“หลังการตาย91ศพ-บาดเจ็บ 2,000 ไม่มีใครเห็นเงา”ธีรยุทธ” หรือจะขยาด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน??”
จะเริ่มต้นด้วยคำว่า เมื่อใดประเทศไทยมีปัญา ต้องเห็นหน้า ธีรยุทธ บุญมี ออกมาพร้อม”เสื้อกั๊กตัวโปรด”
เขาจะพูดๆๆๆ พูดทุกสิ่งที่ตาเขาเห็น และสมองเขาคิด และมีหลายครั้งหลายคราในความนึกคิดของผู้คนทั่วไปที่ได้ฟังธีรยุทธพูด”จะไม่เห็นด้วย”
เพราะเขาชอบพูดเหมือน”ชกข้างเดียว”
เขาจะเป็นคนเก่งหรือคนกล้าแค่ใหนไม่มีใครอยากยืนยัน!! เพราะยึดถือคติว่า “นิ่งเสียตำลึงทอง”
ธีรยุทธในฐานะ”นักวิชาการ เพราะเป็นอาจารย์ ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยอมรับตัวเองว่าเป็นนักคิดมากกว่านักเขียน จึงเน้นการทำงานด้านวิชาการ โดยพยายามเขียนหนังสือ ตำรา และบทความทางวิชาการ พร้อมกับการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทุกสมัย
วันนี้...ธีรยุทธหายไป??
เขาหายไปใหนจึงไม่ออกมาสวมเสื้อกั๊ก วิจารณ์รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ??
ทั้งในยามที่ มีการสลายการชุมนุม มีคนตาย 91 คน และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน ที่มีผลมาจากการใช้กฏหมายกึ่งเผด็จการอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
คำถามมีว่า.... ทำไมธีรยุทธไม่ออกมาวิจารณ์ทหารและ ศอฉ.?? เหมือนกับที่เขาเคยออกมาทุกรัฐบาลในอดีต??
สมัยรัฐบาลทักษิณ เขาเคยออกมาวิจารณ์ว่า "ระบอบทักษิณทำให้ประเทศไทยเสียหายร้ายแรงหลายด้าน" หรือ "ที่ผ่านมาระบบทักษิณ ทำให้ระบบต่าง ๆ ในสังคมอ่อนแอลง "
การออกมาวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลแบบ นานทีปีหน ทำให้ธีรยุทธตกเป็นเป้าสายตาเรียกเรตติ้งได้อย่างน่าสนใจ
แต่เมื่อเข้าสู่ยุครัฐบาลเทพประทาน กลับไร้เงา “ธีรยุทธ บุญมี”!!
แต่มีเสียงถามหาแบบจิกกัด ว่า สงสัยเงียบหายไปเพราะมัวแต่ไปหลบประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำอยู่ที่ไหนสักแห่ง ถึงไม่มานั่งโต๊ะแถลง วิพากษ์รัฐบาลอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทั้งๆที่สถานการณ์แบบนี้ควรจะออกมาวิพากย์วิจารณ์รัฐบาลเทพประทานสักยก
ธีรยุทธเป็นคนน่าสนใจ เพราะทุกอย่างที่เขาทำ เหมือนการวางแผนที่แยบยล เช่นการออกมาวิจารร์รัฐบาลนานทีปีหนแต่มีคำพูด “ทะลวงไส้” ติดหู กลับมีน้ำหนัก สามารถแย่งพื้นที่ข่าว “รัฐมนตรี”บางคนมาครอบครอง
แต่ก่อนที่เขาจะกลายเป็น ชายเสื้อกั๊กสะท้านการเมือง เขาก็เป็นเพียงเด็กยากจนคนๆหนึ่งเท่านั้น
ธีรยุทธ บุญมี เกิดในครอบครับที่ยากจน เกิดวันที่ 10 มกราคม 2493 เรียนจบมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในปี 2511
โดยได้คะแนนเป็นที่ 1 ของประเทศ และมีนิสัยรักการอ่านมาแต่เด็ก หัวดี และเรียนเก่ง มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ
ด้วยความสนใจเขาได้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ส่งนิตยสารอย่างวิทยาสารและชัยพฤกษ์ตอนอยู่ ม.ศ. 4-5 เขารู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น ศ.ดร. ระวี ภาวิไล ซึ่งเป็นรุ่นพี่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ ศ.ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต
ได้มีโอกาสสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ส่วนด้านงานเขียนเขาก็สนิทสนมคลุกคลีกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ และ เสถียร จันทิมาธร ซึ่งเป็นนักเขียนแถวสยามรัฐ
ธีรยุทธ บุญมี สมัครสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย ปัญหาความยากจนของทางบ้าน เขาจึงเลือกที่เป็นวิศวกรแทนที่จะไปทางสายวิทยาศาสตร์ที่ชอบ
เนื่องจากเขาสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นที่หนึ่งของประเทศในสายวิทยาศาสตร์ ด้วยคะแนน 91.90 เปอร์เซนต์ในปี พ.ศ. 2511
เขาไม่สามารถสมัครสอบทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนต่อต่างประเทศเช่นเดียวกับผู้สอบได้อันดับหนึ่งคนอื่นๆ ด้วยเหตุผลว่าอายุเกิน แต่เนื่องจากวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทำให้เขาหันเหความสนใจไปด้านกิจกรรมตอนเป็นนิสิต จากกิจกรรมเชิงวิชาการ ขยับมาเป็นกิจกรรมด้านสังคม จบออกมาเป็นวิศวกรบริษัทเอกชนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ปี 2519
ธีรยุทธ เข้าเป็นสมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และได้เป็นเลขาธิการเมื่อปี พ.ศ. 2515
ช่วงนั้น ศนท. มีบทบาททางการเมืองในการรณรงค์เรียกร้องต่างๆ เช่น การรณรงค์ให้ชื้อสินค้าไทยและไม่ซื้อสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น เรื่องการล่าสัตว์ป่าของกลุ่มนายทหารและตำรวจในทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นต้น
เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้เดินทางไปใช้ชีวิตในป่าแถบจังหวัดน่าน และเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ในฐานะเลขานุการประสานงานผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย เป็นเวลาถึงสี่ปีครึ่ง
ก่อนจะเดินทางไปทำงานวิจัยในสาขาปรัญชาและสังคมวิทยาที่สถาบันสังคมศึกษา ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้วุฒิเทียบเท่าปริญญาโท และศึกษาต่อปริญญาเอกสาขาสังคมมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไนเมเกน ประเทศเดียวกัน
แต่ไม่ได้สอบวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็เลิกเรียนเสียก่อน (ปัจจุบันจึงยังเป็น Phil.D. Candidate อยู่)
หลังจากนั้น ธีรยุทธยังคงเคลื่อนไหวและทำหน้าที่ผลิตความคิดทั้งด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรมและปรัชญา ให้กับสังคมอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบที่หกลากหลายไม่ว่าจะเป็นการวิจารณ์ การอภิปราย และการเขียนหนังสือ
เขาเริ่มออกมาวิจารณ์แนวโน้มสังคมและการเมืองไทยเป็นครั้งแรกในปี 2528 เป็นการสนับสนุนงานเขียนเชิงวิชาการของเขาเรื่อยมา
ขณะที่ฝ่ายตรงกันข้ามมักตอบโต้ว่า "ดีแต่พูด" บ้างก็ “แน่จริงก็มาทำเอง”
โดยอดีตนายกฯทักษิณเคยตั้งฉายากลับว่าเป็น “ขาประจำ” ที่ออกมาสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง
ส่วนนักวิชาการและสื่อมวลชนบางรายแอบเหน็บแนมว่า อ.ธีรยุทธเป็น "ป๊อปสตาร์" รู้จักสร้างแบรนด์ด้วยเสื้อกั๊กและคำคม โดยเลือกจังหวะประจวบเหมาะขณะที่คนกำลังเบื่อผลงานของรัฐบาล และมีกลไกสร้างความโด่งดังให้ตัวเอง
การเลือกออกสื่อน้อยครั้งจะสร้างผลกระทบและน่าตื่นเต้นกว่านักวิชาการที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สังคมสม่ำเสมอจนคนรู้สึกเฝือ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าบนเวทีการเมือง ธีรยุทธ์จะมีภาพลักษณะเจ้าเล่ห์ หาเรื่องแต่นอกเวทีวิพากษ์การเมือง เขากลับเป็นคนพูดน้อย รักสันโดษ
อ.ธีรยุทธจะสลัดเสื้อกั๊ก สวมเพียงเสื้อเชิ้ตธรรมดาไม่มีลวดลาย เป็นอาจารย์แห่งภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากปากคำของคนใกล้ชิด อาจารย์ธีรยุทธรักสันโดษ เก็บตัว ไม่ค่อยพบปะสังสรรค์กับเพื่อน แม้แต่กลุ่มที่เคยเข้าป่ามาด้วยกัน สมัย 14 ตุลา เพื่อแยกจากอิทธิพลทางความคิดของคนอื่นๆ และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนน้อยมาก
หากมีคนโทรศัพท์ไปที่บ้าน แม่บ้านจะบอกปัดว่าไม่อยู่
นอกจากนี้ก็ไม่ยอมแจกเบอร์โทรศัพท์มือถือให้ใคร แต่จะให้ทิ้งชื่อและเบอร์ติดต่อไว้เพื่อเป็นฝ่ายติดต่อกลับไป ทว่าก็น้อยครั้งที่จะได้รับการตอบกลับมา ธีรยุทธจึงอยู่ในฐานะที่เป็น "ผู้เลือก" ไม่ใช่ "ถูกเลือก" ทำให้มีความทรงอิทธิพลเสมอมา
อ.ธีรยุทธยังมีตัวตนอีกด้านที่รักศิลปะ ล่าสุดเขาจัดนิทรรศการ "อิ่มสี” (Saturated Colors) ธีรยุทธ บุญมี แสดงภาพวาดสีน้ำมันและพาสเทลของตัวเอง เต็มไปด้วยสีสันสดใสของธรรมชาติ จำนวนประมาณ 200 ภาพ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ และออกหนังสือภาพวาดพร้อมบทกวีเนื้อหาลุ่มลึก
ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อยคนนักจะรู้ว่า ธีรยุทธมีอารมณ์สุนทรีย์ซุ่มวาดภาพนับรวมได้กว่า 1,000 กว่าภาพ ภายในระยะเวลา 30 ปี วาดสะสมมาเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยเรียนที่ ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย เข้าป่าจากเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้วไปเรียนต่อเมืองนอกจนกระทั่งปัจจุบัน
โดยมีแรงบันดาลใจจากนายช่างวาดฉากลิเกที่เห็นตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้ยังเป็นคนใจบุญด้วยการขายภาพศิลปะตัวเองบริจาคการกุศลอย่างเงียบๆ
แต่...ถึงวันนี้ คนไทยทั่วไปที่รู้จักชื่อ “ธีรยุทธ์ บุญมี” จะเป็นใครมาจากใหนไม่สำคัญ ความสำคัญอยู่ที่ว่า เหตุไฉนในช่วงเวลาที่เขาควรจะออกมาต่อสู้อย่างยิ่ง คือในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งประเ?สนี้กำลังมีวิกฤติทุกด้าน สภาพบ้านเมืองเหมือนอยู่ในสงคราม...
มีทั้งการตาย การเจ็บด้วยอำนาจรัฐ เขาควรจะออกมาสวม”เสื้อกั๊ก” แสดงความคิด เหมือนที่เคยทำในสมัยเก่าก่อน!!
ไม่อยากให้ครคิดเองเองว่า ที่ธีรยุทธ์ไม่ออกมา เพราะหวั่นหวาด ไม่กล้าเผชิญหน้ากับ ศอฉ. กับการใช้กฏหมายกึ่งเผด็จการอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาปกครองประเทศ มากดดันประชาชน!!
วันนี้ ขอคิดถึง”ธีรยุทธ์ บุญมี” อดีตวีรบุรุษ”14ตุลา” เพียงแค่นี้!!