จดหมายเปิดผนึกจากนักวิชาการนักศึกษา นักกิจกรรมทางสังคมคัดค้านการใช้วาทกรรม"ภาคประชาชน,ปรองดอง,ปฏิรูป ฯลฯ"เพื่อเป็นการอำพราง"การสังหารหมู่คนเสื้อแดง"ที่ผ่านมา รวมถึงเรียกร้องให้ผู้ที่อ้างวาทกรรมดังกล่าวหยุดบิดเบือนและทบทวนจุดยืนของตัวเอง
"จดหมายเปิดผนึกคัดค้านวาทกรรมอำ
ต่อต้านกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย
วันที่ 24 มิถุนายน 2553
เรื่อง คัดค้านวาทกรรมอำพราง ต่อต้านกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยอำมหิต
เรียน พี่น้องในขบวนนักพัฒนา ขบวนการประชาสังคม ขบวนการภาคประชาชน ที่เคารพรักยิ่ง
ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้าแผน “ปรองดอง” โดยกำหนดให้การปฏิรูปประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผน ซึ่งล่าสุดนายอานันท์ ปันยารชุน และนายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ตอบรับเป็นประธานคณะกรรมการกำกับการปฏิรูปและประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปตามลำดับ โดยประธานทั้งสองจะทาบทามบุคคลต่างๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฯ และจะจัดเวทีเพื่อระดมข้อเสนอแนะจากชุมชนท้องถิ่นและองค์กรต่างๆ ต่อไปนั้น (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.thaireform.in.th/news-national-strategy/1352--2-.html )
พวกเราในฐานะผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการภาคสังคม ทั้งเจ้าหน้าที่หรืออดีตเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิชาการ และนักกิจกรรมทางสังคม ที่ติดตาม ศึกษา และร่วมงานกับขบวนการภาคสังคมมาอย่างต่อเนื่อง มีความรู้สึกกังวลและห่วงใยต่อการกำหนดท่าทีของขบวนการต่อการปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้เป็นอย่างมาก จึงใคร่ขอนำเสนอความเห็นของพวกเราไปยังเพื่อนพี่น้องในขบวนการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1) การเข้าร่วมการปฏิรูปประเทศไทยของคนบางกลุ่มโดยอ้างคำว่า “ภาคประชาชน” หรือ “ภาคสังคม” หรือคำอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันนี้ เป็นการบิดเบือน ทำให้สังคมเข้าใจผิดว่าภาคประชาชนส่วนใหญ่เห็นพ้องกับการปฏิรูปประเทศไทย ทั้งที่ในความเป็นจริง มีกลุ่มคนอีกเป็นจำนวนมากในขบวนการที่วิพากษ์วิจารณ์และปฏิเสธแผนการปฏิรูปนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะมีที่มาที่ไม่ชอบธรรมและมีเนื้อหาที่มิได้ตอบโจทย์ใหญ่เรื่องความไม่เสมอภาคในทางการเมือง ซึ่งเป็นประเด็นขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้
2) การปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเพียงเครื่องมือที่รัฐบาลใช้เบี่ยงเบนประเด็นความสนใจของสังคมต่อข้อเรียกร้องที่ให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและรับผิดชอบในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายนับร้อยราย และผู้บาดเจ็บพิการนับพันรายจากการที่รัฐบาลสั่ง“กระชับพื้นที่” ในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนการใช้มาตรการที่รุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อไล่ล่าบดขยี้คนเสื้อแดงและการปฏิบัติการทางจิตวิทยาในระดับต่างๆ ของหน่วยงานด้านความมั่นคง พวกเราเห็นว่าการเสนอแผนการปฏิรูปประเทศไทยเป็นเพียงการซื้อเวลาของรัฐบาลเพื่อจะไม่คืนอำนาจให้ประชาชนผ่านกระบวนการเลือกตั้งเท่านั้นเอง
3) การเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้รัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะไม่แสดงความรับผิดต่อการใช้ความรุนแรงและใช้อำนาจรัฐอย่างไร้ความเป็นธรรม ขณะที่การเพิกเฉยต่อการบาดเจ็บล้มตายของประชาชน การใช้ความรุนแรง และกระบวนการอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมนับเป็นความอำมหิตแบบหนึ่งและขัดต่อเป้าหมายในการทำงานของภาคสังคมที่มุ่งสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน
4) เป็นที่น่ายินดีที่เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายองค์กรชาวบ้านหลายแห่งมีมติไม่เข้าร่วมขบวนการปฏิรูปประเทศในครั้งนี้ อย่างไรก็ดี พวกเราเห็นว่ากลุ่มต่างๆ ในขบวนการภาคสังคมจำเป็นต้องลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบมาพากลและไม่ชอบธรรมของแผนการปฏิรูปประเทศไทยอย่างถึงที่สุดด้วย เนื่องจากการปฏิรูปประเทศที่แท้จริงไม่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อประเทศตกอยู่ในสภาวะรัฐประหารเงียบภายใต้ระบอบกึ่งอำนาจนิยมที่สำแดงผ่านการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
5) ขบวนการภาคสังคมจำเป็นต้องตรวจสอบและทบทวนอุดมการณ์และกระบวนการทำงานของตนอย่างจริงจัง เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และเพื่อให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาและความต้องการของมวลชนคนจนระดับล่างกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมืองเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่แหล่งงบประมาณขององค์กรภาคสังคมมักมีที่มาจากโครงสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นส่วนเดียวกันกับระบอบขุนนางซึ่งไปกันไม่ได้หลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน การตรวจสอบและทบทวนที่ว่านี้จะทำให้ขบวนการภาคสังคมมีท่าทีที่เหมาะสมต่อการปฏิรูปประเทศไทยได้ในที่สุด
พวกเราเชื่อมั่นว่าเพื่อนพี่น้องทั้งหลายซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของขบวนการภาคสังคมในประเทศจะกรุณารับฟังข้อคิดเห็นข้างต้นของพวกเรา รวมทั้งเชื่อมั่นว่าขบวนการภาคสังคมในไทยจะยังคงเป็นขบวนการที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และมีประโยชน์ต่อมวลชนคนยากคนจน รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการนำพาประชาธิปไตยที่แท้จริงมาสู่สังคมไทย
ขอแสดงความนับถือ
(ผู้ลงนามในฐานะนักพัฒนาเอกชนปัจจุบัน)
1. กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI), FTA-Watch, และคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่
เป็นธรรม
2. แก้วตา ธัมอิน เจ้าหน้าที่รณรงค์ มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI),
3. จักรพงศ์ ธนวรพงศ์ สมาคมป่าชุมชนอีสาน
4. จิตรา คชเดช สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
5. ธีรมล บัวงาม กลุ่มแสงหิ่งห้อย
6. นิรมล ยุวนบุณย์ เจ้าหน้าที่ข้อมูล มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI)
7. นันทา เบญจศิลารักษ์ สำนักข่าวประชาธรรม
8. บารมี ชัยรัตน์ สถาบันสันติประชาธรรม
9. ประดิษฐ์ ลีลานิมิต สถาบันต้นกล้า
10. พิเชษฐ์ ปานดำ เครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวพังงา
11. ภรภัทร พิมพา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
12. รจเรข วัฒนพานิช ชุมชนคนรักป่า
13. รัตนาภรณ์ แจ้งใจดี เครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวพังงา
14. วัฒนะ วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย
15. วันชัย พุทธทอง ศูนย์พลเมืองเด็กสงขลา
16. วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย กลุ่มเพื่อนพม่า
17. สุมนมาลย์ สิงหะ มูลนิธิชีวิตไท (Foundation of Reclaiming Rural Agriculture and
Food Sovereignty Action)
18. อัญชลี มณีโรจน์ ชุมชนคนรักป่า
(ผู้ลงนามในฐานะอดีตเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน)
19. เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ อดีตเจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
20. ชลิตา บัณฑุวงศ์ อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานวิจัย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) พ.ศ.
2544-2548 (นักศึกษาปริญญาเอกคณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาย)
21. ทิพย์อักษร มันปาติ อดีตเจ้าหน้าที่สำนักข่าวประชาธรรม
22. ธีร์วนี วงศ์ทองสรรค์ อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ
23. ประสาท ศรีเกิด
24. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อดีตนักพัฒนาเอกชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
25. พิชิต พิทักษ์
26. พิษณุ ไชยมงคล
27. วิโรจน์ ดุลยโสภณ นักพัฒนาอิสระ จ.เชียงใหม่ และอดีตผู้ประสานงาน กป.อพช.ภาคเหนือ
28. สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ อดีตเจ้าหน้าที่โครงการสื่อสารแนวราบ
(นักศึกษาปริญญาโท โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
29. สุชาติ เศรษฐมาลินิ อดีตเจ้าหน้าที่สถาบันชุมชนท้องพัฒนา (LDI)
30. สืบสกุล กิจนุกร อดีตกองเลขานุการสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)
(นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
31. อัจฉรา รักยุติธรรม อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลเผยแพร่ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ จ.เชียงใหม่
(อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
(ผู้ลงนามในฐานะชาวบ้านหรือประชาชนทั่วไป)
32. กานต์ ทัศนภักดิ์
33. กิติภูมิ จุฑาสมิต กลุ่มปีกซ้ายพฤษภา
34. ไกรยุทธ โตอังตระกูร
35. เกียรติศักดิ์ ประทานัง พ่อบ้าน นักเขียน นักแปลอิสระ
36. ครวญ ปานเมือง สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
37. ใจ อึ้งภากรณ์
38. จักราวุธ ธุวรัฐคีรี สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
39. จิตตมณี จันทร์ศรี พนักงานขายอิสระและนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง
40. ชมพูนุช แครี่
41. ชัยรัตน์ ชินะบุตร
42. ณัฏฐ์ชวัล อนันต์ตา
43. เดือนรดา บัวทรัพย์ ชาวบ้าน
44. ทวีพร สุดวิลัย สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
45. ทิวา สัมฤทธิ์ ประชาชน
46. เทวฤทธิ์ มณีเชย
47. ทัมชิตัน คันธวงศ์
48. ธนพงษ์ หมื่นแสน
49. ธนศักดิ์ โพธิ์ศรีคุณ นักวิจัยอิสระ
50. ธรัญญา สูตะบุตร แสนกลกุล
51. นพพร พรหมขัติแก้ว สมาพันธ์ชาวเหนือเพื่อประชาธิปไตย ( เชียงใหม่ ) ศูนย์ประสานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่
52. นภัทร สาเศียร
53. นีรนุช เนียมทรัพย์
54. นันทา กันตรี ชาวนารายย่อย จังหวัดสุพรรณบุรี
55. เนตรชนก แดงชาติ นักเขียนอิสระ คอลัมน์ "ส่องโลกการ์ตูน" นสพ.ประชาไท
56. บุญยืน สุขใหม่ กรรมกรไทย
57. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
58. ประกาย ธรรมดา
59. ประเกียรติ ขุนพล ชมรมชาวประมงพื้นบ้านกิ่งอำเภอสุขสำราญ จ.ระนอง
60. ปรีชา จันทร์ภักดี สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
61. ปิยพงศ์ มานะพิทักษ์
62. เพ็ญศรี พงศ์พิเชษฐ์ชัย พนักงานบริษัทเอกชน จ.ชลบุรี
63. เฟย์ สุวรรณวัฒนา
64. มานะ การดี สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
65. มนัส คลองท่อม สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
66. มนัส ทองชื่น
67. แมนดี เจียนแจ่ม
68. รจนา ทรัยลิ่ง กลุ่ม Thai Red Germany
69. รังสิมันต์ จันทร์แก้ว
70. ลักษณา ศรีดาวงษ์ พนักงานบริษัท
71. เลื่อน ศรีสุโพธิ์
72. วสันต์ สุขโสภณ
73. ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
74. สุดา รังกุภัณฑ์
75. สุพจน์ เสงี่ยมกลาง
76. สุภาพ ภูสนวรรณ
77. สุรพล สงฆ์รักษ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
78. สุรีรัตน์ วงศ์สมิง ชาวบ้าน
79. สมโชค อาญา สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
80. สร้อยแก้ว คำมาลา นักเขียน
81. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
82. หทยา อนันต์สุชาติกุล
83. อาธร นวทิพย์สกุล กลุ่มผู้นิยมการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้น
(ผู้ร่วมลงนามในฐานะนักศึกษา)
84. กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
โครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ
85. ปาริชาติ จึงวัฒนาภรณ์ ว่าที่ดุษฎีบัณฑิตสาขาการละครและการแสดง มหาวิทยาลัยฮาวาย
86. นาวิน โสภาภูมิ นักศึกษาปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
87. เนตรดาว เถาถวิล นักศึกษาปริญญาเอก คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88. ผกากรอง มากพันธ์ วิลเลียมส์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยโฮเฮนไฮม์ ประเทศเยอรมนี
89. พุฒิพงศ์ นวกิจบำรุง นักศึกษาปริญญาโท สาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
90. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
91. สุรินทร์ อ้นพรม นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยซิดนีย์
(อาจารย์คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
(ผู้ร่วมลงนามในฐานะนักวิชาการ)
92. โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
93. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
94. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
95. เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
96. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
97. ทิพวัลย์ ศรีจันทร์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
98. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
99. พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
100. ภัควดี จิตสกุลชัยเดช นักแปลและนักวิชาการอิสระ
101. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระและว่าที่ดุษฎีบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาย
102. สุธิดา วิมุตติโกศล ภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
103. เสนาะ เจริญพร ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
104. วิภา ดาวมณี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ประสานงานคณะกรรมการ
รับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
105. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
106. อรอนงค์ ทิพย์พิมล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
107. อัจฉริยา เนตรเชย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
108. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
109. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระ