ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 6 October 2012

เราคงรู้จักภาพๆ นั้น "เค้าชื่อเปี๊ยก วิชิตชัย อมรกุล"

ที่มา Thai E-News


โปสเตอร์โดย เก้อ น่ะ

เราคงรู้จักภาพๆนั้น
เก้าอี้ที่ลอยเด่น ผู้คนยืนดูยิ้มแย้ม
อยู่รายรอบเด็กหนุ่มคนหนึ่ง
เด็กหนุ่มผู้ซึ่งล่องลอยอยู่กลางภาพ


เค้าชื่อเปี๊ยก วิชิตชัย อมรกุล
จากบ้านเกิดที่ จ.อุบลราชธานี มาเรียนต่อ
ที่กรุงเทพมหานคร จากเตรียมอุดม
ปี 2518 สอบติดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ท่ามกลางความดีใจของญาติพี่น้อง

“ไปมาแล้ว เดี๋ยวจะกลับไปอีก จะซื้อข้าวไปให้เขากิน”
เปี๊ยกคุยกับเพื่อนก่อนขนข้าวไปให้พวกที่ธรรมศาสตร์
เป็นอาหารมื้อเที่ยงของวันที่ 5 ตุลาคม 2519
พอช่วงบ่ายๆเปี๊ยกเอารถมาคืน แล้วก็จากไป
นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่เพื่อนๆ ได้เห็นหน้าเขา...ในสภาพปกต

แม้จะอยู่ไกลถึง จ.อุบล แต่พ่อของวิชิตชัย
รีบเดินทางจากอุบลมายังกรุงเทพ ตั้งแต่เหตุการณ์
ส่อเค้าความรุนแรงและข่าวถูกเผยแพร่ไปทั่วประเทศ
พ่อของเค้าไล่ค้นหาที่สถานีตำรวจ โรงพยาบาล
แต่ไม่พบแม้เงาร่างของลูกชา

จนคุณพ่อตัดสินใจขอเข้าดูดูศพเผู้สียชีวิต แต่ก็ไม่พบอีก
ดูเหมือนความหวังจะเลือนรางเต็มที แต่เพื่อนสนิท
ของวิชิตชัยอาสามาช่วยดูอีกรอบ ในที่สุดเพื่อนก็
มาหยุดที่ร่างหนึ่งที่ใบหน้าแหลกเหลว มีเชือกผูกคอ
เขาสังเกตเห็นรองเท้าที่มีรอยซ่อม รองเท้ากีฬาคู่โปรดของวิชิตชัย

พ่อของเด็กหนุ่มเข่าอ่อนร่วงลงที่ตรงนั้น
.......

36 ปีต่อมา
เขายังอยู่ที่ไหนสักแห่ง แม้จะซ่อนตัวอยู่ในความหลงลืม
แน่ล่ะว่าเราอยากลืมเขา เราอยากหลอกตัวเอง
เราอยากบอกตัวเองว่าสังคมเรานี้ดี ไม่เคยมีสิ่งนี้เกิดขึ้น
ยิ่งกว่านั้น เรากลัวที่จะรู้ว่าเพราะอะไรหรือใคร?

เราจึงซุกซ่อนมันเอาไว้ในมุมที่ลึกที่สุด
แต่ยิ่งซ่อน มันกลับยิ่งผุดพราย
36 ปีผ่านไป บนโลกอีกใบที่เรียกว่า Facebook

เด็กหนุ่มคนนั้นก็กลับมามีชีวิตอีกครั้ง.

------------
เรียบเรียงจาก ตุลากาล, ตุลาคม 2539
และ www.2519.net