ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 22 January 2012

ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร

ที่มา Thai E-News

22 มกราคม 2555
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์

ไทย อีนิวส์ ขอนำเสนอคลิปนำเสนอของทีมอาจารย์นิติราษฎร์ ที่เวทีการขับเคลื่อนข้อเสนอของนิติราษฎร์และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2555 ณ. หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทั้งนี้อีกเช่นเคย มีผู้เข้าร่วมรับฟังข้อเสนอครั้งนี้ล้นหอประชุม


คลิปวีดีโอข้อเสนอของนิติราษฎร์



คลิปที่ 1


คลิป 2


คลิป 3


มติชนมีรายละเอียด

ที่มา มติชนออนไลน์

อัน เนื่องมาจากโอกาสรอบ 100 ปี คณะ ร.ศ. 130 และโอกาสเข้าสู่ปีที่ 80 ของการอภิวัตน์ 24 มิถุนายน 2475 คณะนิติราษฎร์ ได้จัดเสวนาทางวิชาการขับเคลื่อนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง" ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม

จากข้อ เสนอเรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการเสนอข้อเสนอมีปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย คณะนิติราษฎร์ได้รวบรวมคำถามที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากกระแสต่างๆ และมาเสนอคำตอบ ชี้แจงต่อข้อซักถามทั้งหลาย

นายปิยบุตร กล่าวถึง คำถามเรื่องการลบล้างผลพวงทางรัฐประหารในทางกฎหมาย ว่า ทางหลักนิตินั้น ทางนิติราษฏร์ได้รวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างที่เกิดขึ้นอย่าง เช่น การประกาศความเสียเปล่าของการกระทำใดๆของรัฐบาลเผด็จการทหารในกรีซ หรือการประกาศความเสียเปล่าของการกระทำใดๆสมัยระบอบวิชี่ในฝรั่งเศส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาจัดการในทางหลักวิชาทางนิติศาสตร์อย่างไร และประเทศก็ได้เข้าสู่สภาวะเสถียรภาพมากขึ้น เมื่อระบบกฎหมาย และการเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ในการ ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร

ส่วนคำถามเรื่องการเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหารแต่มีข้อข้องใจว่าทำไมต้องครั้งปี 49 เท่านั้น

นาย ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ยืนยันว่านิติราษฎร์ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารทุกครั้ง ดังนั้นจุดยืนคือรัฐประหารทุกครั้งเป็นการทำลายประชาธิปไตย และนิติรัฐ ซึ่งเมื่อถามว่าทำไมไม่ล้างครั้งที่ผ่านมานั้น ครั้ง 24 มิ.ย. 2475 นั้นอำนาจกลับมาสู่มือประชาชนอย่างแท้จริง แต่ในข้อจำกัดหลายประการ จึงเริ่มที่ครั้งปี 49 ซึ่งมันส่งผลต่อปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันนี้ก็เกิดมาจากการรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย. และหากทำสำเร็จก็เป็นไปได้ที่จะย้อนกลับไปทำลายครั้งก่อนๆที่ขัดกับหลัก ประชาธิปไตย

"แค่เสนอลบล้างรัฐประหารครั้งที่แล้ว ก็กรีดร้องกันตายแล้ว ถ้าเสนอให้ลบล้างทุกครั้งคนอื่นจะไม่หัวใจวายตายกันเลยหรือ" นายปูนเทพกล่าว

ต่อคำถามเรื่องข้อเสนอประเด็นลบล้างผลพวงรัฐประหารที่มีคนเชื่อว่าถ้านำไปปฏิบัติจริงก็ไม่ต่างกับการทำรัฐประหารเองนั้น

อ.สาวตรี สุขศรี ตอบว่า ขอวิจารณ์คำถามก่อนว่า เขามีการเอาอำนาจประชาชนไปเปรียบกับคณะรัฐประหาร ซึ่งผู้ถามเหมือนอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาคือ เป็นคำถามที่ดูถูกประชาชน เป็นการเอาคณะรัฐประหารที่ขโมยประชาธิปไตยจากประชาชนมายก ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง


ส่วนคำตอบคือ ถ้าไปเปิดรัฐธรรมนูญปี 40 หรือ 50 จะพบมาตรา 3 ว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนชาวไทย เพราะฉะนั้น รัฏฐาธิปัตย์ก็คือประชาชน ไม่ใช่คณะรัฐประหารเพราะฉะนั้นการที่เราจะลบล้างผลพวงของคณะรัฐประหารที่ ทิ้งไว้จึงเปรียบไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องไหนก็ตาม เมื่อการทำรัฐประหารเป็นความผิดต่อกฎหมาย การที่เราลุกขึ้นมาแล้วบอกว่านี่เป็นอำนาจของเรา จะบอกว่าการกระทำของเราสุดโต่งได้อย่างไร เมื่อเรารักษาศักดิ์ศรีของกฎหมาย บ้านเมือง สรุปคือการลบล้างผลพวงซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องโดยประชาชนด้วยการลงมติแล้วก ลับจะบอกว่าเราทำผิด จะไปเทียบกับการขโมยอำนาจนั้น คำถามนี้ไม่ควรถามตั้งแต่แรก

คำ ถามเรื่องนิติราษฎร์เสนอให้ลบล้าง ตามที่คปค. ต้องเสียแรงเหตุเป็นเพราะรัฐบาลที่ทำหน้าที่ทุจริต โกงบ้านเมือง เมื่อเสนอให้ลบล้างนั้น เหตุใดจึงไม่คิดกำจัดสาเหตุของการทำรัฐประหารไปด้วย

นาย ปูน เทพ ตอบว่า เหตุของการรัฐประหารที่ยกขึ้นมาว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใช้อำนาจโดยมิชอบนั้น ต่อคำถามง่ายๆนั้นคือทหารที่ขึ้นมาทำนั้นท่านไม่ทุจริตหรือ รัฐบาลที่เลือกมานั้นทุจริต เราตรวจสอบ เราวิจารณ์ได้ แต่ภายใต้รถถัง ปืน ประชาชนไม่มีหนทางตรวจสอบ ดังนั้นการทุจริต ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่เหตุ แต่เป็นเพียงปัญหาที่ต้องแก้ไขในโครงสร้างประชาธิปไตย

นอกจากนี้ เรื่องการรัฐประหารเป็นเรื่องการคอร์รัปชั่นอำนาจ โดยที่ประชาชนไม่ยินยอม และเกิดไปตั้งพวกพ้องต่างๆขึ้นมา ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ต่างจากข้อกล่าวหาที่กล่าวหาอีกฝ่าย

ขณะ ที่คำถามเรื่อง การที่ประกาศให้นิรโทษกรรมคณะรัฐประหารเป็นโมฆะนั้นสุดโต่งไปหรือเปล่า หรือการทำแบบนี้ไม่ถือเป็นการตรากฎหมายย้อนหลังหรือไม่

อ.สาว ตรี กล่าวว่า คำถามที่ต้องตอบก่อนคือ ถ้าบอกว่าเราเป็นประเทศที่ปกครองโดยประชาธิปไตย ต้องมีความชัดเจน คือการทำรัฐประหารนั้นเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง แล้วกฎหมายบ้านเมืองนั้น นักฎหมายอาญาจะต้องมาตอบเลยว่า มาตรานี้อยู่ในม. 113 ซึ่งวันนี้ยังบังคับใช้อยู่ แต่ไม่เคยถูกใช้จริง

การตรากฎหมาย เพื่อลงโทษย้อนหลังนั้นหมายถึง ในขณะที่การกระทำนั้นไม่มีการบัญญัติกฎหมายว่าเป็นความผิด แต่รัฐประหารนั้นเป็นความผิดตลอดเวลา

"การที่จะมีบทบัญญัติที่ลบ ล้างผลพวงรัฐประหารนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่า คนตายและฆาตรกรยังมีอำนาจตรากฎหมายให้พ้นผิด โดยสังคมจำเป็นต้องปล่อยให้ฆาตรกรลอยนวล" กลุ่มนิติราษฎร์ระบุ

การลบล้างคำพิพากษาของศาลเป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจในระบบประชาธิปไตยหรือไม่

