ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 12 September 2011

นอม ชอมสกี้ มองย้อนโศกนาฏกรรม 9/11

ที่มา ประชาไท


บทความ : Chomsky: 9/11 - was there an alternative?

บัดนี้ (ตามเวลาของผู้เขียนบทความ) ก็ใกล้จะครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์วินาศกรรมวันที่ 11 ก.ย. 2001 แล้ว ซึ่งเป็นปกติที่จะมีการจัดรำลึก ในวันที่ 1 พ.ค. ผู้ที่น่าจะเป็นตัวบงการเบื้องหลังอาชญากรรม โอซามา บิน ลาเดน ก็ถูกสังหารในปากีสถานโดยหน่วยคอมมานโดของสหรัฐฯ กับนาวีซีล หลังจากที่เขาถูกจับตัวเอาไว้โดยไม่มีอาวุธป้องกันตนเองในปฏิบัติการเจอโรนิ โม

นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่าแม้บิน ลาเดน จะถูกสังหารแล้ว แต่เขาก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในสงครามที่เขาก่อกับสหรัฐฯ อิริก มารืโกลิสเขียนไว้ว่า "เขาได้ย้ำเสมอว่าวิธีการเดียวที่จะทำให้สหรัฐฯ ออกห่างจากโลกมุสลิมและเอาชนะเหล่าข้าหลวง (satraps-เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ปกครองมณฑลของเปอร์เซีย) พวกนั้นได้คือการดึงให้สหรัฐฯ มาทำสงครามย่อมๆ แต่ราคาแพง จนทำให้พวกนั้นล้มละลายได้"

อิริก เขียนไว้อีกว่า "ซึ่งก็คือการ 'การทำให้สหรัฐฯ หลั่งเลือด' ในคำของเขา สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของจอร์จ ดับเบิ้ลยุ บุช ไปจนถึงบารัค โอบาม่า ต่างก็พุ่งเข้าหากับดักของบิน ลาเดน ... ด้วยแผนการใช้จ่ายงบประมาณการทหารที่สุดพิศดารและการเสพย์ติดหนี้... ตัวนี้แหละอาจเป็นภัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ชายผู้นั้นฝากทิ้งไว้ ชายผู้ที่คิดว่าตนจะเอาชนะสหรัฐฯ" โดยส่วนหนึ่งแล้วการติดหนี้ของสหรัฐฯ ก็ถูกพวกขวาจัดนำมาใช้ประโยชน์กับกาสมรู้ร่วมคิดกับพรรคเดโมแครต เพื่อบ่อนทำลายโครงการณ์ทางสังคมต่างๆ เช่น การศึกษาสาธารณะ, สหภาพแรงงาน และโดยทั่วไปคือเกราะคุ้มกันที่เหลืออยู่ที่จะคอยป้องกับระบอบบรรษัททรราช

การที่รัฐบาลสหรัฐฯ ตอบสนองความปรารถนาอันแรงกล้าของบิน ลาเดน นั้นก็เป็นไปในชั่วพริบตา เช่นที่ผมได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ 9/11 ที่เขียนขึ้นไม่นานหลังจากเหตุการณ์เกิด ใครที่มีความรู้ในด้านนี้คงเข้าใจดีว่า "การโจมตีชาวมุสลิมอย่างหนักนั้นเป็นการตอบสนองคำภาวนาของบิน ลาเดนและพรรคพวกของเขา และจะทำให้สหรัฐฯ กับประเทศพันธมิตรถูกล่อลวงไปสู่ 'กับดักปีศาจ' เช่นที่รัฐบาลต่างประเทศของฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้"

ไมเคิล ชาวเออร์ นักวิเคราะห์อาวุโสของซีไอเอที่มีส่วนรับผิดชอบกับการตามล่าโอซาม่า บิน ลาเดน ตั้งแต่ปี 1996 ก็เขียนเอาไว้ไม่นานจากนั้นว่า "บิน ลาเดน พูดอย่างตรงไปตรงมาว่าทำไมเขาถึงต้องการทำสงครามกับสหรัฐฯ เขาออกมาเพื่อให้สหรัฐฯ และโลกตะวันตกเปลี่ยนนโยบายการปฏิบัติต่อโลกอิสลาม" แล้วก็สำเร็จลุล่วงด้วย "กองกำลังของสหรัฐฯ ทำให้โลกอิสลามถูกมองเป็นกลุ่มหัวรุนแรง เป็นสิ่งเดียวกับที่โอซามา บิน ลาเดน พยายามจะทำ ซึ่งเขาได้ทำเป็นรูปเป็นร่างมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990s แล้ว ผลก็คือผมคิดว่า หากเราจะสรุปว่าสหรับอเมริกาเป็นพันธมิตรหนึ่งเดียวที่บิน ลาเดน ขาดไม่ได้ก็คงไม่ผิดนัก" แล้วก็ยังคงเป็นอยู่ด้วย แม้ว่าเขาจะตายไปแล้วก็ตาม

