ที่มา ประชาไท
6 ตุลาคม, 2012 - 19:47 | โดย onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ
สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย
และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ
จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ
เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ
คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ
“เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย” หรือ Unity in Diversity ที่เราๆ ท่านๆ
ได้ยินกันบ่อยๆ เมื่อเราพูดถึงความหลากหลายทางด้านต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการเมือง, การพัฒนาเศรษฐกิจ
ตลอดจนสังคมวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่
“ประชาคมอาเซียน” ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้น
วลีดังกล่าวนี้เป็นคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียด้วย
อินโดนีเซียเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มศาสนา
มีภาษากลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 250 ภาษา อินโดนีเซียปัจจุบัน (2012)
มีประชากรประมาณ 240 ล้านคน กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือกลุ่มชวาประมาณ
45-50 % ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควบคุมและครอบงำระบบราชการ, ทหารและตำรวจของรัฐ
ประธานาธิบดีเกือบทั้งหมดเป็นคนชวา
การตัดสินใจเรื่องตำแหน่งในกองทัพอินโดนีเซียตกอยู่ในมือของคนชวาถึงประมาณ
75% มาตุภูมิของคนชวาอยู่ในตอนกลางและทางตะวันออกของเกาะชวา
แม้ว่าจะมีคนซุนดาอาศัยอยู่ในเกาะชวา แต่มีจำนวนเพียง 14.5 %
ของประชากรทั้งหมด
เกาะรอบนอกชวาเป็นที่อยู่ของชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น
Makassarese-Buginese (3.68%), Batak (2.4%), Balinese (1.88%), Achenese
(1.4%) และอื่นๆ ซึ่งกลุ่มต่างๆ
เหล่านี้ตั้งรกรอกอยู่ในพื้นที่ที่สามารถจะระบุได้
ส่วนกลุ่มคนจีนซึ่งมีอยู่ประมาณ 2.8 %
นั้นอาศัยอยู่ทั่วไปกระจายทั่วทั้งประเทศ โดยส่วนมากมักจะอาศัยอยู่ในเมือง
อาจจะกล่าวได้ว่าสังคมอินโดนีเซียเป็นสังคมชนบท เนื่องจากว่าประมาณ 80%
ของประชากรอาศัยอยู่ในชนบท ส่วนอีก 20% อาศัยอยู่ในเมือง [1]
สิ่งสำคัญที่ควรจะกล่าวถึงคือเกาะชวานั้นมีขนาด 7% ของดินแดนทั้งหมด
แต่เป็นที่อาศัยของประชากรประมาณ 65 % ของประชากรทั้งหมด
เกาะชวาจึงกลายเป็นผู้บริโภครายได้ของรัฐรายใหญ่ที่สุด
ในขณะที่เกาะรอบนอกชวาเป็นผู้ผลิต
การเมืองของอินโดนีเซียจึงเกี่ยวพันกับประเด็นเรื่องบทบาทผู้ครอบงำของชวา
กับการกระจายผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมระหว่างชวากับที่อื่นๆ
ซึ่งชวานั้นเป็นศูนย์กลางของด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กลางอำนาจ,
การปกครอง, เศรษฐกิจ และอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นอื่นทางการเมืองอินโดนีเซียที่มีความสำคัญคือ
ประเด็นเรื่องทางศาสนาซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
อินโดนีเซียมีศาสนาที่เป็นทางการที่เป็นที่ยอมรับและรับรองโดยรัฐธรรมนูญ
แห่งชาติ 5 ศาสนาได้แก่ อิสลาม, คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์,
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิค, ฮินดู และพุทธ
โดยศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดประมาณ 90%
ของประชากรทั้งหมด
มุสลิมอินโดนีเซียสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ สาย abangan และ สาย santri [2] กลุ่ม
abangan เป็นกลุ่มที่ประสานเอาหลักการทางศาสนาเข้ามาเป็นความเชื่อของตน
และมักจะถูกเรียกว่า “เป็นมุสลิมแต่เพียงในนาม” [3]
เนื่องจากในวิถีปฏิบัติทางศาสนามีการรับเอาพื้นฐานของศาสนาฮินดูและชวาเข้า
มาผสมผสานกันด้วย กลุ่ม abangan เชื่อในพระอัลเลาะห์
แต่ก็เคารพและบูชาเทพเจ้าของฮินดูด้วย
และยังเชื่อในเรื่องเวทย์มนต์และไสยศาสตร์ต่างๆ
รวมถึงมีแบบแผนการปฏิบัติสิ่งที่เรียกว่า Selamatan
ซึ่งหมายถึงพิธีกรรมการเซ่นสังเวยวิญญาณด้วยอาหารและเครื่องเซ่นต่างๆ
ซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความสงบ ปลอดภัยหรือความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
นอกจากนี้ในรูปแบบความสัมพันธ์จะเป็น “ครอบครัว” ไม่ใช่ “ชุมชนอิสลาม”
เหมือนอย่าง santri
กลุ่ม santri
เป็นกลุ่มที่เคร่งครัดในเรื่องความเชื่อและปฏิเสธรากฐานของความเชื่อต่างๆ
ในชวาก่อนหน้าการเข้ามาของอิสลาม นอกจากนี้ยังปรารถนาที่จะ
“ทำศาสนาชวาให้บริสุทธิ์” เพื่อที่จะสอดคล้องกับแนวคิดของพวกตน พวก santri
เชื่อว่าตัวเองเป็นมุสลิมที่ “บริสุทธิ์” กว่าพวก abangan
และมองว่าการรับเอาจารีตประเพณีที่ไม่ใช่อิสลามไปปฏิบัติของพวก abangan
ว่าเป็นการกลับไปสู่รูปแบบโบราณ
กลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มศาสนาต่างๆ ถูกทำให้รวมกันโดยดัทช์ภายใต้ Dutch
East Indies ประสบการณ์จากช่วงอาณานิคมทำให้กลุ่มต่างๆ
รวมกันภายใต้ขบวนการชาตินิยมซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะทำลายระบบอาณานิคม
ลงและสถาปนารัฐชาติขึ้นโดยใช้เขตแดนของอดีตอาณานิคม
หมายความว่าอินโดนีเซียไม่ได้มีความเป็น “ชาติ” ก่อนหน้าเป็นเอกราช
หรือแม้ว่าจะมีอยู่ในความรู้สึกของนักชาตินิยม
แต่ก็ไม่ได้เป็นชาติที่มีความเข้มแข็ง
ยุคสร้างชาติและก่อรูปชาติอินโดนีเซียเกิดขึ้นหลังจากที่อินโดนีเซียได้รับ
เอกราชอย่างเป็นทางการจากดัทช์ [4]
ในช่วงก่อนการประกาศเอกราชของอินโดนีเซียในปี 1945
ได้มีการประชุมระหว่างผู้นำชาตินิยมต่างๆ ถึงอนาคตของ “รัฐอินโดนีเซีย”
ที่จะเกิดขึ้นใหม่
มีผู้เสนอว่าควรจะเป็นรูปแบบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย, รัฐอำนาจนิยม,
ตลอดจนรัฐอิสลาม
และได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของประเทศราวกลางปี 1945
พรรคมัสยูมี (Musyumi) ได้เรียกร้องให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
ซึ่งซูการ์โนได้พยายามที่จะประนีประนอมด้วยการเอ่ยถึง “หลักปัญจศีลา”
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 1945 ซึ่งตัวเขาเองเห็นว่า
“อินโดนีเซียไม่ควรเป็นรัฐอิสลาม และไม่ควรเป็นรัฐทางศาสนาด้วย
แต่ควรมีหลักปรัชญาทางศาสนาของรัฐที่มีพื้นฐานอยู่บนความเชื่อในพระเจ้าองค์
เดียวตามแต่ละศาสนา
ซูการ์โนได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันทั้งจากผู้สนับสนุนเสรีประชาธิปไตย
และรัฐอำนาจนิยม
เนื่องจากเกรงว่ารัฐอิสลามจะแยกตัวออกไปก่อนที่จะเป็นเอกราช
แต่พวก santri หัวก้าวหน้าปฏิเสธที่จะประนีประนอมกับแนวคิดนี้
อย่างไรก็ตามพรรคมัสยูมีและ พวก santri
ล้มเหลวในการที่จะเรียกร้องให้อิสลามเป็นพื้นฐานของรัฐอินโดนีเซีย
ซึ่งสำหรับพรรคมัสยูมีและ พวก santri
ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้เพื่อให้อิสลามครอบครองตำแหน่งที่เด่นชัด
ขึ้นในสังคมอินโดนีเซีย
หลังจากการประกาศเอกราช
อินโดนีเซียต้องทำสงครามกู้เอกราชจากเจ้าอาณานิคมที่ไม่ยอมปลดปล่อย
อินโดนีเซียโดยง่าย
การต่อสู้ของชนพื้นเมืองดำเนินทั้งในวิธีทางการทูตและการใช้กองกำลัง
ซึ่งกลุ่มมุสลิมได้มีบทบาททั้งสองด้านดังกล่าว
กองทัพอินโดนีเซียที่เริ่มต้นเมื่อปี 1945
โดยการเกณฑ์ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า Pembela Tanah Air (Peta)
ซึ่งหมายความว่ากองกำลังรักษาแผ่นดินเกิด ประกอบด้วยพวก priyayi ชั้นล่าง
และพวก abangan ซึ่งมีความรู้สึกไม่ไว้วางใจพวก santri ร่วมกันอยู่
แต่ญี่ปุ่นก็ได้จัดตั้งและฝึกฝนกองกำลังของพวก santri ขึ้นด้วยเช่นกัน
ซึ่งรู้จักกันในนาม Hizbullah ซึ่งแปลว่ากองทัพของพระ Allah
และได้ต่อสู้กับดัตช์ตั้งแต่ปี 1945-1949
และในช่วงที่มีการเจรจาหยุดยิงทางการทูต กองทัพ Hizbullah
ก็ยังคงต่อสู้โดยวิธีสงครามแบบกองโจรต่อไป
ซึ่งกองกำลังนี้ได้พัฒนามาเป็นขบวนการดารุล อิสลาม (Darul Islam)
ซึ่งส่งผลที่สำคัญมากต่อชาวมุสลิมอินโดนีเซียจนถึงปัจจุบัน
ก่อนที่ดัตช์จะปล่อยมือจากอินโดนีเซีย
ดัตช์ได้พยายามเสนอให้มีการจัดตั้งอินโดนีเซียเป็นสมาพันธรัฐหรือสหรัฐแห่ง
อินโดนีเซีย (United States of Indonesia) โดยประกอบด้วย 15 รัฐ
แต่ซูการ์โนและผู้นำคนอื่นๆ ปฏิเสธแผนการนี้
อย่างไรก็ตามได้เกิดความพยายามจะปฏิวัติแยกตัวออกไปใน Moluccas ในปี 1950
เพื่อจะก่อตั้งเป็น “Republic of the South Molucca” แต่รัฐบาลปราบปรามได้
และอีกกลุ่มที่ทำการกบฎและส่งผลกระทบที่สำคัญคือขบวนการดารุลอิสลาม
ขบวนการดารุล อิสลาม (Darul Islam)
ในปี 1947 กองกำลังแบบกองโจรได้เปลี่ยนชื่อเป็นดารุล อิสลาม ขบวนการดารุล
อิสลามนำโดย Sekar Madji Kartosuwiryo (1905-1962)
เขาเคยเป็นสมาชิกพรรคเซรากัตอิสลาม (Partai Sarekat Islam Indonesia)
แต่ภายหลังถูกขับออกเนื่องจากความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนโยบาย ในปี 1940
เขาได้ก่อตั้งสถาบัน Suffah ในเมืองการุต เขตชวาตะวันตก
ต่อมาญี่ปุ่นได้ปิดสถาบันดังกล่าว แต่ว่า Kartosuwiryo
ยังคงมีความสัมพันธ์กับพื้นที่นั้นและเป็นหัวหน้ากองกำลัง Hizbullah
(กองทัพของพระ Allah) ต่อมาเขาได้มีบทบาทในพรรคมัสยูมี (Musyumi)
เขาไม่ชอบแนวคิดของพวกฝ่ายซ้ายและไม่ไว้ใจผู้สนับสนุนสาธารณรัฐทั้งหลาย
Kartosuwiryo รู้สึกว่าชวาตะวันตกถูกทอดทิ้งโดยสาธารณรัฐ
ดังนั้นเขาจึงตอบสนองด้วยการประกาศตัวเองว่าเป็น “อิหม่าม”
หรือหัวหน้าของรัฐใหม่ที่ชื่อว่า “รัฐอิสลามอินโดนีเซีย” (Negara Islam
Indonesia) ในเดือนพฤษภาคม 1948
ซึ่งนับเป็นการกบฏต่อต้านสาธารณรัฐอินโดนีเซียแห่งแรก
รัฐบาลของดารุลอิสลามมีพื้นฐานอยู่บนหลักของศาสนาอิสลาม
เมื่อเวลาผ่านไปขบวนการดารุลอิสลามมีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ
และมีความสำคัญมากกว่าจะเป็นแค่กลุ่มกองโจรหรือการก่อการร้ายธรรมดา
แต่ดารุลอิสลามมีสถานะเป็นการกบฏของภูมิภาค
ซึ่งควบคุมพื้นที่เขตชวาตะวันตกเป็นบริเวณกว้าง
ขบวนการดารุลอิสลามได้ส่งอิทธิพลไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้
การกบฏของดารุลอิสลามได้สนับสนุนให้เกิดการต่อต้านรัฐในอาเจะห์และต่อมาได้
เกิดขบวนการดารุลอิสลามในสุลาเวสีใต้ กาลิมันตันและพื้นที่อื่นๆ ด้วย
รัฐบาลได้ใช้กองกำลังเข้าปราบปรามขบวนการดารุลอิสลาม หลังการทำสงครามถึง
14 ปีกลุ่มกบฎถูกปราบปรามลงโดยกองกำลังและผู้นำถูกประหารชีวิต
หลังจากที่กบฏถูกปราบปรามลง
การเคลื่อนไหวจึงกลายเป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินแทน
และการก่อการกบฎโดยมีอิสลามเป็นฐานยังเกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อยครั้งเช่นในอา
เจะห์
รวมถึงขบวนการที่เกิดขึ้นในภายหลังต่างอ้างว่ามีความผูกพันธ์หรือเป็นส่วน
หนึ่ง (หรือไม่ก็ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ)
ของขบวนการดารุลอิสลามเช่นกลุ่ม Jemaah Islamiyah [5] เป็นต้น
การสร้างเอกภาพและอัตลักษณ์แห่งชาติ
หลังได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการจากเจ้าอาณานิคมดัตช์
รัฐบาลใหม่ของอินโดนีเซียได้ดำเนินนโยบายบูรณาการแห่งชาติเพื่อที่จะจัดการ
กับพหุสังคมและความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
และตระหนักถึงอันตรายจากการปฏิวัติของดินแดนต่างๆ
นโยบายบูรณาการแห่งชาติจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องเร่งกระทำเพื่อสร้างอัต
ลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งรวมถึงการบูรณาการทางการเมืองและดินแดนด้วย
และการสร้างวัฒนธรรมอินโดนีเซียก็เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการบูรณาการ
แห่งชาติดังกล่าว
ภาษาและการศึกษาแห่งชาติ
นโยบายภาษาแห่งชาติเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสร้างความเป็นเอกภาพและอัต
ลักษณ์แห่งชาติของอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียอาจจะเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับเอาภาษาของ
ชนกลุ่มน้อยเป็นภาษาประจำชาติ ภาษาอินโดนีเซียนั้นมีรากฐานมาจากภาษามาเลย์
ซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในปาเล็มบัง (Palembang)
เกาะสุมาตราในคริสต์ศตวรรษที่ 7
ต่อมาได้กลายเป็นภาษาในการติดต่อทางการค้าระหว่างชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
กับคนต่างชาติ
เมื่อดัทช์เข้ามาปกครองอาณานิคมดัทช์อีสอินดีสต์ได้กำหนดให้ใช้ภาษามาเลย์ใน
ระบบราชการและธุรกรรมต่างๆ
และนักชาตินิยมก่อนหน้าเป็นเอกราชก็รับเอาภาษามาเลย์นี้เป็นภาษาประจำชาติ
เนื่องจากว่าเป็นภาษาที่ทุกกลุ่มชาติพันธุ์สามารถจะยอมรับได้
เหตุที่ภาษาชวาไม่ถูกพิจารณานำมาเป็นภาษาประจำชาติ
เนื่องจากว่าภาษาชวาเป็นภาษาที่ซับซ้อนและมีระดับของภาษาถึง 3
ระดับคือภาษาชวาระดับสูง, กลางและล่าง
