รายงานพิเศษ
สำนักงานกฎหมาย อัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ซึ่งรับการว่าจ้างจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ต่อสู้คดี "ผู้ก่อการร้าย" และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับทีมทนายความแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
รวมทั้ง นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) นายกิติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขานุการคอป. และนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เรียกร้องให้สอบสวนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยดำเนินการผ่านองค์กรอิสระ เปิดหลักฐาน-พยานทุกด้านทันทีที่ร้องขอ และให้ความสะดวกในการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ ออกแถลงการณ์ตอบโต้ มีเนื้อหา ดังนี้
จ.ม.เปิดผนึกจี้รัฐบาลไทย
วัตถุประสงค์ของหนังสือฉบับนี้ เพื่อย้ำถึงสิทธิของลูกความในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่จำกัดเพียงการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งปวง อย่างเต็มที่ เป็นธรรม และสมบูรณ์ ย่อมรวมถึงการตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงความเหมาะสมและความสมควรแก่เหตุของการใช้กำลังของหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่กระทำต่อการชุมนุม
สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิของพลเรือน (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ซึ่งประเทศไทยร่วมตกลง มีข้อกำหนดให้หลักประกันแก่ลูกความของสำนักงาน ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับสิทธิต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม
และยังรับรองสิทธิที่จะได้รับคำแนะนำ คำปรึกษาอย่างมีอิสระ และรับรองสิทธิผ่านทางทนายความและผู้เชี่ยวชาญอิสระที่จะตรวจสอบ ทดสอบพยานหลักฐานทั้งปวงที่ใช้อ้างในการกล่าวหาและดำเนินคดีลูกความของสำนักงาน
กรณีของลูกความบางราย สิทธิที่จะตรวจสอบพยานหลักฐานย่อมเกี่ยวพันไปถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคล จำนวน 90 ราย ที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุม
ลูกความของสำนักงาน 13 ราย ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้เกี่ยวพัน หรือก่อให้เกิดการใช้กำลังและความรุนแรง ข้อเท็จจริง ข้อมูล และพยานที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยเหตุแวดล้อมกับการเสียชีวิตของพลเรือน-ทหาร จึงเกี่ยวพันโดยตรงกับการตั้งข้อกล่าวหาของรัฐบาลไทย
และพยานหลักฐานจะเป็นตัวพิสูจน์ว่า รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติต่อประชาชนที่เข้าชุมนุมอย่างเหมาะสมและโดยสมควรแก่เหตุหรือไม่ และยังจะพิสูจน์ว่าการใช้กำลังโดยรัฐบาลไทยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เป็นชนวนก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงหรือไม่
ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศตามหลักสนธิสัญญาแห่งกรุงเจนีวา ปี 1949 สนธิสัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยการก่อการร้ายปี 1977 สนธิสัญญาว่าด้วยตัวประกัน สนธิสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการประทุษร้ายปี 1984 และสนธิสัญญาแห่งนครนิวยอร์ก ว่าด้วยอาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศปี 1973
การดำเนินการของรัฐบาลไทยที่เป็นการละเมิดหลักประกันต่อพลเรือนว่าจะไม่ถูกกระทำวิสามัญฆาตกรรม และการกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ตามอำเภอใจ อาจเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ แม้จะอ้างเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุกรณีพิเศษ
เหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงมีภาระหน้าที่ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ที่จะสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ ครบถ้วน และเป็นธรรม และในสภาวการณ์เช่นนี้ รัฐบาลไทยต้องให้องค์กรที่เป็นอิสระและมีความเป็นกลางสอบสวนข้อเท็จจริง
หากการสอบสวนมีการละเมิดสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินคดีเพื่อทำให้เกิดความยุติธรรม การที่รัฐบาลล้มเหลวในการดำเนินการเช่นนี้ อาจถือเป็นการกระทำละเมิดต่อภาระหน้าที่ต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
และตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กำหนด อาจมีสถานการณ์ที่หากรัฐไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามมาตรา 2 ของสนธิสัญญาจะนำไปสู่การกระทำที่ละเมิดสนธิสัญญาโดยรัฐ
ภายใต้หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ ลูกความของสำนักงานและคณะทนายความที่สู้คดี จึงมีสิทธิร้องขอ ดังนี้
1. ให้ดำเนินการผ่านองค์กรที่มีความอิสระและเป็นกลาง สืบสวนสอบสวนถึงการใช้กำลังอาวุธโดยหน่วยงานของรัฐที่กระทำต่อประชาชนผู้ร่วมการชุมนุม อย่างเต็มที่ เป็นธรรมและโดยสมบูรณ์
2. เก็บรักษาพยานหลักฐาน ทั้งวัตถุพยาน พยานทางนิติเวช เอกสาร เทปบันทึกภาพและเสียงที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ
3. เปิดเผยรายละเอียดของพยานหลักฐานต่างๆ ต่อคณะทนายความของลูกความของสำนักงานโดยละเอียดและในทันที รวมถึงแถลงการณ์จากตำรวจ และ/หรือทหาร เจ้าหน้าที่ของรัฐ
4. อนุญาตและเปิดโอกาสให้ลูกความของสำนักงาน โดยคณะทนายความในการตรวจสอบ
ก. วัตถุพยานต่างๆ และชันสูตรและวิเคราะห์หลักฐานในทางนิติเวชโดยอิสระ รวมถึงการชันสูตรศพ การทดสอบการใช้ยุทธภัณฑ์ทหาร การวิเคราะห์วิถีกระสุน
ข. พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสอบปากคำ การไต่สวน คำให้การ รายงานการชันสูตรและรายงานวิถีกระสุน รายงานของผู้เชี่ยวชาญ
ค. พยานผู้เชี่ยวชาญและพยานอื่นๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการตั้งข้อกล่าวหา
ง. รายงานผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ข้อมูลข่าวกรอง และรายงานการสอบสวนอื่นๆ ที่หน่วยงานรัฐจัดเตรียมเพื่อใช้กับการชุมนุมของคนเสื้อแดง
5. อนุญาตให้คณะทนายความ เข้าร่วมในการสัมภาษณ์การสอบปากคำพยาน การสอบสวนบุคคลโดยหน่วยงานของรัฐบาลไทย กรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คณะกรรมการฯ หรือคณะทำงานด้านการสืบสวนสอบสวนใดๆ ของทางการ
6.เปิดโอกาสให้คณะทนายความ เข้าถึงเพื่อการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของหน่วยงานราชการหรือทหาร เกี่ยวกับยุทธวิธีในการจัดการกับการชุมนุม (ที่เรียกกันว่าเป็น "แผนการหลัก")
เอกสารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางการทหารในการสลายการชุมนุม คำสั่งปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพ ข้อมูลที่เกี่ยวกับคำสั่งทั้งด้วยวาจาและที่เป็นลายลักษณ์อักษรของกองทัพเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม รวมทั้งบรรยายสรุปและการรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์
7.ให้ทนายความมีโอกาสเข้าถึงวัตถุพยานและรายงานทางนิติเวช ทั้งข้อมูลทางการแพทย์ของการบาดเจ็บ เสียชีวิตของทหาร พลเรือน การศึกษาและทดสอบวิถีกระสุน บันทึกภาพและเสียงที่เกี่ยวกับการชุมนุม การสลายการชุมนุม รายงานการชันสูตรศพ แถลงการณ์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คอป. หรือคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่ตั้งโดยรัฐ
8.ให้ความสะดวกแก่ทนายความในการสัมภาษณ์ ผู้บัญชาการ ผู้บังคับการของกองทัพ ผู้นำทางการเมืองที่มีอำนาจสั่งการกองทัพ พยานผู้เชี่ยวชาญที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยเชื่อถือ
สำนักงานหวังว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ที่มีและผูกพันไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และจะรอฟังคำตอบภายใน 10 วันข้างหน้า
สภาทนายความแถลงโต้
สืบเนื่องจากกรณีนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม มีจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ รองนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อ้างว่าตนเองเป็นทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ขอให้หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบที่บานปลายจนเป็นการก่อการร้ายในประเทศไทย ให้ส่งมอบข้อมูลเอกสารรวมทั้งให้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นกลาง และมีกรณีอื่นอีกรวม 8 เรื่องด้วยกันนั้น
สภาทนายความเห็นว่าการกระทำของนายโรเบิร์ต เกินกว่าหน้าที่ของทนายความที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปทั้งในระดับสากล และโดยเฉพาะในประเทศไทย จึงขอแถลงการณ์ให้ประชาชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเหมาะสม อันเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายส่วนหนึ่งของสภาทนายความต่อสาธารณชน ดังนี้
1. นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เป็นทนายความให้พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา
หากนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จะรับเป็นทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพื่อต่อสู้คดีในศาลของประเทศไทย นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ต้องเข้าสู่กระบวนการการเรียนรู้กฎหมายไทย ซึ่งเทียบได้กับมาตรฐานสากล
โดยเฉพาะการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อกล่าวหากับลูกความของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม นายโรเบิร์ต อัมสเตอดัมส์ ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้มีการสอบสวน หรือให้ปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษกับลูกความของตนแต่อย่างใด
เพราะการดำเนินคดีข้อหา หรือฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร และความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งกระบวนการยุติธรรมของไทยได้ดำเนินการไปตามหลักการและวิธีการโดยชอบด้วยกฎหมาย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง (พลเมือง) และทางการเมือง
หน่วยงานของรัฐบาลโดยเฉพาะในกระบวนการยุติธรรมไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการอย่างใดตามหนังสือเรียกร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
ในทางตรงกันข้าม ควรเชิญชวนให้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เข้ามาเรียนรู้กฎหมายไทยเพื่อจะได้ทราบว่ากฎหมายไม่ได้แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลและในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. กระทรวงการต่างประเทศไม่ควรนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ควรดำเนินการและจับตาดูกระบวนการนำเสนอข่าวสาร ซึ่งมุ่งโจมตีการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับการก่อการร้าย การคอร์รัปชั่นในประเทศไทย ซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
ควรมีการตรวจสอบเว็บไซต์ของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เป็นระยะๆ หากมีข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ตรงกับความจริง ซึ่งเป็นการสนับสนุนการก่อการร้าย กระบวนการยุติธรรมไทยต้องดำเนินการทางคดีกับนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ตามประเภทและลักษณะความผิดโดยทันที
3. กรมสอบสวนคดีพิเศษต้องเร่งรัดและดำเนินคดีกับผู้ก่อการร้ายโดยเร็ว และต้องมีความระมัดระวังในการให้ข่าวตอบโต้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ไม่ควรจะให้ราคาค่างวดอะไรกับการออกมาเสนอข่าวดังกล่าว เพราะนั่นคือลักษณะทั่วไปของทนายความสหรัฐอเมริกาในคดีอาญาที่จะต้องออกมาโพนทะนาว่าลูกความไม่ได้รับความเป็นธรรม
ในทางตรงกันข้าม คดีผู้ก่อการร้าย ในประเทศสหรัฐอเมริกามีวิธีการสืบสวนสอบสวนไม่ได้แตกต่างไปจากวิธีการในประเทศไทย หรือแม้แต่คดีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้กำลังเข้าจับกุมผู้ก่อการร้ายข้ามชาติมาขังไว้ที่เรือนจำกวนตานาโมเบย์ อันเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบด้วยกระบวนการยุติธรรม จนสมาคมทนายความแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาต้องแถลงการณ์คัดค้านให้รัฐบาลสหรัฐดำเนินการทางคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐบาล เพื่อมิให้มีการจับคนมาขังคุกฟรีๆ
4. กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้หลบหนีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วของศาลยุติธรรมไทย และเป็นผู้อยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังของการชุมนุม ซึ่งมีกลุ่มบุคคลดำเนินการยุยงส่งเสริมให้ประชาชนก่อความไม่สงบขึ้น โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีการสะสมอาวุธและใช้อาวุธก่อการร้าย ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดังนั้น การดำเนินงานตามข้อเรียกร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอดัมส์ จึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างใดทั้งสิ้น
คณะทนายความไทยที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม กล่าวอ้างว่าจะให้เป็นตัวแทนในการรับมอบข้อมูลเอกสารต่างๆ นั้น วิชาชีพทนายความเป็นอิสระสามารถดำเนินการเองได้ แต่การดำเนินการตามกุศโลบายของทนายความต่างประเทศก็ดี หรือการดำเนินการใดๆ นั้นพึงปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้ว