9/11 ของแท้ครั้งแรก

มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่? มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มสงครามศาสนาซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกวิจารณ์ในเรื่อง นี้จะเป็นเป็นบิน ลาเดน อาจจะถูกแบ่งแยกหรือบ่อนทำลายหลังเหตุการณ์ 9/11 "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ชื่อเรียกที่ถูก และควรจะมีวิธีทางแก้ปัญหาในฐานะอาชญากรรมโดยปฏิบัติการชองนานาชาติในการจับ กุมผู้ต้องสงสัย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคนเห็นด้วยในเวลานั้น แต่ไม่มีการพิจารณาใดๆ เลย

ในหนังสือ 9/11 มีการอ้างคำพูดของ โรเบิร์ท ฟิสก์ ซึ่งมีข้อสรุปว่า "อาชญากรรมอันน่าสะพรึง" ของ 9/11 นั้นเป็นการกระทำอย่าง "ชั่วช้าและด้วยความโหดเหี้ยมอำมหิต" ซึ่งเป็นการตัดสินที่แม่นตรง และควรจะจดจำไว้ว่าไม่มีอาชญากรรมไหนจะเลวร้ายไปกว่านี้อีก จะยกตัวอย่างที่เลวร้ายกว่าคือการไปไกลถึงขั้นระเบิดทำเนียบขาว สังหารประธานาธิบดี อาศัยระบอบเผด็จการทหารสังหารประชาชนนับพันและทรมานประชาชนอีกนับหมื่น ขณะเดียวกันก็จัดตั้งหน่วยงานก่อการร้ายในระดับนานาชาติที่ส่งเสริมให้มีการ ทรมานและสร้างความหวาดกลัวในรัฐอื่น มีการวางแผนลอบสังหารในระดับนานาชาติ และกระตุ้นให้เลวร้ายไปกว่านี้ด้วยการตั้งทีมเศรษฐกิจ ใช้ชื่อว่า "เดอะ กันดาฮาร์ บอย" (Kandahar - เขตปกครองในอัฟกานิสถาน) ผู้ที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ถ้าเป็นเช่นนี้แหละ ถึงจะเรียกว่าเลวร้ายกว่า 9/11

แต่โชคร้ายที่สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่แค่สิ่งที่ทดลองคิดขึ้นมาเล่นๆ มันได้เกิดขึ้นจริง สิ่งเดียวที่ไม่แม่นคือ มันควรจะเอาไปคูณด้วย 25 เพื่อสามารถเทียบกับอัตราเฉลี่ยต่อหัวได้ แน่นอนว่าผมกำลังจะกล่าวถึงสิ่งที่ประเทศละตินอเมริกามักจะเรียกว่า "9/11 ครั้งแรก" คือเหตุการณ์ในวันที่ 11 ก.ย. 1973 เมื่อสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการล้มรัฐบาลประชาธิปไตยของ ซัลวาดอร์ อัลเลนด์ ในชิลี โดยการก่อรัฐประหารและนำนายพลปิโนเชต์ เผด็จการผู้โหดเหี้ยมขึ้นเป้นผู้นำ เป้าหมายจากปากคำของรัฐบาลนิกสันคือการขจัด "ไวรัส" ซึ่งจะคอยหนุนให้ "พวกต่างชาติที่จะมาหาเรื่องเรา" ยึดครองทรัพยากรกลับคืนไปเป็นของพวกเขาเอง และเริ่มมีนโยบายในการพัฒนาประเทศอย่างไม่ขึ้นกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่สหรัฐฯ ยอมไม่ได้ ในเบื้องหลังนั้นสภาความมั่นคงแห่งชาติได้สรุปว่า หากสหรัฐฯ ไม่สามารถควบคุมละตินอเมริกาได้ ก็อย่างหวังที่จะ "ใช้อำนาจควบคุมที่อื่นในโลก"

เหตุการณ์ 9/11 ครั้งแรกนั้นไม่เหมือนครั้งที่สอง มันไม่ได้ถึงขั้นเปลี่ยนโลก "ไม่มีอะไรที่ถือเป็นผลกระทบใหญ่หลวง" เช่นที่เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รมต.ต่างประเทศในสมัยนั้นได้กล่าวกับประธานาธิบดี

เหตุการณ์ที่ส่งผลน้อยนิดนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การรัฐประหารที่ทำลาย ประชาธิปไตยของชิลีและก่อให้เกิดเรื่องน่ากลัวตามมาเท่านั้น '9/11 ครั้งแรก' เป็นเพียงแค่บทหนึ่งของละครที่เริ่มเรื่องมาตั้งแต่ 1962 เมื่อ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ เปลี่ยนรูปแบบพันธกิจของกองทัพละตินอเมริกาจาก "การคุ้มกันภูมิภาค" ซึ่งต่อเนื่องมาจากสงครามโลกครังที่ 2 ไปเป็น "ความมั่นคงภายใน" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกตีความอย่างน่าขนลุกภายในวงชาวละตินอเมริกาที่ถูก สหรัฐฯ ครอบงำ

