กลุ่มทุนนิยาม 101 (หรือ กลุ่มทุนนิยมสังคมกำกับ Embedded Capitalism) สัมภาษณ์จะเด็ด เชาว์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านแรงงานสตรี แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นบทความ Localtalkขอนำเสนอดังนี้...
การพูดเรื่องค่าแรงขึ้นต่ำในปัจจุบัน มีการโต้แย้งกันในเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง แต่มักจะจำกัดอยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจ เช่น ฝ่ายนายจ้างพูดเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น นักเศรษฐศาสตร์พูดเรื่องความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ส่วนคนงานเองพูดเรื่องค่าครองชีพในแต่ละวันแบ่งออกเป็นค่ารถ ค่าอาหาร ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นว่าเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แต่ผมคิดว่าหากต้องการทำความเข้าใจเรื่องค่าแรงขั้นต่ำควรมองว่าเป็นประเด็น ทางเศรษฐกิจและการเมืองด้วย
หากมองย้อนไปก่อนหน้าปี 2516 คนงานส่วนใหญ่อยู่ในโรงงานขนาดเล็ก ขนาดกลาง เป็นคนงานยากจนที่อพยพเข้ามาทำงานในกรุงเทพและปริมณฑล คนงานจะประสบปัญหาในการดำรงชีวิตมาก เช่น โรงงานไทยเกรียงซึ่งเป็นโรงงานสิ่งทอในย่านพระประแดงซึ่งตั้งมาตั้งแต่ก่อน ปี 2500 คนงานได้ค่าแรง 5 บาท 8 บาท 10 บาท ในรอบ 10 กว่าปีค่าจ้างขยับขึ้นน้อยมากซึ่งพูดได้ว่านายจ้างเอาเปรียบคนงานมายาวนาน แม้แต่งานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์อย่างของ ดร. ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ก็ได้ข้อสรุปว่า ค่าแรงของคนงานในขณะนั้นต่ำเกินไป ค่าแรงขั้นต่ำควรอยู่ในระดับที่ต้องเลี้ยงตนเองและครอบครัว 3 คน พ่อ แม่ ลูก แต่หลักการนี้ยังไม่ถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน
ในทางการเมือง รัฐบาลในช่วงนั้นอยู่ภายใต้ระบอบทหาร การขับเคลื่อนของคนงานให้ได้มาซึ่งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นไปได้ยากมาก คนงานเองไม่มีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ไม่สามารถต่อรองอะไรได้ การตั้งสหภาพก็ยากมาก กฎหมายที่เกี่ยวกับการตั้งสหภาพก็ยังไม่มี กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ยังไม่มี ค่าแรงจึงขึ้นกับนายจ้างว่าจะให้เท่าไหร่ คนงานเองก็เข้าใจว่า ตัวเองอพยพมาจากต่างจังหวัดพอมีงานทำ ก็เป็นบุญคุณ นายจ้างจะให้เท่าไรก็ยอม
ในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คนงานตื่นตัวเรื่องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น นักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตยได้เข้าไปทำงานกับคนงาน มีส่วนกระตุ้นให้คนงานมองเห็นว่าค่าจ้างไม่ใช่เรื่องบุญคุณแต่เป็นเรื่องของ สิทธิขั้นพื้นฐาน แล้วก็รวมกลุ่มรวมกลุ่มต่อรองเรื่องสวัสดิการต่างๆ ก็เริ่มเกิดขึ้น ในช่วงที่รัฐบาลเป็นประชาธิปไตย มีการเปิดกว้างให้มีการเคลื่อนไหวของคนงานมากกว่าในช่วงของระบอบทหาร เช่น ในช่วงปี 2518 มีการเดินขบวนใหญ่เรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ โดยเริ่มต้นจากคนงานเดินขบวนจากพระประแดงไปอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ ชักชวนให้ไปรวมตัวกันที่ท้องสนามหลวงเรียกร้องเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ แม้ว่าในตอนนั้นคนงานส่วนใหญ่ยังไม่มีสหภาพแรงงาน แต่ก็ได้รวมกลุ่มกันหลากหลาย โดยตั้งเป็นศูนย์ประสานงานกรรมการแห่งชาติซึ่งมีนักศึกษาเป็นแนวร่วม คนงานส่วนใหญ่มาจากโรงงานทอผ้าจากขนาดเล็ก ขนาดกลางที่มีรายได้ต่ำ ที่สำคัญการปรับขึ้นค่าแรงมีน้อยมาก
หลังการรัฐประหารปี 2519 เรื่องการปรับค่าแรงเป็นไปอย่างเชื่องช้า ขึ้นบ้าง ไม่ขึ้นบ้าง จนมากระทั่งยุครัฐบาลชาติชายในปี 2531 เป็นช่วงที่มีรัฐบาลที่มีนายกฯ มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกหลังจาก 6 ตุลาคม 2519 ประกอบกับเศรษฐกิจเติบโตมากสูงที่สุดในเอเซีย คนงานรวมตัวกันเป็นกลุ่มประสานงานสหภาพแรงงานแห่ประเทศไทย ซึ่งได้นำตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจมาพูดถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็น ธรรมมากขึ้น จนการเรียกร้องของคนงานประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งคือมีการขึ้นค่าแรงขึ้น ต่ำ 2 ครั้งในช่วงรัฐบาลชาติชายจากเดิม 73 บาท พูดได้ว่ารัฐบาลชาติชายพยายามฟังเสียงประชาชนมากกว่ารัฐบาลก่อนหน้านั้นที่ เราเรียกว่ารัฐบาลประชาธิปไตยครึ่งใบ
แม้ว่าภายใต้รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย คนงานก็ต้องรวมกลุ่มให้เข้มแข็งและออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้สังคมเห็นว่า ค่าจ้างที่ได้รับมันต่ำมาก ในช่วงนั้น คนงานนับพันคนเดินขบวนไปที่ซอยราชครู บ้านของนายกฯ ชาติชาย เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาค่าจ้างที่ไม่เพียงพอ การเรียกร้องครั้งนั้น รัฐบาลตอบรับให้มีการปรับขึ้นการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำ
ในบรรยากาศที่เปิดกว้างมากขึ้นหลังยุคพลเอกเปรมที่เป็นประชาธิปไตยครึ่ง ใบ คนงานได้มุ่งมั่นต่อสู้เรียกร้องให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ สวัสดิการทางสังคมมากขึ้น เช่น กฎหมายประกันสังคม ซึ่งในปัจจุบัน ลูกจ้างในบริษัทต่างๆ ก็ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายนี้ ซึ่งคงต้องเข้าใจว่ามาจากการต่อสู้ของคนงานที่มีค่าจ้างต่ำ จนในปัจจุบันการคุ้มครองของกฎหมายประกันสังคมครอบคลุมกระจายไปสู่ลูกจ้าง บริษัทต่างๆ ที่มีรายได้สูงด้วย ระบบประกันสังคมมาจากการต่อสู้ถึงขั้นอดอาหารประท้วง ไม่ใช่ได้มาเองโดยอัตโนมัติ
หลังจากนั้นในปี 2533 ช่วงรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารรัฐประหารของ คณะทหาร ร.ส.ช. ก็ทำให้การแสดงความคิดเห็นและจำกัดการวมกลุ่มของคนงาน และการเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมของขบวนการแรงงานก็สะดุดลง มีการจำกัดสิทธิต่างๆ มีการจับกุมนักแรงงาน เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเรื่องค่าแรงขั้นต่ำสัมพันธ์กับเรื่องเสรีภาพทางการ เมืองมาก
จนในปัจจุบัน ประด็นค่าแรงขั้นต่ำถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ผมคิดว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นบันไดขั้นแรกที่เป็นหลักประกันขั้นต่ำที่สุดให้กับผู้ที่ไม่ได้รับ ค่าจ้างที่เพียงพอกับชีวิต ที่สำคัญไม่ใช่แค่เรื่องตัวเงิน แต่เป็นเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งทุกคนควรมีค่าจ้างขยับขึ้นมา มีศักดิ์ศรีขึ้นมาบ้าง ในอนาคตค่าจ้างทุกคนในสังคมควรทัดเทียมกันกว่านี้ ในปัจจุบัน คนงานทำงาน 8 ชั่วโมง ทำล่วงเวลาอีก รายได้ยังเทียบกันไม่ได้กับคนอีกส่วนหนึ่งเช่น ฝ่ายบริหารเป็นต้น ค่าแรงขึ้นต่ำ 300 บาทเทียบเป็นเงินเดือนก็ไม่เกิน 8,000 บาทในขณะที่คนอีกจำนวนหนึ่งในสังคมรับเงินเดือนกัน 5 หมื่นบาท 6 หมื่นบาท เป็นเรื่องที่เราได้ยินกับปกติ คนงานจำนวนมากทำงานมาก 20 ปีก็ยังได้ค่าแรงขั้นต่ำอยู่
ค่าแรง 300 บาทจึงเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่าง เช่น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศที่คำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรมมาก ขึ้น การกระจายรายได้ การลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งขอย้ำว่าเป็นการประกันขั้นต่ำที่สุด ซึ่งต้องเป็นฐานของการปรับค่าจ้างและสวัสดิการให้เกิดความเป็นธรรมต่อไป
ส่วนสหภาพแรงงานก็ควรนำประเด็นค่าจ้างขั้นต่ำมาใช้ในการรวมกลุ่มจัดตั้ง คนงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามค่าแรงขั้นต่ำซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยสหภาพอาจพูดคุยกับนายจ้างของตนให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และสหภาพอาจใช้ประเด็นค่าจ้างขั้นต่ำในการจัดการศึกษาให้กับคนงานทั้งที่ เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก เพื่อให้เห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำเป็นฐานที่ต่ำที่สุดที่จะพัฒนามาเป็นของการ เจรจาต่อรองร่วมและการทำข้อตกลงสภาพการจ้างของสหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนคน งานกับนายจ้างในสถานประกอบการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการปรับขึ้นค่าแรงแม้ในรัฐบาลประชาธิปไตย เช่น ในสมัยรัฐบาลชาติชาย ก็ยังติดขัด ปัญหาสำคัญอยู่ที่กลไกไตรภาคีในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ มันไม่ทำงาน เหตุผลสำคัญคือนายจ้างกับข้าราชการประจำพยายามกดค่าแรงขั้นต่ำไม่ให้ก้าว กระโดด แม้ว่าผลผลิตและผลกำไรที่คนงานสร้างให้กับบริษัทจะเพิ่มในระดับที่สูงกว่า การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ การพิจารณาการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของคนงาน คนงานจึงต้องออกมาเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำทุกปี แนวทางแก้ปัญหา ผมคิดว่า ในอนาคตอาจจะต้องมีการออกกฎหมายเรื่องโครงสร้างเงินเดือนของกับคนงานพื้นฐาน ในทุกบริษัทซึ่งให้มีระดับการการปรับขึ้นในขั้นต่ำทุกปีคล้ายกับโครงสร้าง เงินเดือนของราชการ ไม่ใช่มีแต่โครงสร้างเงินเดือนของฝ่ายบริหารและพนักงานออฟฟิสเท่านั้น ส่วนในสถานประกอบการที่มีการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานสหภาพแรงงานก็ควร พิจารณาว่าโครงสร้างการปรับขึ้นเงินเดือนดังกล่าวสะท้อนกับผลกำไรของบริษัท หรือไม่ หากไม่สะท้อนถึงการแบ่งปันผลกำไรที่สมเหตุสมผล สหภาพแรงงานและนายจ้างก็จะต้องมีการเจรจาต่อรองในเรื่องนี้และสวัสดิการ อื่นๆ กันต่อไป