และเป็นภาษาที่คนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ไม่ได้ใช้
การรับเอาภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติถือเป็นการมองการณ์ไกลของผู้นำชาติ
นิยม ที่เป็นการยืดหยุ่นกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ชวา
ดังนั้นอินโดนีเซียไม่มีปัญหาเรื่องภาษาหลังจากได้รับเอกราช
ภาษาแห่งชาติอินโดนีเซียถูกทำให้เป็นที่รู้จักในสื่อของขบวนการชาตินิยม
ในช่วงขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราช
และแพร่กระจายไปมากขึ้นในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดนีเซีย สื่อต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์, วิทยุและโทรทัศน์ใช้ภาษาอินโดนีเซีย
หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี 1965-1967 ทั้งสิ้น 358 ฉบับ มีเพียง 3
ฉบับที่ตีพิมพ์โดยภาษากลุ่มชาติพันธุ์ [6]
หลังจากได้รับเอกราช โรงเรียนของรัฐบาลทุกแห่งต้องใช้ภาษาประจำชาติ
โดยภาษากลุ่มชาติพันธุ์สามารถจะสอนในโรงเรียนท้องถิ่นได้จนถึงชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3 หลังจากนั้นต้องเรียนเป็นภาษาอินโดนีเซียทั้งหมด
แม้ว่าจะมีการทำให้ภาษาอินโดนีเซียแพร่หลายและใช้อย่างกว้างขวาง
แต่ก็ไม่สามารถเข้าไปแทนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้
การใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นที่นิยมและเขตเมืองมากกว่าชนบท
ในเขตเมืองคนส่วนมากพูดสองภาษา
คือภาษาอินโดนีเซียกับภาษากลุ่มชาติพันธุ์ของตน
ในขณะที่ในชนบทภาษากลุ่มชาติพันธุ์ถูกใช้มากกว่า อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีการพัฒนาประเทศพร้อมๆ กับการขยายตัวของการศึกษา
ภาษาอินโดนีเซียได้แพร่ไปทั่วประเทศและกลายเป็นภาษาประจำชาติที่ทุกกลุ่ม
ชาติพันธุ์สามารถใช้ในการสื่อสารระหว่างกันและถือเป็นอัตลักษณ์แห่งชาติร่วม
กัน
สัญลักษณ์แห่งชาติ
การรับเอาภาษาอินโดนีเซียโดยกลุ่มผู้นำชาตินิยมก่อนและหลังสงครามโลกครั้ง
ที่สองช่วยพัฒนาภาษาอินโดนีเซียให้เป็นภาษาหนึ่งเดียว ในเวลานั้นคำว่า
“ภาษาแห่งชาติ” ยังไม่ได้หมายถึง “ภาษาอินโดนีเซีย”
ในการประชุมสภาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่สองที่จาการ์ตา กลุ่ม “คนหนุ่ม”
(pemuda)
นักชาตินิยมจากหลายภูมิภาคได้ประสบความสำเร็จในการประกาศสิ่งที่เรียกว่า
“การสาบานของคนหนุ่ม” (sumpah pemuda) ซึ่งปราะกาศว่า
พวกเขาเป็นคนอินโดนีเซีย, มีภาษาเดียวกัน ซึ่งคือภาษาอินโดนีเซีย
และมาตุภูมิเดียวกัน คือแผ่นดินอินโดนีเซีย
หลังจากนี้ได้มีการใช้ธงและเพลงประจำชาติ
กลุ่มองค์กรอิสลามบางกลุ่มปฏิเสธสัญลักษณ์ของ “การสาบานของคนหนุ่ม”
เนื่องจากว่าขบวนการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยผู้นำชาตินิยมที่ไม่ใช่ผู้
นำทางศาสนา อย่างไรก็ตาม หลังสงครามกู้เอกราชกลุ่มต่างๆ
เหล่านี้ได้ยอมรับสัญลักษณ์แห่งชาตินี้อย่างเงียบๆ
ยกเว้นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่พยายามจะจัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น
ปัญจศีลา (Pancasila)
ปัญจศีลาหมายถึง “หลัก 5 ประการ” ประกอบด้วย
1. เชื่อในพระเจ้า
2. ประชาชนที่มีอารยธรรมและความยุติธรรม
3. เอกภาพของอินโดนีเซีย
4. ประชาธิปไตยโดยเห็นพ้องต้องกันผ่านตัวแทน
5. สังคมที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน
หลักปัญจศีลาถูกประกาศใช้ครั้งแรกโดยประธานาธิบดีซูการ์โน
และในสมัยซูการ์โนปัญจศีลาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียน
หลักปัญจศีลาถูกคาดหวังว่าจะใช้กับกลุ่มชาติพันธุ์ในอินโดนีเซียทุกกลุ่ม
เมื่อซูการ์โนหมดอำนาจ การสอนปัญจศีลาในโรงเรียนมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้นในปี 1978
รัฐบาลได้ตั้งองค์กรเพื่อที่จะปลูกฝังอุดมการณ์ปัญจศีลา
เปลี่ยนอุดมการณ์ปัญจศีลาจากหลักปรัชญามาเป็น “อุดมการณ์แห่งชาติ”
สรุป
นโยบายบูรณาการของอินโดนีเซียต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
ในการสร้างอัตลักษณ์แห่งชาติประสบผลสำเร็จในเมืองมากกว่าชนบท
อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์อินโดนีเซียสูญ
สลายไป ตรงกันข้ามในบางแห่งอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์มีความเข้มแข็งมาก
สภาพความเป็นหมู่เกาะของอินโดนีเซียเป็นอุปสรรคสำคัญของการบูรณาการแห่งชาติ
แต่อย่างไรก็ตาม
หากไม่นับกรณีการแยกตัวออกไปของติมอร์ตะวันออกที่ประสบความสำเร็จแล้ว
(ซึ่งกรณีของติมอร์ตะวันออกนี้ถือว่าเป็นกรณีที่พิเศษ
เนื่องจากว่าติมอร์ตะวันออกไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของดัตช์เฉกเช่นดินแดน
อินโดนีเซียอื่นๆ)
อาจกล่าวได้ว่าด้านหนึ่งอินโดนีเซียประสบความสำเร็จในการสร้างเอกภาพแห่ง
ชาติท่ามกลางความหลากหลายขึ้น เพราะเมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราชใหม่ๆ
ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองต่างคาดว่าอินโดนีเซียจะไม่สามารถรักษาความเป็น
เอกภาพหรือความเป็นรัฐเดียวไว้ได้
แต่อินโดนีเซียก็สามารถทำได้สำเร็จโดยการใช้นโยบายทั้งทางด้านภาษา,
การศึกษา, หลักปัญจศีลา ตลอดจนการใช้กองกำลังทหาร
แต่อย่างไรก็ตามความต้องการแยกตัวของดินแดนต่างๆ ก็มีให้เห็นอย่างเช่น
กรณีของอาเจะห์ [7] และอิเรียนจายา เป็นต้น
เชิงอรรถ
[1] Leo Suryadinata, Pribumi Indonesians, The Chinese Minority and
China: A Study of Perceptions and Policies, Heinemann: 1986, 2nd, p. 95.
[2] ผู้ที่เริ่มต้นทฤษฏีนี้คือ Clifford Geertz
แม้ว่าจะมีผู้แย้งว่าการแบ่งกลุ่มมุสลิมในอินโดนีเซียมีความซับซ้อนและไม่
สามารถแบ่งได้เด็ดขาดขนาดนั้น
แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม
มุสลิมในอินโดนีเซีย
[3] Leo Suryadinata, “Government Policy and National Integration in
Indonesia,” Southeast Asian Journal of Social Science, Vol. 16, No. 2
(1988), p. 112.
[4] อินโดนีเซียประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1945
แต่ว่าดัทช์ไม่ยอมรับการประกาศนั้น ทำให้ต้องทำสงครามกู้เอกราชช่วงปี
1945-1949 จนดัทช์รับรองฐานะความเป็นเอกราชของอินโดนีเซียในปี 1949
[5] http://www.intell.rtaf.mi.th/News/ReadNews.asp?Id=4648
[6] Roger Paget, “Indonesian Newspaper 1965-1967,” Indonesia No. 4 (October 1967), pp. 170-210.
[7] ปัจจุบันอาเจะห์กับรัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในปี
2005 ซึ่งได้ยุติการสู้รบที่ดำเนินมายาวนานกว่าสามทศวรรษ
และอาเจะห์ได้รับสิทธิพิเศษในการเป็นจังหวัดที่ปกครองตัวเอง
มีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของตัวเอง รวมถึงการจัดการนโยบายต่างๆ ทั้งทางการเมือง
เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
หมายเหตุ: ขออธิบายที่มาของภาพโลโก้ประจำบล็อกของดิฉัน
สักนิดนะคะ
ดิฉันนำภาพนี้มาจากสกรีนลายเสื้อที่นิสิตหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศึกษา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ซึ่งดิฉันได้รับเชิญให้ไปสอนวิชาเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมอินโดนีเซีย
พวกเค้าได้ออกแบบและนำไปทำเป็นเสื้อยืดเพื่อมอบให้ดิฉันเป็นของขวัญ
โดยได้บรรจุคำขวัญของอินโดนีเซียไว้ในภาพด้วย
ต้องขอขอบคุณนิสิตหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง
ข่าวจากสื่อ
- เครือข่ายประชาธิปไตยแห่ผูกผ้าดำหน้าศาลรธน. จี้ทบทวนมติ
- นายกฯ เปิดงาน"เทศกาลเที่ยวเมืองไทยในปี 2555"
- "ศันสนีย์"โฆษกรัฐบาลคนใหม่เผยพร้อมประชาสัมพันธ์งาน รบ.เชิงรุก
- ชี้ทางออก"ปรองเดือด"สู่"ปรองดอง"
- เสื้อแดงแจ้งธาริตเอาผิดมาร์ค-สุเทพฐานสร้างความปั่นป่วน
- ห่วงบานปลาย คอป.ห้ามทัพ พท.-ศาลรธน.
- นปช.นัดชุมนุมขับไล่ศาล รธน. พร้อมล่ารายชื่อถอดถอนใน 2 สัปดาห์
- "พานทองแท้" สอนมวย "มาร์ค"-จี้ขอโทษประชาชน ฐานปล่อยส.ส.โชว์เถื่อนในสภา
- ใช้ปมแก้รธน. ยุบเพื่อไทย ดูดสส.ตั้งรบ.
- "สมศักดิ์ เจียมฯ" เสนอรบ.-สภา "ชน" ศาลรธน. จี้พท.-นปช.ทบทวนยุทธศาสตร์การเมืองทั้งหมด
- นิติราษฎร์" แถลงชี้-ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- นิติราษฎร์แถลงชี้คำสั่งศาลรธน.ชะลอแก้รธน. 'ไร้อำนาจ'
- งามแต้ๆ เจ้า! "นายกฯ ปู" แต่งชุดพื้นเมือง-ผ้าซิ่นสีชมพูแอ่วเมืองพะเยา ปชช.แห่ต้อนรับเพียบ (ชมภาพชุด)
- กกต.เชียงใหม่เตรียมรับรองผลเลือกตั้งส.ส.ใน 7 วัน-"เกษม" ขอบคุณปชช.
- "จาตุรนต์"ปลุกกระแสต้าน"รัฐประหาร" ชี้ปม"ศาลรัฐธรรมนูญ"สั่งสภาฯระงับพิจารณาร่างรธน.
- “จาตุรนต์” ชี้ อำนาจประชาชนถูกปล้น- “ชนชั้นนำ” ไม่อยากปรองดอง - คาดเกิด “ยุบพรรค” อีกรอบ
- "ปู"ทำบุญเปิดหอฉันวัดเชียงบาน ชาวพะเยากว่า2,000คนต้อนรับแน่น
- อาจารย์เกษียร เสียดาย "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" คิดได้แค่นี้หรือ..!?!
- ขึ้นป้ายไล่"หมอวรงค์"ทำคนพิษณุโลกอับอาย
- โลกออนไลน์ เบื่อหน่ายพฤติกรรม ส.ส. ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภา
- "เรืองไกร" ฉวย! ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินสอบ "ณัฎฐ์" ดูคลิปหวิวในสภา อ้างนำความเสื่อมเสียมาสู่สภาฯ
- แกนนำนปช...."อย่าเป็นวัวลืมตีน"
- ข่าว"เหตุเกิดในมาเลเซีย" ข่าว"เมด อิน ไทยแลนด์" ข่าวกระพือ"ไฟใต้"
- "ณัฐวุฒิ" สวน "กรณ์" ขวางปรองดอง-ไม่ทวงข้อเท็จจริง "10เมษา" ตั้งแต่ยุค "รบ.อภิสิทธิ์"(ชมคลิป)
- เสียงก้องจาก 2 กูรู "ตุลาการ" ไม่มีอคติ ไม่มีล็อบบี้ ไม่มีใบสั่ง
- "ทักษิณ"เข้าสักการะพระธาตุหลวง-เผยซึ้งใจได้ทำบุญ แกนนำแดง อดีต ส.ส. แห่รับพรึบ (ชมคลิป)
- "จตุพร" ท้าตั้ง คตส.ตรวจสอบการทำงาน "มาร์ค-ชวน" เหมือนกับที่ทำกับ "ทักษิณ" ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
- "หาดใหญ่"อ่วมซ้ำ ไฟไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์กลางเมืองวอดเรียบ!
- "ทักษิณ"ทำบุญสีบชะตาที่ลาว ลั่นไม่นานเกินรอกลับไทย ขบวนแดงแห่ร่วมคึก
- “แม้ว” ทำบุญในลาวแฟนคลับเสื้อแดงแห่รับเพียบ
บทความจากสื่อ
- ประชาธิปัตย์...เปลี่ยนเถอะ !โดย ฐากูร บุนปาน
- กฤษฎีกาชี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งชะลอลงมติร่าง รธน.วาระ 3 ไม่เคยเกิดขึ้นในโลก บอกไร้ช่องทางต่อสู้
- เกม"แก้ รธน.291" สภาชน"ศาลรัฐธรรมนูญ" เกมค่ายกล′ยุบพรรค′?
- ปัญหา"มาตรา68" สกัด"ร่างแก้ไขรธน. แหลมคมจาก"นิติราษฎร์"
- งามหน้าสภาไทย ! เมื่อท่านประธานฯ ถูกจี้คาบัลลังก์
- แกะกล่อง "หัวใจสองสี" ขัตติยา สวัสดิผล
- "ทักษิณ-เพื่อไทย"ปรับแผน เปลี่ยน"รูปมวย"...รู้จัก"รอ" ย้ำภาพ"ฝ่ายมีเปรียบ"
- ฐากูร บุนปาน : เจรจา-ผิดตรงไหน?
- พระราชทานเครื่องราชฯ 'มหาปรมาภรณ์' แก่นายกฯ
- ซ่อนหลัง"หน้ากาก"
- ดร.โกร่ง คนเดินตรอก : การบริหารจัดการมหเศรษฐกิจ
- ยอดคลิกทะลุ! รวมข่าวที่มีคนอ่านมากที่สุดใน "มติชนออนไลน์" ประจำวันที่ 6เม.ย.2555
- วิเคราะห์ปัญหา-ค้นคว้าทางออกของเหตุความรุนแรงภาคใต้กับ "ชัยวัฒน์-รอมฎอน"
- ปฏิบัติการ "ป๋า" ภาค 2 สู้ "นารีพิฆาต" กับปากคำ "บิ๊กบัง" เรื่อง "ป๋า" และการเมืองแสนซับซ้อน ในมุม "ประยุทธ์"
- กลุ่มสตรีมองปมร้อน'โฟร์ซีซั่นส์'
- ดูกันชัดๆ บทบาทฝ่ายค้าน เล่นของ ว. 5 ปักทิ่ม ยิ่งลักษณ์ เอาให้ตาย!!
- ต่อสู้ 2 แนวทาง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ กรณี โฟร์ซีซั่นส์
- นิวัฒน์ธำรง-ลงธรรมาสน์ ธุดงค์ในทำเนียบ เผยแพร่ลัทธิเพื่อไทย กางสูตรรัฐบาล + พล.อ.เปรม = การเมืองนิ่ง
- ยกร่าง′รัฐธรรมนูญ′ และความห่วงใย ล็อกสเปก′สภาร่างฯ′
- "กุนซือ" คิด "ปคอป." พูด ข้อมูล-คีย์เวิร์ด "เยียวยา"