เมื่อไม่นานมานี้ทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็มีหนังสือ History of the Cold War ออกมา โดยนักวิชาการด้านละตินอเมริกา จอห์น โคทเวิร์ธเขียนไว้ว่า ตั้งแต่เวลานั้นมาจนถึง "การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1990 จำนวนนักโทษการเมือง เหยื่อที่ถูกทรมาน และการสังหารผู้ประท้วงทางการเมืองที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงในละตินอเมริกาก็ มีมากขึ้นจนแซงหน้าสหภาพโซเวียตและประเทศยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวาร" รวมถึงการสละชีพทางศาสนาและการสังหารหมู่ที่มีการสนับสนุนหรือริเริ่มจาก รัฐบาลสหรัฐฯ ด้วย เหตุรุนแรงครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นคือการสังหารปัญญาชนละตินอเมริกัน 6 รายอย่างโหดเหี้ยม รวมถึงนักบวชนิกายเยซูอิด เพียงไม่กี่วันหลังจากกำแพงเบอร์ลินแตก ผู้ก่อการคือหน่วยทหารพิเศษของเอล ซัลวาดอร์ ที่เคยกระทำการนองเลือดอย่างน่าหวาดผวา ถูกฝึกมาจากโรงเรียนฝึกหน่วยรบพิเศษของจอห์น เอฟ เคนเนดี รับคำสั่งโดยตรงมาจากเบื้องสูงของสหรัฐฯ

ผลที่ตามมายังคงทำให้ภูมิภาคนี้ย่ำแย่ และกระทบกระเทือนอย่างมาก

จากลักพาตัว ทรมาน ไปจนถึงลอบสังหาร

ทั้งหมดนี้รวมถึงเรื่องที่ใกล้เคียงกันกลับถูกเพิกเฉยราวกับว่าไม่ได้ส่ง ผลอะไรมาก แล้วก็ลืมเลือนไป กลุ่มคนที่มีภารกิจต้องคอยปกครองโลกชื่นชมกับภาพลักษณ์ที่ชวนให้ตัวเองสบาย ใจมากกว่า มีการสื่อออกมาอย่างดีในวารสารที่น่านับถือ (และมีคุณค่า) เล่มล่าสุดของสถาบันราชบัณฑิตด้านการต่างประเทศของลอนดอน บทความหลักในเล่มกล่าวถึงเรื่อง "การจัดระเบียบโลกอย่างมีวิสัยทัศน์" ของ "ยุคครึ่งหลังศตวรรษที่ยี่สิบ" โดยเน้นถึง "การทำให้วิสัยทัศน์ด้านความมั่งคั่งทางพาณิชย์ในแบบอเมริกันกลายเป็นสากล โลก" มันก็มีอะไรบางอย่างที่น่าจะจริง แต่ก็ไม่ได้โยงให้นึกถึงคนที่อยู่ปลายปากกระบอกปืน

เป็นเรื่องเดียวกันกับการสังหารโอซามา บิน ลาเดน ที่ทำให้ "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" ดำเนินมาถึงจัดสุดท้าย ซึ่งคำว่า "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" นี้เองถูกประกาศโดยจอร์จ ดับเบิ้ลยุ บุช ในเหตุการณ์ 9/11 ครั้งที่สอง เราลองมาปรับทัศนะเกี่ยวกับเหตุการณ์และความสำคัญของมันดูบ้าง

ในวันที่ 1 พ.ค. 2011 โอซามา บิน ลาเดน ถูกสังหารในที่พักที่ไม่มีการคุ้มกัน โดยกลุ่มจู่โจมนาวีซีล 79 ราย ที่เข้าไปในปากีสถานโดยเฮลิคอปเตอร์ หลังจากมีเรื่องราวน่ากลัวจำนวนมากออกมาจากรัฐบาลแล้วก็เงียบหายไป ในทีสุดรายงานอย่างเป็นทางการก็ทำให้กระจ่างขึ้นมาว่าการปฏิบัติการในครั้ง นี้เป็นการวางแผนสังหาร โดยมีการละเมิดบรรทัดฐานของกฏหมายนานาชาติหลายข้อ เริ่มจากการรุกล้ำเขตแดนอันดับแรก

ดูเหมือนพวกเขาจะไม่พยายามจับกุมผู้ที่ไม่มีอาวุธอยู่ในมือเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้แน่ๆ สำหรับหน่วยรบพิเศษ 79 นายที่ไม่มีอะไรต่อต้าน เว้นแต่ตามที่รายงานบอกคือภรรยาของบิน ลาเดน ซึ่งก็ไม่มีอาวุธเช่นกัน แล้วพวกเขาก็ยิงภรรยาของบิน ลาเดน ขณะที่เธอ "พุ่งเข้าใส่" พวกเขา หากอ้างจากที่ทำเนียบขาวบอก

มีผู้เล่าถึงเหตุการณ์นี้ในอีกมุมมองหนึ่งที่น่าเชื่อถือได้คือจากผู้ สื่อข่าวตะวันออกกลางที่มากประสบการณ์อย่า ง โยชิ เดรียเซน และเพื่อนร่วมงานจากหนังสือพิมพ์ Atlantic เดรียเซนเคยเป็นนักข่าวสายการทหารให้กับ Wall Street Journal มาก่อน แล้วยังเป็นผู้สื่อข่าวอาวุโสให้กับกลุ่มเนชันนัลเจอร์นัลกรุ๊ปในประเด็นการ ทหารและความมั่นคงของประเทศ จากการสืบสวนของพวกเขาแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้พิจารณาเรื่องการจับเป็นบิน ลาเดน เลย "เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลจากที่ประชุมหารือว่า ทางรัฐบาลได้สั่งการอย่างชัดเจนกับปฏิบัติการลับของหน่วยรบพิเศษร่วมว่าต้อง การจับตายบิน ลาเดน เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงก็ออกคำสั่งอย่างสังเขปกับหน่วยซีลว่าภารกิจของพวก เขาไม่ใช่การจับเป็น"

พวกเขายังได้เสริมไว้ด้วยว่า "หลายคนในเพนทากอนและหน่วยข่าวกรองกลางที่ใช้เวลากว่าทศวรรษออกล่าบิน ลาเดน ต่างก็คิดว่าการสังหารผู้นำกลุ่มติดอาวุธคนนี้เป็นการล้างแค้นที่มีความชอบ ธรรม" นอกจากนี้แล้ว "การจับเป้นบิน ลาเดน อาจทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องเจอกับการความท้าทายด้านกฏหมายและด้านการเมืองที่น่ารำคาญสำหรับพวกเขา" ดังนั้นจึงสั่งให้สังหารบิน ลาเดน ไปเลยดีกว่า เอาศพไปทิ้งทะเลโดยไม่มีการพิสูจน์ทางนิติเวช เป็นการกระทำที่เดาทางได้ว่าจะทำให้โลกมุสลิมรู้สึกเคืองและสงสัย

นักสืบสวนสอบสวนตั้งข้อสังเกตว่า "การตัดสินใจสังหารบิน ลาเดน นั้นเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาลโอบาม่าอย่าง ชัดแจ้งจากที่ก่อนหน้านี้มีการแสดงให้เห็นผลงานด้านนี้น้อยมาก ขระที่รัฐบาลบุชจัดกุมตัวผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายแล้วส่งตัวไป ยังค่ายกักกันในอัฟกานิสถาน, อิรัก และอ่าวกวนตานาโม รัฐบาลโอบาม่าทำอีกอย่างหนึ่งคือ เน้นการกำจัดผู้ก่อการร้ายแบบรายบุคคลแทนการพยายามจับเป็น" นี่คือสิ่งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างรัฐบาลบุชกับรัฐบาลโอบาม่า มีการอ้างถึงคำพูดของนายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันตก เอลมุท ชมิดท์ ที่ "กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ของเยอรมนีว่าการจู่โจมของสหรัฐฯ นั้น 'เห็นได้ชัดว่าเป็นการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศ' และบอกอีกว่าบิน ลาเดน ควรถูกจับกุมตัวมาดำเนินคดี" ในทางตรงข้าม รมต.กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ อิริค โฮลเดอร์ ได้ออกมา "กล่าวปกป้องการตัดสินใจสังหารบิน ลาเดน แม้ว่าบิน ลาเดน จะไม่ได้มีท่าทีจะทำอันตรายใดๆ กับหน่วยนาวีซีลเลย เขากล่าวในการอภิปรายของรัฐบาลว่าการจู่โจมนั้น 'เป็นไปตามกฏหมาย มีความชอบธรรม และกระทำอย่างเหมาะสมในทุกด้าน'"

การนำศพไปทิ้งโดยไม่มีการชันสูตรยังถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศพันธมิตร ด้วย ทนายความอังกฤษที่มีความน่าเชื่อถือสูงอย่าง จีออฟรี โรเบิร์ทสัน ผู้ที่สนับสนุนการใช้กำลังทหารของสหรัฐฯ แทรกแซงและไม่เห็นด้วยกับการสังหารบิน ลาเดน ด้วยเหตุผลในทางปฏิบัติ เขาบอกว่าการที่โอบาม่าบอกว่า "ความยุติธรรมบังเกิดแล้ว" นั้นเป็น "เรื่องเหลวไหล" ที่อดีตศาตราจารย์ด้านกฏหมายรัฐธรรมนูญอย่างเขาจะเห็นแบบนี้คงไม่แปลกเท่า ไหร่ เนื่องจากกฏหมายของปากีสถานระบุไว้ว่า "ควรมีการสืบสวนหาความจริงในการเสียชีวิตอย่างผิดธรรมชาติ และกฏหมายสิทธิมนุษยชนสากลก็ย้ำว่า 'สิทธิในการมีชีวิตอยู่' สั่งให้ต้องมีการสืบหาความจริงเกี่ยวกับการตายอย่างผิดธรรมชาติ ที่มาจากการกระทำของรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้นสหรัฐฯ จึงต้องมีการไต่สวนข้อเท็จจริงของสถานการณ์เพื่อให้ชาวโลกพอใจ"

