เสวนาวิวาทะระหว่างหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กับนักสิทธิมนุษยชนผู้เชี่ยวชาญด้านกะเหรี่ยงศึกษา กรณีการจับกุมชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจาน ซึ่งมีความเข้าใจต่อประเด็นปัญหาแตกต่างมาก แต่ทั้งหมดถูกกลบไว้ด้วยเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกจำนวน 3 ลำ และมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 17 ราย
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2554 เวลา 10.00 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยบร่วมกับสถาบันอิศรามูลนิธิพัฒนา สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมจัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง “ฮ. ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน”
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานอ้างผลักดันชนกลุ่มน้อยจากพม่า ห่วงปัญหายาเสพติด
โดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เล่าถึงพื้นที่ป่าแก่งกระจานว่ามีพื้นที่กว้างมากกว่า 1.8 ล้านไร่ ต้องใช้เวลามากกว่า 15 วันจึงจะเดินได้ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ดังนั้นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในการสำรวจพื้นที่ป่า ซึ่งกรณีของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นคนที่อพยพมาจากประเทศพม่า
ทั้งนี้ เมื่อปี 2537 ทางการเคยอพยพชนกลุ่มน้อยจากป่าลึกมายังบ้านบางกลอย จัดสรรพื้นที่ให้ 7-15 ไร่ และจัดพื้นที่อยู่คนละ 3 งาน หลังจากนั้นไม่มีโครงการพระราชดำริและไม่มีหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเข้าไปดูแล เมื่ออพยพแล้วบ้านที่มีอยู่ก็เป็นบ้านว่าง ชนกลุ่มน้อยจากพม่าก็เข้ามาอยู่แทน และจากที่ใช้เฮลิคิปเตอร์ของโครงการชั่งหัวมัน ก็พบซึ่งไม่ใช้การบุกรุกเพิ่มเติม แต่เป็นการใช้พื้นที่เดิมในการทำไร่ โดยอยู่อาศัยห่างๆ กัน 1-2 กิโล ซึ่งใช้เวลาเดิน 1-2 วันกว่าจะถึงบ้านแต่ละหลัง
สำหรับโครงการอพยพชนกลุ่มน้อยออกจาพื้นที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอดปี 2552-2553 รวมแล้ว 6 ครั้ง โดยเข้าไปเจรจากับชนกลุ่มน้อย 2 ครั้งแต่ไม่ได้ผล จึงเริ่มทำการจับกุมในเดือน พ.ค. และมิ.ย. ที่ผ่านมา โดย 2 ครั้งแรกที่เริ่มการเจรจานั้น ดำเนินการโดยอุทยานฯ จากนั้นครั้งที่ 3-5 เป็นการสนธิกำลังกับทหาร และครั้งที่ 6 เป็นภารกิจของทหาร เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบินตามแนว สันแดนไม่ได้ จึงต้องยกภารกิจให้กองทัพเป็นผู้ปฏิบัติการ กระทั่งเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกต่อเนื่องกัน 3 ลำดังที่เป็นข่าว
ส่วนข่าวที่ออกมาว่า เจ้าหน้าที่อุทยานไปทำการเผาบ้านและยุ้งฉางของชาวบ้านนั้น หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานปฏิเสธว่า เป็นการเผาทำลายซากบ้านเรือนที่ไม่มีคนอยู่อาศัยแล้ว
โดยนายชัยวัฒน์ย้ำว่าสิ่งที่เป็นห่วงคือ ปัญหายาเสพติด ที่พบว่ามีการปลูกกัญชาอยู่หลายแปลง พร้อมกล่าวว่า จากการลงพื้นที่หลายครั้งได้พบกองกำลังติดอาวุธแต่ไม่มีการปะทะกัน
สำหรับจุด ฮ. ตก นั้นเป็นการตกที่ตะเข็บชายแดนจริง
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและการพัฒนาระบุ อุทยานฯ ละเมิดมติ ครม. 2553
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและการพัฒนาชี้แจงความหมายของคำว่า กะเหรี่ยงกับกะหร่างว่า เป็นการใช้คำผิดมาตลอด ซึ่งคำว่า “กะหร่าง” มีนัยยะดูถูกเหยียดหยามกลุ่มชาติพันธุ์เหมือนคำว่าเจ๊ก
โดยนายสุรพงษ์กล่าวว่าที่มาที่ไปของคำว่ากระหร่าง คือ คนกระเหรี่ยงในประเทศไทยมีประมาณห้าแสนคนแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ สะอร์ หรือที่เรียกตัวเองว่าปากะญอ กลุ่มที่สอง คือกระเหรี่ยงโป ที่เรียกตัวเองโพล่ง หรือโผล่ว
กระเหรี่ยงแถวๆ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เป็นกระเหรี่ยงโป ส่วนปากะญอ เป็นกลุ่มน้อย จึงถูกเรียกว่ากระหร่าง ในความหมายที่ว่า ไม่ใช่กระเหรี่ยงแท้ สำหรับ กระเหรี่ยง บริเวณแม่น้ำเพชรบุรีนี้ ทางมูลนิธิไปสำรวจมาตั้งแต่ปี 2526 พบว่ามีชาวบ้านกระเหรี่ยงอยู่มาก่อนแล้ว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2530 มีการจัดทะเบียนชาวเขาเป็นความร่วมมือระหว่างกะทรวงมหาดไทย ศูนย์พัฒนาชาวเขา พบว่ากระเหรี่ยงบริเวณต้นน้ำเพชรมีมาสอดคล้องกับที่สำรวจมาก กระเหร่ยงในบริเวณป่าแก่งกระจานมีมาหลายร้อยปีแล้ว มีวิถีชีวิตดั้งเดิมมาก และอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่มีหลักฐานว่ากระเหรี่ยงเหล่านี้เข้าประเทศไทยมาตอนไหน นายสุรพงษ์ตั้งคำถามตอปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 ประเด็นคือ
