ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 29 June 2011

′อภิสิทธิ์-นพดล′ วิวาทะผ่านเฟซบุ๊ก ปมขัดแย้ง′ไทย-เขมร′

ที่มา มติชน



หมายเหตุ - เนื้อหาบางส่วนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัติย์ กับนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เขียนข้อความผ่านเฟซบุ๊กตอบโต้กันกรณีการถอนตัวออกจากภาคีคณะกรรมการมรดก โลก และข้อพิพาทไทย-กัมพูชา



นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


นายกรัฐมนตรี

นายนพดล ปัทมะ เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "การลาออกจากภาคีมรดกโลกจะสร้างความเสียหายให้ประเทศไทยอย่างมาก เป็นการปิ้งปลาประชดแมว"

นาย นพดลไม่มีสิทธิที่จะมาตำหนิรัฐบาลของผมเพราะเขาเป็นผู้สร้างความเสี่ยงให้ ไทยต้องอยู่ในภาวะอันตรายต่ออธิปไตยของชาติ เนื่องจากเป็นผู้ไปลงนามสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น มรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวในปี 2551

สิ่ง ที่เขาควรทำคือการนั่งนิ่งๆ แล้วถามตัวเองว่าพวกเขาได้ทำอะไรลงไปกับประเทศชาติจนทำให้ผมต้องต่อสู้เพื่อ รักษาสิทธิและอธิปไตยของไทยที่นายนพดลกับพวกเกือบจะยกใส่พานให้กัมพูชาไป แล้ว

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผมเดินหน้าคัดค้านการนำเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระะวิหารของ กัมพูชาฝ่ายเดียว และผมมีจุดยืนในการรักษาดินแดนไม่เคยเปลี่ยนแปลง ผมจะสู้จนถึงที่สุดบนแนวทางที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศในฐานะนักการ เมืองที่มีความรับผิดชอบต่อประเทศ ไม่ใช่ในฐานะทาสรับใช้ของคนที่เคยเป็นอดีตที่ปรึกษาสมเด็จฯฮุน เซน นายกฯกัมพูชา

บอกตรงๆ ว่า ผมรู้สึกละอายใจแทนคุณนพดล ที่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้สำนึกเลยว่าต้นตอปัญหาที่รัฐบาลคุณสร้างขึ้นกำลัง ส่งผลร้ายแรง คุกคามชีวิตพี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนอย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย

รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช โดยนายนพดลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา วันที่ 18 มิถุนายน 2551 มีเนื้อหาสนับสนุนให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 หรือแผนที่ฝรั่งเศส ให้ใช้เป็นแผนการพัฒนาบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร

พรรคประ ชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจนายสมัคร และนายนพดล ว่าการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้ไทยเสียดินแดน 4.6 ตร.กม.

ต่อมาวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเพิกถอนมติ ครม. 17 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา และศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 1 ชี้ขาดว่าแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลช่วงปลาย ปี 2551 รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของผม มีมติ ครม.วันที่ 16 มิถุนายน 2552 คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก กัมพูชาเองก็ไม่สามารถพัฒนาพื้นที่ได้ ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกขยายเวลาการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ออกไป 1 ปี

วันที่ 28 กรกฎาคม 2553 ออกแถลงการณ์ชี้แจงข้อทักท้วงของไทย รวมทั้งทบทวนการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก วันที่ 29 กรกฎาคม 2553 คณะกรรมการมรดกโลกรับฟังข้อทักท้วงของรัฐบาลไทยมีมติเลื่อนการพิจารณาแผนการ บริหารจัดการพื้นที่ออกไปตัดสินปีนี้

เมื่อมีการปะทะกันระหว่าง ไทย-กัมพูชา ยูเนสโกส่งผู้แทนพิเศษมาเจรจากับไทยและกัมพูชา ได้ข้อสรุปว่าจะเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการรอบปราสาทพระวิหารออกไปจน กว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องเขตแดนตามกรอบเจบีซี ที่กัมพูชาเองก็ยอมรับกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า แผนดังกล่าวจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อสองฝ่ายได้ข้อสรุปในเรื่องเขตแดนแล้ว

กัมพูชา พยายามคัดค้านข้อมติของผู้อำนวยการยูเนสโก ส่งร่างของตัวเองที่ฝ่ายไทยยอมรับไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดก โลก ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะได้ต่อสู้คัดค้านการพิจารณาร่างดังกล่าว แต่ประธานในที่ประชุมยืนยันที่จะให้พิจารณาร่างข้อมติทั้ง 2 ร่าง ซึ่งรัฐมนตรีสุวิทย์เห็นว่ามีความสุ่มเสี่ยงที่จะกระทบต่ออธิปไตยของไทย จึงแสดงเจตนาถอนตัว ทำให้คณะกรรมการไม่ได้เห็นชอบกับร่างของกัมพูชา เท่ากับว่ายังไม่มีการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ดังกล่าว

แต่ อาจจะสำเร็จทันทีที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็ได้ เพราะจุดยืนของพรรคเพื่อไทยชัดเจนว่าสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ กัมพูชามาโดยตลอด

หากพิจารณาจากจุด ยืนของ พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตที่ปรึกษานายกฯฮุน เซน เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า "ไทยรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน" ประกอบกับวิธีคิดของแกนนำเพื่อไทยอย่างนางฐิติมา ฉายแสง ที่อภิปรายกลางสภาว่า "พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของกัมพูชามาตั้งนานแล้ว" ก็จะยิ่งตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลือกใครรระหว่างพรรคเพื่อไทยกับประชา ธิปัตย์เพื่อดูแลบูรณภาพเหนือดินแดนไทย

ผมยังยืนยันว่าการแก้ ปัญหาต้องใช้ทั้งการเจรจา กลยุทธ์การเมืองระหว่างประเทศ และความเข้มแข็งของกองทัพไทย เราไม่เคยคิดรุกรานใครแต่พร้อมเต็มที่ในการรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ โดยไม่เกรงกลัวใครหน้าไหนทั้งนั้น

ที่สำคัญ ผมไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือความสัมพันธ์พิเศษใดๆ กับผู้นำกัมพูชาที่ต้องไปยกดินแดนไทยให้กัมพูชาเพื่อแลกกับความสัมพันธ์ที่ ดี หรือการนำผลประโยชน์ชาติไปแปรสภาพเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว

ใคร ทำให้ชาติเข้าสู่ความเสี่ยงทางอธิปไตยอย่างไร้ความละอายนั้น คนไทยทั้งประเทศคงจะได้ไปแสดงฉันทามติในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ว่า "ไม่เอาพรรคการเมืองที่ยกดินแดนให้เขมรแต่จะเลือกพรรคการเมืองที่ปก ป้องอธิปไตย"


นายนพดล ปัทมะ

ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ

จาก การที่นายอภิสิทธิ์ เขียนจดหมายในเฟซบุ๊กกรณีปัญหาไทย-กัมพูชา ซึ่งมีข้อความที่กล่าวหา พาดพิงถึงตัวผม ซึ่งการกล่าวหาที่เป็นเท็จดังกล่าวนั้น ผมไม่อยากตอบโต้ท่าน แต่ผมขอใช้สิทธิชี้แจงเพื่อปกป้องตนเอง ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น และไม่เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปรึกษา พ.ต.ท ทักษิณ

ปี 2549 กัมพูชาไปยื่นคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยแผนที่ที่ยื่นนั้นมันรุกล้ำและผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ที่ไทยอ้างสิทธิเข้าไปด้วย กล่าวคือกัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียน ก) ตัวปราสาท และ ข) พื้นที่ทับซ้อน

ปี 2550 ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ไทยคัดค้านไม่ให้เขาเอา ข) พื้นที่ทับซ้อน ไปขึ้นทะเบียน จนคณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนการพิจารณาการจากปี 2550 ไปเป็น 2551

เดือน ก.พ.2551 รัฐบาล คมช. หมดวาระ รัฐบาลสมัครเข้ามา และเสมือนถูกไฟลนก้น เพราะเหลือเวลาเพียง 5 เดือนก่อนประชุมมรดกโลกในเดือน กรกฎาคม 2551 และต้องเร่งเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกก่อนให้ได้

รัฐบาล สมัคร และนายนพดล พยายามเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก และห้ามนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ที่รัฐบาลสมัครทำไปนั้น ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน หน่วยงานของรัฐและข้าราชการประจำทุกฝ่ายร่วมกันทำ และเห็นด้วย เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กองทัพไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมแผนที่ทหาร พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ก็เห็นด้วย

หากรัฐบาลนายสมัครและนายนพดล ปัทมะ ไม่คัดค้านอย่างแข็งขันและเจรจาจนสำเร็จ กัมพูชาจะผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนด้วย เราจะแย่กว่านี้

คำ แถลงการณ์ร่วมที่ ครม.อนุมัติให้นายนพดล ไปเซ็นนั้น สิ้นผลไปแล้วตามหนังสือยืนยันของรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา และตอนที่กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกในเดือนกรกฎาคม 2551 นั้น คณะกรรมการมรดกโลกก็ห้ามไม่ให้นำคำแถลงการณ์ร่วมเข้าประกอบการพิจารณาตามที่ ไทยขอระงับ แสดงว่าไทยจะสนับสนุนการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทหรือไม่ ก็ไม่ได้มีความสำคัญเลย กัมพูชาก็ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทได้อยู่ดี

คุณ อภิสิทธิ์น่าจะมีวุฒิภาวะและละอายแก่ใจบ้างว่าสิ่งที่รัฐบาลนายสมัครได้ทำไป นั้นเพื่อปกป้องดินแดนและพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. และเจรจาสำเร็จจนกัมพูชายอมตัดพื้นที่ทับซ้อนออกไป รัฐบาลนายสมัครและผมจึงเป็นผู้ปกป้องดินแดน และไม่เคยยกอธิปไตยใส่พานให้กัมพูชา

ที่นายอภิสิทธิ์กล่าวหาว่า รัฐบาลสมัครและผม ไปสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวในปี 2551 นั้น คุณอภิสิทธิ์พูดความจริงครึ่งเดียวครับ ท่าน พูดถูกที่ว่าผมได้ลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม แต่ท่านพูดเท็จตรงที่ว่าคำแถลงการณ์ร่วมมีผลเป็นการสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้น ทะเบียนมรดกโลกได้ จะเห็นได้ว่ามติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกปี 2551 มีการระบุชัดเจนถึงการไม่อ้างอิง และห้ามนำแถลงการณ์ร่วมฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2551 มาประกอบการพิจารณา

คณะ กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยพิจารณาจากคุณค่าสากลอันโดดเด่นของตัวปราสาทเอง ไม่เกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วม คนที่กล่าวหาว่ากัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้เพราะไทยไป เซ็นแถลงการณ์ร่วมนั้น จึงไม่เป็นความจริง เพราะฉะนั้น การกล่าวหาว่าผมไปเซ็นเอกสารและสร้างความเสียหาย จึงเป็นการกล่าวหาที่เป็นเท็จ

คุณอภิสิทธิ์กล่าวหาด้วยความ เท็จว่า "รัฐบาลขณะนั้น ออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 หรือแผนที่ฝรั่งเศส" ผมขอเรียนว่าเป็นเท็จโดยสิ้นเชิง ไม่มีความตอนใดของคำแถลงการณ์ร่วมที่มีการยอมรับแผนที่ 1:200,000 เลย

คุณ อภิสิทธิ์อาจจะพยายามทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีของผม ผมอดทนได้และผมอโหสิกรรมให้ คุณอภิสิทธิ์อาจจะพยายามเหยีบย่ำผมได้ แต่ผมจะไม่ยอมให้นายอภิสิทธิ์เหยียบย่ำทำลายความจริง และผมจะปกป้องความจริงจนสุดกำลัง

คุณอภิสิทธิ์ไร้วุฒิภาวะและความ เป็นนายกฯ ที่ทำทุกอย่างเพื่อหวังผลทางการเมือง ใช้แม้กระทั่งความเท็จกล่าวหาผู้อื่น อย่างไร้จริยธรรมของผู้นำ