โรเบิร์ทสันยังได้กล่าวสิ่งที่มีประโยชน์ที่จะย้ำเตือนพวกเราว่า

"มันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เมื่อเวลาพิพากษาตัดสินคนที่จมอยู่ในความชั่วยิ่งกว่าบิน ลาเดน อย่างผู้นำนาซีมาถึง รัฐบาลอังกฤษก็ต้องการให้พวกนาซีถูกแขวนคอภายใน 6 ชั่วโมง หลังการถูกจับตัว ประธานาธิบดีทรูแมนคัดค้าน โดยอ้างถึงข้อสรุปของ รมต.ยุติธรรม โรเบิร์ต แจ็กสัน ว่าการตัดสินประหารชีวิตจะติดฝังอยู่กับจิตสำนึกของชาวอเมริกันอย่างไม่น่า จดจำ หรือจะทำให้เด็กรุ่นต่อไปจดจำมันอย่างภาคภูมิใจนั้น ...สิ่งเดียวที่จะตัดสินคือตัวผู้ถูกกล่าวหามีความผิดจริงหรือไม่นั้น ก็หลังจากกาลเวลาผู้สดับฟังอย่างเป็นกลางจะอนุญาต และหลังจากข้อมูลที่จะทำให้เหตุผลกับแรงจูงใจของเราชัดเจน"

อิริก มาร์โกลิส ให้ความเห็นว่า "รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่เคยนำหลักฐานพิสูจน์ว่าโอซามา บิน ลาเดน อยู่เบื้องหลังเหตุการ 9/11 ออกมาสู่สาธารณะ" เหตุผลหนึ่งที่เป็นไปได้คือ "มีผลสำรวจออกมาว่าหนึ่งในสามของกลุ่มประชากรชาวอเมริกันเห็นว่ารัฐบาล สหรัฐฯ และ/หรือ อิสราเอลอยู่เบื้องหลังโศกนาฏกรรม 9/11" ขณะที่ในโลกมุสลิมมีผู้สงสัยในเรื่องนี้มากกว่า อิริก ยังได้กล่าวต่ออีกว่า "หากมีการดำเนินคดีในสหรัฐฯ หรือที่กรุงเฮก (ศาลโลก) คงทำให้เรื่องนี้ถูกเปิดโปงสู่สาธารณะ" ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงควรทำตามกฏหมาย

สิ่งที่เอฟบีไอเชื่อว่าจริงในเดือน มิ.ย. ปี 2002 คือสิ่งที่พวกเขาไม่รู้มาก่อนว่า 8 เดือนก่อนหน้านั้นรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเสนอของกลุ่มตอลีบัน (ซึ่งจะจริงจังขนาดไหนเราก็ไม่ทราบ) ที่เสนอว่าว่าจะอนุญาติให้นำตัวบิน ลาเดน ไปดำเนินคดีหากพบหลักฐานว่าเขาผิดจริง แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องจริงเมื่อประธานาธิบดีโอบาม่าอ้างในแถลงการณ์ของ ทำเนียบขาวที่ออกมาหลังจากบิน ลาเดน เสียชีวิตว่า "พวกเราทราบอย่างรวดเร็วว่าการโจมตี 9/11 เป็นการกระทำของกลุ่ม อัล-เคด้า"

ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราต้องสงสัยสิ่งที่เอฟบีไอเชื่อในช่วงกลางปี 2002 แต่นั่นก็ยังทำให้เราห่างไกลจากการพิสูจน์ความผิดที่ควรจะมีในสังคมอารยะ เช่นนี้ รวมถึงหลักฐานใดๆ ก็ตามเท่าที่หามาได้ มันไม่มีเหตุผลอันสมควรในการจะสังหารผู้ต้องสงสัยผู้ที่สามารถจับกุมตัวมา ดำเนินคดีอย่างง่ายดาย เรื่องนี้ยังหมายถึงการหาหลักฐานด้วย คณะกรรมการ 9/11 ได้สืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเรื่องบทบาทของบิน ลาเดน ต่อเหตุการณ์ 9/11 โดยอาศัยข้อมุลหลักแค่จากคำสารภาพของนักโทษในกวนตานาโม น่าสงสัยมากว่าหลักฐานอ้างนี้เอาไปใช้ได้จริงในศาลอิสระได้จริงหรือไม่ เนื่องจากการสารภาพนี้เป็นการถูกกระตุ้นให้สารภาพ แล้วหากข้อสรุปของการสืบสวนจากรัฐบาลสหรัฐฯ พูดในเชิงถ้ามันมีจริง ก็ไม่ได้มีถูกตัดสินความโดยศาลที่น่าเชื่อถือพอที่จะทำให้ผู้ต้องสงสัยกลาย มาเป็นผู้มีความผิดจริง