และโดยเฉพาะการทำหน้าที่ทนายความของไทยนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎกติกา มรรยาท ที่ถูกต้อง ซึ่งสภาทนายความสนับสนุนให้ท่านใช้วิจารณญาณและปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังเพื่อลูกความของท่าน
ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
รวมทั้ง นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) นายกิติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขานุการคอป. และนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เรียกร้องให้สอบสวนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยดำเนินการผ่านองค์กรอิสระ เปิดหลักฐาน-พยานทุกด้านทันทีที่ร้องขอ และให้ความสะดวกในการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ ออกแถลงการณ์ตอบโต้ มีเนื้อหา ดังนี้
จ.ม.เปิดผนึกจี้รัฐบาลไทย
วัตถุประสงค์ของหนังสือฉบับนี้ เพื่อย้ำถึงสิทธิของลูกความในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่จำกัดเพียงการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งปวง อย่างเต็มที่ เป็นธรรม และสมบูรณ์ ย่อมรวมถึงการตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงความเหมาะสมและความสมควรแก่เหตุของการใช้กำลังของหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่กระทำต่อการชุมนุม
สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิของพลเรือน (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ซึ่งประเทศไทยร่วมตกลง มีข้อกำหนดให้หลักประกันแก่ลูกความของสำนักงาน ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับสิทธิต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม
และยังรับรองสิทธิที่จะได้รับคำแนะนำ คำปรึกษาอย่างมีอิสระ และรับรองสิทธิผ่านทางทนายความและผู้เชี่ยวชาญอิสระที่จะตรวจสอบ ทดสอบพยานหลักฐานทั้งปวงที่ใช้อ้างในการกล่าวหาและดำเนินคดีลูกความของสำนักงาน
กรณีของลูกความบางราย สิทธิที่จะตรวจสอบพยานหลักฐานย่อมเกี่ยวพันไปถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคล จำนวน 90 ราย ที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุม
ลูกความของสำนักงาน 13 ราย ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้เกี่ยวพัน หรือก่อให้เกิดการใช้กำลังและความรุนแรง ข้อเท็จจริง ข้อมูล และพยานที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยเหตุแวดล้อมกับการเสียชีวิตของพลเรือน-ทหาร จึงเกี่ยวพันโดยตรงกับการตั้งข้อกล่าวหาของรัฐบาลไทย
และพยานหลักฐานจะเป็นตัวพิสูจน์ว่า รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติต่อประชาชนที่เข้าชุมนุมอย่างเหมาะสมและโดยสมควรแก่เหตุหรือไม่ และยังจะพิสูจน์ว่าการใช้กำลังโดยรัฐบาลไทยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เป็นชนวนก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงหรือไม่
ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศตามหลักสนธิสัญญาแห่งกรุงเจนีวา ปี 1949 สนธิสัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยการก่อการร้ายปี 1977 สนธิสัญญาว่าด้วยตัวประกัน สนธิสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการประทุษร้ายปี 1984 และสนธิสัญญาแห่งนครนิวยอร์ก ว่าด้วยอาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศปี 1973
การดำเนินการของรัฐบาลไทยที่เป็นการละเมิดหลักประกันต่อพลเรือนว่าจะไม่ถูกกระทำวิสามัญฆาตกรรม และการกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ตามอำเภอใจ อาจเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ แม้จะอ้างเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุกรณีพิเศษ
เหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงมีภาระหน้าที่ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ที่จะสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ ครบถ้วน และเป็นธรรม และในสภาวการณ์เช่นนี้ รัฐบาลไทยต้องให้องค์กรที่เป็นอิสระและมีความเป็นกลางสอบสวนข้อเท็จจริง
หากการสอบสวนมีการละเมิดสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินคดีเพื่อทำให้เกิดความยุติธรรม การที่รัฐบาลล้มเหลวในการดำเนินการเช่นนี้ อาจถือเป็นการกระทำละเมิดต่อภาระหน้าที่ต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
และตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กำหนด อาจมีสถานการณ์ที่หากรัฐไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามมาตรา 2 ของสนธิสัญญาจะนำไปสู่การกระทำที่ละเมิดสนธิสัญญาโดยรัฐ
