rule of law กลายเป็นแนวความคิดสำคัญในเศรษฐศาสตร์แต่ก็มีความยากลำบากในตัวของมันเอง
“ผมอาจเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนเดียวที่รู้สึกผิดเวลาใช้คำว่าrule of law โดยที่ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของมัน” แดนี รอดดิก จากมหาลัยฮาร์วาร์ดกล่าว “ผมคงเป็นคนแรกกระมังที่สารภาพออกมา”
ปกติแล้ว rule of law เป็นแนวความคิดทางด้านการเมืองหรือกฎหมาย ประเทศเกิดใหม่อย่างโคโซโวได้กล่าวว่าการพัฒนา rule of law เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำเพื่อลดปัญหาคอรัปชั่นและสร้างรัฐขึ้นมา แต่ทว่าสิบปีที่ผ่านมาrule of law ก็มีความสำคัญในเศรษฐศาสตร์เช่นกัน และrule of law ยังเป็นบ่อเกิดและความสำคัญของการเติบโตเศรษฐกิจจนทำให้สิ่งที่รอดดิกสารภาพ มานั้นน่าสนใจขึ้น เพราะrule of law ไม่ใช่มีประโยชน์เพียงแค่การสร้างสังคมที่เป็นธรรมแต่ยังช่วยให้เกิดการเติบ โตทางเศรษฐกิจด้วย “ไม่เคยมีนโยบายการเมืองใดที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกเท่านี้เลย” ไบรอัน ทามานาฮา นักวิชาการกฎหมายมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น นิวยอร์คกล่าว
แต่ในแง่ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ rule of law ก็มีประวัติศาสตร์ที่กระท่อนกระแท่น มันเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในช่วงทศวรรษ ๙๐ เนื่องจากการล่มสลายของกระแสการเงินในเอเชียและอดีตสหภาพโซเวียต เพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ rule of law เหมือนจะให้คำตอบเรื่องปัญหาการพัฒนาจากอาร์เซอร์ไบจันจนกระทั่งถึงซิมบับเว จนกระทั่งมีคนวิพากษ์วิจารณ์แนวความคิดนี้ ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการวางแนวความคิดrule of law ใหม่เพื่อเข้าใจว่าทำอย่างไรประเทศจึงจะมีการเจริญเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม rule of law ก็ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่แก้ปัญหาได้หมด
เหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างลุ่มหลงใน rule of law ภายหลัง “ฉันทามติวอชิงตัน” ซึ่งเป็นแนวความคิดเศรษฐกิจแบบออโธดอกซ์ในช่วง 1980 โดยชี้ว่าการที่ประเทศเจริญเติบโตได้นั้นต้องรับนโยบายต่างๆที่ถูกต้องเช่น เรื่องงบประมาณและการแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียช่วงปี1997– 1998 กลับมาสั่นคลอนความเชื่อมันของนักเศรษฐศาสตร์ว่านโยบายพวกนี้มันถูกต้องจริง หรือ พวกเขามานั่งคิดกันใหม่และได้ข้อสรุปว่าเราควรตั้งสถาบันเพื่อการกำหนด นโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง rule of law โดยให้เหตุผลว่า ถ้ากติกาการเล่นเกมสับสน แม้ว่าจะมีนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเท่าไรก็ไม่สามารถได้ผลตามที่หวัง