มีหลายคนพูดถึง "คำสารภาพ" ของบิน ลาเดน แต่นั่นถือเป็นคำคุยโว ไม่ใช่คำสารภาพ มันมีความน่าเชื่อถือพอๆ กับที่ผมจะ "สารภาพ" ว่าผมชนะการแข่งวิ่งมาราธอนของบอสตัน คำคุยโวทำให้เราเห็นบุคลิกหลายอย่างของบิน ลาเดน แต่ก็ไม่มีอะไรโยงไปถึงความรับผิดชอบกับสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็น "ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่" ที่เขายกเครดิตให้ตัวเองเลย

และแน่นอนว่าเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลในการตัดสินว่าบิน ลาเดน มีส่วนในการก่อวินาศกรรมหรือไม่ ซึ่งก็เห็นได้ชัดทันที แม้ก่อนการสืบสวนของเอฟบีไอด้วยซ้ำ

อาชญากรรมของการรุกราน

ผมอยากจะเสริมไว้ด้วยว่าคนในโลกมุสลืมจำนวนมากก็มองว่าบิน ลาเดน มีส่วนกับเหตุวินาศกรรม 9/11 และได้ประณามเขาด้วย ตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญคือชีค ฟัดอัลลาห์ นักบวชเลบานอนที่เป็นที่เคารพในหมู่เฮซบอลลาและนิกายชีอะห์ที่อยู่ประเทศ อื่น เขาเคยถูกลอบวางแผนลอบสังหารมาก่อน โดยมีคนลอบวางระเบิดรถบรรทุกภายนอกมัสยิด ซึ่งเป็นปฏิบัติการของซีไอเอช่วงปี 1985 เขาหนีรอดมาได้ แต่ก็มีคน 80 คนถูกสังหารไป ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กที่กำลังทยอยออกมาจากมัสยิด นี่เป็นหนึ่งในอาชญากรรมนับไม่ถ้วนที่ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในบัญชีของการก่อการ ร้าย เพียงเพราะการใช้เหตุผลวิบัติของ "หน่วยงานที่มีความผิด" ชีค ฟัดอัลลาห์เองก็ประณามการโจมตี 9/11

หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมกับขบวนการสงครามศาสนา ฟาวาซ เกอเจส เสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มอาจถูกทำให้แตกไปได้ในเวลานั้นหากสหรัฐฯ ฉวยโอกาส แทนที่จะยิ่งช่วยขับเคลื่อนขบวนการ ส่วนหนึ่งก็ด้วยการโจมตีอิรัก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับบิน ลาเดน ทำให้การก่อการร้ายยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีพวกสายลับเข้ามาร่วมด้วย จากการฟังผลการพิจารณาคดีเบื้องหลังการบุกอิรักโดย (จอห์น) ชิลคอท ผู้ไต่สวนจากอังกฤษ ยกตัวอย่างได้ว่า อดีตองค์กรข่าวกรองภายในประเทศอังกฤษ MI5 ให้การว่า หน่วยข่าวกรองของทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษต่างทราบดีว่าซัดดัมไม่ได้แสดงตนเป็นภัยร้ายแรงใดๆ การบุกอิรักยิ่งทำให้การก่อการร้ายเพิ่มมากขึ้น การบุกอิรักและอัฟกานิสถานยิ่งทำให้เกิดมุสลืมรุ่นต่อมาที่มีความสุดโต่ง ขึ้นเมื่อเขาเห็นว่าปฏิบัติการทางทหารเป็น "การโจมตีอิสลาม" ซึ่งก็ถือเป็นอีกกรณีว่าความปลอดภัยไม่ใช้สิ่งที่คำนึงถึงอันดับต้นๆ ในการปฏิบัติการ

พวกเราควรตั้งคำถามแบบเตือนตัวเองดูว่า เราควรจะทำอย่างไรหากมีทหารหน่วยพิเศษของอิรักบุกไปถึงที่พักของจอร์จ ดับเบิลยู บุช แล้วสังหารเขา เอาร่างเขาไปทิ้งมหาสมุทรแอตแลนติก (แน่นอนว่าหลังจากทำพิธีศพตามประเพณีแล้ว) ไม่มีข้อโต้แย้งเลยว่าบุชไม่ใช่ "ผู้ต้องสงสัย" แต่เป็น "ผู้ตัดสินใจ" สั่งการให้บุกประเทศอิรัก ซึ่งก็อการ "ก่ออาชญากรมร้ายแรงข้ามชาติ ที่ต่างจากอาชญากรรมสงครามอื่นๆ ตรงที่เป็นแหล่งรวมความชั่วร้ายทั้งหมดไว้ในตัว" ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่ทำให้อาชญากรนาซีถูกแขวนคอ เขาทำให้ประชาชนนับแสนเสียชีวิต อีกกว่าล้านกลายเป็นผู้อพยพ ทำลายประเทศและแหล่งมรดกของชาติ ทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่นิกายย่อยลุกลามไปทั่วภูมิภาค ที่ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ อีกคือ อาชญากรรมเหล่านี้มากเกินกว่าที่บืน ลาเดน ก่อไว้เสียอีก

