ฟ้องยูเอ็น – สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้
เป็นอีกประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นไปร้องเรียนต่อสหประชาติ
องค์กรภาคประชาสังคม 10 ประเทศสมาชิก ASEAN เขียนรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review – UPR) ส่งข้าหลวงใหญ่ในนามของผู้มีส่วนได้เสีย หรือ Stake holders กว่า 150 องค์กร ถือเป็นกลุ่มประเทศที่ภาคประชาสังคมส่งรายงานสถานการณ์สิทธิมากกลุ่มหนึ่ง ของโลก
ข้อมูลถูกเปิดเผยในงานรายการเสวนา provisional program of work Universal periodic Review Reports: Process, Coorperation and implementation จัดโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 ห้องประชุมจุมภฎ พันธุ์ทิพย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ประเทศที่ภาคประชาสังคมส่งรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนมากที่สุดใน ภูมิภาคอาเซียนคือ ประเทศฟิลิปปินส์ 31 องค์กร และประเทศไทย 27 องค์กร ส่วนประเทศพม่าที่มีข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศมากในภูมิภาค มีรายงานส่งไปกว่า 24 องค์กร
ตัวแทนจากประเทศฟิลิปปินส์ เผยว่า ASEAN มีความพร้อมในการติดตามการทำงานของรัฐบาล ให้ทำตามกติกาที่รับมอบหมายจากสำนักข้าหลวงใหญ่ สหประชาชาติ ภาคประชาสังคมต้องร่วมตรวจสอบให้การทำงานประเด็นสิทธิมนุษยชนในพื้นที่มี ความจริงจังมากขึ้น
Mr. Jong Gil Woo ตัวแทนจาก the Office of the United Nations high Commissioner for Rights (OHCHR) กล่าวต่อที่ประชุมว่า หลังจากมีการทบทวนรายงานในเจนีวาแล้ว ในเดือนตุลาคม 2554 อาจจะต้องพูดคุยถึงการผลักดันให้มีการปฏิบัติ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสำนักข้าหลวงใหญ่ สหประชาชาติ เมื่อปี 2553 ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้เดินทางมายังประเทศไทย เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประเทศไทยจำนวนมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญมีเวลาน้อย จึงไม่สามารถเดินทางไปรับฟังข้อร้องเรียนได้ครบทุกประเด็น
“สิ่งที่ทางองค์กรภาคประชาสังคมสามารถทำได้คือ พยายามเตรียมเอกสารและข้อมูลให้รอบด้านมากที่สุด” Mr. Jong Gil Woo กล่าว
นางชลิดา ทาเจริญสุข ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน ในฐานะประธานการจัดงานเสวนา เสนอต่อที่ประชุมว่า กระบวนการเขียนรายงานยูพีอาร์ของประเทศไทยเป็นเรื่องยากมาก เพราะเป็นกลไกใหม่ที่ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ในระหว่างการร่างรายงานต้องมีการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาใช้ประกอบในเนื้อหาของรายงาน รวมทั้งต้องติดตามให้ผู้เกี่ยวข้องอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง
“สำหรับรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องมีการสมดุลพื้นที่ในรายงานด้วย เมื่อเนื้อหาในรายงานมีการเสนอสถานการณ์การละเมิดที่เกิดขึ้นจริง ในการขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษยชน ฝ่ายรัฐบาลก็ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในฐานะสมาชิกสหประชาติ ทั้งนี้ประเทศไทยจะถูกประเมินจากสหประชาชาติ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2554” นางชลิดา กล่าว