ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 8 October 2012

สุภิญญา กลางณรงค์: SWOT กสทช.ในโอกาส 1 ปีการทำงาน

ที่มา ประชาไท




(7 ต.ค.55) สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทวีตวิจารณ์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยง (SWOT) ของ กสทช. ผ่าน @supinya เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีการสถาปนาสำนักงาน กสทช. มีรายละเอียดดังนี้

                                                                                                00000


จุดแข็ง

1. เป็นองค์กรที่พร้อมในเรื่อง คน เงิน ของ ไม่ขัดสนเรื่องงบประมาณ บริหารคล่องตัวกว่าหน่วยงานรัฐอื่นๆ มาก อยากทำอะไร ทำได้
2. พนักงานส่วนใหญ่ตั้งใจ มีศักยภาพ เก่ง ทันสมัย ได้คนระดับหัวกะทิมาไม่น้อย ทำงานในเวทีระดับภูมิภาค/ชาติ/สากลได้ดี
3. โครงสร้างตามกฎหมายที่ออกแบบมาให้มีความเป็นอิสระสูง ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือทุนได้โดยง่าย (เว้นแต่จะยอมให้แทรกแซง)
4.ถือเป็นองค์กรใหม่ สังคมยังฝากความหวัง ให้ความเชื่อมั่น ภาพลักษณ์ทางการเมืองยังมีความเป็นกลาง ประสานความร่วมมือได้หลายฝ่าย
5.บอร์ด กสทช.11 คน เชี่ยวชาญคนละด้าน มีฐานที่มาคนละแบบ ก่อให้เกิดการคานงัด ถ่วงดุลทั้งในมิติเทคโนโลยี-ค.มั่นคง-ธุรกิจ-สังคม

จุดอ่อน

1.ธรรมาภิบาลองค์กรยังมีปัญหา ถูกตั้งคำถามจากสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริหารงบประมาณจากภาษีไม่คุ้มค่า ไม่โปร่งใส
2. ประเด็นเรื่องระบบอุปถัมภ์/ความเป็นธรรมภายในองค์กร ที่มีผลต่อความเชื่อมั่น ขวัญกำลังใจ (ปัญหาร่วมของหน่วยราชการ)
3. ความพยายามแทรกแซงโดยตรงและโดยอ้อมจากกลุ่มการเมืองและกลุ่มทุนเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะทุกการตัดสินใจมีเดิมพันสูง ผลประโยชน์มาก
4.การอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ อาจส่งผลต่อการกล้าตัดสินใจตามหลักการหรือต้องยอมประนีประนอมเกินไป
5.จุดแข็งจะกลายเป็นจุดอ่อน ถ้าขาดความเป็นมืออาชีพ แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เชื่อมจุดเหมือนสงวนจุดต่าง เผชิญหน้าดีกว่าลับหลัง

โอกาส

1. ถ้าเพิ่มธรรมาภิบาลทั้งในองค์กรและต่อสาธารณะให้มากขึ้น #กสทช. จะเป็นองค์กรอิสระแบบมืออาชีพ สังคมทุกส่วนให้ความเชื่อมั่นมากขึ้น
2.ถ้า #กสทช. ประสานประโยชน์ของทุกกลุ่ม (รัฐ-เอกชน-ประชาชน) บนหลักการที่รับฟังได้ เป็นธรรมระดับหนึ่ง จะส่งผลดีต่อวิกฤตของประเทศโดยรวม
3.การส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อ/โทรคม ให้โอกาสกลุ่มธุรกิจปลดแอกจากภาครัฐ และการถ่วงดุลประโยชน์ให้ผู้บริโภค/สาธารณะ ต้องไปควบคู่กัน
4.ใช้ ความเป็นองค์กรใหม่/ภาพลักษณ์ที่เป็นกลางทางการเมือง กำกับสื่อ/โทรคม บนหลักการของเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ
5. สร้าง #กสทช. ให้เป็นองค์กรกำกับสมัยใหม่ โดดเด่นเรื่องการมีจุดคานงัด ถ่วงดุลซึ่งกัน สะท้อนพหุนิยมทางการเมือง (Political pluralism)


ความเสี่ยง

1.แม้จะตั้งใจทำงานดี แต่ถ้าองค์กรยังมีปัญหาธรรมภิบาลต่อเนื่อง สังคมจะไม่ให้ความเชื่อถือ ส่งผลต่อการทำงานและภาพลักษณ์มาก
2.ถ้าการจัดสรรผลประโยชน์ไม่เป็นธรรม อาทิ รัฐเสีย-เอกชนได้มาก-ผู้บริโภคยังไม่มีหลักประกัน จะไม่ใช่แนวทางที่ win-win-win
3. ถ้าเอื้อเอกชนมากเกินไป แม้ว่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม แต่ถ้าไม่มีหลักประกันเพื่อผู้บริโภคที่ชัดเจน ระบบจะเสียสมดุล
4.ถ้าประคับประคองจุดยืนที่เป็นกลางไม่ได้ เพราะเลือกปฏิบัติ ลุแก่อำนาจหรือกลัวอำนาจ จะทำให้เสียโอกาสในการช่วยวิกฤตประเทศ
5.ถ้าไม่ยกระดับเป็นองค์กรแบบมืออาชีพ ก็อาจกลายเป็นองค์กรดราม่า จากจุดคานงัดเพื่อถ่วงดุล จะกลายเป็นจุดแตกหัก ดับเครื่องชน

จบการทวิต 20 SWOT (จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-ความเสี่ยง) ในวาระครบ 1 ปี วันนี้วิพากษ์องค์กรก็วิพากษ์ตัวเองด้วย โดยเฉพาะข้อ 5