แม้จะบอกว่าไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ถูกปฏิเสธ การมีอยู่ของกลุ่มผู้เชื่อว่าโลกแบนไม่ได้เปลี่ยนข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้ แย้งว่า โลกไม่ได้แบน เช่นเดียวกับที่บอกว่าสตาลินและฮิตเลอร์เป็นผู้ก่ออาชญากรรมเลวร้าย แต่กลุ่มผู้ภักดีก็ปฏิเสธว่าพวกเขาไม่ได้ทำ เช่นเดียวกันว่าทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สามารถแสดงความเห็นได้ เว้นแต่ในบรรยากาศที่เร้าอารมณ์แบบสุดโต่งเสียจนบดบังความคิดที่มีเหตุผลไป เสียหมด

เช่นเดียวกัน ไม่มีข้อโต้แย้งว่าบุชได้ก่อ "อาชญากรรมข้ามชาติร้ายแรง" คืออาชญากรรมของการรุกราน อาชญากรรมชนิดนี้โรเบิร์ท แจ็กสัน ผู้เคยเป็นหัวหน้าทนายไต่สวนคดีนูเรมเบิร์ก (Nuremberg Trials - คดีที่ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดำเนินการไต่สวนกับเหล่าผู้นำนาซี) ได้นิยามเอาไว้แล้ว เขากล่าวแถลงต่อศาลว่า "ผู้รุกราน" คือการริเริ่มกระทำการเช่น "การรุกล้ำด้วยหน่วยติดอาวุธเข้าไปในอาณาเขตของรัฐอื่น ทั้งโดยการประกาศและไม่ประกาศสงคราม ..." ไม่มีใครเลย แม้กระทั่งกลุ่มสุุดโต่งที่สนับสนุนการรุกรานปฏิเสธเรื่องที่ว่าบุชและพรรค พวกก็ทำอย่างเดียวกัน

พวกเราควรจะระลึกถึงคำกล่าวอย่างมีวาทศิลป์ของแจ็กสันที่นูเรมเบิร์กใน เรื่องหลักการของความเป็นสากลด้วย "หากการกระทำใดๆ ที่ละเมิดต่อสนธิสัญญาถือเป็นอาชญากรรม มันก็จะถือเป็นอาชญากรรมไม่ว่าฝ่ายสหรัฐฯ หรือเยอรมนีจะเป็นผู้กระทำ และพวกเราก็ยังไม่ละวางการกฏการตัดสินคดีกับจำเลยอื่น ซึ่งพวกเราคงไม่ต้องการให้ถูกนำมาใช้กับพวกเราเอง"

ชัดเจนว่าเจตนาในคำประกาศนี้ไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์อะไรกัน แม้พวกเขาจะเชื่อเช่นนั้นจริง มีบันทึกภายในเปิดเผยว่าเผด็จการฟาสซิสต์ญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เชื่อว่าการบุกถล่มจีนจะเป็นการช่วยสร้างให้จีนกลายเป็น "สวรรค์บนดิน" และแม้ว่ามันอาจจินตนาการยากไม่หน่อย แต่ก็เข้าใจได้ว่าบุชและพรรคพวกก็เชื่ออย่างเดียวกันว่าพวกเขากำลังกอบกู้ โลกขากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ที่ซัดดัมมี สองเหตุการณ์นี้ไม่เกี่ยวกัน แต่กลุ่มผู้ภักดีต่อฝ่ายตนเองก็คงพยายามทำให้ตัวเองเชื่อตามนั้นไปด้วย

พวกเรามีทางเลือกอยู่สองทางเท่านั้น คือให้บุชและพรรคพวกถูกตัดสินว่ามีความผิดในฐานะที่ก่อ "อาชญากรรมร้ายแรงข้ามชาติ" รวมถึงความผิดอื่นๆ ที่ตามมา หรือประกาศว่ากระบวนการดำเนินคดีนูเรมเบิร์กเป็นแค่ปาหี่ และประเทศพันธมิตรก็มีความผิดฐานฆาตกรรมผ่านกระบวนการศาล

จิตแบบจักรวรรดินิยมกับเหตุ 9/11

ไม่กี่วันก่อนการสังหาร บิน ลาเดน ออลานโด บอช เสียชีวิตอย่างสงบในฟลอริด้า ที่เขาพักอาศัยอยู่กับผู้สมรู้ร่วมคิดอย่างลูอิซ โปซาดา คาร์ริลส์ และผู้ร่วมขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติรายอื่นๆ หลังจากที่เอฟบีไอกล่าวหาว่าเขามีส่วนในการก่อการร้ายหลายสิบคดี บอชก็ได้รับการอภัยโทษโดยประธานาธิบดีบุชผู้พ่อ โดยที่รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมยุคนั้นคัดค้าน ซึ่งให้ข้อสรุปว่า "การให้บอชกบดานอย่างปลอดภัยจะทำให้ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ เลวร้ายในสายตาประชาชนอย่างไม่อาจหลีกเเลี่ยง" การเสียชีวิตไล่เลี่ยกันอย่างบังเอิญของทั้งคู่ชวนให้นึกถึงลัทธิบุชผู้ลูก กราแฮม แอลลิสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า "กฏความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทางพฤตินัย" (a de facto rule of international relations) ที่บุชกล่าวไว้ได้เกิดขึ้นแล้วคือ "การที่รัฐอธิปไตยให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย" (the sovereignty of states that provide sanctuary to terrorists)

แอลลิสันกล่าวพาดพิงถึงการที่บุชผู้ลูกเคยประกาต่อกลุ่มตอลิบันว่า "ใครก็ตามที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้ายก็มีความผิดเช่นเดียวกับผู้ก่อการ ร้าย" ซึ่งหมายความว่าจะทำให้รัฐนั้นๆ สูญเสียอำนาจอธิปไตยและกลายเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดและการก่อการร้าย ยกตัวอย่างเช่นรัฐที่ให้ที่อยู่อาศัยบอชกับพรรคพวก เมื่อบุชประกาศ "กฏความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทางพฤตินัย" ไม่มีใครสังเกตเห็นเลยว่าเขากำลังเรียกร้องให้มีการรุกรานและทำลายล้างสหรัฐ อเมริกา รวมถึงการสังหารประธานาธิบดีผู้ก่ออาชญากรรม

ทุกอย่างนี้จะไม่เป็นปัญหาเลยหากเราเพิกเฉยต่อหลักการของความเป็นสากลของ แจ็กสันเสีย แล้วก็หันมาใช้หลักการว่าสหรัฐฯ มีภูมิคุ้มกันต่อกฏหมายและอนุสัญญาของนานาชาติ ซึ่งจริงๆ รัฐบาลเราก็แสดงให้เห็นมาโดยตลอดอยู่แล้ว

น่าคิดอีกเรื่องหนึ่งคือชื่อที่ตั้งให้กับปฏิบัติการล่าบิน ลาเดน คือปฏิบัติการเจอโรนิโม (Operation Geronimo) จิตแบบจักรวรรดิ์นิยมแสดงออกมาจากชื่อนี้ชัดแจ้งมากจนนึกไปว่าพวกทำเนียบขาว ถึงขั้นยกย่องบิน ลาเดน โดยเรียกเขาว่า "เจอโรนิโม" ชื่อเดียวกับผู้นำเผ่าอินเดียนแดงอาปาเช่ คนที่นำเผ่าต่อต้านผู้รุกรานแผ่นดินของอาปาเช่

การเลือกใช้ชื่อนี้ชวนให้นึกถึงการที่เรานำชื่อเหยื่ออาชญากรรมของพวกเรา มาตั้งเป็นชื่ออาวุธสังหารของพวกเราเองอย่างง่ายดาย เช่น อาปาเช่, แบล้กฮอว์ก (ทั้งสองเป็นชื่อรุ่นเฮลิคอปเตอร์) พวกเราอาจแสดงออกอีกแบบหนึ่งก็ได้ ถ้าหากหน่วยลูฟท์วาฟ (Luftwaffe - หน่วยทหารอากาศของเยอรมนี) เรียกชื่อเครื่องบินรบของพวกเขาว่า "ยิว" และ "ยิปซี"

ตัวอย่างที่ยกมาอาจตกไปอยู่ในประเด็นเรื่องแนวคิดว่า "อเมริกันคือผู้วิเศษไม่เหมือนใคร" (American Exceptionalism) เว้นแต่เป็นเรื่องปกติที่รัฐที่มีอำนาจทั้งหลายมักจะกลบเกลื่อนความผิดของตน เองอย่างง่ายดาย อย่างน้อยก็กับรัฐที่ไม่ได้ถูกทำให้แพ้พ่ายหรือถูกบีบให้ต้องเผชิญความจริง

บางทีรัฐบาลอาจมองว่าการบุกสังหารเป็น "การแสดงการล้างแค้น" เช่นที่โรเบิร์ทสันสรุปไว้ และบางทีการปฏิเสธการใช้วิธีการดำเนินคดีตามกฏหมายก็สะท้อนความแตกต่าง ระหว่างวิถีทางจริยธรรมของปี 1945 กับปัจจุบัน ไม่ว่าแรงจูงใจเบื้องหลังจะเป็นสิ่งใดก็ตาม มันยากที่จะเรียกว่าเป็นความมั่นคง ดูตัวอย่างการก่อ "อาชญากรรมข้ามชาติร้ายแรง" ในอิรักสิ การสังหารบิน ลาเดน ก็แสดงให้เห็นความจริงข้อหนึ่งว่าความมั่นคงปลอดภัยไม่ใช่สิ่งแรกๆ ที่ปฏิบัติการของรัฐพวกนี้จะนึกถึง ตรงข้ามกับหลักปฏิบัติที่พวกเขาได้เรียนรู้มา