ข้อสรุปนี้ดูน่าเชื่อถือขึ้นจากเหตุการณ์ของอดีตจักรวรรดิโซเวียต ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตต่างๆมีนโยบายของตัวเองค่อนข้างรวดเร็วแต่ภายหลังไม่ นานสิ่งต่างๆ ก็แสดงให้เห็นว่ามันไม่เพียงพอ “ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์แรงงานและพาณิชย์จนถึงปี1992” แดเนียล คอฟแมน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถาบันธรรมาภิบาลโลกในสังกัดธนาคารโลกกล่าว “แต่เมื่อผมไปถึงยูเครนแนวความคิดของผมก็เปลี่ยนไป ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลและrule of law ทำลายความพยายามของเราทั้งหมด”
เพียงไม่นาน “ธรรมาภิบาล” หรือความรับผิดชอบทางการเมืองและคุณภาพของระบบราชการเช่นเดียวกับrule of law กลายเป็นเรื่องร้อนแรง นักเศรษฐศาสตร์ต่างมานั่งคำนวณว่าอะไรคือrule of law ประเทศที่ดีนั้นทำอะไรบ้างและอะไรคือความแตกต่างที่เกิดขึ้น คอฟแมนและเพื่อนของเขา อาร์ต แคย์ พบว่า ในระยะยาวประเทศที่พัฒนาธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้นเพียงแค่หนึ่งค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น 300 % ซึ่งหนึ่งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับความแตกต่างของคะแนนrule of law ของประเทศอินเดียกับประเทศชิลี โดยธนาคารโลกเป็นผู้วัด ชิลีมีอำนาจการซื้อมากกว่าอินเดียถึง 300 % เช่นเดียวกับความแตกต่างระหว่าง ประเทศแอฟริกาใต้กับสเปน โมรอคโคกับโปรตุเกส บอสวานากับไอร์แลนด์ นักเศรษฐศาสตร์ยังพบอีกว่าประเทศที่มีสภาพrule of law ที่ดีกว่าจะมีความมั่งคั่งมากกว่า (แผนภาพข้างล่างแสดงผลการศึกษาสามชิ้น โดยเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของคอฟแมน) ประเทศที่ร่ำรวยยกเว้น กรีซและอิตาลี มีคะแนนrule of law ที่ดี แต่หลายๆประเทศที่ยากจนกลับไม่มี
มิสเตอร์ รอดดิก ดูผลการเติบโตของธรรมาภิบาล (ซึ่งเขาใช้คำว่าสถาบัน) ภูมิศาสตร์ และการเปิดกว้างทางการค้า เขาสรุปและตีพิมพ์บทความในปี 2002 ภายใต้ชื่อ “กฎสถาบัน” และนักรัฐศาสตร์อย่าง ฟรานซิส ฟูกูชิมา จากมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ เชียนสนับสนุนว่า “ ผมเชื่อว่านักสถาบันนิยมชนะอย่างง่ายดายในการถกเถียงครั้งนี้”
และเนื่องจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ และรัฐต้องการrule of law เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง รัฐและตัวแทนรัฐต่างๆเริ่มให้เม็ดเงินสนับสนุนเพื่อปฎิรูประบอบrule of law เช่นการผลิตผู้พิพากษา ปฎิรูปสถานกักกันและคุก สำนักงานอัยการ การปฎิรูปเหล่านี้เริ่มขึ้นในละตินอเมริกาช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 และปัจจุบันขยายไปทั่วโลก
สหภาพยุโรปยืนกรานว่าสมาชิกทุกประเทศต่างพึงพอใจในมาตรฐานของrule of law และการนี้ตัวรัฐจำเป็นต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนเพื่อปฏิรูประบอบกฎหมายให้ ถึงตามมาตรฐาน โดยจัดการอย่างรวดเร็วให้เหล่านักกฎหมายศึกษาและแนะนำว่าควรทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้ระบอบกฎหมายไปถึงมาตรฐานนั้น America's Millennium Challenge Corporation ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2004 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการให้ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา โดยการช่วยเหลือนี้จะให้กับประเทศที่มีมาตรฐานขั้นต่ำของrule of law (หนึ่งในสามของมาตรฐานพื้นฐาน)ภายใน20 ปีที่ผ่านมาประเทศตะวันตกให้ความช่วยเหลือเทเงินกว่าพันล้านเหรียญให้กับ โครงการ rule of law และในขณะนี้ธนาคารโลกได้เริ่มโครงการกว่า 450 ล้านเหรียญในโครงการrule of law (ในความหมายแคบๆ) และกว่าครึ่งหนึ่งของเงินให้กู้ยืมซึ่งมีมูลค่ากว่า 24 พันล้านในโครงการที่เกี่ยวข้องกับrule of law (ในความหมายกว้างๆ เช่น คำแนะนำในการแก้ข้อขัดแย้งในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน กฎหมายล้มละลายในโปรแกรมการแปรรูปเป็นเอกชน) เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ rule of law ได้ก้าวข้ามจากเรื่องการเมืองและกฎหมายไปสู่เรื่องเศรษฐกิจ และเรื่องการช่วยเหลือต่างๆ
แต่ในปี 2003 หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญของโลกด้านธรรมาภิบาล โธมัส แครอเทอร์ จาก Carnegie Endowment for International Peace มันสมองของวอชิงตัน ได้เขียนบทความชื่อว่า “การส่งเสริมrule of law ในต่างแดน : ปัญหาเรื่ององค์ความรู้” มิสเตอร์ แครอเทอร์และเช่นเดียวกับ มิสเตอร์ วิลเลียม โกลด์แมนต่างกล่าวว่า “ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง”
มิสเตอร์แครอเทอร์วิจารณ์ว่า ปัญหาในการนิยาม rule of law ในตัวของมันบวกกับปัญหาองค์ความรู้กฎหมายในทางปฏิบัติ มันหมายถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ rule of law ในองคาพยัพต่างๆ แต่เริ่มจากฐานองค์ความรู้เพียงเล็กน้อยในทุกระดับ “ปัญหาต่างๆเริ่มชัดเจนขึ้น” แครอเทอร์กล่าว “หลายๆองค์กรแต่ไม่ทั้งหมดต่างมุ่งมันกับโครงการต่อไปมากกว่าจะนำประสบการณ์ มาเป็นบทเรียน” นักกฎหมายไม่ค่อยสนใจเรื่องการพัฒนา “เอาจริงๆแล้ว เราก็ไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำไรอยู่” เป็นคำพูดจากผู้ให้การสนับสนุนrule of law คนหนึ่ง
ข้อโต้แย้งของแครอเทอร์นั้นเป็นประโยชน์ และผลที่ตามมาคือมีการศึกษาrule of law อย่างคึกคัก งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์เกี่ยว rule of law เริ่มปรากฏ มันแสดงให้เห็นว่าrule of law สามารถถูกพัฒนาได้ คนเริ่มเข้าใจrule of law มากขึ้นเมื่อนักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการอื่นๆพูดถึง มันได้มีการวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปฏิรูป การช่วยเหลือในการฝึกผู้พิพากษา ตำรวจ แต่สิ่งที่ยังไม่สามารถไขข้อสงสัยคือ rule of law เป็นเงื่อนไขของการเติบโตเศรษฐกิจในทุกที่จริงหรือ ซึ่งเรื่องกฎหมายในฐานะวัตถุปัจจัยทางเศรษฐกิจนั้นเพิ่งอยู่ในกระบวนการ เริ่มต้น มันเพิ่งเริ่มจากวัยทารกเข้าสู่วัยรุ่นที่เต็มไปด้วยปัญหา
กฎหมายที่ไม่ถูกควบคุม
ในหนังสือ “rule of law และการพัฒนา” (โดยเอดเวิร์ด เอลการ์) ไมเคิล เทรบิลคอก จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต และ รอน แดเนียล จากมหาวิทยาลัย เพนซิลวาเนีย ตั้งคำถามว่าอะไรที่นักเศรษฐศาสตร์หมายถึงเกี่ยวกับrule of law รายงานจากกลุ่มวิจัย Hague Institute for the Internationalization of Law ก็ทำเช่นเดียวกัน งานตีพิมพ์ทั้งสองวิจารณ์ว่าผู้คนต่างใช้ความหมายแตกต่างเป็นสองกลุ่ม ซึ่งพวกเขาเรียกว่า ความหมายแบบกว้างและแคบ