ข้อหาที่ 1 หากชาวกระเหรี่ยงกลุ่มนี้ชาวบ้านเข้าเมืองผิดกฎหมาย คำถามคือพวกเขาเข้าอย่างไร บ้านเก่าที่พม่ามาจากไหนอย่างไร เพราะจากการศึกษาเป็นกระเหรี่ยงที่อยู่ในพื้นที่มานานแล้ว
ข้อหาที่ 2 ทำลายป่า มีหลักฐานอะไรบ้าง
ข้ออหาที่ 3 กองกำลังของกะเหรี่ยงที่จับได้ มีอาวุธอะไรบ้าง เพราะจากหลักฐานของเจ้าหน้าที่พบว่ากะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าวมีเพียงอุปกรณ์ทำ การเกษตรเท่านั้น
นายสุรพงษ์ ยังได้อ้างถึงมติครม. 3 สิงหาคม 2553 ที่ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม โดยให้เรียนรู้อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วย งานที่รับผิดชอบ และมีมาตรการอื่นๆ ที่รัฐไทยรับรองสิทธิของชนกลุ่มน้อย (อ่านจากเอกสารประกอบ)
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ โต้แย้งว่า กะเหรี่ยงกับกะหร่างนั้นต่างกัน และมีภาษาต่างกัน มีวัฒนธรรมต่างกัน รวมถึงนับถือศาสนาต่างกัน คือกะเหรี่ยงนับถือคริสต์ แต่กะหร่างนับถือพุทธปนพราหมณ์ พร้อมกล่าวด้วยว่า หลักฐานอาวุธของชนกลุ่มน้อยที่จับได้นั้นมีจำนวนมาก เพียงแต่ไม่ได้ถ่ายภาพไว้เท่านั้น
“ที่จับแค่ปืนแก๊ป แต่ไม่เอาลูกปืนคาร์บินมาถ่าย ผมเข้าใจคำว่าสิทธิและคุณธรรมของคน ฐานปืนค. อยู่ในบ้านเขาตั้งสามสี่ตัว พานท้ายปินอาก้า ไม่รู้กี่สิบ อุปกรณ์เสริมแต่งเต็มไปหมด แต่เราจะทำอย่างนั้นทำไม ผมทำงานตรงนี้ เข้าใจคนกลุ่มนี้ไม่น้อยผมเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่าคนที่อยู่ใน กรรมการสิทธิด้วยซ้ำ” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติโต้
แกนนำประชาคมกะเหรี่ยงสวนผึ้งระบุหน่วยงานรัฐขาดความเข้าใจ นำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
นายวุฒิ บุญเลิศ ประธานประชาคมอำเภอสวนผึ้ง ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงกล่าวอธิบายข้อขัดแย้งเรื่องความหมายของคำว่ากะเหรี่ยงและกะหร่างว่า
คำว่ากะเหรี่ยง ไม่ได้แยก ว่าเป็นพุทธ คริสต์ กลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ถูกจำแนกแยกแยะด้วยเสื้อผ่าและศาสนา แต่คำว่ากะหร่างถูกใช่ครั้วงแรกในสมัยรัชการที่ 6 เนื่องจากมีการเข้าไปศึกษาสำรวจกลุมชาติพันธุ์ และใช้คำว่ากะหร่างเพื่อแยกกะเหรี่ยงปากะญอออกจากกะเหรี่ยงกลุ่มอื่นใน พื้นที่ทางตะวันตกของประเทศไทย และมีการใช้ต่อๆ กันมา“คำนี้ทำให้ผมวิตกกังวลว่าพี่น้องสื่อไม่เข้าใจความหมายนัยยะเหล่านี้ และถ้าความสับสนนี้ไปเกี่ยวข้อกับนโยบายและแผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาด”
นายวุฒิกล่าวต่อไปว่าป่าโป่งลึกบางกลอย แม่น้ำเพชร เป็นพื้นที่คนกะเหรี่ยงอาศัยอยู่มานานแล้ว การสำรวจทำหลักฐานทะเบียน ปี พ.ศ.2512 ช่วงนั้นรัฐบาลมีความวิตกกังวลต่อประเด็นคอมมิวนิสต์ โดยมีการมอบเหรียญปีให้กับชาวกะเหรี่ยง เสมือนกับการให้สิทธิสถานะกับคนเหล่านั้น
“ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากสิ่งที่เราสร้างวาทกรรม เช่น คำว่าชนกลุ่มนอย เราไม่รู้เลยว่าเผ่าอะไร ภาพหลอนของชนกลุ่มน้อยที่เรามีก็ทำให้มองเห็นเรื่องคนติดอาวุธ เมื่อมองเช่นนั้น ก็เป็นคนละพวกกับเรา เป็นคนละพวกกับรัฐ ความเป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งภาพอธิบายไม่ชัดเจน อาจจะมีความชอบธรรมในการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น กรณีรัฐบาลขัดแย้งทางความคิดกับคนกลุ่มหนึ่งก็เรียกคนเหล่านั้นว่าผู้ก่อการ ร้าย เป็นการให้อำนาจหรือลดทอนอำนาจของคน”
“อีกส่วนคือประเด็นยาเสพติด และแหล่งพักพิง เกิดจากหัวหน้าอุทยานไม่เข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่เข้าเข้าใจวิธีคิดภูมิหลังความเชือ่ ไม่เข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ และผมเชื่อว่านี่จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกันเพื่อนำไปสู่การแกปัญหาชาติบ้าน เมือง”
นายวุฒิกล่าว โดยสรุปว่า 1) หากยุทธการตะนาวศรี คือการจัดการกับคนกลุ่มน้อย ที่เรียกว่ากะหร่าง ก็ฟังคล้ายเป็นคนกลุ่มใหม่ เป็นเรื่องที่ไม่สะทกสะท้าน เพราะไม่ใช่กะเหรี่ยง
2) ข้อกล่าวหาที่ว่าชนกลุ่มน้อยเหล่านี้สะสมกำลัง มียาเสพติดและมีแหล่งพักพิงนั้น ถ้ามีอาวุธ หรือหลักฐานอุปกรณ์การผลิตยาเสพติด เจ้าหน้าที่ต้องนำสิ่งเหล่านั้นมาแสดง ถ้านำมาแสดงได้ ก็เป็นความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ แต่สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเครื่องหมายคำถาม
