หลังเหตุการณ์รุมทุบรถนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่กระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนเมษายน 2552
ครม.อนุมัติงบประมาณ 122.8 ล้านบาท ให้ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) จัดหารถยนต์กันกระสุนหุ้มเกราะจำนวน 20 คัน สำหรับให้นายกฯ และรัฐมนตรีนำมาใช้
ศรภ.เช่ารถยนต์กันกระสุนหุ้มเกราะ ยี่ห้อ LAND ROVER รุ่น Range Rover จากบริษัทซิตี้ ออโต้โมบิล จำกัด เมื่อเดือนสิงหาคม 2552
ทั้งเพื่อใช้เป็นพาหนะรองรับผู้นำอาเซียนในการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14, การประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 1 ตลอดจนนำไปใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
และใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งของบุคคลสำคัญ อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง, นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ., และนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เป็นต้น
รถยนต์เช่ามาชุดนี้กำลังจะหมดสัญญาเช่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงเสนอครม. ของบประมาณปี 2554 ซื้อรถยนต์กันกระสุนหุ้มเกราะแทนการเช่าในปัจจุบัน วงเงิน 360.877 ล้านบาท
โดยระบุว่าการซื้อคุ้มค่ากว่าการเช่า เพราะปัจจุบันมีการขายรถพร้อมการซ่อมบำรุง
เป็นการซื้อรถประจำตำแหน่ง 29 คัน วงเงิน 149.914 ล้านบาท โดยใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, รองนายกฯ, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ, เลขาฯ นายกฯ, รองเลขาฯ นายกฯ และผู้บริหารของสำนักนายกฯ
รถส่วนกลาง 44 คัน เป็นเงิน 45.205 ล้านบาท
และรถรับรองแขกต่างประเทศ 19 คัน เป็นเงิน 165.758 ล้านบาท
ซึ่งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในเรื่องความเหมาะสมของการใช้เงิน
ตั้งแต่ความจำเป็นและจำนวนของการสั่งซื้อ ไปจนถึงรูปแบบที่เลือกการซื้อแทนเช่า
ว่าคุ้มค่ากว่าจริงหรือไม่
รถกันกระสุนในประเทศไทยมี 2 รูปแบบ คือรถนำเข้ามาจากต่างประเทศ กับรถที่ดัดแปลงในประเทศ
ขีดความสามารถ ข้อมูลผู้ซื้อ ข้อมูลราคา และระดับการป้องกันด้วย ถือเป็นความลับสุดยอดของผู้ขาย
ปกติขีดความสามารถของรถกันกระสุนในปัจจุบัน สามารถป้องกันการโจมตีจากอาวุธหนัก เช่น ปืนไรเฟิล, ปืนกลมือ, ระเบิดมือ และปีนข้ามเกาะกลางถนนหรือฟุตปาธได้
ด้วยการเสริมเกราะรอบคันด้วยเหล็กเหนียวพิเศษหรือวัสดุอื่น ถังน้ำมันชนิดกันระเบิด และมีระบบซ่อมรอยรั่วอัตโนมัติ กระจกนิรภัยหนามากกว่าหนึ่งนิ้วขึ้นไป
รอยต่อและร่องต่างๆ ต้องผ่านการประกอบแบบพิเศษ ป้องกันการทะลุทะลวงของกระสุนและการโจมตีด้วยแก๊สพิษ ยางที่ใช้ต้องออกแบบมาพิเศษ
และระบบสื่อสารที่สามารถติดต่อกับภายนอกได้โดยไม่ต้องเปิดประตูหรือหน้าต่าง
มีเซ็นเซอร์ตรวจจับควันและแก๊สน้ำตา
ระบบปิดอากาศเข้าทั้งหมด และทำงานให้อากาศหมุนเวียนภายในเท่านั้น
ระบบล็อกและเตือนภัยในสถานการณ์คับขัน
อุปกรณ์ดับไฟ
ถังออกซิเจน
รวมถึงเครื่องยนต์ชนิดพิเศษที่มีกำลังสูง
นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ต้องมีทักษะผ่านการอบรมในเรื่องการใช้งานระบบต่างๆ
