจากพี่น้องประชาชนที่ให้การสนับสนุน จะทำให้กระแสของพรรคการเมืองแนวที่สามเกิดขึ้นเป็นการคานอำนาจจากพรรคใหญ่ ทั้งสองพรรคได้ทันที
สำหรับเรื่องการยึดติดตัวบุคคลนั้น รัฐธรรมนูญก็กำหนดเรียบร้อยว่า จะเป็นเกินสองวาระไม่ได้ ดังนั้น ประชาชนก็มีทางเลือกว่าจะเอานโยบายที่ดีสำหรับระยะยาว หรือ จะยึดถือตัวบุคคลอย่างไม่ลืมหูลืมตา ก็ว่ากันเข้าไปเองนะคะ การยึดถือตัวบุคคล มีโอกาสทำให้พรรคการเมืองนั้น ทรุดลงไปอย่างง่ายดาย เพราะการจู่โจมสาดร้ายป้ายสีนั้น กระทำได้ง่ายมากๆ
ตามหลักการอยู่รอดที่เคยกล่าวไว้โดย ชาร์ล ดาร์วินที่ กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ จะสามารถคงอยู่ได้นานที่สุด มันเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองที่มีแต่ทรงกับทรุดนั้น จะต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกาภิวัฒน์อย่างไร ถึงจะมีโอกาสได้เป็นผู้บริหารประเทศชาติกับเขา เราคงเห็นกันไม่นานถึงความเสื่อมและสิ้นสลายลงไป
ดิฉัน มีความคิดว่า เราทั้งหลายคงจะได้เห็นพรรคการเมืองแนวที่สามผุดขึ้นมาโดยไม่ช้า โดยเฉพาะ เมื่อทางพรรคเพื่อไทยยิ่งปฎิเสธและให้ความร่วมมือต่อการปราบและแก้ไขความอ ยุติธรรมในกระบวนการต่างๆ แถมยังเมินกับประชาชนที่เขาลงคะแนนให้ ส่วนผู้คนทั่วไปที่ไม่ใช่ฐานเสียง เขาก็ไม่เลือกพรรคแมลงสาบแน่ๆ (เพราะพรรคนี้กำลังรอการสิ้นสลายของตนเอง ถ้าไม่มีการแก้ไขการออกข่าวไปในทางสร้างสรรค์ว่า เขามีโครงการที่จะช่วยเหลือประชาชนอย่างไรบ้าง)
บุคคลที่ต้องการทาง เลือกที่สาม เปรียบเสมือนกับภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งอาจจะเห็นอย่างผิวเผินจากส่วนยอดของมันว่ามีจำนวนเพียงเล็กน้อย (แต่เราจะไม่สามารถมองเห็นได้ว่า มันจมอยู่ในน้ำอีกเท่าไร) ประชาชนเหล่านี้แหละ ที่จะเป็นผู้ฉุดพรรคเพื่อไทยลงมาเอง เนื่องจากเขามีความมั่นใจและความหวังที่ดีกว่าในทางเลือกที่สามแล้ว และคิดว่าทางพรรคเพื่อไทยก็ควรทราบดีว่า ควรจะมีจำนวนประชาชนที่ “ก้าวข้าม” ตัวบุคคลที่ทางพรรคพยายาม "ฉุดรั้ง" อยู่ไปแล้วมากเท่าไร
ใน อนาคตก็หวังว่า ก่อนคนที่ตัวแทนของพรรคจะออกมาให้สัมภาษณ์อย่างกร่างๆ แบบไม่แคร์ในความคิดและความรู้สึกของประชาชนที่เขาเลือกตนเองเข้าไป ก็ควรได้รับทราบถึงคำพระ ซึ่งกล่าวในภาษาบาลีว่า “ปมาโท มัจฺจุโน ปทํ” นะคะ แปลว่าอะไร ไปค้นกันเอาเองนะคะ...
Doungchampa Spencer