ความหมายแบบกว้างนั้น rule of law เสมือนดั่งใจกลางของสังคมที่เป็นธรรม แนวความคิดนี้เชื่อมกับหลักประชาธิปไตยและเสรีนิยม ซึ่งหมายถึงประเทศที่ปกครองโดยหลักนิติธรรมนั้นอำนาจของรัฐต้องถูกจำกัดและ รับรองเสรีภาพขั้นพื้นฐานเช่นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือจัดตั้งสมาคม คำประกาศเดลีซึ่งร่างโดย International Commission of Jurists ในปี 1959 กล่าว่าrule of law “ ควรถูกใช้เพื่อปกป้องและพัฒนาสิทธิการเมืองและพลเมืองของปัจเจกบุคคล” และสร้าง “เงื่อนไขต่างๆที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นๆและศักดิ์ศรีจึงอาจเกิดขึ้นตามมา” ในความหมายของrule of law แบบกว้างในแง่อื่นเช่น เฟดริค ฮาเยค นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรีย และ คาส ซันสไตน์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก มองว่าrule of law นั้นรวมถึงคุณธรรมทางการเมืองด้วย
ส่วนนิยามแบบแคบมีความเป็นรูปแบบมากกว่า สิ่งสำคัญไม่ใช่ความเป็นประชาธิปไตยหรือคุณธรรมแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ ในทรัพย์สินและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการความยุติธรรม กฎหมายต้องมีความมั่นคง มันไม่จำเป็นต้องส่งเสริมคุณธรรมหรือสิทธิของมนุษย์ ซึ่งรัฐทางใต้ของสหรัฐในยุคของ จิม ครอว์ ใช้นิยามแบบแคบในการปกครองโดยมิใช่แบบกว้าง
การแข่งขันของนิยามทั้งสองนี้อาจทำลายคุณค่าของrule of law ถ้าคุณกล่าวว่าrule of law มีความสำคัญในการเติบโตเศรษฐกิจแล้ว คุณหมายถึงrule of law แบบไหน? แบบที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือ แบบที่ปกป้องสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล? แต่ทว่านักเศรษฐศาสตร์รักการแข่งขัน ความแตกต่างของสองนิยามสะท้อนถึงการแข่งขันในการอธิบายอะไรเป็นตัวผลักดัน เศรษฐกิจ
ในด้านหนึ่งของการเติบโต (ซึ่งสัมพันธ์กับดักลาส นอร์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ มิสซูรี) คือ สถาบันนิยม ซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการโยกย้าย องค์กรทางเศรษฐกิจ พวกนี้จะชอบความเสถียรภาพ กฎหมายที่คาดคะเนได้ที่กระตุ้นการลงทุนและการเติบโต ดังนั้นนิยามแบบแคบจึงเหมาะสม ในอีกด้านหนึ่ง (ซึ่งสัมพันธ์กับ อมาตยา เซนแห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด) กล่าวว่าถ้าคุณขยาย “ขีดความสามารถ” (ตามแนวความคิดของเซน) แล้วพวกเขาจะสามารถช่วยให้ประเทศร่ำรวยได้ ซึ่งการให้อิสระกับขีดความสามารถของคนก็คือการยกเลิกภาระของรัฐและประกัน สิทธิขั้นพื้นฐานบางอย่าง ดังนั้นนิยามแบบกว้างจึงเหมาะสม
