ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 31 October 2011

เวิลด์แบงก์:ไทยที่13ของโลกเสี่ยงภัยธรรมชาติ

ที่มา Thai E-News


ที่มา เว็บไซต์Where is Thailand?

ไทยมีความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติระดับไหนของโลก

การจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยพิบัติ เป็นงานวางแผนระดับนโยบาย ซึ่งต้องประมวลผลข้อมูลและประเมินค่า เพื่อจัดการป้องกันและเตรียมการฟื้นฟูหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจริง

กลุ่มธนาคารโลก ได้จัดเก็บข้อมูลและวางแผนจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยพิบัติ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 เนื่องจากกลุ่มธนาคารโลก นำโดยธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและบูรณะ(IBRD) จะเป็นผู้ปล่อยเงินกู้ให้ประเทศต่างๆ นำไปฟื้นฟู พัฒนา และสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันภัยพิบัติ จึงได้ประเมินผลความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติอันจะกระทบกระเทือนต่อประชากร ในประเทศต่างๆ ไว้เป็นอันดับดังนี้

อันดับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ 20 อันดับแรก (คิดจากความเสียหายโดยรวมต่อGDP เป็น % หากเกิดภัยพิบัติขั้นร้ายแรงที่สุดขึ้นจริงมากกว่า 2 เหตุการณ์)

1. เอล ซัลวาดอร์ 96.4
2. จาไมก้า 96.3
3. สาธารณรัฐโดมินิกัน 95.6
4. กัวเตมาลา 92.2
5. เวียดนาม 89.4
6. อัลบาเนีย 88.5
7. คอสตาริกา 86.6
8. โคลัมเบีย 86.6
9. บังกลาเทศ 86.5
10. ฟิลิปปินส์ 85.2
11. ตุรกี 83.3
12. ตรินิแดดและโตเบโก 83.1
13. ไทย 81.2
14. บาร์เบโดส 79.9
15. เอกวาดอร์ 72.2
16. เม็กซิโก 71.1
17. โดมินิกา 68.3
18. นิคารากัว 67.9
19. ชิลี 67.7
20. อิหร่าน 66.5

โดยสำหรับประเทศไทย หากเกิดภัยพิบัติรุนแรง ซึ่งประเมินว่าจะเกิดจากอุทกภัยเพียงอย่างเดียวนั้น จะทำลายพื้นที่ 47.8% ของประเทศ และส่งผลกระทบต่อประชาชน 70.1% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าเป็นประเทศในกลุ่มที่มีอัตราความเสี่ยงสูง

ข้อมูลนี้บอกอะไร ?

ข้อมูลนี้บอกกับเราว่า GDP ของแต่ละประเทศ “เสี่ยง” ต่อภัยพิบัติมากแค่ไหน ซึ่งพอพูดถึงความเสี่ยงก็มี 2 สิ่งที่ควรทำคือ

1. กระจายความเสี่ยง
และ 2. ลดความเสี่ยง

กระจายความเสี่ยง สามารถทำได้ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ เช่น กระจายความเจริญให้ทั่วพื้นที่มากกว่าให้กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ไม่กี่ แห่ง หรือในเชิงการผลิต เช่น ผลิตสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น หรือผลิตสินค้าภูมิปัญญาให้มากขึ้น (เช่นธุรกิจ software)

แต่สิ่งที่ทำได้เร็วกว่านั้นคือการพยายามลดความเสี่ยง ซึ่งหมายถึงการสร้าง “ระบบ” บริหารภัยพิบัติให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ และจำเป็นต้องทำให้เป็นระบบอย่างแท้จริง (เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน กฏหมาย การสื่อสาร การเงิน การศึกษาให้ความรู้ การบริหารระบบข่าวสาร กลไกการเมืองและระบบราชการ ฯลฯ) มากกว่าจะมองไปที่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว

ท่านสามารถอ่านรายงานการจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติของธนาคารโลกฉบับเต็มได้ที่ http://goo.gl/IIuTp

และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติได้ที่

http://www.worldbank.org/ieg/naturaldisasters/