คณะ นิติราษฎร์ระบุว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าหลักแบ่งแยกอำนาจทำหน้าที่อะไร ในรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเป็นเจ้าของสูงสุด หลักแบ่งแยกอำนาจให้ประกัน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ผู้ที่จะได้รับผลการคุ้มครองจากหลักก็ต้องทำหน้าที่ให้ตรงกับภารกิจของตัว องค์กรตุลาการได้รับการแต่งตั้ง เพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตย หากตุลาการใช้อำนาจของตนไปสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของการทำรัฐประหารโค่นล้ม ประชาธิปไตยบรรลุผล เท่ากับว่า ตุลาการไม่ได้รับใช้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตย

ขณะที่ ข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่เสนอให้ลบล้างคำพิพากษาซึ่งเป็นผลพวงของ การทำรัฐประหารจะจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญและให้ประชาชนเป็นผู้ออกประชามติ ซึ่งเป็นอำนาจที่สูงกว่าอำนาจตุลาการ อันเป็นการลบล้างการใช้อำนาจตุลาการที่บิดผัน จึงไม่เป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ แต่เป็นการพิทักษ์รักษานิติรัฐ และประชาธิปไตยให้มั่นคงต่างหาก

คณะนิติราษฎร์ ยกตัวอย่างกรณีการลบล้างคำพิพากษาในสมัยนาซีเป็นการยกตัวอย่างผิดตัวหรือไม่ นายปิยบุตรกล่าวว่า เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นนั้นไม่หนักหน่วงเท่าสมัยนาซี สาเหตุที่ยกตัวอย่างนั้น เพื่อที่จะบอกว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะใช้อำนาจของปชช. กลับไปลบล้างการกระทำของระบอบเผด็จการนั้นทำได้ แต่เทียบกันหมัดต่อหมัดนั้นสมัยนาซีแรงกว่าเยอะ แต่หากจะวิจารณ์คำพิพากษาของศาลไทยนั้น เราสามารถวิจารณ์อย่างเต็มที่ได้พอๆกันกับศาลสมัยนาซีไหม เมื่อเรารู้ว่าเราวิจารณ์ได้ไม่เท่ากัน แล้วจะรู้ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น พอเราวิจารณ์ได้ไม่เต็มที่ก็ประเมินไม่ได้ว่าอะไรดีกว่ากัน


สำหรับคำถามเรื่อง การ ให้ประชาชนออกเสียงประชามตินั้นยังไม่ใช่สิ่งสูงสุด ยังมีองค์กรตุลาการที่มีอำนาจชี้ขาดว่าประชามตินั้นขัดต่อกฎหมายและไม่มีผล บังคับ อย่างกรณีตัวอย่างคดี Perry v. Schwazenegger ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐฯพิพากษาออกเสียงให้ผลการลงประชามติของมลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ที่ประชาชนเสียงข้างมากในมลรัฐแคลิฟอร์เนียลงมติบัญญัติในธรรมนูญของมลรัฐ ว่าการสมรสจะทำได้เฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย?

นาย วรเจตน์ กล่าวว่า ความมั่วของคำถามเรื่องนี้อยู่ที่บอกว่า คดีนี้เป็นคำพิพากษาของศาลสูง มันไม่ถูกต้อง คำพิพากษาเป็นศาลชั้นต้นในระดับสหพันธรัฐของสหรัฐฯ ไม่ใช่การพิพากษาของศาลสูงสุดตามที่มีคนกล่าวอ้าง และคดียังอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระดับสหพันธรัฐ คำพิพากษาดังกล่าวจึงยังไม่ถือเป็นบรรทัดฐาน

"การออกเสียงประชามติ ต้องดูว่าเป็นเรื่องอะไร ในอเมริกาปกครองในระบบสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นคนละระบบของเรา หากไทยเป็นสหพันธรัฐไทยเวลาที่แบ่งอำนาจหน้าที่ แต่ละมลรัฐก็จะมีธรรมนูญการปกครองตัวเอง และจะตกอยู่ภายใต้กฎหมายของสหพันธ์"