มีทักษะการขับขี่ชั้นดี และการควบคุมรถให้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ครม.อนุมัติงบประมาณ 122.8 ล้านบาท ให้ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) จัดหารถยนต์กันกระสุนหุ้มเกราะจำนวน 20 คัน สำหรับให้นายกฯ และรัฐมนตรีนำมาใช้
ศรภ.เช่ารถยนต์กันกระสุนหุ้มเกราะ ยี่ห้อ LAND ROVER รุ่น Range Rover จากบริษัทซิตี้ ออโต้โมบิล จำกัด เมื่อเดือนสิงหาคม 2552
ทั้งเพื่อใช้เป็นพาหนะรองรับผู้นำอาเซียนในการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14, การประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 1 ตลอดจนนำไปใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
และใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งของบุคคลสำคัญ อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง, นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ., และนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เป็นต้น
รถยนต์เช่ามาชุดนี้กำลังจะหมดสัญญาเช่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงเสนอครม. ของบประมาณปี 2554 ซื้อรถยนต์กันกระสุนหุ้มเกราะแทนการเช่าในปัจจุบัน วงเงิน 360.877 ล้านบาท
โดยระบุว่าการซื้อคุ้มค่ากว่าการเช่า เพราะปัจจุบันมีการขายรถพร้อมการซ่อมบำรุง
เป็นการซื้อรถประจำตำแหน่ง 29 คัน วงเงิน 149.914 ล้านบาท โดยใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, รองนายกฯ, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ, เลขาฯ นายกฯ, รองเลขาฯ นายกฯ และผู้บริหารของสำนักนายกฯ
รถส่วนกลาง 44 คัน เป็นเงิน 45.205 ล้านบาท
และรถรับรองแขกต่างประเทศ 19 คัน เป็นเงิน 165.758 ล้านบาท
ซึ่งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในเรื่องความเหมาะสมของการใช้เงิน
ตั้งแต่ความจำเป็นและจำนวนของการสั่งซื้อ ไปจนถึงรูปแบบที่เลือกการซื้อแทนเช่า
ว่าคุ้มค่ากว่าจริงหรือไม่
รถกันกระสุนในประเทศไทยมี 2 รูปแบบ คือรถนำเข้ามาจากต่างประเทศ กับรถที่ดัดแปลงในประเทศ
ขีดความสามารถ ข้อมูลผู้ซื้อ ข้อมูลราคา และระดับการป้องกันด้วย ถือเป็นความลับสุดยอดของผู้ขาย
ปกติขีดความสามารถของรถกันกระสุนในปัจจุบัน สามารถป้องกันการโจมตีจากอาวุธหนัก เช่น ปืนไรเฟิล, ปืนกลมือ, ระเบิดมือ และปีนข้ามเกาะกลางถนนหรือฟุตปาธได้
ด้วยการเสริมเกราะรอบคันด้วยเหล็กเหนียวพิเศษหรือวัสดุอื่น ถังน้ำมันชนิดกันระเบิด และมีระบบซ่อมรอยรั่วอัตโนมัติ กระจกนิรภัยหนามากกว่าหนึ่งนิ้วขึ้นไป
รอยต่อและร่องต่างๆ ต้องผ่านการประกอบแบบพิเศษ ป้องกันการทะลุทะลวงของกระสุนและการโจมตีด้วยแก๊สพิษ ยางที่ใช้ต้องออกแบบมาพิเศษ
และระบบสื่อสารที่สามารถติดต่อกับภายนอกได้โดยไม่ต้องเปิดประตูหรือหน้าต่าง
มีเซ็นเซอร์ตรวจจับควันและแก๊สน้ำตา
ระบบปิดอากาศเข้าทั้งหมด และทำงานให้อากาศหมุนเวียนภายในเท่านั้น
ระบบล็อกและเตือนภัยในสถานการณ์คับขัน
อุปกรณ์ดับไฟ
ถังออกซิเจน
รวมถึงเครื่องยนต์ชนิดพิเศษที่มีกำลังสูง
นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ต้องมีทักษะผ่านการอบรมในเรื่องการใช้งานระบบต่างๆ
มีทักษะการขับขี่ชั้นดี และการควบคุมรถให้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน