ที่มา Thai E-News
สื่อนำเสนอภาพข่าวกองกำลังทหารเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมเสื้อแดง โดยไม่มีความเห็นใดๆ เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่าทหารเพียงแต่กำลังทำมวลชนสัมพันธ์กับผู้ประท้วงอยู่ ซึ่งเป็นการโกหก.. สื่อกระแสหลักในเวลานี้ไม่เพียงแต่ล้มเหลวในความเป็นสื่อมืออาชีพ ในด้านหนึ่งพวกเขาประสบความสำเร็จในการก้าวมาเป็นสื่อแห่งความตายแบบรวันด้าด้วย
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
หมายเหตุไทยอีนิวส์:ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน สหรัฐฯ อดีตผู้นำนักศึกษา 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งมีประสบการณ์ที่ขมขื่นจากการที่สื่อบางส่วนในยุคนั้นบิดเบือนว่าผู้ชุมนุมเล่นละครพาดพิงองค์รัชทายาท และนำไปสู่การกวาดล้างสังหารหมู่ผู้ชุมนุม ได้แสดงความเห็นต่อบทบาทของสื่อมวลชนในเหตุการณ์วิกฤตทางการเมืองล่าสุด ดังนี้
ธงชัย วินิจจะกูล:สื่อไทยมีส่วนในการก่ออาชญากรรม
ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันนี้เป็นผลลัพธ์จากสื่อสารมวลชนอำมาตย์ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ จะบอกว่าเพราะการแทรกแซงของรัฐบาลก็ดูจะไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวเช่นนั้นได้ ที่มันเลวร้ายก็เพราะนอกจากการควบคุมอย่างเต็มที่ของรัฐบาลแล้ว ยังต้องแยกแยะระหว่างสื่อสารมวลชนมืออาชีพกับสื่อที่ไม่ใช่มืออาชีพด้วย ทว่าสื่อมืออาชีพอย่างหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่และโทรทัศน์ รวมทั้งไทยพีบีเอส ก็นำเสนอด้วยอคติและขาดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง รัฐบาลอยากจะนำเสนอข่าวสารที่โกหกออกอากาศเมื่อไหร่อย่างไรก็ได้ ทั้งที่สื่อก็ควรจะเลือกสรรคัดกรองเพื่อนำเสนอต่อประชาชนก็ย่อมจะได้
พวกสื่อมวลชนได้รายงานข่าวอย่างยุติธรรมแล้วหรือ ปราศจากแม้แต่คอมเม้นต์ใดๆ บางทีก็อาจจะยังดีกว่าเสีนอีก พวกเขานำเสนอภาพข่าวกองกำลังทหารเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมเสื้อแดงเมื่อวานนี้ โดยไม่มีความเห็นใดๆ เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่าทหารเพียงแต่กำลังทำมวลชนสัมพันธ์กับผู้ประท้วงอยู่ ซึ่งเป็นการโกหก นี่สื่อได้รายงานอย่างยุติธรรมแล้วหรือ
สื่อกระแสหลักในเวลานี้ไม่เพียงแต่ล้มเหลวในความเป็นสื่อมืออาชีพ ในด้านหนึ่งพวกเขาประสบความสำเร็จในการก้าวมาเป็นสื่อแห่งความตายแบบรวันด้าด้วย
สื่อสารมวลชนของไทยเป็นส่วนหนึ่งของโศกนาฏกรรมในเวลานี้ หากเกิดการล้มตายขึ้น พวกเขาต้องมีความรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้กระผิดในการก่ออาชญากรรม
Thongchai Winichakul:Thai media is part of the crime
The conflict today is partly the result of the atrocious media, esp TV. The government's "interference" is not the only reason to blame. It is bad enough that the government have the full control of one TV channel with outcries only from a fraction of media professionals and none from media professional bodies. But the media professionals at major newspapers and other TV channels including the ThaiPBS do it out of their own biases and horrible lack of professionalism. The government may take some minutes to tell a lie live on air. But the journalists themselves intentionally report and unreport selective news at their own volitions.
Had they reported fairly, without even a tiny bit of comment, things could have been better. Had they showed the pictures of the troops confronting the Red demonstrator yesterday, without a word of comment, Abhisit's lies that the soldiers were for public relations would have become a lie. Had they reported fairly, without a single syllable of comments, people would form their better views about the conflict and solutions.
The mainstream media right now not only fails as a professional media. Instead they are successfully becoming a Rwanda-like media.
THAI MEDIA ARE PARTS OF THE CURRENT TRAGEDY. IF THERE ARE CASUALTIES, THEY MUST BE HELD ACCOUNTABLE FOR THEIR COMPLICITY TO CRIMES.
00000000
บทเรียนจากสื่อรวันด้าบงการฆ่าหมู่5แสนศพผ่านสื่อสุดท้ายโดนประหาร
ในปี ค.ศ. 1994 เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ขึ้นในรวันดา ประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ภายในช่วงเวลาเพียง 2 เดือน ชาวทุตซี่ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรวันดา (15 % ของประชากร) ถูกฆ่าตายไปทั้งสิ้น 500,000 คน (มากกว่า 80% ของประชากรทุตซี่) นับเป็นการสังหารหมู่ที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยสื่อมวลชนมีบทบาทในการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงโดยเฉพาะสื่อวิทยุทำงานอย่างจริงจัง อย่างจงใจ และเป็นระบบในการก่อให้เกิดการสังหารหมู่ โดยแสดงบทบาทดังต่อไปนี้
1. สื่อแพร่กระจายความเกลียดชังอย่างตั้งใจ ผ่านคำพูด เพลงปลุกระดม คำขวัญ และถ้อยคำหยาบคายที่จงใจทำให้คนกลุ่มหนึ่งในสังคมที่มีความคิดเห็นหรืออัตลักษณ์ที่แตกต่างกลายเป็นศัตรูที่ต้องถูกกำจัดหรือกวาดล้าง กระบวนการสร้างความเกลียดชังทำในสองรูปแบบหลักคือ หนึ่งลดทอนความเป็นมนุษย์ของฝ่ายตรงข้าม ในกรณีนี้ดีเจสถานีวิทยุ Radio-Télévision Libre des Milles Collines (RTLM) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุเอกชน ที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของผู้นำฮูตูขวาจัด และมีบทบาทหลักในการยุยงปลุกปั่นความเกลียดชัง จนได้ฉายาอันอื้อฉาวว่า “วิทยุแห่งความตาย” จงใจเรียกชาวตุดซี่ว่าเป็นแมลงสาบตลอดเวลา เพื่อชี้ว่าชาวทุตซี่มนุษย์ที่มีเลือดเนื้อหรือจิตวิญญาณเหมือนชาวฮูตู เป็นขยะของสังคมที่ควรจะถูกกวาดล้างเพื่อทำให้สังคมบริสุทธิ์ เหมือนกำจัดแมลงสาบออกไปจากที่พักอาศัย (ฆ่าแมลงสาบไม่บาป)
นอกจากเทคนิคที่กดให้ฝ่ายตรงข้ามต่ำกว่าตนแล้ว เทคนิคอีกประการหนึ่งคือ วาดภาพให้ฝ่ายตรงข้ามกลายเป็นยักษ์เป็นมารไปเสีย ซึ่งก็เป็นการทำให้พวกเขาไม่ใช่มนุษย์มนาไปอีกแบบหนึ่ง คือ ดูน่ากลัวเสียจนฝ่าย “พวกเรา” ต้องสามัคคีกันเพื่อกำจัด มีการปลุกระดมผ่านสถานีวิทยุ RTLM ว่าชาวทุตซี่มีแผนการจะสังหารหมู่ชาวฮุตูให้สิ้นซากไปจากประเทศ และแปลงรวันดาให้กลายเป็นดินแดนของชาวทุตซี่แต่ลำพัง เทคนิคประการที่สองนี้มุ่งสร้างให้เกิดความกลัวและตื่นตระหนกเสริมเข้าไปกับความเกลียดชัง
2.สื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการลงมือก่อความรุนแรงระหว่างนักการเมืองหัวรุนแรงกับเครือข่ายของพวกเขา มีหลักฐานมากมายว่าสถานีวิทยุ RTLM ไม่ได้ทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างที่ควรจะทำในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมือง แต่แปลงร่างตัวเองเป็นเครื่องมือของนักการเมืองเชื้อชาตินิยมขวาจัดในการโค่นล้มฝ่ายตรงข้าม (รวมทั้งชาวฮูตูด้วยกันที่ไม่เห็นสอดคล้องกับแผนการณ์ของตน) ที่น่ากลัวคือ ผู้ประกาศข่าวและเจ้าหน้าที่ของสถานีนี้ไม่เพียงแต่บิดเบือนข้อเท็จจริง โกหกมดเท็จ และปั้นนำเป็นตัวเท่านั้น แต่ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการของการสังหารหมู่เลยทีเดียว มีการประกาศรายชื่อชาวตุ๊ดซี่ที่เป็นเป้าหมายของการสังหารออกอากาศสด นอกจากชื่อเสียงเรียงนาม ดีเจประจำสถานียังให้ข้อมูลที่อยู่เสร็จสรรพว่าจะไปตามฆ่าคนเหล่านี้ได้ที่ไหน รวมทั้งมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่ชาวตุดซี่ไปชุมนุมหรือหลบซ่อนอยู่ ข้อมูลจากองค์กรนานาชาติและนักวิจัยพบว่า รายชื่อบุคคลที่สถานีวิทยุ RTLM ประกาศออกอากาศ ทุกรายถูกฆ่าตายให้หลังเวลาการออกอากาศไม่นาน และสถานที่หลบภัยทั้งหลายถูกเผาทำลายและโจมตีอย่างแม่นยำหลังจากมีการประกาศผ่านสถานีวิทยุ เนื่องจากความแพร่หลายของสื่อวิทยุ ซึ่งเป็นสื่อราคาถูกและเข้าถึงได้ง่ายที่สุดในสังคมรวันดา ทำให้การประสานงานในการฆ่าดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพในขอบเขตทั่วประเทศ
3.สื่อทำหน้าที่ชี้นำสาธารณะให้เห็นว่าความรุนแรงเป็นทางออกและจำกัดทางเลือกของการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี บทบาทของสื่อในข้อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ที่ความขัดแย้งทางการเมืองกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น สื่อวิทยุบางสถานีและหนังสือพิมพ์บางฉบับในรวันดาจงใจชี้นำสาธารณะว่าความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นการต่อสู้ระหว่าง “พวกเรา-คนส่วนใหญ่” กับ “พวกเขา-คนส่วนน้อย” เป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว และตอกย้ำว่าความรุนแรงเท่านั้นที่เป็นทางออกจากความขัดแย้งนี้ คำขวัญที่ถูกอ่านออกอากาศซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงนั้นคือ เลือกเอาว่าคุณ “จะฆ่าหรือจะเป็นฝ่ายถูกฆ่า” (to kill or to be killed) โดยการชี้นำเช่นนี้ สื่อทำหน้าที่อันเลวร้ายสองอย่าง หนึ่ง ไม่เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าใจความประเด็นทางการเมืองในแบบอื่นๆ เลย นอกจากการเมืองของสีขาวกับสีดำ เทพกับมาร การตีกรอบปัญหาทางการเมืองเช่นนี้ ทำให้สังคมขาดวุฒิปัญญาและไม่พร้อมต่อการรับมือกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่าน สอง สื่อทำหน้าที่เป็นโฆษกของความรุนแรงและโหมกระพือความแตกแยกในสังคมแทนที่จะเป็นสติให้กับสาธารณชน
บทเรียนจากรวันดาคือ สื่อในสังคมไหนๆ ก็สามารถเป็นอาวุธอันทรงประสิทธิภาพในการก่อความรุนแรงได้ เมื่อใดก็ตามที่มันยุติการทำหน้าที่ของการเป็นผู้รายงานข้อเท็จจริงและนำเสนอความเห็นอันรอบด้านแก่สาธารณะ และแปลงตัวเองไปเล่นบทกระบอกเสียงของความเกลียดชัง
ประหารดีเจคลื่นวิทยุแห่งความตายหลังสงครามยุติ
ในปี ค.ศ. 2003 ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda : ICTR) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ได้ตัดสินให้ประหารชีวิตผู้ประกาศสองคนของสถานีวิทยุ RTLM และนักข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งมีความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นับเป็นการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง (นับจากศาลนูเรมเบิร์กที่จัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อพิจารณาการสังหารหมู่ชาวยิว) ว่า แม้สื่อมวลชนไม่ได้มีบทบาทเป็นผู้ลงมือฆ่าโดยตรง หากทำหน้าที่ยุยงปลุกปั่นและชี้นำให้มีการใช้ความรุนแรง ก็ต้องรับผิดตามกฎหมายต่ออาชญกรรมที่เกิดขึ้นด้วย