ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 15 January 2012

นักข่าวพลเมือง: เครือข่ายชาวบ้านเพชรบูรณ์ จี้สอบ จนท.ป่าไม้อ้างโครงการตามแนวพระราชดำริทำลายป่า

ที่มา ประชาไท

เครือข่ายชาวบ้าน จ.เพชรบูรณ์ ชุมนุมเรียกร้องหน่วยงานรัฐลดความเหลื่อมล้ำ แก้ไขปัญหาสองมาตรฐานด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ - ที่ดิน จี้การตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่ป่าไม้อ้างโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ตามแนวพระ ราชดำริทำลายป่า
เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๕ ที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๑ จ.พิษณุโลก เวลา ๑๓.๓๐ น. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ประมาณ ๖๐ คน ได้ชุมนุมเรียกร้องให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารฯ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานสองมาตรฐานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ โดยเครือข่ายฯ ได้เดินรณรงค์จากวัดนางพญาถึงหน้าสำนักบริหารฯ
สืบเนื่องจากเครือข่ายองค์กรชาวบ้านฯ ได้ทำหนังสือร้องเรียนและให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเจ้าหน้าที่ป่าไม้อ้างโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้าน วังยาว – ห้วยระหงส์ ที่มีการแผ้วถางพื้นที่ป่าที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ เก็บหาของป่า บริเวณหน้าปากทางเข้าหมู่บ้านห้วยระหงษ์ ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ จำนวน ๙๙ ไร่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒ ไปยัง นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งทางรัฐมนตรีฯ ได้ให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๑ ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ เครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อติดตามเรื่องดังกล่าวและเรียกร้องให้ย้ายหัวหน้าโครงการคือ นายพจน์ ชินปัญชนะ ออกจากพื้นที่ เนื่องจากการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ โดยอ้างโครงการพระราชดำริทำลายป่า ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ไม่มีความโปร่งใส ทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชน แต่ผลการเรียกร้องของชาวบ้านไม่เกิดผลอะไรในการปฏิบัติ
หลังจากนั้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เครือข่ายฯ ได้เข้าไปติดตามผลการสอบสวนของสำนักบริหารฯ และมีผลสรุปที่ทางเครือข่ายได้วิเคราะห์และตั้งข้อสังเกตร่วมกันดังนี้
๑.คณะกรรมการสอบสวนและผู้ถูกสอบสวนอาจจะมีส่วนได้เสียกันในการดำเนิน งาน เนื่องจากคณะกรรมการสอบสวนเป็นหัวหน้าส่วนบังคับบัญชาของนายพจน์ ชินปัญชนะ ดังนั้นผลการสอบสวนจึงเข้าข้างกัน
๒.การตัดไม้ทำลายป่า ถูกอ้างว่าเป็นไม้ขนาดเล็ก และพื้นที่ที่ดำเนินการดังกล่าวเป็นป่าเสื่อมโทรม ซึ่งข้อสังเกตคือ สภาพป่าในพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าเบญจพรรณ รวมถึงเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวก็มีสภาพป่าที่เหมือนกัน ผืนป่าเหล่านี้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในชุมชน เช่นเลี้ยงสัตว์ เก็บหาของป่า เป็นต้น หากจะอ้างว่าเป็นป่าเสื่อมโทรม ในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าไปจับกุมเป็นพื้นที่ที่ ชาวบ้านทำกินมาแต่ดั้งเดิมกลับถูกข้อหาบุกรุก และเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งเป็นจำนวนเงินหลายแสนบาท โดยเฉพาะชาวบ้านห้วยกลฑา ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ที่ไปรับจ้างหักข้าวโพดในหมู่บ้านของตัวเองกลับถูกข้อหาบุกรุกเรียกค่าเสีย หายทางแพ่งเป็นจำนวนเงิน ๔๗๐,๐๐๐ บาท ทั้ง ๆ ที่ชาวบ้านทำกินในที่ตัวเองไม่ถึง ๕ ไร่ กลับถูกจับกุม แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตัดไม้เองกลายเป็นว่าพื้นที่นั้นเป็นป่าเสื่อมโทรม และมีกฎหมายมารองรับการกระทำ ถือว่าสองมาตรฐาน และไม่มีความเป็นธรรมปกป้องลูกน้องตัวเอง ละเมิดสิทธิชุมชน
๓.หากมีการยึดหลักการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชน ไม่ทำลายทรัพยากรป่าไม้ ทำไมเมื่อเริ่มดำเนินโครงการจึงมีการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการเข้าไปวางอำนาจในชุมชน ขาดการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ สร้างความเสียหายให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนและพยายามเข้าไปยุแหย่ให้เกิด ความแตกแยก
ดังนั้นเครือข่ายฯ จึงมีข้อเรียกร้องต่อผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๑ ดังนี้
กรณีโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ
๑.ให้ย้ายนายพจน์ ชินปัญชนะ หัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านวังยาว - ห้วยระหงส์ ออกจากพื้นที่ โดยระงับการดำเนินงานโครงการไว้ก่อน
๒.ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการดำเนินงานโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนว พระราชดำริบ้านวังยาว - ห้วยระหงส์ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน โดยให้มีตัวแทนเครือข่ายฯ และองค์กรภายนอก ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
๓.ให้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านวังยาว - ห้วยระหงส์
กรณีการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง
๑.ให้สนับสนุนแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดิน ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง ให้มีการจัดการที่ดินโดยชุมชนในรูปแบบโฉนดชุมชน
๒.กรณีพื้นที่อพยพห้วยหวาย ให้เร่งรัดการเยียวยาชดเชยค่าเสียหายกับชาวบ้านตามผลการสำรวจข้อมูลของคณะทำ งาน ๘๘๔ / ๒๕๔๘ ที่ได้มีการรับรองผลการสำรวจร่วมกัน และมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาดัง กล่าว
หลังการเปิดห้องประชุมเพื่อรับฟังปัญหาและข้อเรียกร้องจากเครือข่ายฯ นายธงชัย ศิริพัฒนานุกูลชัย ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๑ ได้รับพิจารณาข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯ โดยขอเวลา ๑๕ วัน เพื่อตรวจสอบข้อมูล และแนวทางแก้ไขปัญหาตามข้อเสนออีกครั้ง
ทั้งนี้ ทางเครือข่ายฯ ได้รับข้อเสนอดังกล่าว และจะติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด หากไม่มีผลในทางปฏิบัติก็จะดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป