ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday 13 November 2011

13 พฤศจิกายน รำลึกวีรกรรมชุน เต-อิล - ถึงสหาย หนุ่มสาว ที่ยังฝัน

ที่มา Thai E-News


โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ
13 พฤศจิกายน 2554



13 พฤศจิกายน 2513 กรรมกรหนุ่มโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเกาหลี ชุน เต-อิล อายุ 22 ปี ตัดสินใจใช้ชีวิตตัวเองประกาศถึงความโหดร้ายของนายทุนเกาหลีและการไม่สนใจใย ดีของกระทรวงแรงงานต่อชะตากรรมของคนงานที่อยู่ที่ชั้นล่างของสังคม


หลัง จากการพยายามมาหลายปีเพื่อนำเสนอปัญหาต่างๆ กับเจ้าหน้าที่ เขาตัดสินใจเปิดโปงความโสมมของสังคม ด้วยชีวิต ขณะไฟลุกท่วมร่าง เขาประกาศ "คนงานไม่ใช่เครื่องจักร จงปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน"

ก่อนชีวิตจะดับสลาย เขาขอร้องแม่ว่า "แม่ครับ อย่าทำให้ความตายของผมสูญเปล่า แม้ต้องรับปากว่าจะสานความฝันของผมต่อไป"

ยี่ โซ-ซุน แม่ของชุน เต-อิล ใช้ชีวิตหลังจากการตายของชุน เต-อิล เพื่อสานต่ออุดมการณ์ของลูกชาย เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554

วันนี้จึงเป็นวันร่วมรำลึกถึงการเสียสละที่ยิ่งใหญ่เพื่อสังคม ทั้งชุน เต-อิล และมารดา ยี่ โซ-ซุน


เป็น เวลา 41 ปี มาแล้วที่เขาเสียสละเพื่องคนงานและคนจนเกาหลี และเกาหลีก็ยังจัดงานรำลึกถึงเขามาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่หน้าอนุสรณ์รูปปั้นของเขา ณ ตลาดสันติภาพ ห่างจากจุดที่เขาเผาตัวตายประท้วงเพียงไม่กี่เมตร


การ ต่อสู้ของ ชุน เต-อิล และแม่ รวมทั้งสหายนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเกาหลีใต้ เป็นแรงบันดาลใจสำคัญหนึ่ง ที่ให้เรามุ่งมั่นทำงานเพื่อเมืองไทยโดย "ไม่ยอมจำนน" ต่ออำนาจเผด็จการและความอยุติธรรม

วันนี้แม้จะไม่ใช่วันสำคัญที่คน ไทยเฉลิมฉลอง แต่ในยุคโลกไร้พรมแดน เราสามารถเรียนรู้และร่วมระลึกถึงวีรกรรมของผู้กล้า เช่น กรรมกรตัดผ้า ชุน เต-อิล ที่ส่งผลสะเทือนทั่วทั้งเกาหลี ที่ประกาศว่าเราไม่จำเป็นจะต้อง ยอมจำนนต่อวิถี "เผด็จการศักดินา" หรือ "ทุนสามานย์" เราสามารถสร้างทางเลือกของเราเอง

ขบวนการแรงงานเกาหลี เลือกตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง พรรค ประชาธิปไตยแรงงาน (Democratic Labor Party) เมื่อเดือนมกราคม 2543 แม้จะไม่ใช่พรรคใหญ่ มีสส. เพียง 6 ท่าน แต่เป็นพรรคฝ่ายค้านที่มุ่งมั่นทำหน้าที่เพื่อมวลกรรมาชีพอย่างแท้จริง

ชุน เต-อิลปลุกให้ขบวนการแรงงานเกาหลีตื่น และเรื่องราวของเขาถูกร้อยเรียงในหนังสือชื่อ "A Single Spark: The Biography of Chun Tae-il" เป็นหนังสือใต้ดินที่นักกิจกรรมและคนงานใช้เป็นคู่มือการจัดตั้งมาหลายปี