นายวุฒิเสนอทางออกเฉพาะหน้าว่า ท่าทีของเจ้าหน้าที่หรือชุมชนที่จะอยู่ร่วมกันต่อไปก็คือ ควรหันไปมองแนวทางการจัดการป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งมีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่หกหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่พยายามศึกษาประวัติศาสตร์และดูว่า เจ้าหน้าที่อยู่ได้ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอยู่ได้ และคนก็อยู่ได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่น่าจะเป็นบทสรุปหรือการถอดบทเรียนสำหรับการทำงานของเจ้า หน้าที่ที่จะทำงานกับชุมชนต่อไป
มติคณะรัฐมนตรี ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
16. เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอดังนี้
- เห็นชอบหลักการแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
- มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงไปปฏิบัติ ดังนี้
1.1 มาตรการฟื้นฟูระยะสั้น ดำเนินการภายใน 6 – 12 เดือน
ประเด็น | ข้อเสนอแนะ | หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
---|---|---|
1. อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม | 1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนชาวกะเหรี่ยงในเรื่องอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ (Ethnic identity) และวัฒนธรรมกะเหรี่ยงว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาติที่มีความหลากหลาย | วธ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) |
1.2 ส่งเสริมสังคมให้มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม โดยให้เรียนรู้อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง | วธ. พม. | |
2. การจัดการทรัพยากร | 2.1 ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้ง เดิม | กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
กระทรวงมหาดไทย (มท.) |
2.2 จัดตั้งคณะกรรมการ หรือกลไกการทำงานเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ในการทำกิน การอยู่อาศัย และการดำเนินวิถีชีวิตตามวัฒนธรรม (Demarcation Committee/Mechanism) เพื่อจัดการข้อพิพาทการใช้ประโยชน์หรือการถือครองพื้นที่ของชุมชนกลุ่ม ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกับหน่วยงานรัฐซึ่งมี องค์ประกอบนอกเหนือจากองค์ประกอบของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของ รัฐ ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้มีส่วนได้เสีย นักวิชาการ และ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านวิถีวัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน ตลอดจนนักมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยกำหนดอำนาจหน้าที่มุ่งเน้นการส่งเสริมแนวทางการจัดการความขัดแย้งในเชิง สร้างสรรค์ (Constructive Dialogue) | ทส. มท.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) | |
2.3 ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนบนพื้นที่สูง เช่น การรักษาความหลากหลายของการสร้างพันธุ์พืช การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างความสมดุลของนิเวศผ่านกระบวนการระบบไร่หมุนเวียน | ทส. มท.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) | |
3. สิทธิในสัญชาติ | 3.1 มีมติคณะรัฐมนตรีให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติ ไทย (บัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูงและบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูงเดิม) ที่อพยพเข้าตั้งแต่ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สามารถขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นอยู่ถาวรในประเทศไทย และได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ส่วนบุตรที่เกิดในประเทศไทยให้สามารถขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ มาตรา 7 ทวิได้ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายประมาณ 40,000 คน | มท. สำนักงานสภาความมั่นคง แห่งชาติ (สมช.) |
3.2 เร่งรัดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาการขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่น ที่อยู่ถาวรในประเทศไทยและได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวรวมทั้งบุตรที่ เกิดในประเทศไทยขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ มาตรา 7 ทวิ ที่ได้ยื่นเรื่องขอเป็นเวลานานแล้ว | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
4. การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม | 4.1 ส่งเสริมศูนย์วัฒนธรรมชุมชน โดยเชื่อมโยงและ สอดคล้องกับวิถีชีวิตกับฐานคิดดั้งเดิม ให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมที่มีชีวิต | วธ. โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดย ศูนย์บูรณาการไทยสายใยชุมชน เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม |
4.2 สนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมชุมชน และการทำกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง | วธ. พม. | |
5. การศึกษา | 5.1 ให้ชุมชนมีส่วนในการกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง และส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น เช่น งบประมาณ | ศธ. |
5.2 พัฒนาศักยภาพผู้บริหารการศึกษา ครู คนในท้องถิ่น เช่น กรรมการโรงเรียนให้สามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกฝนอบรมและศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง และปรับระบบการบริหารของโรงเรียนให้เกิดความเหมาะสมกับชุมชน | ศธ. | |
5.3 สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาที่จำเป็นในการพัฒนาชุมชน เช่น ด้านสาธารณสุข | มท. ศธ.
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) |
1.2 มาตรการฟื้นฟูระยะยาว ดำเนินการภายใน 1 – 3 ปี
ประเด็น | ข้อเสนอแนะ | หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
---|---|---|
1. การจัดการทรัพยากร | 1.1 เพิกถอนพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ อนุรักษ์ป่าสงวนซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยงที่มีข้อเท็จจริงจากการพิสูจน์อย่างเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าได้อยู่ อาศัย ดำเนินชีวิตและใช้ประโยชน์ในที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน หรือก่อนที่รัฐจะประกาศกฎหมาย หรือนโยบายทับซ้อนพื้นที่ดังกล่าว | ทส. |
1.2 ส่งเสริมและยอมรับระบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถี วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและวิถีชีวิตพอ เพียง รวมทั้งผลักดันให้ระบบไร่ หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม | ทส. กษ. วธ. | |
1.3 ส่งเสริมเกษตรพอเพียงหรือเกษตรทางเลือกที่ไม่ใช่เกษตรเชิงเดี่ยวหรือเกษตรเชิงอุตสาหกรรม | กษ. ทส. มท. | |
1.4 ส่งเสริมสนับสนุนและยอมรับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และการจัดการของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น การออกโฉนดชุมชน | มท. ทส. | |
2. สิทธิสัญชาติ | จัดสรรงบประมาณรายหัวตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้ จัดทำประวัติและมีสิทธิอาศัยในประเทศไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป | สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ (สปสช.) |
3. การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม | กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโดยมีพื้นที่นำร่อง เช่น
3.1 บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 3.2 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 3.3 บ้านหนองมณฑา (มอวาคี) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 3.4 บ้านเลตองคุ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก | ทส. มท. พม. ศธ. วธ. |
4. การศึกษา | 4.1 ปรับระบบการสอบบุคลากรครู โดยการส่งเสริมให้ทุนแก่กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มกะเหรี่ยงใหม่มากขึ้น เพื่อให้สามารถกลับไปทำงานยังชุมชนของตนเอง หากเป็นครูกลุ่มชาติพันธุ์อื่นจะต้องสามารถพูดภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ นั้น ๆ ได้ หรือพร้อมที่จะเรียนรู้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น | ศธ. |
4.2 รัฐจะต้องผ่อนปรนเงื่อนไขกำหนดคุณวุฒิด้านการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการการสอน และถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และภาษาของท้องถิ่นนั้น โดยเฉพาะครูที่สอนในระดับเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมศึกษา | ศธ. วธ. | |
4.3 ส่งเสริมนโยบาย “พหุภาษา” เพื่อให้เกิดการยอมรับและเข้าใจในภาษาพูดและภาษาเขียนของกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างทาง ชาติพันธุ์ | ศธ. วธ. | |