การที่ศาลตัดสินนั้นเป็นการ ตรวจสอบธรรมนูญของมลรัฐเป็นการตรวจสอบธรรมนูญ ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย มิให้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญของประเทศ อันเป็นรูปแบบการปกครองในประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ

ส่วนกรณีรัฐธรรมนูญ 2549 ที่ถูกยกเลิกไปแล้วนั้นจะยังถูกยกเลิกได้อีกหรือไม่นั้น

อ.วรเจตน์ กล่าวว่า นักฎหมายจำนวนมากจะเชี่ยวชาญหลังจากที่มีการรัฐประหาร ยกเว้นการเขียนกฎหมายเอาผิดกับคนที่เอารถถังมาปล้นอำนาจ ความเชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์การเมืองพัฒนาไปถึงขีดสูงสุดวันที่ 19 ก.ย.

หลัง จากที่มีการยึดอำนาจก็มีการจัดทำรัฐธรรมนูญชั่วคราวมี สองมาตรา คือม. 36 และ37 คือให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ยึดอำนาจ จนกระทั่้งต่อมามีการจัดทำร่างรธน.ปี 50 มีการให้ประชาชนออกเสียงประชามติ มีบทบัญญัติม.309 และเป็นมาตราที่บอกว่าการกระทำใดๆที่รับรองนั้นให้ถือว่าชอบตามรธน.และ กฎหมาย

เราเสนอประกาศให้ม. 36 และ 37 เป็นโมฆะ ซึ่งกลุ่มนั้นก็บอกว่า มันถูกยกเลิกไปแล้วไม่ต้องไปแตะ คนที่ตั้งคำถามแบบนี้เราไม่ได้ยกเลิกสิ่งที่ยกเลิกไปแล้ว แต่เราจะให้อำนาจประชาชนไปประกาศบทบัญญัติว่าถือเสียเปล่าไม่เคยมีมาก่อนใน ระบบกฎหมาย และผลก็คือจะทำลายกล่องดวงใจของรัฐประหาร เมื่อทำลายแล้ว ผลคือไม่เคยมีการนิรโทษกรรม บทบัญญัติ 309 จะไม่มีผลอะไร ก็ถือว่าไม่เคยมีการยกโทษให้กับคนที่มีการกระทำความผิด และคนที่ทำนั้นก็ต้องเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมและอยากจะบอกว่าการเขียน กฎหมายแบบนี้ตบตาเราไม่ได้

คำถามเรื่องการเสนอลบล้างเป็นการเสนอเพื่อ"ทักษิณ"หรือไม่ อ.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กล่าวว่า เมื่อฟังแล้วของขึ้นและเสียดายที่หากคนถามเป็นนักกฎหมาย ท่ามกลาางการแย่งชิงอำนาจ นักกฎหมายเป็นผู้ที่ต้องมองและชี้ให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าอะไรคือกติกาที่ ทุกคนต้องยอมรับ ท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจต้องมีกติกา ข้อกล่าวหาที่บอกว่าเราทำเพื่อทักษิณ นั้นเราพูดถึงทักษิณมากกมายขนาดนั้นหรือ

"อยากถามกลับไปว่าถ้าเป็น นักกฎหมายแล้วคุณไม่ได้เรียนสิ่งนี้มาเลย หรือ เรื่องกติกาทางความศักดิสิทธิ์ของกฎหมาย เป็นผม ผมจะคืนปริญญาบัตร หมายถึงสิ่งที่เราทำมา ทักษิณเป็นเรื่องที่เล็กน้อย พวกเราจะจัดการคุณทักษิณเองถ้ามีปัญหา ความชัดเจนของเราชัดอยู่แล้ว ทักษิณเป็นนายกฯได้เดี๋ยวเดียวก็ไปแล้ว แต่โครงสร้างอุดมการณ์นิติรัฐต้องอยู่ นี่เป็นสิ่งที่เราต้องการ"

นาย วรเจตน์ กล่าวต่อว่า ประเด็นเรื่องล้มสถาบันในช่วงหลังที่พยายามโยนข้อกล่าวนี้มาทำลายการ เคลื่อนไหวทางความคิด ซึ่งถ้าดูตามกรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่เสนอมานั้น เราบอกชัดว่าเป็นรัฐธรรมนูญในราชอาณาจักร ซึ่งคือรัฐที่ประมุขเป็นกษัตริย์ แต่การล้มเจ้าเป็นการเปลี่ยนเป็นระบอบเป็นสาธารณรัฐต่างหาก แต่เราก็มีการปฎิรูปกฎเกณฑ์สถาบันกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีรายละเอียดต้องเพิ่มเติมที่จะต้องกล่าวในภายหลัง โดยรายละเอียดต่างๆที่บอกว่าห้ามแตะต้องจริงๆแล้วถูกแตะต้องมาตลอดหลัง รัฐประหาร

ยันไม่มีผลประโยชน์

นาย วรเจตน์ กล่าวทิ้งท้่ายว่า ตั้งแต่ก่อตั้งมา เราถูกโจมตีจากหลายฝ่าย การโจมตี การกล่าวร้ายต่างๆก็มีมาอย่างต่อเนื่อง เรื่องข้อกล่าวหาเรื่องแรก เรื่องการรับเงินหรือการได้ผลประโยชน์จากอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งหลายคนที่โจมตีนั้นใช้จิตใจของตนเองประเมินคนอื่น ตนยืนยันว่าไม่มีเรื่องดังกล่าว ยืนยันว่าเรามุ่งหวังให้ประเทศเป็นนิติรัฐและประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ภายหลังข้อกล่าวหาเหล่านั้นก็น้อยลงและถูกยกระดับไปในเรื่องทางความคิด

เรื่อง พยานที่พิสูจน์ไม่ได้ก็มีเรื่องข้อกล่าวหาในเรื่องความคิด กลายเป็นบอกว่า "รู้นะเราคิดอะไรอยู่" มีคนบอกว่า บางคนมาอ้างว่ารู้จักตน หรือคนอื่นๆในนิติราษฎร์ดี ซึ่งกล่าวได้ว่า ถ้าอ้างแบบนี้หมายความว่า "ไม่รู้จักดี" การที่พูดนั้นเขาไม่รู้ว่าเราเป็นอย่างไร นี่คือความพยายามในการดิสเครดติมาทำลาย มีการพูดจาต่างๆนานาซึ่งเป็นเท็จ แต่เชื่อว่าสังคมไทยอยู่กับความเท็จมานานหลายปีแล้ว ตนเองก็ไม่มีปัญหากับสื่อ เพื่อนร่วมวิชาชีพ หรือใครทั้งสิ้น แต่อยากขอให้สู้กันแบบยุติธรรมในทางความคิด อย่าทำร้ายด้วยวิธีการสกปรกอย่างที่ทำมาโดยตลอด


"สำหรับเรื่อง การจัดสถานที่ที่นิติศาสตร์นั้นไม่มีค่าใช้จ่าย หรือมีก็เล็กๆน้อยๆเราก็ลงขันกันทำ แต่การจัดงานครั้งนี้ มีการใช้สถานที่ซึ่งไม่อาจสะดวกต่อการเรียนการสอน การที่มาจัดที่หอประชุมศรีบูรพาแม้จะมีค่าใช้จ่ายบ้างแต่ถึงวันนี้ เราไม่รับบริจาคใดๆ เพื่อให้เป็นการประชุมทางวิชาการโดยไม่มีข้อครหาใดๆ แต่หากครั้งต่อไปมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความจำเป็นใดๆก็จะชี้แจงอย่างตรงไป ตรงมา ขอให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการรับเงินใดๆ ส่วนที่ผ่านมามีการติดต่อขอสนับสนุน ซึ่งตนคิดว่าอยากแค่เผยแพร่ความคิดไปสู่ประชาชน เราลงทุนน้อยแต่ผลกำไรที่ได้กลับมานั้นสูง สิ่งที่ทำไปทุกคนทำด้วยใจไม่ได้มุ่งหวังผลประโยชน์ใดๆแม้แต่น้อย "

ทั้งนี้ ในงานคณะนิติราษฎร์ยังได้เสนอรูปแบบและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในงานด้วย คลิกอ่านที่นี่