ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 10 September 2011

อุปสรรค ขวากหนาม นโยบายค่าแรง นโยบายข้าว ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา

ที่มา มติชน



ไม่ว่านโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่ว่านโยบายรับจำนำข้าวโดยมีราคาเริ่มต้นที่ 15,000 บาทต่อเกวียน

ล้วนดำเนินไปด้วยความยากลำบาก

กล่าว สำหรับนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่เพียงแต่จะถูกต่อต้าน จากสถาบันอันเป็นตัวแทนของทุนใหญ่ อย่างเช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย

หากแม้กระทั่งองค์กรอันเป็น "ตัวแทน" ของผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานทั่วไปและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็มองด้วยความคลางแคลง ไม่แน่ใจ

ยิ่งนโยบายรับจำนำข้าว ยิ่งถูกประสานเสียงต่อต้านทั้งจากผู้ส่งออกและนักวิชาการ

เหตุผลที่ยกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะมาจากนักวิชาการ ไม่ว่าจะมาจากผู้ประกอบการ แน่นหนาด้วยข้อมูลและสถิติ

แสดงให้เห็นหายนะมากกว่าจะวัฒนะ

หาก รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยืนหยัดในแนวคิดปรับฐานค่าแรง ไม่ยืนหยัดในแนวคิดยกระดับรายได้ให้แก่ชาวนา ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่นโยบายเหล่านี้จะเดินหน้าต่อไปได้

การช่วยเหลือชาวนา การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ลำบากยากยิ่งในสังคมแห่งนี้



คล้ายกับว่า การนำเสนอนโยบายปรับฐานค่าแรงขั้นต่ำมาอยู่ที่ 300 บาทต่อวัน เป็นการนำเสนอในแนวทางอย่างที่เรียกว่า

"ประชานิยม"

คล้ายกับว่า การนำเสนอนโยบายตามโครงการจำนำราคาข้าวโดยเริ่มต้นที่เกวียนละ 15,000 บาท จะเป็นการนำเสนอในแนวทางอย่างที่เรียกว่า

"ประชานิยม"

ทั้งๆ ที่หากกล่าวสำหรับการนำเสนอค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ที่ 300 บาทต่อวัน เป้าหมาย 1 เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของ ผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกัน เป้าหมาย 1 เพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างค่าแรงให้สอดรับและใกล้เคียงกับสภาพความเป็น จริง

ประการหลังนี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างสูงต่อโครงสร้างการผลิตภายในประเทศ

หากพิจารณาโครงการนี้อย่างสอดรับกับการปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรีไปอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน

ทั้งหมดนี้คือการยกระดับครั้งใหญ่ภายในโครงสร้างเงินเดือนของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

ประชา นิยมอย่างนี้มิได้เป็นประชานิยมที่หวังสร้างและสะสมคะแนนเสียงเพียงด้าน เดียว ตรงกันข้าม คำนึงถึงโครงสร้างการผลิตของประเทศโดยองค์รวมไปด้วยในขณะเดียวกัน

นี่ก็สอดรับไปกับการยกระดับชีวิตชาวนาด้วยการปรับราคาข้าวให้สูงขึ้น



หากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามารถดำเนินนโยบายตามที่ประกาศระหว่างหาเสียงได้อย่างครบถ้วน ทั้งนโยบายเฉพาะหน้าและนโยบายระยะยาว

ก็เป็นเรื่องน่ากลัว

เป็น ความน่ากลัวสำหรับพรรคการเมืองอันเป็นคู่แข่ง เพราะทั้งหมดนี้เท่ากับเป็นการต่อยอดความสำเร็จ อันพรรคไทยรักไทยได้เคยทำไว้จากการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2544 จนถึงรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

รูปธรรมแห่งความสำเร็จของพรรค ไทยรักไทย คือ การได้รับเลือกตั้ง 377 จากจำนวน ส.ส.ทั้งสภา 500 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548

นี่คือชนวนอย่างแท้จริงอันนำไปสู่การโค่นล้ม ทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การหวนกลับมาของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 การหวนกลับมาของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554

1 เพื่อตอกย้ำและยืนยันความล้มเหลวของรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ขณะเดียวกัน 1 เพื่อเดินหน้าความสำเร็จในยุคพรรคไทยรักไทยได้ปฏิบัติเอาไว้

กระแส คัดค้าน กระแสต่อต้าน ไม่ว่าต่อนโยบายอันนำเสนอเข้ามา ไม่ว่าต่อแต่ละจังหวะก้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป้าหมายก็เพื่อเตะสกัดขาในทาง การเมือง

พื้นฐานมาจากความระแวง พื้นฐานมาจากความหวาดกลัว



กระนั้น จุดแข็งเป็นอย่างมากในเชิงนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ทรงความหมาย

ความ หมาย 1 เป็นนโยบายเพื่อคนยากคนจนทั้งที่เป็นคนจนเมือง คนจนในชนบท ความหมาย 1 เป็นนโยบายเพื่อปรับโครง สร้างของคนส่วนใหญ่ทั้งในชนบทและในเมือง

ความหมายนี้มีผลต่อพัฒนาการของประเทศ มีผลต่อคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทย