กระบวนการกำเนิดพรรคการเมือง หากย้อนมองไปในอดีตตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา มีแต่พรรคการเมืองที่ได้อำนาจมาจากอำนาจพิเศษ ทั้งถูกกำกับและแทรกแซง ภายใต้คำแอบอ้าง “ประชาธิปไตย” ทั้งสิ้น
แม้รัฐบาลหลังเหตุการณ์ลุกขึ้นสู้ของนิสิตนักศึกษา 14 ตุลาคม 2516 ที่ได้รัฐบาลพระราชทานนายสัญญา ธรรมศักดิ์ กระทั่งรัฐบาลจากการเลือกตั้งชุดต่อมาคือประชาธิปัตย์ และรัฐบาลหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก็เป็นรัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลจากอำนาจพิเศษ จนถึงรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยิ่งเข้าสู่ยุคแห่งการวางรากฐานให้กับความมั่นคงของพรรคการเมืองระบบขุนศึก ขุนนางอำมาตย์ กระทั่งเมื่อ พลเอกเปรม ต้องลดละเลิกไปเพราะกระแสแห่งพลังประชาชนเรียกร้องต้องการให้นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้งสูงยิ่ง อำมาตย์ที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการเลือกตั้งและดูถูกว่าประชาชนโง่ จำต้องถอยออกไปวางแผนอยู่วงนอก ท่ามกลางการต่อสู้ของประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยแท้จริงสืบเนื่องมาตลอด
ประชาชนเรียนรู้และเติบโตขึ้นทุกวัน ต่อสู้ผลักดันจนได้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งสาระสำคัญกำหนดให้พรรคการเมืองหลุดพ้นจากกรอบการกำกับดูแลของอำมาตย์มาก ที่สุดตั้งแต่เคยมีรัฐธรรมนูญมา เป็นต้นว่า สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดก็ดี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง อันทำให้พรรคการเมืองที่มาจากอำนาจประชาชนแข็งแกร่งขึ้น
ต้องพูดว่าพรรคการเมืองพรรคแรกที่ได้อำนาจจากประชาชนอย่างแท้จริง คือ “พรรคไทยรักไทย” เพราะสายธารการต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อเนื่องมาตลอด เรียกร้องการตรวจสอบระบบการเมืองที่เข้มข้นขึ้น จนทำให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นครั้งแรกที่อำนาจจากประชาชนเลือกพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลได้ครบสี่ปี และพรรคไทยรักไทยก็นำนโยบายที่ได้ประกาศไว้มาทำให้ปรากฏเป็นจริงขึ้น ได้ ประชาชนได้ประโยชน์ ประชาชนเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมว่า “ประชาธิปไตยกินได้” ตรงนี้เท่ากับไปถ่างช่องว่างอำนาจพิเศษให้ห่างไกลออกไปยิ่งขึ้น ซึ่งอำนาจพิเศษเริ่มดิ้นรนต่อสู้ทุกวิถีทาง ปรับเครือข่าย สร้างกำลัง ปลุกระดมโจมตีตามวิธีการที่ถนัด
จากผลงานชัดเจนในสี่ปีที่พรรคไทยรักไทยบริหารชาติบ้านเมือง ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างท่วมท้น เลือกกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย กลายเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากพรรคเดียวจนทำให้อำนาจพิเศษลุกขึ้นมาต่อ ต้านโดยวาทกรรม “เผด็จการรัฐสภา” และอื่นๆ อีกมากมาย ฯลฯ ที่สุดก็รัฐประหารด้วยกำลังอาวุธโค่นรัฐบาลที่มาจากอำนาจประชาชนและรัฐ ธรรมนูญ 2540 ลงไป วางโครงสร้างใหม่ สร้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมา จากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ประชาชนต่อสู้กับอำมาตยาธิปไตยมาจะห้าปีเต็มในเดือนกันยายน ปี 2554 นี้ สูญเสียเลือดเนื้อ ชีวิต ทรัพย์สิน และทุกสิ่งทุกอย่างมากมายมหาศาล จนที่สุดประชาชนก็สอนบทเรียนขุนศึกขุนนางอำมาตย์อีกครั้ง ด้วยการลงคะแนนเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยถล่มทลายเกือบสิบหกล้านคน ได้ ส.ส.เกินกว่าครึ่ง ข้อสรุปก็คือ
ต้องทบทวนว่าอำนาจที่พรรคเพื่อไทยได้มานั้น
มองย้อนไปตั้งแต่ยังเป็นพรรคไทยรักไทย
นับว่า ได้มาจาก ประชาชน อย่างแท้จริง
คือมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้มาจากอำนาจพิเศษ
หลังสุดนี่ต้องใช้คำว่า “ปาดเลือดเนื้อเหงื่อนอง” ของผองพี่น้องเสื้อแดง ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาล เ
พราะฉะนั้นจะทำอะไรควรไตร่ตรองให้ดี
ไม่ใช่วูบวาบหวั่นไหวไปกับความคิดที่จะปรองดองอย่างถลำตัวถลำใจ
การคัดสรรบุคคลที่จะเข้ามาทำงานในตำแหน่งบริหารต้องรอบคอบ รัดกุม สุขุม และมีเหตุผล ถึงที่สุดแล้วควรเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ใส่ใจแต่ความรู้สึกของอำนาจพิเศษ อย่าลืมว่า พรรคการเมืองพรรคนี้เป็นพรรคการเมืองที่ได้อำนาจจากประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนกำลังจับตามองพรรคอยู่ หากพรรคทำเพื่อประชาชน มวลมหาประชาชนก็จะยืนเคียงข้าง เป็นฐานกำลังสำคัญให้กับพรรค
เราหวังว่า ในสถานการณ์ที่มีรัฐบาลใหม่ พวกท่านทั้งหลายจะร่วมกับประชาชนเดินหน้าต่อไป ต่อยอดดอกใบประชาธิปไตยให้เต็มต้น เคลื่อนไหวให้มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 เครื่องไม้เครื่องมือและกลไกของระบอบอำมาตย์ อุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย ภายในเวลาไม่นานนัก ด้วยการเป็นเจ้าภาพเสนอทำประชามติให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม