เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมเครือข่ายพลเมืองเน็ต กลุ่มประกายไฟ ยื่นจดหมายเปิดผนึกส่งถึงหน้ายูเอ็น สนับสนุนข้อเรียกร้องให้แก้ไข กฎหมายอาญา ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
วันนี้ (16 ธ.ค.54) เวลา 11.00 น.ที่อาคารองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย เครือข่ายพลเมืองเน็ต และกลุ่มประกายไฟ รวมตัวเข้ายื่นหนังสือแสดงความขอบคุณ และสนับสนุนข้อเรียกร้องของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และแฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ ด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการแสดงออก ที่เรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
เวลาประมาณ 11.30 ทางเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติได้เชิญตัวแทน 3 คนเข้าไปยืน จดหมายเปิดผนึก ด้านใน โดยมี Ms.Indali Panchitkaew National Human Rights Officer ตัวแทนของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights ,Regional Office for South East Asia) มารับจดหมายดังกล่าว พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นเวลาประมาณ 30 นาที
ภาพกิจกรรมสนับสนุน UN ภาพจาก facebook : Sora Wong
เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักกิจกรรมกลุ่มประกายไฟกล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังเข้ายื่นจดหมายว่า ตัวแทนที่มารับจดหมายระบุว่าจะส่งต่อจดหมายฉบับดังกล่าวไปให้ United Nations Human Rights Council ส่วนทางเครือข่ายที่ทำกิจกรรมครั้งนี้จะร่วมรณรงค์รวบรวมรายชื่อผู้เห็นด้วย กับข้อเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และจะนำรายชื่อดังกล่าวส่งให้ทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ (ติดตามการล่ารายชื่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/events/281822748530040/)
“บ่ายวันนี้ก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านท่าทีของทางยู เอ็น (เครือข่ายสยามสามัคคี) ภายใต้ความคิดที่ว่าคนไทยทั้งหมดคิดแบบเขา ซึ่งทางพวกผมยืนยันว่าคนไทยมีความหลากหลายทางความคิดในประเด็นนี้ และทางกลุ่มไม่ได้เรียกร้องให้ทางยูเอ็นมาสนับสนุน แต่อยากให้ทางยูเอ็น หนักแน่นในหลักการสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกที่เป็นสากล ซึ่งทางตัวแทนยูเอ็นก็ยืนยันในหลักการนี้ว่าไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดข้างหนึ่ง หากแต่ยึดหลักกฎหมายสากล” เทวฤทธิ์กล่าว
เทวฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตัวแทนที่ร่วมพูดคุยได้ฝากให้ทางยูเอ็น ได้ตรวจสอบ กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้แถลงว่าคดีของนายโจ กอดอน และคดีของนายอำพล (อากง SMS) ได้ตัดสินยุติธรรมแล้ว และได้รับสิทธิตามกฎหมายแล้ว แต่จำเลยทั้ง 2 คดีนี้ ไม่ได้รับสิทธิในการได้รับการประกันตัว ทั้งที่ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของไทยให้สิทธิไว้ และในกรณีผู้ต้องหาตามความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นมักไม่ได้รับสิทธิ ตรงนี้ เช่นเดียวกับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก รวมทั้งสถานการณ์ขณะนี้ที่รัฐบาลได้มีความเข้มงวดในการปราบปรามเว็บไซต์ หมิ่นฯ ซึ่งอาจจะกลายเป็นโอกาสในการละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยรัฐ
ทั้งนี้ เนื้อหาของจดมายเปิดผนึกของกลุ่มที่ออกมาร่วมกันเคลื่อนไหวครั้งนี้ เป็นการแสดงความขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้องการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง พร้อมทั้งเรียกร้องให้กระตือรือร้นในการตรวจสอบสถานการณ์การละเมิดหลักสิทธิ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมไทยเคารพในหลักการดังกล่าว
จากกรณี เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.54 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR) ได้ออกมาแถลงข่าวแสดงความกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้ายแรงด้วย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ การลงโทษที่อย่างเกินกว่าเหตุโดยศาล และการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดี ด้วย
รวมถึงเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 แฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ ในการแสดงออก ยังได้เคยแถลงข่าวย้ำถึงความจำเป็นของทางการไทยในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
อนึ่ง เวลา 10.30 น.วันเดียวกัน ตัวแทนส่วนหนึ่งจากเครือข่างนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้ายื่น จดหมายถึง เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ กรุงเทพ เพื่อแสดงความขอบคุณในการแสดงท่าทีของ Darragh Paradiso โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฝ่ายเอเชียตะวันออก เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.54 ต่อการตัดสินคดีของนายอำพล หรือ ‘อากง SMS’ ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่าไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้าน เสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงกรณี ที่ อลิซาเบ็ธ แพร็ต ตัวแทนสถานทูตสหรัฐที่ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า ในกรณี โจ กอร์ดอน ว่า “เรายังคงเคารพสถาบันกษัตริย์ของไทย แต่ในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองในทางสากล” ด้วย
ภาพกิจกรรมตัวแทนจากเครือข่างนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยเข้ายื่นจดหมายขอบคุณเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา
จดหมายขอบคุณและสนับสนุนข้อเสนอแก้ ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
16 ธันวาคม พ.ศ.2554 เรื่อง ขอขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้องการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง เรียน คุณ Navanethem Pillay ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน (UN High Commissioner for Human Rights), คุณแฟรงค์ ลา รู (Frank La Rue) ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ (Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression)และ คุณ โฮมายูน อลิซาเด โฮมายูน อลิซาเด สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UN Office of High Commissioner for Human Rights - UNOHCHR) สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คุณราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR)[1]ได้ออกมาแถลงข่าวแสดงความกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้าย แรงด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย และผลกระทบของกฎหมายดังกล่าวซึ่งสร้างความหวาดกลัวที่มีต่อเสรีภาพในการ แสดงออกภายในประเทศ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ การลงโทษที่อย่างเกินกว่าเหตุโดยศาล และการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดี ด้วย นั้น รวม ทั้งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ทางคุณแฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ ในการแสดงออก[2] ยังได้เคยแถลงข่าวย้ำถึงความจำเป็นของทางการไทยในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง เรา ในฐานะพลเมือของประเทศไทย ที่มีความสนใจและกังวลต่อปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ขอแสดงความขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง โดยเฉพาะสิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการ รับรองในทางสากล ปัญหา เหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราตระหนักมาโดยตลอดและพยายามเคลื่อนไหวผลักดันให้ สังคมไทยยอมรับในหลักการดังกล่าวอย่างแท้จริง ซึ่งพวกเราก็เห็นปัญหาของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ทั้งในตัวกระบวนการในการดำเนินคดีและอุดมการณ์ที่อยู่เบื้อหลังกฎหมายนี้ที่ ไม่สอดทั้งในหลักการอันเป็นสากลและความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมไทยขณะนี้ ทั้ง นี้เราหวังว่าทางท่านจะกระตือรือร้นในการตรวจสอบสถานการณ์การละเมิดหลัก สิทธิมนุษยชนสากลด้านเสรีภาพในการแสดงออกอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมไทยเคารพในหลักการดังกล่าว เพื่อให้พลเมืองไทยสามารถสร้างสรรค์สังคมที่เป็นอารยะ เป็นประชาธิปไตยและเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้านเสรีภาพในการแสดงออกต่อ ไป จึงเรียนมาเพื่อแสดงความขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้อง ขอแสดงความนับถือ ลงชื่อ(องค์กร) 1. เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) 2. เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย(คกป.)Activists for Democracy Network(ADN.) 3. กลุ่มประกายไฟ (Iskra Group) ลงชื่อ(ปัจเจคบุคคล) ลงชื่อ(ปัจเจคบุคคล) เกษียร เตชะพีระ / Kasian Tejapira ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนและนักแปล จิตรา คชเดช พิภพ อุดมอิทธิพงศ์/Pipob Udomittipong ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี เทวฤทธิ์ มณีฉาย / Tewarit Maneechai วิจักขณ์ พานิช / Vichak Panich ชุตินาถ ชุนวิมลศิริ Chutinart Chunwimonsiri พิรุณ น้อยอุ่นแสน ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง จิระยุทธ คงหิ้น กานต์ ทัศนภักดื์ (Karnt Thassanaphak) สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ นายวุฒิชัย วงษ์ชู ชยณัฐ เกษเจริญคุณ (Chayanat Ketchareonkhun) ภมร ภูผิวผา วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย Chaisiri Jiwarangsan ตรี ฮัตเจสสัน (Three Hutchesson) นายสุวรรณ พุฒพันธ์ พัชรี พาบัว Patcharee Pabua โชติช่วง มีป้อม Chotchuang Meepom อานนท์ ตันติวิวัฒน์ ยุทธนา ลุนสำโรง วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย ณิชกร ความหมั่น รจเรข วัฒนพาณิชย์ เอื้อบุญ จงสมชัย Ua-boon Chongsomchai ธีรมล บัวงาม วีรวุธ พรชัยสิทธิ์ Werawut Phornchaisit เทิดพันธุ์ พวงเพ็ชร ณัชพล ชูตลาด ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม Somkid Thara อธิคม จีระไพโรจน์กุล ธิติพงษ์ ก่อสกุล Thitipong Korsakul วันวิวัฒณ์ เต็มปลื้ม พลิศ ลักขณานุรักษ์ กิตติศักดิ์ ทุมมา พลอยชมพู ชมภูมิ่ง นาวิน โลหิตนาวี Nawin Lohitnavy อดิราช ท้วมละมูล Adirach Toumlamoon กิจจพัฒน์ โตจำเริญ Kichapatt Tochamroen ไชยรัตน์ ชินบุตร วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ดาราณี ทองศิริ Anuraj Singh Dhindsa ธนเดช ธรรมนาคิน Tanadej Tamanakin อานนท์ ชวาลาวัณย์ Anon Chawalawan วรายุส ทองคำแท้ ( Warayus Tongkumtae ) ภรณ์ทิพย์ มั่นคง กลุ่มประกายไฟ วุฒิชัย แสนอุบล วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ประเวศ ประภานุกูล ทนายความอิสระ Varut Veluvarna ปัณมาสน์ อร่ามเมือง ณัชชา ตินตานนท์ วรัญญา เกื้อนุ่น สพลดนัย เชยล้อมขำ (Sapoldanai Choeylomkum) คณาวุฒิ ครองรักษา Kanawut Krongraksa ไพโรจน์ พฤกษ์ปาริชาติ Pairoj Prukparichat ฉัตรฐิยะ แหวนเพชร สยาม ธีรวุฒิ Siam Theerawut กนกนาถ พิมพ์เภา เฉลิมพันธุ์ หวันชิตนาย Chaloempan Wanchitnay จักรกฤษณ์ ระวังสำโรง สุดไผท เมืองไทย พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ฝ้ายคำ หาญณรงค์ (Faikham Harnnarong) ธณัฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา Thanatbhol Palakavangsa Na Ayudhaya อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ปิลันกานต์ ฤทธิโต Pilankan Ritthito ปฐมพร ศรีมันตะ จิระพงษ์ ชัยยะสมบูรณ์ พัชรี แซ่เอี้ยว Patcharee Sae-eaw ไพศาล ลิขิตปรีชากุล Paisarn Likhitpreechakul ชูธรรม สาวิกันย์ Chutham Sawigun พรเทพ สงวนถ้อย Pornthep Sanguanthoi ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์ เฉลิมเกียรติ ผาพิมพ์ ธรรมชาติ กรีอักษร Thammachart Kri-aksorn Pongsiri Poorintanachote ต่อศักดิ์ สุขศรี Torsak Suksri นิพาดา ทองคำแท้ Nipada Tongkumtae Janejira Buakhao วรกร ฤทัยวาณิชกุล Vorakorn Ruetaivanichkul กิตติ ใจน้อย Kitti Jainoi จิตร โพธิ์แก้ว Jit Phokaew อดิศักดิ์ พุ่มเจริญ นฤดล คงทน Arpawee Lumlertsuk ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ ศิริวัฒน์ โปษะยานนท์ Anyakan Jeeraanyakan ภูวนาถ สิงห์ชัย (Phuwanart Singchai) เอื้อการย์ อารามรักษ์ Kingkorn Narintarakul Romphaeng Khanthagan ภาณุวัฒน์ ศรีขลา นิสิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มมส. พรหมพิริยะ เกลื่อนกลางดอน Channarong Sereepiwat Natee Ngamwat อิสราชัย จงภัทรนิชพันธ์ Teerakit Vichitanakul Pichayon Chayakornchotiwut ทศพร อุดมชัยพร Tossaporn U-domchaiyaporn วิษณุ ตะวัน Punapak Jeammana Pearless Paritybitz Thanakorn Passananon Pimrawee Siangwarn Ekkapong Netthawon วรเทพ อรรคบุตร Pawarawan Waramongkolsathit ยุวดี ฟูเฟึ่อง pitchaya pitchsamarn วัลลภ ธรรมโชติ ธรัญญา สัตตบุศย์ ธันยนันท์ อ่อยอารีย์ Tanyanun Aoiaree ธิติบดี รุ่งธีรวัฒนานนท์ Thitibodee Rungteerawattananon ชาตรี มงลศรีสวัสดิ์ Chatree Mongkolsrisawat Sarun Jiravaranant Pongnaret Intapanya วชิราช ทองกลัด Wachirach Tongglad ศุภวุฒิ ศรีมหาราชา (Subhavuddhi Srimaharaja) วิศิษฐ์ เฟื่องศิลา จักรพันธ์ บานชื่น Chakkapan Banchuen เงาดาว สุขศรีดากุล Akaradet Chunjiwank Worapon Sammanon Dheerawan Boonyawan Tinarom Poonnapaka Worapoth Kongngern, Chiangmai Thailand. Siriluk Sriprasit, Chiang Mai, Thailand วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ Wirapa Angkoontassaniyarat วีระพันธุ์ ตรีรัตน์พันธุ์ Wiraphan Treeratphan Jaturong sanghong , Lamphun Thailand Asrin Sanguanwongwan ธีระพล คุ้มทรัพย์ เชียงใหม่ / Theeraphon Khoomsap, Chiangmai กิรพัฒน์ เขียนทองกุล ฐิติภ้ทร์ รจนากร อัศวิน สิริเสนาณรงค์ ชัยพงษ์ สำเนียง ศุภกร สกุลนุ่ม / Supakorn Sakulnoom มนตรา พงษ์นิล / Montra Pongnil ณัฐกมล โตวนิชย์ / Natkamon Tovanich อาทิตย์ ศรีจันทร์ ขวัญ ศรีเกตุ อาภาพรรณ ปลั่งสิริสุนทร ชญานี ขุนกัน / Chayanee Khunkan อดิศร เกิดมงคล / Adisorn Kerdmongkol ขวัญชัย เพ็งผอม ปวงชน รังสิประภัศร ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ / Parichat Jungwiwattanaporn กนกกาจณ์ ศรีขาว / Kanokkarn Sreekhow เอกสารประกอบ : [1] ประชาไท, สหประชาชาติแถลงข่าวกรุงเจนีวา จี้ทางการไทยแก้ไขกม. หมิ่นฯ เผยแพร่เมื่อ Fri, 2011-12-09 20:51 (ออนไลน์) http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38262 สืบค้นเมื่อ 15/12/2011 [2] ประชาไท, ‘ยูเอ็น’ ย้ำอีกครั้ง ไทยต้องแก้กฎหมายหมิ่นฯ – พ.ร.บ. คอมพ์ฯ เผยแพร่เมื่อ Tue, 2011-10-11 01:07 (ออนไลน์) http://prachatai.com/journal/2011/10/37339 สืบค้นเมื่อ 15/12/2011 |