รัฐบาลนี้ทำ รัฐบาลที่แล้วก็ทำ รัฐบาลก่อนหน้านี้ก็ทำ
ทั้งไปต่างประเทศและแหล่งพักผ่อนต่างจังหวัด ทำกันจนเป็นปกติ
คิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้
เรื่องนี้ไม่ควรจบลงแบบเงียบ ๆ หรือไปขุดคุ้ยเอาผิดกับผู้คนที่ร่วมเดินทาง
แต่ถึงเวลาแล้วที่สังคมต้องตั้งคำถามว่า ประชาชนเจ้าของภาษี
เจ้าของอำนาจอธิปไตย
และเลือกพวกท่านเข้ามาเป็นตัวแทนจะมีมาตรการควบคุมการใช้จ่ายเงินที่ไม่เกิด
ประโยชน์แก่สังคมได้อย่างไร เช่น สร้างมาตรการควบคุมว่าต้องไป “ทำงาน”
ไม่ใช่แค่ดูงาน ใช้งบได้เท่าไหร่ ใครจะเซ็นต์รับงบก้อนนี้ได้บ้าง
และมีโครงการพัฒนาสังคมใดบ้างที่นำเอาความคิด
นวัตกรรมของประเทศที่ไปดูงานกลับมาใช้
ทั้งนี้ไม่ใช่เฉาะรัฐสภาและรัฐบาลที่ชอบไปดูงานกันจัง
องค์กรอิสระทั้งหลายและอีกหลายหลายหน่วยงานก็หมดงบประมาณจำนวนมากไปกับการไป
ดูงานเช่นกัน
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่เคยรวบรวมไว้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
I. ข้อมูลงบประมาณและการเบิกจ่ายงบประมาณดูงานต่างประเทศของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมาธิการ
1.ค่าใช้จ่ายด้านกิจการต่างประเทศของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา
พ.ศ. 2551: 45,671,903 บาท พ.ศ. 2552: 34,304,954
2.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาดูงานและเจรจาธุรกิจในต่างประเทศของคณะกรรมาธิการ
พ.ศ. 2551: 93,722,838 บาท พ.ศ. 2552: 110,695,634 บาท
รวมยอดปี 2551 139,394,741 บาท รวมยอดปี 2552 145,000,588 บาท
(ที่มา: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร)
II. ข้อมูลการดูงานต่างประเทศของวุฒิสภาและกรรมาธิการวุฒิสภาประจำปีงบประมาณ 2552
1.
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุมนานาชาติ
ไปเยือนต่างประเทศและรับรองแขกต่างประเทศของประธานวุฒิสภาและคณะ
เป็นเงินรวม 15,945,317.00 บาท
2.
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุมนานาชาติ
ไปเยือนต่างประเทศและรับรองแขกต่างประเทศของรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และคณะ
เป็นเงินรวม 4,269,157.00 บาท
3.
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุมนานาชาติ
ไปเยือนต่างประเทศและรับรองแขกต่างประเทศของรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 และคณะ
เป็นเงินรวม 4,178,570.00 บาท
4. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุมนานาชาติ ไปเยือนต่างประเทศและรับรองแขกต่างประเทศของสมาชิกวุฒิสภา เป็นเงินรวม 361,691.45 บาท
5. ใช้จ่ายในการเดินทางไปเยือนและศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะกรรมาธิการวุฒิสภาชุดต่างๆ เป็นเงินรวม 51,283,505.31 บาท
ยอดรวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
นานาชาติ ไปเยือนต่างประเทศและรับรองแขกต่างประเทศของวุฒิสภาปี 2552
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 76,038,240.76 บาท
(ที่มา: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา)
นอกจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มแล้ว ส.ส.และ ส.ว.
สามารถขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่เชิดชูเกียรติ
และยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดังนี้
1. เบี้ยประชุมอนุกรรมาธิการครั้งละ 800 บาท เบี้ยประชุมกรรมาธิการครั้งละ 1,200 บาท และประธานกรรมาธิการครั้งละ 1,500 บาท
2.ได้รับการประกันสุขภาพในระหว่างการดำรงตำแหน่ง
3.ค่าเดินทางในประเทศ เดินทางโดยรถไฟ หรือรถโดยสารของรัฐฟรี ขณะที่การเดินทางทางเครื่องบินเฉพาะภายในประเทศได้นั่งชั้นธุรกิจ
กรณีไปปฏิบัติภารกิจต่างจังหวัดได้ค่าที่
พักในประเทศแบบเหมาจ่ายไม่เกิน 1,200 บาท/วัน/คน
หรือเบิกในลักษณะจ่ายจริงไม่เกิน 2,500/วัน/คน
4.เดินทางไปต่างประเทศโดยเครื่องบินชั้น
หนึ่ง ค่าที่พักเบิกจ่ายตามจริงไม่เกิน 10,000 บาท/วัน/คน(ประเภท ก.) 7,000
บาท/วัน/คน(ประเภท ข.) และ 4,500 บาท/วัน/คน (ประเภท ค.)*
ค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางเหมาจ่ายไม่เกิน
3,100 บาท/วัน/คน หรือเบิกตามจริงไม่เกิน 4,500 บาท/วัน/คน
ค่าทำความสะอาดเสื้อผ้าเบิกตามจริงไม่เกิน 500 บาท/วัน/คน
และค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดเหมาจ่ายไม่เกิน 500 บาท/วัน/คน
ค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการเหมาจ่าย 9,000 บาทต่อคน