จน เมื่อประชาชนและกรรมกรเกาหลีใต้ ขับไล่รัฐบาลเผด็จการได้สำเร็จในปี 2530 หนังสือเล่มนี้จึงได้จัดพิมพ์ใหม่ เป็นหนังสือบนดินและได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมคลาสสิคเกาหลี และได้รับการแปลเป็นหลายภาษาทั่วโลก

ในประเทศไทย แปลโดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ ในชื่อเรื่อง "ไม้ขีดก้านเดียวเปลี่ยนสังคมเกาหลี"

ดาวโหลด "ไม้ขีดก้านเดียวเปลี่ยนที่สังคมเกาหลี"


พร้อม กันนี้ เพื่อร่วมรำลึกถึงวีรกรรม ชุน เต-อิล ยี่ โซ-ซุน และวีรกรรมคนหนุ่มสาวในประเทศไทย โดยเฉพาะลุงนวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่ที่พุ่งชนรถถังเพื่อประท้วงรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ลุงนวมทอง ประท้วงเผด็จการด้วยชีวิตด้วยการผูกคอตายที่สะพานลอยตรงข้างสำนำพิมพ์ "หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ"

ลุงนวมทอง ก็เช่นกัน ที่ควรได้รับการระลึกถึงและจดจำในฐานะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองไทย

จึงขอมอบบทกวีข้างล่างนี้ให้กับทุกท่าน และเป็นบทกวีรวมรำลึกถึงวีรกรรมคนหนุ่มสาวที่กล้าท้าอธรรม


* * * * * * * * *

ถึงสหาย หนุ่มสาว ที่ยังฝัน

ที่มา Time Up Thailand


วันนี้ นึกถึงน้องคนหนึ่งที่ทดท้อ ก็เลยได้แรงบันดาลใจเขียนบทกวี มันไม่ใช่งานถนัดเลย และบทนี้ถือเป็นบทกวีที่สองในชีวิตนักกิจกรรม แม้ไม่ถูกสัมผัตามกรอบสวรรณศิลป์ แต่หวังว่าจะตรงใจสหายบางท่าน


ขอมอบให้นักสู้เพื่อประชาธิปไตยทุกคน


************


ถึงสหาย หนุ่มสาว ที่ยังฝัน
นกสีแดง นำเสรี นำชัยมา
คนเท่ากัน เธอเท่าฉัน หงส์เท่ากา
หยุดฆ่าฟัน เริ่มแบ่งปัน ไม่โกงกิน

ฝันสลาย เจอทางตัน ระหว่างทาง
โลกไม่งาม รุ้งไม่ใส ดุจดังฝัน
มิตรฟาดฟัน เพื่อนแทงหลัง แย่งเด่นดัง
ไฟอุดมการณ์ ใกล้มอดแสง ก่อนเส้นชัย

ขอปลุกปลอบ สหายรัก ผู้สับสน
ที่ขื่นขม ทดท้อ ขอหยุดก่อน
โลกสีเทา จนปัญญา แยกขาวดำ
ผลกระทำ ศักดินา กดหัวต่ำ

ไหนจะทุน ยุยั่วยิ่ง มือยาวสาว
ฉวยทุกคราว ได้เร็วกว่า ยอดคนกล้า
ไม่อยากจน แข่งเวลา อย่าหาญท้า
มือสั้นยาว ไม่เท่ากัน เช่นจนรวย

ไทยวิปริต วัดค่าคน ด้วยเงินตรา
ความดีงาม โรยหน้าสวย ด้วยมายา
ทั้งแจกทาน ภาพถ่าย เด็กชรา
กลบน้ำตา ไหลนองเนือง ท่วมนครา

ทั้งพารา ต้องคำสาป สหายเอ๋ย!
นกสีแดง ยังบินว่อน ทั่วน่านฟ้า
จับมือมั่น ไม่ทิ้งกัน นะเพื่อนยา
อีกไม่นาน ฟ้าสว่าง อีกไม่นาน . . .

************