ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 20 July 2011

ชาตินิยม พลโลก

ที่มา ประชาไท

สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย หรือสนธิสัญญาโอสนาบรึคและมึนสเตอร์ (เยอรมัน: Westfälischer Friede, อังกฤษ: Peace of Westphalia หรือ Treaties of Osnabrück and Münster) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองโอสนาบรึค และต่อมาในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองมึนสเตอร์

สัญญาสันติภาพที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส เป็นการยุติสงครามสามสิบปีในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสงครามแปดสิบปีระหว่างสเปน สาธารณรัฐดัตช์ และรัฐทั้งเจ็ด ผู้เข้าร่วมในการสร้างสัญญาสันติภาพ ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ฮับส์บวร์ก) ราชอาณาจักรสเปน ฝรั่งเศส สวีเดน สาธารณรัฐดัตช์ และพันธมิตรของแต่ละฝ่าย

สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย เป็นผลของการประชุมทางการทูตสมัยใหม่ และถือเป็นการเริ่มวิถีการปฏิบัติสมัยใหม่ (New Order) ของยุโรปกลางในบริบทของรัฐเอกราช กฎที่ปฏิบัติของสัญญาสันติภาพ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สนธิสัญญาพิเรนีสที่ลงนามกันในปี ค.ศ.1659 ในการยุติสงครามฝรั่งเศส-สเปน ปี ค.ศ. 1635 ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาสันติภาพ (วิกิพีเดีย) นับแต่นั้น โลกก็เข้าสู่สังคมระหว่างประเทศสมัยใหม่ การพัฒนาการในการเมืองระหว่างประเทศผ่านการทดสอบมามากทั้งในเรื่องความร่วม มือประสานประโยชน์ และความขัดแย้ง

ความขัดแย้ง หมายถึง ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างกลุ่มมนุษย์

การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

โลกผ่านสงครามที่ทำลายล้างชีวิตมนุษยชาตินับล้านมาถึง 2 ครั้ง ผ่านสงครามตัวแทนแห่งความกลัวที่เรียกว่า ‘สงครามเย็น’ และโลกก็เข้าสู่สงครามก่อการร้าย

โลกเริ่มรังเกียจสงครามมากขึ้นเรื่อยๆ หันไปเน้นหนักในเรื่องของการร่วมมือกันเป็นหนึ่งในลักษณะประชาคมระหว่าง ประเทศมากขึ้น เช่น ประชาคมยุโรป หรือประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้

โลกพยายามลดเรื่องเขตแดนลง ความพยายามของมนุษย์มุ่งหน้าเข้าไปสู่ความร่วมมือกันในฐานะ ‘พลโลก’ มากขึ้น เมื่อโลกไปทางนี้ แล้วเราไปทางไหน

ประเทศเรายังไม่สามารถคิดผ่านอุดมการณ์ชาตินิยม พาตัวเองผ่านจากความเป็นพลเมืองของชาติไปสู่ความเป็นพลเมืองของโลกได้

แนวคิดชาตินิยมคลั่งชาติ ถูกหล่อหลอมมาว่า เรารบไม่เคยแพ้ใคร เราไม่เคยรุกรานใคร ภายใต้ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อไม่นานเพื่อตอบสนองการปกครองของ ชนชั้นสูงในฐานะเทวสิทธิ์ มีบุคคลหลายกลุ่มในสังคมที่มีความคิดแนวคิดที่แตกต่างกัน ท่านจะยอมรับนับถืออะไรย่อมเป็นสิทธิของท่าน เพราะเราเป็นประชาธิปไตย แต่เมื่อใดที่ท่านเอาแนวคิดของท่านมาเคลื่อนไหวผูกพันกับนโยบายต่างๆ ของรัฐแล้วก่อให้เกิดความเสียหายย่อมเป็นเรื่องผิด

แกนนำกลุ่มใดที่เอาอุดมการณ์ชาตินิยมคลั่งชาติสุดโต่งมาครอบงำประชาชน โจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าไม่รักชาติ ถือเป็นเรื่องเลวทรามอย่างยิ่ง

ความรักชาติตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของประชาชนในชาติ คนเรารักชาติ แต่ต้องรักให้ถูกทาง ในกรณีข้อพิพาทกับกัมพูชา เราเคยดำเนินการให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ แบ่งปันผลประโยชน์รายได้ซึ่งกันและกันซึ่งเป็นปกติที่นานาอารยะประเทศทำ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องการประสานประโยชน์

แต่วันหนึ่งที่แนวคิดฝั่งชาตินิยมออกมาบอกว่าไม่ได้ ประโยชน์ที่ว่าต้องเป็นของเราทั้งหมด หากไม่ได้ก็ต้องรบกัน อีกทั้งยังเชื่อมั่นว่ากองกำลังของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยแสนยานุภาพ เรากำลังอยู่ในยุคไหนของโลก สมัยสงครามเย็น สงครามโลก หรือสมัยอาณาจักรอโยธยากันแน่

ในขณะที่โลกชวนกันร่วมมือ เป็นเพื่อนเพื่อต่อสู้ในสงครามเศษฐกิจ เรากลับเลิกคบเพื่อน และเตรียมต่อสู้ในสงครามอาวุธ

หากมีข้อพิพาทใดๆ เกิดขึ้นแล้ว ความเก่งกาจทางด้านการทหารสำคัญสู้ความเก่งกาจในทางการทูตไม่ได้

การทูตอันเก่งกาจของเราที่ผ่านมาในรัฐบาลที่แล้ว ทำให้ไม่รู้ว่า เราเหลือเพื่อนในเวทีโลกกี่คน

โลกได้ก้าวไปสู่ความเป็นพลโลก แต่ไทยยังก้าวไม่พ้นความเป็นพลเมือง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้คลั่งชาติไม่เข้าใจ และจะถามเรากลับว่า “ทำไมมึงไม่รักชาติ”

เรารักชาติ และจะทำให้ชาติมีเกียรติภูมิในเวทีโลก หรือเราจะรักชาติที่ยืนอยู่โดดเดี่ยวไร้เพื่อน

เมื่อโลกเปลี่ยนไป เหตุใดเราไม่เปลี่ยนตามโลก

มีคำตอบแบบกวนๆ กลับมาว่า

“ประเทศเรามันอินดี้ ไม่เน้นค้าขายกับใคร เก็บไว้กินกันเอง