ภายใต้หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ ลูกความของสำนักงานและคณะทนายความที่สู้คดี จึงมีสิทธิร้องขอ ดังนี้
1. ให้ดำเนินการผ่านองค์กรที่มีความอิสระและเป็นกลาง สืบสวนสอบสวนถึงการใช้กำลังอาวุธโดยหน่วยงานของรัฐที่กระทำต่อประชาชนผู้ร่วมการชุมนุม อย่างเต็มที่ เป็นธรรมและโดยสมบูรณ์
2. เก็บรักษาพยานหลักฐาน ทั้งวัตถุพยาน พยานทางนิติเวช เอกสาร เทปบันทึกภาพและเสียงที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ
3. เปิดเผยรายละเอียดของพยานหลักฐานต่างๆ ต่อคณะทนายความของลูกความของสำนักงานโดยละเอียดและในทันที รวมถึงแถลงการณ์จากตำรวจ และ/หรือทหาร เจ้าหน้าที่ของรัฐ
4. อนุญาตและเปิดโอกาสให้ลูกความของสำนักงาน โดยคณะทนายความในการตรวจสอบ
ก. วัตถุพยานต่างๆ และชันสูตรและวิเคราะห์หลักฐานในทางนิติเวชโดยอิสระ รวมถึงการชันสูตรศพ การทดสอบการใช้ยุทธภัณฑ์ทหาร การวิเคราะห์วิถีกระสุน
ข. พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสอบปากคำ การไต่สวน คำให้การ รายงานการชันสูตรและรายงานวิถีกระสุน รายงานของผู้เชี่ยวชาญ
ค. พยานผู้เชี่ยวชาญและพยานอื่นๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการตั้งข้อกล่าวหา
ง. รายงานผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ข้อมูลข่าวกรอง และรายงานการสอบสวนอื่นๆ ที่หน่วยงานรัฐจัดเตรียมเพื่อใช้กับการชุมนุมของคนเสื้อแดง
5. อนุญาตให้คณะทนายความ เข้าร่วมในการสัมภาษณ์การสอบปากคำพยาน การสอบสวนบุคคลโดยหน่วยงานของรัฐบาลไทย กรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คณะกรรมการฯ หรือคณะทำงานด้านการสืบสวนสอบสวนใดๆ ของทางการ
6.เปิดโอกาสให้คณะทนายความ เข้าถึงเพื่อการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของหน่วยงานราชการหรือทหาร เกี่ยวกับยุทธวิธีในการจัดการกับการชุมนุม (ที่เรียกกันว่าเป็น "แผนการหลัก")
เอกสารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางการทหารในการสลายการชุมนุม คำสั่งปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพ ข้อมูลที่เกี่ยวกับคำสั่งทั้งด้วยวาจาและที่เป็นลายลักษณ์อักษรของกองทัพเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม รวมทั้งบรรยายสรุปและการรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์
7.ให้ทนายความมีโอกาสเข้าถึงวัตถุพยานและรายงานทางนิติเวช ทั้งข้อมูลทางการแพทย์ของการบาดเจ็บ เสียชีวิตของทหาร พลเรือน การศึกษาและทดสอบวิถีกระสุน บันทึกภาพและเสียงที่เกี่ยวกับการชุมนุม การสลายการชุมนุม รายงานการชันสูตรศพ แถลงการณ์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คอป. หรือคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่ตั้งโดยรัฐ
8.ให้ความสะดวกแก่ทนายความในการสัมภาษณ์ ผู้บัญชาการ ผู้บังคับการของกองทัพ ผู้นำทางการเมืองที่มีอำนาจสั่งการกองทัพ พยานผู้เชี่ยวชาญที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยเชื่อถือ
สำนักงานหวังว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ที่มีและผูกพันไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และจะรอฟังคำตอบภายใน 10 วันข้างหน้า
สภาทนายความแถลงโต้
สืบเนื่องจากกรณีนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม มีจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ รองนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อ้างว่าตนเองเป็นทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ขอให้หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบที่บานปลายจนเป็นการก่อการร้ายในประเทศไทย ให้ส่งมอบข้อมูลเอกสารรวมทั้งให้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นกลาง และมีกรณีอื่นอีกรวม 8 เรื่องด้วยกันนั้น
สภาทนายความเห็นว่าการกระทำของนายโรเบิร์ต เกินกว่าหน้าที่ของทนายความที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปทั้งในระดับสากล และโดยเฉพาะในประเทศไทย จึงขอแถลงการณ์ให้ประชาชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเหมาะสม อันเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายส่วนหนึ่งของสภาทนายความต่อสาธารณชน ดังนี้
1. นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เป็นทนายความให้พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา
หากนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จะรับเป็นทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพื่อต่อสู้คดีในศาลของประเทศไทย นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ต้องเข้าสู่กระบวนการการเรียนรู้กฎหมายไทย ซึ่งเทียบได้กับมาตรฐานสากล
โดยเฉพาะการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อกล่าวหากับลูกความของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม นายโรเบิร์ต อัมสเตอดัมส์ ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้มีการสอบสวน หรือให้ปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษกับลูกความของตนแต่อย่างใด
เพราะการดำเนินคดีข้อหา หรือฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร และความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งกระบวนการยุติธรรมของไทยได้ดำเนินการไปตามหลักการและวิธีการโดยชอบด้วยกฎหมาย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง (พลเมือง) และทางการเมือง
หน่วยงานของรัฐบาลโดยเฉพาะในกระบวนการยุติธรรมไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการอย่างใดตามหนังสือเรียกร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
ในทางตรงกันข้าม ควรเชิญชวนให้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เข้ามาเรียนรู้กฎหมายไทยเพื่อจะได้ทราบว่ากฎหมายไม่ได้แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลและในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. กระทรวงการต่างประเทศไม่ควรนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ควรดำเนินการและจับตาดูกระบวนการนำเสนอข่าวสาร ซึ่งมุ่งโจมตีการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับการก่อการร้าย การคอร์รัปชั่นในประเทศไทย ซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
ควรมีการตรวจสอบเว็บไซต์ของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เป็นระยะๆ หากมีข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ตรงกับความจริง ซึ่งเป็นการสนับสนุนการก่อการร้าย กระบวนการยุติธรรมไทยต้องดำเนินการทางคดีกับนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ตามประเภทและลักษณะความผิดโดยทันที
3. กรมสอบสวนคดีพิเศษต้องเร่งรัดและดำเนินคดีกับผู้ก่อการร้ายโดยเร็ว และต้องมีความระมัดระวังในการให้ข่าวตอบโต้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ไม่ควรจะให้ราคาค่างวดอะไรกับการออกมาเสนอข่าวดังกล่าว เพราะนั่นคือลักษณะทั่วไปของทนายความสหรัฐอเมริกาในคดีอาญาที่จะต้องออกมาโพนทะนาว่าลูกความไม่ได้รับความเป็นธรรม
ในทางตรงกันข้าม คดีผู้ก่อการร้าย ในประเทศสหรัฐอเมริกามีวิธีการสืบสวนสอบสวนไม่ได้แตกต่างไปจากวิธีการในประเทศไทย หรือแม้แต่คดีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้กำลังเข้าจับกุมผู้ก่อการร้ายข้ามชาติมาขังไว้ที่เรือนจำกวนตานาโมเบย์ อันเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบด้วยกระบวนการยุติธรรม จนสมาคมทนายความแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาต้องแถลงการณ์คัดค้านให้รัฐบาลสหรัฐดำเนินการทางคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐบาล เพื่อมิให้มีการจับคนมาขังคุกฟรีๆ
4. กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้หลบหนีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วของศาลยุติธรรมไทย และเป็นผู้อยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังของการชุมนุม ซึ่งมีกลุ่มบุคคลดำเนินการยุยงส่งเสริมให้ประชาชนก่อความไม่สงบขึ้น โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีการสะสมอาวุธและใช้อาวุธก่อการร้าย ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดังนั้น การดำเนินงานตามข้อเรียกร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอดัมส์ จึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างใดทั้งสิ้น
คณะทนายความไทยที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม กล่าวอ้างว่าจะให้เป็นตัวแทนในการรับมอบข้อมูลเอกสารต่างๆ นั้น วิชาชีพทนายความเป็นอิสระสามารถดำเนินการเองได้ แต่การดำเนินการตามกุศโลบายของทนายความต่างประเทศก็ดี หรือการดำเนินการใดๆ นั้นพึงปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้ว
และโดยเฉพาะการทำหน้าที่ทนายความของไทยนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎกติกา มรรยาท ที่ถูกต้อง ซึ่งสภาทนายความสนับสนุนให้ท่านใช้วิจารณญาณและปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังเพื่อลูกความของท่าน