4.4 ปรับเปลี่ยนรูปแบบของโรงเรียนให้เกิดความเหมาะสมกับชุมชน เช่น ปรับเป็นโรงเรียนสาขาโดยไม่ยุบโรงเรียน ไม่ว่าชุมชนแห่งนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาท้องถิ่นผ่านการร่วมมือระหว่าง โรงเรียน ชุมชน นักวิชาการ องค์กรอิสระ เพื่อพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม | ศธ. |
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่า
- ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนลงมาถึงจังหวัดราชบุรีต่างได้รับความเดือดร้อนใน ปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมมายาวนานเกี่ยวกับความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตแบบกะเหรี่ยงซึ่งครอบคลุม ถึงการจัดการทรัพยากรแบบธรรมชาติด้วยการทำไร่หมุนเวียน การผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง การให้คุณค่ากับป่าวิธีคิดในเรื่องสิทธิ (ที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์) และการที่รัฐไทยยังไม่เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมและภาษาของชาติพันธุ์ชนกลุ่ม น้อยต่าง ๆ (ซึ่งรวมกะเหรี่ยงด้วย) ที่มีอยู่ในประเทศในการจัดการระบบการศึกษาของท้องถิ่นต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาประเทศในแบบทุนนิยมที่เน้นการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งลงทุนสูง และเน้นพืชพาณิชย์เชิงเดี่ยว กีดกันทางเลือกอื่น ๆ เช่น การทำไร่หมุนเวียน ที่ผ่านมากะเหรี่ยงบางส่วนจำต้องยอมรับวิถีชีวิตแบบใหม่และหลายส่วนยังเห็น ว่า “อยู่อย่างกะเหรี่ยงมีคุณค่า ต่อชีวิตมากกว่า”
- กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ให้ยั่งยืนด้วยการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชนและรากฐานทางวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยงมีความเข้มแข็งทั้งในการดำรง ชีวิตและการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิต ชาวกะเหรี่ยง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน ผู้แทนจาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและ เลขานุการ
- คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน จำนวน 2 คณะ ประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีนายชูพินิจ เกษมณี เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ และ นางขวัญชีวัน บัวแดง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปปัญหาด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ของชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทย จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเพื่อเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ
- คณะอนุกรรมการฝ่ายทรัพยากรและสิทธิเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีนายสุรพงษ์ กองจันทึก เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ และ นางมาลี สิทธิเกรียงไกร เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิทธิของชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทย จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ
- คณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริง ปัญหา และจัดทำ แนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงและได้เสนอมาตรการ ต่าง ๆ ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เสนอกระทรวง วัฒนธรรมเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
- คณะกรรมการอำนวยการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2553 ได้พิจารณา ร่างแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ ได้กำหนดแนวนโยบาย ในการสนับสนุนฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงระยะสั้นและระยะยาวในประเด็นปัญหา 5 ประการ คือ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรสิทธิในสัญชาติ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มีมติให้ฝ่ายเลขานุการนำข้อเสนอแนะของที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ไปปรับปรุง และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
- ศูนย์มานุษยสิรินธร (องค์การมหาชน) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิต ชาวกะเหรี่ยงได้รับมอบหมายให้นำร่างแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถี ชีวิตกะเหรี่ยงไปปรับแก้ร่างตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ โดยได้ปรับแก้ไขและจัดทำเอกสารแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิต กะเหรี่ยงแล้ว และเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอคณะคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อ ไป