ระบบตุลาการเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในสังคมเสรี/ประชาธิปไตย โดยในด้านหนึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงแก่ชีวิตและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลจาก การล่วงละเมิดตามอำเภอใจขององค์กรเจ้าหน้าที่รัฐ และในอีกด้านหนึ่งสถาบันตุลาการที่มีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวาง จะเป็นกลไกที่ทำให้สังคมสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ลงได้
องค์กรตุลาการจึงมีความหมายสำหรับสังคมการเมืองทั้งในด้านที่ เป็นการปกป้องปัจเจกบุคคลด้วยการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในฝ่ายบริหาร ว่าจะดำเนินการไปภายใต้กรอบของกฎหมายที่มีความเป็นธรรม
ทั้ง องค์กรตุลาการที่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นการสร้าง ความมั่นคงให้กับสังคม ดังเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ ก็จะมีความมั่นใจในการใช้องค์กรตุลาการเป็นกลไกในการยุติข้อพิพาท โดยไม่เลือกใช้วิธีการอื่นซึ่งอาจนำมาซึ่งความรุนแรงและสั่นคลอนความมั่นคง ของสังคมโดยรวม
หลักการพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งอันเป็นที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศว่า จะทำให้สถาบันตุลาการสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวก็คือ การดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม (Impartiality)
เมื่อ กล่าวถึงความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการโดยทั่วไปมีความหมายว่าประชาชนมี สิทธิได้รับการพิจารณาจากคณะผู้พิพากษาที่ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วน เสียใดๆ กับคู่ความในคดี ดังเช่นการมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การเป็นหุ้นส่วนด้านธุรกิจการค้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดี เป็นต้น
การ มีส่วนเกี่ยวข้องในลักษณะที่กล่าวมาทำให้เห็นได้ว่าอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ ผู้ที่ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทนั้นอาจเอนเอียงไปยังฝ่ายที่ตนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความเที่ยงธรรมของตุลาการแล้ว ไม่ได้มีความหมายจำกัดเฉพาะเพียงผลประโยชน์ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนเป็น รูปธรรมเท่านั้น หากยังมีความหมายรวมไปถึงการกระทำอื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าบุคคลที่ทำ หน้าที่ในระบบตุลาการไม่อยู่ในฐานะที่มีความเป็นกลาง หากเอนเอียงไปหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ดังเช่นการแสดงความคิดเห็นไว้ล่วงหน้าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งและเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทที่กำลังได้รับการวินิจฉัย
หลักการพื้นฐานว่าด้วยความเป็นอิสระของศาล (Basic Principle on the Independence of the Judiciary) ซึ่งรับรองโดยที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติ ต่อผู้กระทำความผิด ครั้งที่ 7 เมื่อ ค.ศ.1985 และได้รับการรับรองโดยที่ประชุมทั่วไป โดยมติที่ 40/32 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1985 และโดยมติที่ 40/32 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1985 ได้บัญญัติรับรองหลักการเรื่องความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการไว้ ดังนี้
"ข้อ 2 ศาลพึงตัดสินคดีด้วยความยุติธรรม บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและเป็นไปตามกฎหมาย โดยปราศจากการตัดทอน การใช้อิทธิพลโดยมิชอบ การชักนำ การกดดัน การข่มขู่หรือแทรกแซง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมจากบุคคลใดๆ หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด"
การ วินิจฉัยข้อพิพาทต่างๆ ของศาลจึงต้องวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและตัดสินให้เป็นไปตามบท บัญญัติของกฎหมาย ในการที่จะบรรลุถึงความเที่ยงธรรม รัฐ สถาบันและบุคคลจึงมีพันธะในการละเว้นจากการกดดันหรือโน้มน้าวให้ผู้พิพากษา ตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ ผู้พิพากษาก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเที่ยงธรรม ของตนเองควบคู่ไปด้วย อันจะทำให้เกิดความมั่นใจว่าการตัดสินในข้อพิพาทนั้นได้กระทำอย่างเป็นธรรม
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสากลแห่งสหประชาชาติมีความเห็นต่อความเที่ยงธรรมของศาลในส่วนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา ดังนี้
"การ ทรงความเที่ยงธรรมของศาล มีนัยยะว่าผู้พิพากษาจะต้องไม่มีความคิดล่วงหน้าใดๆ เกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพิจารณา และผู้พิพากษาจะต้องไม่ปฏิบัติไปในทางที่ส่งเสริมผลประโยชน์ของคู่กรณีฝ่าย หนึ่งฝ่ายใด เมื่อมีการกำหนดลักษณะที่ทำให้ผู้พิพากษาขาดคุณสมบัติในการทำหน้าที่ไว้ใน กฎหมาย ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้ และหาผู้มาแทนที่สมาชิกของศาลคนที่มีพฤติกรรมที่ทำให้ขาดคุณสมบัติในการดำรง ตำแหน่งนี้"
(Communication 387/1989, Arvo O. Karttunen V. Finland จากหลักการสากลว่าด้วยความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้พิพากษา ทนายความ และอัยการ. จัดพิมพ์โดย International Commission of Jurists)
ความ เที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการจึงสัมพันธ์กับสถานะ ผลประโยชน์และการปฏิบัติตัวของผู้พิพากษาอย่างใกล้ชิด การดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมก่อให้เกิดหน้าที่ของผู้พิพากษาที่จะต้อง ปฏิบัติตนเพื่อแสดงให้ขึ้นความเที่ยงธรรม มีการสร้างมาตรฐานในระดับระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติอัน เหมาะสมของผู้พิพากษาไว้ อาทิ
หลักการบังกาลอร์ว่าด้วยการปฏิบัติ หน้าที่ทางตุลาการ (The Bangalore Principle of Judicial Conduct) รับรองโดยกลุ่มตุลาการว่าด้วยการเสริมสร้างบูรณภาพทางตุลาการ (Judicial Group on Strengthening Judicial Integrity) ปรับแก้ตามที่ประชุมโต๊ะกลมของประธานศาลสูงสุด ณ Peace Palace กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ 2002 มีบทบัญญัติดังนี้
"คุณค่าที่ 2 การดำรงความเที่ยงธรรม
2.1 ผู้พิพากษาจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางตุลาการของตนโดยปราศจากความชอบ ความเอนเอียงหรืออคติ
2.2 ผู้พิพากษาจะดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของตนทั้งภายในและภายนอกศาล รักษาและส่งเสริมความเชื่อมั่นของสาธารณะ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพทางกฎหมาย และคู่ความในคดี ในเรื่องการดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมของผู้พิพากษา
2.3 ผู้พิพากษาจะปฏิบัติตนเพื่อลดโอกาสในการถูกถอดถอนจากการพิจารณาคดีหรือตัดสินคดีให้น้อยที่สุด
2.4 ในระหว่างพิจารณาคดี หรือระหว่างที่อาจจะได้พิจารณาคดีหนึ่งๆ ผู้พิพากษาจะต้องไม่แสดงความเห็นใดๆ อย่างตั้งใจอันอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการพิจารณาคดี หรือเป็นผลเสียต่อภาพความเป็นธรรมของกระบวนพิจารณาคดี ผู้พิพากษาต้องไม่แสดงความเห็นต่อสาธารณะหรืออื่นๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมของบุคคล"
ในกรณี ที่ผู้พิพากษาไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้อย่างเที่ยงธรรมหรือเมื่อความ เที่ยงธรรมถูกตั้งข้อสงสัย ผู้พิพากษาไม่ควรให้คู่กรณีท้าทายความเที่ยงธรรมของตนเอง หลักการบังกาลอร์ฯ ได้ระบุถึงแนวทางที่ผู้พิพากษาควรปฏิบัติไว้ ดังนี้
2.5 ผู้พิพากษาควรจะต้องถอนตัวออกจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการใดๆ ที่ผู้พิพากษาจะไม่สามารถตัดสินคดีได้อย่างเที่ยงธรรม หรือในกระบวนการที่อาจปรากฏแก่วิญญูชนว่าผู้พิพากษาไม่สามารถตัดสินคดีได้ อย่างเที่ยงธรรม กระบวนการเช่นนั้นรวมถึงกรณีที่
2.5.1 ผู้พิพากษามีอคติที่แท้จริงหรือมีความโน้มเอียงต่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือมีความรู้ส่วนบุคคลในข้อเท็จจริงที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับคดีที่กำลังถูก โต้แย้งอยู่
2.5.2 ฯลฯ
บทความนี้เกิดขึ้น ด้วยความตระหนักว่าปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่สถาบันตุลาการไทยกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศาลรัฐธรรมนูญคือ ประเด็นเรื่องความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่
หลักการเรื่องความเที่ยงธรรมเกิดขึ้นในนานาอารยประเทศจึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่อาจนำมาเป็นหลักในการพิจารณาและรวมถึงการแสวงหาทางออกซึ่งช่วยสร้างความ มั่นใจต่อความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการให้เกิดขึ้นมากกว่าเพียงความ พยายามในการหันเหประเด็นไปสู่การกล่าวอ้างเรื่องการทำลายความน่าเชื่อของ สถาบันตุลาการซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อทั้งสถาบันตุลาการและสังคมไทยในระยะยาว แต่อย่างใด