ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 8 June 2011

นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์: คำขอโทษ จากนายกอภิสิทธิ์

ที่มา ประชาไืท

92 ศพ

2,000 ผู้บาดเจ็บ

162 คดีภายใต้การควบคุมของดีเอสไอ

31 ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงศีรษะ

0 คำขอโทษจากนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ด้วยตำแหน่งหน้าที่ที่มีอภิสิทธิ์ในการได้พูดคุยกับนายกฯอภิสิทธิ์หลาย ต่อหลายครั้ง ได้สัมภาษณ์ ได้สอบถามในหลายๆ ประเด็น หนึ่งในสิ่งที่ผมได้ถามด้วยความอยากรู้ คือเรื่องของ “คำขอโทษ” จากปากของนายกฯอภิสิทธิ์ หลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม

ทุกครั้งก่อนได้สัมภาษณ์พูดคุยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ทีมงานจะยืนยันว่า ผมสามารถถามคำถามอะไรก็ได้กับคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งด้วยลีลาฟุตเวิร์กระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เศรษฐกิจ การเมือง และปรัชญาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ถามเรื่องไหนไป นายกอภิสิทธิ์ก็ตอบได้หมด เรื่องจริงจะเป็นอย่างไร มีดีมีร้าย แต่นายกอภิสิทธิ์ชี้แจงได้หมด

ยกเว้นอยู่คำถามเดียว ที่ไม่สามารถออกอากาศได้

“หลังการสลายการชุมนุม มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก เรื่องความรับผิดชอบย่อมเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ปกครองประเทศแล้วมีผู้เสียชีวิตด้วยประเด็นทางการ เมือง นายกอภิสิทธิ์ต้องการจะขออภัยฝั่งผู้ชุมนุมบ้างหรือไม่?”

ผมได้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องนี้อยู่สองครั้ง เฝ้ารอคำตอบด้วยใจระทึกและความคาดหวัง ใจระทึกว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร และคาดหวังว่าเราอาจจะได้ยินคำขอโทษจากผู้นำประเทศที่ตัดสินใจผิดพลาดจาก เหตุทางการเมืองสักครั้ง

แต่สุดท้ายก็ไม่
ไม่ได้ยิน “คำขอโทษ”
ฅไม่ได้รับรู้ถึง “ความสำนึกผิด”

ที่ได้ยินกลับมาคือ
“คำถามนี้ไม่สามารถออกอากาศได้”

ถามว่าทำไม?
“เพราะถ้าเราขอโทษ เท่ากับว่าฝ่ายเรายอมรับว่าเป็นฝ่ายผิด”

นี่คือคำตอบเดียวที่ได้รับจากนายกอภิสิทธิ์ กับความรู้สึกลึกๆจากใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความคาดหวัง

ความคาดหวังจากนายกรัฐมนตรีที่เคยพูดว่า “ผมขอเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้งประเทศ”
ความคาดหวังจากนักการเมืองที่เคยพูดว่า “จะหนึ่งคนหรือแสนคนเราก็ต้องรับฟัง”
ความคาดหวังที่จะได้ยินคำว่า "ขอโทษ" เพื่อให้รับรู้ว่าท่านนายก เข้าใจถึงความผิดพลาด ในการตัดสินใจของตัวเอง

ความคาดหวังจากมาตรฐานของคนทั่วไป ...
ที่ไม่ได้ต้องการจะล้มล้างรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ ...
ที่ไม่ได้คาดหวังว่าท่านจะต้องยุบสภาหรือลาออก ...

เพียงแต่คาดหวัง “คำขอโทษ”
“คำขอโทษ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดหวัง จากคนที่เราใส่ใจ ให้ความสำคัญ
.... และยังพร้อมที่จะรับฟัง

.............................
หมายเหตุ: บท ความนี้เขียนเมื่อช่วงเดือนตุลาคมปี 2553 หลังจากผมได้รับเชิญให้ไปถามคำถามนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผ่านรายการทางเวบไซท์ของนายกรัฐมนตรี