ความแตกต่างระหว่างrule of law แบบแคบและกว้างซ้อนทับกับความแตกต่างระหว่างประเพณีกฎหมาย เริ่มต้นในปี 1997 นักเศรษฐศาสตร์นำโดย อังเดร ไชลเฟอร์ จากฮาร์วาร์ด และ โรเบิร์ต วิชนี จากชิคาโก เปรียบเทียบประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (เช่อเมริกา และอังกฤษ) กับกลุ่มประเทศระบบซิวิลลอว์ (เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และสแกนดิเนเวีย) ซึ่งชี้ว่าประเทศที่เป็นระบบคอมมอนลอว์จะมีความปลอดภัยด้านสิทธิทาง ทรัพย์สิน มีการปกป้องผู้ถือหุ้น ที่ดีกว่า มีความหลากหลายในการเป็นเจ้าของหุ้น และมีกฎหมายเปิดเผยข้อมูลและความน่าเชื่อถือที่เข้มงวดกว่า ซึ่งที่กล่าวมานี้เพื่อประสิทธิภาพของตลาดหุ้น
เช่นกันในช่วงเริ่มต้นของการเรียกร้อง rule of law ในนามของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ก็ถูกวิจารณ์อย่างมากจากนักเศรษฐศาสตร์ยุโรป เป็นส่วนใหญ่ บางคนอ้างว่าความแตกต่างของคอมมอนลอว์และ ซิวิลลอว์มิได้ชัดเจนอย่างที่เห็น และมันมาจากความแตกต่างของการเมือง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ส่วนคนอื่นๆกลับชี้ว่าจุดกำเนิดของระบบกฎหมายดูเหมือนไม่สามารถอธิบายเกี่ยว กับความยุติธรรมทางเศรษฐกิจหรือrule of law ยกตัวย่างเช่น เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่มีต้นกำเนิดกฎหมายเดียวกัน
แต่มีแค่นักวิชาการด้าน rule of law เท่านั้นที่ตอบสนองต่อข้อวิพากษ์ดังกล่าวและทำการวิจัย ในงานวิจัยจำนวนมากเขาพบหลักฐานมีน้ำหนักว่าระบบประเทศซิวิลลอว์กระตุ้นให้ รัฐเป็นเจ้าของสื่อและธนาคาร มีความยากลำบากมากกว่าในการเข้าสู่ตลาด มีการควบคุมตลาดแรงงานมากกว่า และมีระบบพิจารณาทางศาลที่ยุ่งยากกว่า ซึ่งที่กล่าวมาเป็นการทำลายเศรษฐกิจ
บางทีข้อโต้แย้งนี้ยังไม่มีคำตอบ อย่างเช่น เรเนอร์ โกร์ธจากสถาบันแมกซ์ พลังกซ์ เพื่อศึกษากฎหมายมหาชนเปรียบเทียบและกฎหมายระหว่างประเทศแห่งไฮเดลเบิร์ก กล่าวว่า “ rule of law เป็นเรื่องแนวความคิดเปิดกว้างที่ต้องมีการอภิปรายตลอดไป” เศรษฐศาสตร์กระแสใหม่เรื่องrule of law นั้นหน้าที่ของมันชัดเจนมากขึ้น แต่ในด้านอื่นๆยังคงต้องมีการก่อร่างสร้างขึ้นมา
ขีดของความยุติธรรม
มีการพัฒนาอย่างมากในการตรวจสอบและวัดความเป็นrule of law ถึงแม้ว่าไม่มีใครรู้ว่าแท้จริงแล้วคืออะไร “สิบห้าปีที่แล้วเราไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลย” สตีฟ แรดเลต จากศูนย์พัฒนาโลก มันสมองแห่งวอชิงตัน “สิบปีที่แล้วเราไม่มีข้อมูล” แต่ปัจจุบันเรามีโครงการตัวชี้วัดธรรมาภิบาลโลก (ซึ่งกอร์ดอน จอห์นสันเชื่อว่ามันถูกเก็บอย่างลับๆที่ธนาคารโลก) ซึ่งรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดกว่าหกสิบแบบ (เช่นขอบเขตอาชญากรรม คุณภาพของระบบสอบสวน ความอิสระของระบบพิจารณาคดี และอื่นๆ) เพื่อสร้าง rule of law และมาตราการต่างๆทางธรรมาภิบาลในประเทศต่างๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้ (ถึงแม้จะมีข้อผิดพลาด)ถึงแม้จะห่างไกลจากความสมบูรณ์ แต่ก็เป็นการประเมินที่ดี มิสเตอร์คอฟแมนกล่าว
