แปลและเรียบเรียงโดย คุณแชพเตอร์ ๑๑
ที่มา เวบLiberal Thai
ต้นฉบับ JURIST (School of Law, University of Pittsburgh)
แม้ศาลจะทำเรื่องที่เสียชื่อเสียงให้กับตัวเอง แต่มันมีผลถึงทุกคนในประเทศไทย – ยิ่งนานไปกฎหมายจะยิ่งไร้คุณค่า – แต่ได้ผล ผลในทางตรงข้ามกับที่ตั้งใจ แทนที่จะเป็นการปิดปากนักวิจารณ์ กลับกลายเป็นการกระตุ้นให้เกิดการโต้เถียง และแสดงความเห็นกันระรอกใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นายออซาร์ ธิ (สมาชิกของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย ฮ่องกง) กล่าวว่า:
“เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ศาลประเทศไทยคลืบคลานเข้าใกล้ประเทศเพื่อนบ้านคู่แข่งอย่างพม่าเข้าไปทุกที เมื่อได้มีคำวินิจฉัยให้ผู้ประท้วงต่อต้านการทำรัฐประหารถูกตัดสินจำคุกถึง ๑๘ ปี ศาลอาญากรุงเทพตัดสินว่าดารณี ชาญเชิงศิลปกุล กระทำผิดกฎหมายหมิ่นฯ ๓ กระทง จากคำปราศัยในการชุมนุมเพื่อสนับสนุนนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรที่ถูกปล้นอำนาจ ในคำปราศัย ดารณีได้พาดพิงการทำรัฐประหารปี พ.ศ.๒๕๔๙ ว่าเกี่ยวข้องกับพระราชวัง และยังเปรียบเทียบเหตุการณ์ระหว่างประเทศไทย และชะตากรรมของราชวงศ์ในประเทศเนปาล ซึ่งถูกโค่นล้มไปในปี พ.ศ.๒๕๕๑ หลังจากได้ถูกประชาชนทำการลุกฮือขับไล่”
ข้อกล่าวหาต่างๆต่อดารณีนั้นเนื่องมาจากการร้องเรียนของสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณซึ่งมีทหารให้การช่วยเหลือเมื่อปีที่แล้วได้ยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลาสามเดือน ยึดสนามบินประมาณหนึ่งอาทิตย์ ทุกๆคนทั้งสนธิ และผู้ร่วมปฎิบัติการกลับไม่ถูกดำเนินคดีใดๆ
จากการกระทำอันเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมอย่างรุนแรง รวมถึงการทำร้าย และข้อกล่าวหาว่าทำฆาตกรรม ทำลายและขโมยทรัพย์สินส่วนราชการและส่วนเอกชนอย่างยับเยิน ในขณะที่ศาลกลับพุ่งเป้าหมายไปแต่ฝ่ายตรงข้ามด้วยข้อกล่าวหาว่า เป็นอาชญากรทางความคิดและทางคำพูด ส่วนสนธิและพันธมิตรยังคงสำรากด้วยวาจาที่สามหาวกระจายเสียงออกอากาศ และทางสื่ออินเตอร์เน็ตต่อไป
ผู้พิพากษาแสร้งทำเป็นพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม ศาลปฎิเสธการขอประกันตัวถึง ๓ ครั้ง ตามรายงานข่าวว่า เนื่องจากศาลเกรงว่า การปล่อยตัวดารณีจะกระทบกับความรู้สึกที่อ่อนไหวของประชาชน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขี้นภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลสั่งพิจารณาคดีแบบปิดด้วยเหตุผลในเรื่องความมั่นคงของชาติ
ด้วยเหตุผลเช่นนี้หรือ แม้แต่ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายยังมีการพิจารณาคดีแบบเปิดเลย มันยากที่จะพิสูจน์ว่า การคุกคามอย่างรุนแรงที่ผู้หญิงตัวเล็กๆอย่างอดีตนักข่าววัย ๔๖ ปีนี้มันจะเป็นภัยที่ตรงไหน ถึงเธอจะมีชื่อเล่นว่า “ดา ตอร์ปิโด” ก็เถอะ เหตุผลจริงๆที่น่าเป็นไปได้ในการปิดประตูพิจารณาคดีก็เพื่อกันผู้ต้องหาทำการสู้คดี จำเลยในคดีหมิ่นฯตามปกติแล้วจะยอมรับผิด ยอมรับการตัดสิน และจากนั้นก็ทำเรื่องยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ และได้รับการพระราชทานอภัยโทษในที่สุด ดารณีไม่ยอมทำอย่างนั้น เธอบอกนักข่าวทั้งหลายว่า เธอจะยื่นอุทธรณ์
ดารณี ร่วมชะตากรรมกับสุวิชา ท่าค้อ ผู้ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ถูกตัดสินจำคุก ๑๐ ปีในการเผยแพร่ภาพที่ดัดแปลงของกษัตริย์ในอินเตอร์เน็ต สุวิชาเป็นหนึ่งในนักโทษแห่งมโนธรรมในคุกประเทศไทย คนอื่นๆที่กำลังรอการพิจารณาคดีที่ถูกกล่าวหาคล้ายๆกันนี้ รวมถึง จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บข่าวอิสระทางอินเตอร์เน็ตประชาไท ผู้ซึ่งกำลังถูกตั้งข้อหากระทำผิด พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อันคลุมเคลือ จิรนุชไม่ได้พูดหรือกระทำใดๆเอง “การกระทำอาชญากรรม” ของเธอคือการลบความเห็นที่อ่อนไหวจากเว็บไซต์ช้าเกินไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย กลุ่มผู้รณรงค์ในภูมิภาคซึ่งมีฐานในฮ่องกง ได้มีแถลงการณ์ถึงคณะกรรมการพิเศษของยูเอ็น ๒ คน เพื่อขอให้มีส่วนร่วมในคดีนี้ รวมถึงคดีอื่นๆ
ศาลไทยทำงามหน้าอีกครั้งด้วยการรีบระล่ำระลักออกมาปกป้องชนชั้นทางสังคมที่ยิ่งนานไปยิ่งล้าหลัง ไม่กี่ปีให้หลังนี้ ศาลไทยประสบความสำเร็จในการทำร้ายตัวเองนับครั้งไม่ถ้วน ในขณะที่ลุกลี้ลุกลนปกป้องระเบียบทางการเมืองที่ยึดครองไว้ ที่ยิ่งนานวันยิ่งสวนกระแสกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แม้ศาลจะทำเรื่องที่เสียชื่อเสียงให้กับตัวเอง แต่มันมีผลถึงทุกคนในประเทศไทย – ความเคารพที่มีต่อสถาบันจะลดน้อยลง ยิ่งนานไปกฎหมายจะยิ่งไร้คุณค่า – แต่ได้ผล ผลในทางตรงข้ามกับที่ตั้งใจ แทนที่จะเป็นการปิดปากนักวิจารณ์ กลับกลายเป็นการกระตุ้นให้เกิดการโต้เถียงและแสดงความเห็นกันระรอกใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับว่า เรื่องอะไรที่พูดได้หรือไม่ได้ และไม่ต้องคิดถึงเรื่องที่จะทำเลยในราชอาณาจักร ยิ่งศาลพยายามที่จะปิดปากประชาชนในประเทศไม่ให้พวกเขาพูดในสิ่งที่คิดเท่าไร
พวกเขาจะหยุด… แล้วหันมาถามว่า ทำไม?