มาตรการเหล่านี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าได้ช่วยหลายๆประเทศพัฒนากรอบกฎหมาย ภายในเวลาสั้นๆ ปี2000 นายมิคาเอล ซากาชวิลลีรัฐมนตรียุติธรรมแห่งประเทศจอร์เจียในขณะนั้นไล่ผู้พิพากษาออกถึง สองในสามของทั้งหมดซึ่งไม่ผ่านการสอบ สี่ปีต่อมาในฐานะประธานาธิบดีของประเทศเขาไล่ตำรวจจราจรออกทั้งหมด ซึ่งทำให้คะแนน rule of law ของจอร์เจียที่ประเมินโดยธนาคารโลกเพิ่มขึ้นจาก9 เต็ม 100 (10 % จากอันดับท้าย) ในปี2002 เป็น 33 คะแนนในปี 2006 (ถึงจะน้อยแต่ก็มีการพัฒนา) ประเทศในยุโรปกลางและกลุ่มประเทศบอลติคต่างทำได้ดีกว่าโดยการเปลี่ยนกฎหมาย อย่างถอนรากเพื่อจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจรวมถึงระบบพิจารณา คดี
โดยทั่วไปมาตรการที่ควรจะเป็นคือการปฏิรูปอย่างรุนแรงมากกว่าการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทีละน้อย ในละตินอเมริกาชำระกฎหมายอาญาให้ทันสมัยและสร้างความโปร่งใส ในชิลี ปี 2003 มีการตั้งระบบดำเนินคดีสาธารณะแบบใหม่ แต่เจ้าหน้าที่หลายๆคนไม่มีประสบการณ์ด้านนี้และเผชิญกับการต่อต้านจากตำรวจ ประเทศรัสเซียเริ่มนโยบายปฎิรูปการพิจารณาคดีในทศวรรษ 1990 และใช้จ่ายเงินจำนวนมากกับกระบวนการศาลในปี 2000 แต่คะแนน rule of law กลับลดลงมา 5 คะแนนภายใน 7 ปีที่ผ่านมา
ความแตกต่างระหว่างยุโรปกลางกับละตินอเมริกาบางทีอาจเป็นเพราะภูมิหลัง ทางการเมือง เมส เทรบิลอค และ ดาเนียล แบ่งประเทศต่างๆเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่นักการเมือง นักวิชาการกฎหมาย และสาธารณะต่างให้การสนับสนุนปฏิรูป (ประเทศยุโรปกลางภายหลังการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ แอฟริกาใต้หลังจากการแบ่งสีผิว) กลุ่มสองเป็นกลุ่มที่นักการเมืองให้การสนับสนุนแต่นักวิชาการกฎหมายและตำรวจ ไม่ให้ความร่วมมือ (ชิลี กัวเตมาลา) กลุ่มที่สามคือ กลุ่มที่นักวิชาการกฎหมายให้การสนับสนุนแต่นักการเมืองไม่ร่วมมือ (ปากีสถาน) “เพียงแค่กลุ่มแรกเท่านั้นที่ rule of law พัฒนาไปไกล” นักวิชาการระบุ
แต่การค้นพบอื่นๆค่อนข้างมืดมน ผลการวิจัยบางชิ้นค้นพบว่ามีความสัมพันธ์เล็กน้อยระหว่างการเติบโตเศรษฐกิจ และrule of law ความสัมพันธ์กับความมั่งคั่งนั้นชัดเจน (ดูในแผนภาพอีกครั้ง) แต่ค่อนข้างแตกต่างกัน มันเห็นผลค่อนข้างชัดเจนถ้าใช้เวลาเป็นทศวรรษหรือศตวรรษ แต่ในระยะสั้นมันไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ประเทศจีนมีการเติบโตเศรษฐกิจที่ชัดเจนสวนทางกับความเชื่อที่ว่าrule of law จำเป็นต่อการเติบโตเศรษฐกิจ จีนมีการเติบโตเศรษฐกิจที่รวดเร็วและมีการลงทุนต่างชาติมากที่สุดในโลก ถึงแม้มีการคอร์รัปชั่นจำนวนมากและไม่มีอะไรที่ชาวตะวันตกจะสัมผัสได้ถึง ประเพณีของ rule of law (การประกันสิทธิในทรัพย์สิน และรัฐบาลมีความสามารถในการออกแบบและดำเนินนโยบายต่างๆ)
ในทางตรงข้ามมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการปฏิรูปกฎหมายกับการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในประเทศยุโรปกลางและบอลติค หรือระหว่างประเทศสเปนภายหลังยุคฟรังโกและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยาวนาน และมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดในที่อื่นๆ มูลค่าที่ดินในชนบทของประเทศ บราซิล อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยสูงขึ้นเมื่อมีการออกโฉนด เพราะเจ้าของที่มีความมุ่งมันในการลงทุน งานวิจัยอิสระชิ้นหนึ่งของธนาคารโลกเมื่อสิบปีที่แล้วพบความสัมพันธ์อย่าง น่าแปลกใจระหว่าง โครงการต่างๆที่ธนาคารสนับสนุนการเงินกับความเป็นเสรีของประชาชน โครงการต่างๆในประเทศที่มีความเสรีจะมีผลตอบแทนสูงกว่าในประเทศที่มีเสรีภาพ น้อยกว่า
แต่ความสัมพันธ์นี้ไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรกันแน่คือสาเหตุ บางทีการเติบโตอาจเป็นตัวช่วยความเป็น rule of law หรือตรงกันข้าม บางทีประเทศต่างๆสามารถสนับสนุน rule of law เมื่อใดก็ตามที่ประเทศร่ำรวยแล้ว การคงอยู่ของขอบเขตยุติธรรมในทศวรรษ 1930 ช่วยสนับสนุนในแนวความคิดนี้
ไม่ใช่มีเพียงแค่มุมมองของ คอฟแมนที่ว่าการพัฒนา rule of law ช่วยในการเติบโตเท่านั้น บางประเทศที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการพัฒนา rule of law และประเทศดังกล่าวที่ว่านี้ในภายหลังกลับมีการถอยหลัง (อาร์เจนตินาเคยเป็นประเทศหนึ่งในสิบที่รวยที่สุดในโลก) ปัญหาที่แท้จริงคือการอธิบายว่าทำไมทุนนิยมถึงรุ่งเรืองในเอเชียและกลุ่มโจร เครมลินในรัสเซีย คำตอบคือ คอฟแมนกล่าวว่า “ปราศจากนิติธรรมแล้ว พวกที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อการฉ้อฉลสามารถคว้าส่วนแบ่งจากการเติบโตอย่าง ไม่เป็นธรรมซึ่งรวมถึงกำไรจากน้ำมันดิบและวัตถุดิบต่างๆ”
การคงอยู่ของทุนนิยมและหน้าที่ของรัฐในการจับขโมยนั้นเป็นข้อถกเถียง เพื่อคำตอบว่าเราควรเสริมสร้าง rule of law เมื่อใดก็ตามที่เราทำได้ เนื่องจากการเติบโตนั้นไม่สามารถสร้างกฎหมายได้เองโดยอัตโนมัติ และยังมีข้ออภิปรายอื่นๆ เช่น rule of law ในตัวมันเองเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชนเพื่อ เพิ่มโอกาสเข้าถึงความยุติธรรมให้ประชาชนทุกคนจากการกดขี่ของรัฐ ดังที่ จอห์น ล็อคเขียนในปี 1690 ว่า “เมื่อใดก็ตามที่กฎหมายถึงจุดจบ ทรราชจะถือกำเนิดขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น ประเทศพม่าหรือ ซิมบับเว การละเมิดกฎหมายแลระบบใช้กำลังทหาร เป็นตัวขัดขวางการเจริญเติบโต ซึ่งการปฏิรูปจะช่วยได้ในเงื่อนไขที่ว่าการปฏิรูปนั้นดำเนินอยู่จริง
โดยทั่วไปแล้ว ความพยายามในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาได้สร้างความสับสนขึ้น มีคำแนะนำว่า rule of law สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่นการปฏิรูป rule of law ในการเมืองในระดับรากฐาน โดยมิใช่การเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค และมีความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตกับ rule of law
rule of law กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์เล็กน้อยในระยะสั้น นักวิชาการที่ทำการศึกษาวิจัยก็ไม่ได้ยืนยันว่า rule of law เป็นเงื่อนไขขั้นต้นที่จำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยิ่งนักเศรษฐศาสตร์ค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ rule of law มากเท่าไร ก็จะยิ่งมีปัญหาในการสร้าง rule of law ในฐานะเป็นคู่มือเศรษฐกิจสากลมากขึ้น