ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ สตช.และสำนักนายกฯ
ชดใช้ให้กับผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 250 ราย
จากกรณีตำรวจสลายการชุมนุมของกลุ่ม พธม.ที่ล้อมสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม
2551
ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ วันที่ 5 ตุลาคม นางสิริกาญจน์ พานพิทักษ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวนและองค์คณะ มีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ 1569/2552 ที่นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 ราย ซึ่งเป็นประชาชนที่สูญเสียอวัยวะสำคัญและได้รับบาดเจ็บ จากกรณีเจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 เรื่องหน่วยงานทางปกครองกระทำละเมิด จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุมของกลุ่ม พธม. ที่ล้อมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้นำอาวุธชนิดต่างๆ ที่มีอันตรายมาในการสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากล จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญฯปี 2550 มาตรา 63 บัญญัติให้บุคคลมีเสรีภาพการชุมนุมได้โดยสงบและปราศจากอาวุธ ขณะที่ข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม และฝ่ายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ตามรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ยืนยันสอดคล้องต้องกันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น. ได้นำอาวุธปืนวัตถุระเบิดชนิดต่างๆ ซึ่งมีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานสากล ที่ต้องเริ่มจากการเจรจาการต่อรอง หากไม่สำเร็จ จึงจะใช้มาตรการสลายการชุมนุมจากเบาไปหาหนัก โดยใช้โล่กำบังผลักดันผู้ชุมนุม ถ้าไม่ได้ผลให้ใช้น้ำฉีดจากรถดับเพลิงเพื่อเปิดทาง หากไม่ได้ผล จึงให้ใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องประกาศถึงขั้นตอนดังกล่าวให้ผู้ชุมนุมทราบก่อน
จากคำให้การของผู้ชุมนุม ผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องสอด กลุ่มสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่พยาบาลและทีมแพทย์สนามยืนยันว่า ไม่ได้ยินเสียงประกาศแจ้งเตือนแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้มาตรการการควบคุมผู้ชุมนุมจากเบาไปหาหนัก ตามแผนที่วางไว้ ขณะที่ น.อ.อ.พงษ์ศักดิ์ เกื้อการุณ ผู้อำนวยการกองวิทยาการ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยืนยันว่า การใช้แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ต้องขว้างให้ตกจากฝูงชนมากกว่า 3 เมตร ในทิศเหนือลม ส่วนการยิงควรใช้มุมยิง 25-45 องศา ให้ห่างจากฝูงชน 60-90 เมตร ซึ่งทั้งสองวิธีไม่ควรเล็งไปยังบุคคลโดยตรง แต่ข้อเท็จจริงจากพยานกลุ่มต่างๆ ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงและขว้างแก๊สน้ำตาไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมโดยตรง และยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และรถพยาบาลที่มีเครื่องหมายกาชาดไทย ที่สามารถมองเห็นได้ไกลถึง 100 เมตร ขณะที่ผลการทดสอบขว้างแก๊สน้ำตาที่ใช้ในการสลายการชุมนุมพบว่า ทำให้พื้นสนามเป็นหลุม ขนาด 8 คูณ 8 คูณ 3 เซนติเมตร และเป็นหลุมขนาด 16 คูณ 16 คูณ 8 เซนติเมตร และพบสารอาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฉีกทำลายล้าง หากเกิดกับร่างกายมนุษย์ย่อมฉีกขาดและทำลายอวัยวะได้เช่นกัน
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังมีทัศนคติในทางลบกับผู้ชุมนุม ผ่านคำพูดในการเข้าสลายการชุมนุมว่า "มันอยู่ได้ ให้มันอยู่ไป ยิงเข้าไป เดินเข้าไป ลุยเข้าไป" "บาดแผลแค่นี้ไม่ตายหรอก" แสดงให้เห็นว่าแผนกรกฏ 2548 ที่นำมาใช้เป็นเพียงการอ้างหลักตามมาตรฐานสากล แต่การปฏิบัติงานจริงไม่ได้เป็นไปตามหลักการให้ความเมตตาผู้มีความคิดเห็น ทางการเมืองที่แตกต่างตามที่เขียนแผนปฏิบัติการไว้ เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังได้เป็นที่ยุติว่ารัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30 น. โดย ส.ส.และคณะรัฐมนตรี ออกจากสภาเสร็จสิ้นตั้งแต่เวลา 18.00 น.แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. แต่อย่างใด และเมื่อพิเคราะห์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และความเห็นของคณะกรรมการป้องกันละปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงเห็นว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายต่อผู้ชุมนุม
ข้ออ้างที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ระบุว่า การใช้แก๊สน้ำตาเพราะผู้ชุมนุมใช้หนังสติ๊กยิงด้วยลูกแก้ว กระบอง ธงด้ามเหล็ก ไม้เบสบอล ทำร้ายเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายนายนั้น เห็นว่าการใช้แก๊สน้ำตายิงและขว้างของเจ้าหน้าที่และการใช้อาวุธปืนชนิด ต่างๆ ยิงทำร้ายผู้ร่วมชุมนุม ได้รับอันตรายถึงชีวิตและบาดเจ็บรวม 1,003 คน ส่วนเจ้าหน้าตำรวจได้รับบาดเจ็บเพียง 78 นาย โดยสาหัส 9 นาย ขณะที่ข้อเท็จจริงพบว่าในวันดังกล่าวมีผู้ชุมนุมหลายหมื่นคน หากผู้ชุมนุมถูกปลุกระดมให้ทำร้ายหรือทำลายสถานที่ราชการ หรือบุกจับ ส.ส.และ ครม.ตามที่อ้าง ลำพังกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียง 2,500 นาย คงไม่อาจต้านทานได้ ดังนั้น ข้ออ้างว่ามีการทำลายสถานที่ราชการบุกจับตัวประกันจึงเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุสลายการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยรูปแบบ ขั้นตอนความแบบกรกฎาคม 2548
ขณะที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว สังกัดผู้ถูกฟ้องที่ 1 ต่างยืนยันสอดคล้องกันว่า นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น สังกัดผู้ถูกฟ้องที่ 2 ประชุม ครม.และมีมติในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 ว่าจะต้องประชุมรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 และสั่งการให้ผู้ถูกสั่งฟ้องที่ 1 ผลักดันผู้ร่วมชุมนุมที่ปิดล้อมรัฐสภาให้ออกไป เพื่อจะให้มีการแถลงนโยบายในวันดังกล่าวให้ได้ ดังนั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตร.สังกัดผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม แล้วผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของนายสมชาย พล.อ.ชวลิต และ พล.ต.อ.พัชรวาท จึงต้องรับผิดที่เกิดจากการกระทำละเมิดเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งในการสลายการชุมนุมเกิดตั้งแต่เช้าถึงค่ำรวม 4 ครั้ง แต่นายสมชาย นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจ แม้จะประชุมสภาเสร็จในเวลา 11.30 น. เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องที่ 1 ก็ยังคงใช้กำลังและอาวุธในการสลายการชุมนุม
ผู้ถูกฟ้องทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้อง ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายให้กับผู้รับความเสียหายนั้นตามมติ ครม.วันที่ 10 มกราคม 2555 เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อ และผู้เสียหายตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการ เมือง ซึ่งศาลเห็นควรให้ผู้ถูกร้องทั้ง 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องที่ 1 เป็นเงิน 5,190,964.80 บาท ผู้ฟ้องที่ 2 จำนวน 2,250,650 บาท ผู้ฟ้องที่ 3 จำนวน 1 แสนบาท ผู้ฟ้องที่ 4 จำนวน 160,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 5 เป็นเงิน 256,435 บาท ผู้ฟ้องที่ 6 จำนวน 3,711,894 บาท ผู้ฟ้องที่ 7 จำนวน 30,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 8 จำนวน 3,053,363 บาท ผู้ฟ้องที่ 9 จำนวน 3,303,540 บาท ผู้ฟ้องที่ 10 จำนวน 165,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 11 จำนวน 120,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 12 จำนวน 524,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 13 จำนวน 75,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 14-19 และ 22 รวม 7 ราย รายละ 50,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 20 จำนวน 155,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 21 จำนวน 70,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 23 จำนวน 300,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 24-25 รายละ 120,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 28 จำนวน 1,942,710 บาท ผู้ฟ้องที่ 29 จำนวน 120,840 บาท
ส่วนผู้ฟ้องที่ 26-27,30-32, 33-44, 46-54, 55-133, 135-250, และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้เสียหายด้วยอีก 5 ราย รายละ 50,000 บาท และผู้ฟ้องที่ 134 จำนวน 8,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 จนกว่าจะทำการชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุด หากผู้ฟ้องและผู้ร้องสอดใดๆ ได้รับเงินทดแทนเยียวยาความเสียหายจากหน่วยงานของรัฐตามมติ ครม.ในวันที่ 10 มกราคม 2555 ไปแล้ว ยังให้มีสิทธิรับค่าทดแทนส่วนที่เหลือตามคำพิพากษาได้ และหากภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ผู้ฟ้องหรือผู้ร้องสอดรายใดยังต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ศาลยังสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาส่วนนี้เพิ่มเติมได้
ส่วนนายประเสริฐ แก้วกระโทก ผู้ฟ้องที่ 45 ซึ่งอ้างว่าได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมนั้น ข้อเท็จจริงจากมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ระบุว่า ผู้ฟ้องถูกกลุ่มเสื้อแดงดักทำร้ายขณะรถติดไฟแดง ที่ถนนวิภาวดีซอย 3 ด้วยอาวุธไม้ท่อนทุบตีและใช้มีดฟันมือ เบื้องต้นมูลนิธิได้จ่ายค่ารักษาให้จำนวน 90,000 บาท เมื่อกรณีไม่ได้ถูกกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศาลจึงไม่กำหนดค่าเสียหายให้ และพิพากษาให้ยกฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำพิพากษานี้ ยังเป็นเพียงศาลปกครองชั้นต้น หากคู่ความไม่พอใจยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน
ที่มา: มติชนออนไลน์
ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ วันที่ 5 ตุลาคม นางสิริกาญจน์ พานพิทักษ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวนและองค์คณะ มีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ 1569/2552 ที่นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 ราย ซึ่งเป็นประชาชนที่สูญเสียอวัยวะสำคัญและได้รับบาดเจ็บ จากกรณีเจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 เรื่องหน่วยงานทางปกครองกระทำละเมิด จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุมของกลุ่ม พธม. ที่ล้อมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้นำอาวุธชนิดต่างๆ ที่มีอันตรายมาในการสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากล จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญฯปี 2550 มาตรา 63 บัญญัติให้บุคคลมีเสรีภาพการชุมนุมได้โดยสงบและปราศจากอาวุธ ขณะที่ข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม และฝ่ายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ตามรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ยืนยันสอดคล้องต้องกันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น. ได้นำอาวุธปืนวัตถุระเบิดชนิดต่างๆ ซึ่งมีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานสากล ที่ต้องเริ่มจากการเจรจาการต่อรอง หากไม่สำเร็จ จึงจะใช้มาตรการสลายการชุมนุมจากเบาไปหาหนัก โดยใช้โล่กำบังผลักดันผู้ชุมนุม ถ้าไม่ได้ผลให้ใช้น้ำฉีดจากรถดับเพลิงเพื่อเปิดทาง หากไม่ได้ผล จึงให้ใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องประกาศถึงขั้นตอนดังกล่าวให้ผู้ชุมนุมทราบก่อน
จากคำให้การของผู้ชุมนุม ผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องสอด กลุ่มสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่พยาบาลและทีมแพทย์สนามยืนยันว่า ไม่ได้ยินเสียงประกาศแจ้งเตือนแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้มาตรการการควบคุมผู้ชุมนุมจากเบาไปหาหนัก ตามแผนที่วางไว้ ขณะที่ น.อ.อ.พงษ์ศักดิ์ เกื้อการุณ ผู้อำนวยการกองวิทยาการ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยืนยันว่า การใช้แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ต้องขว้างให้ตกจากฝูงชนมากกว่า 3 เมตร ในทิศเหนือลม ส่วนการยิงควรใช้มุมยิง 25-45 องศา ให้ห่างจากฝูงชน 60-90 เมตร ซึ่งทั้งสองวิธีไม่ควรเล็งไปยังบุคคลโดยตรง แต่ข้อเท็จจริงจากพยานกลุ่มต่างๆ ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงและขว้างแก๊สน้ำตาไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมโดยตรง และยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และรถพยาบาลที่มีเครื่องหมายกาชาดไทย ที่สามารถมองเห็นได้ไกลถึง 100 เมตร ขณะที่ผลการทดสอบขว้างแก๊สน้ำตาที่ใช้ในการสลายการชุมนุมพบว่า ทำให้พื้นสนามเป็นหลุม ขนาด 8 คูณ 8 คูณ 3 เซนติเมตร และเป็นหลุมขนาด 16 คูณ 16 คูณ 8 เซนติเมตร และพบสารอาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฉีกทำลายล้าง หากเกิดกับร่างกายมนุษย์ย่อมฉีกขาดและทำลายอวัยวะได้เช่นกัน
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังมีทัศนคติในทางลบกับผู้ชุมนุม ผ่านคำพูดในการเข้าสลายการชุมนุมว่า "มันอยู่ได้ ให้มันอยู่ไป ยิงเข้าไป เดินเข้าไป ลุยเข้าไป" "บาดแผลแค่นี้ไม่ตายหรอก" แสดงให้เห็นว่าแผนกรกฏ 2548 ที่นำมาใช้เป็นเพียงการอ้างหลักตามมาตรฐานสากล แต่การปฏิบัติงานจริงไม่ได้เป็นไปตามหลักการให้ความเมตตาผู้มีความคิดเห็น ทางการเมืองที่แตกต่างตามที่เขียนแผนปฏิบัติการไว้ เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังได้เป็นที่ยุติว่ารัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30 น. โดย ส.ส.และคณะรัฐมนตรี ออกจากสภาเสร็จสิ้นตั้งแต่เวลา 18.00 น.แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. แต่อย่างใด และเมื่อพิเคราะห์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และความเห็นของคณะกรรมการป้องกันละปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงเห็นว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายต่อผู้ชุมนุม
ข้ออ้างที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ระบุว่า การใช้แก๊สน้ำตาเพราะผู้ชุมนุมใช้หนังสติ๊กยิงด้วยลูกแก้ว กระบอง ธงด้ามเหล็ก ไม้เบสบอล ทำร้ายเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายนายนั้น เห็นว่าการใช้แก๊สน้ำตายิงและขว้างของเจ้าหน้าที่และการใช้อาวุธปืนชนิด ต่างๆ ยิงทำร้ายผู้ร่วมชุมนุม ได้รับอันตรายถึงชีวิตและบาดเจ็บรวม 1,003 คน ส่วนเจ้าหน้าตำรวจได้รับบาดเจ็บเพียง 78 นาย โดยสาหัส 9 นาย ขณะที่ข้อเท็จจริงพบว่าในวันดังกล่าวมีผู้ชุมนุมหลายหมื่นคน หากผู้ชุมนุมถูกปลุกระดมให้ทำร้ายหรือทำลายสถานที่ราชการ หรือบุกจับ ส.ส.และ ครม.ตามที่อ้าง ลำพังกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียง 2,500 นาย คงไม่อาจต้านทานได้ ดังนั้น ข้ออ้างว่ามีการทำลายสถานที่ราชการบุกจับตัวประกันจึงเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุสลายการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยรูปแบบ ขั้นตอนความแบบกรกฎาคม 2548
ขณะที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว สังกัดผู้ถูกฟ้องที่ 1 ต่างยืนยันสอดคล้องกันว่า นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น สังกัดผู้ถูกฟ้องที่ 2 ประชุม ครม.และมีมติในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 ว่าจะต้องประชุมรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 และสั่งการให้ผู้ถูกสั่งฟ้องที่ 1 ผลักดันผู้ร่วมชุมนุมที่ปิดล้อมรัฐสภาให้ออกไป เพื่อจะให้มีการแถลงนโยบายในวันดังกล่าวให้ได้ ดังนั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตร.สังกัดผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม แล้วผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของนายสมชาย พล.อ.ชวลิต และ พล.ต.อ.พัชรวาท จึงต้องรับผิดที่เกิดจากการกระทำละเมิดเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งในการสลายการชุมนุมเกิดตั้งแต่เช้าถึงค่ำรวม 4 ครั้ง แต่นายสมชาย นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจ แม้จะประชุมสภาเสร็จในเวลา 11.30 น. เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องที่ 1 ก็ยังคงใช้กำลังและอาวุธในการสลายการชุมนุม
ผู้ถูกฟ้องทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้อง ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายให้กับผู้รับความเสียหายนั้นตามมติ ครม.วันที่ 10 มกราคม 2555 เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อ และผู้เสียหายตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการ เมือง ซึ่งศาลเห็นควรให้ผู้ถูกร้องทั้ง 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องที่ 1 เป็นเงิน 5,190,964.80 บาท ผู้ฟ้องที่ 2 จำนวน 2,250,650 บาท ผู้ฟ้องที่ 3 จำนวน 1 แสนบาท ผู้ฟ้องที่ 4 จำนวน 160,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 5 เป็นเงิน 256,435 บาท ผู้ฟ้องที่ 6 จำนวน 3,711,894 บาท ผู้ฟ้องที่ 7 จำนวน 30,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 8 จำนวน 3,053,363 บาท ผู้ฟ้องที่ 9 จำนวน 3,303,540 บาท ผู้ฟ้องที่ 10 จำนวน 165,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 11 จำนวน 120,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 12 จำนวน 524,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 13 จำนวน 75,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 14-19 และ 22 รวม 7 ราย รายละ 50,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 20 จำนวน 155,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 21 จำนวน 70,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 23 จำนวน 300,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 24-25 รายละ 120,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 28 จำนวน 1,942,710 บาท ผู้ฟ้องที่ 29 จำนวน 120,840 บาท
ส่วนผู้ฟ้องที่ 26-27,30-32, 33-44, 46-54, 55-133, 135-250, และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้เสียหายด้วยอีก 5 ราย รายละ 50,000 บาท และผู้ฟ้องที่ 134 จำนวน 8,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 จนกว่าจะทำการชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุด หากผู้ฟ้องและผู้ร้องสอดใดๆ ได้รับเงินทดแทนเยียวยาความเสียหายจากหน่วยงานของรัฐตามมติ ครม.ในวันที่ 10 มกราคม 2555 ไปแล้ว ยังให้มีสิทธิรับค่าทดแทนส่วนที่เหลือตามคำพิพากษาได้ และหากภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ผู้ฟ้องหรือผู้ร้องสอดรายใดยังต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ศาลยังสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาส่วนนี้เพิ่มเติมได้
ส่วนนายประเสริฐ แก้วกระโทก ผู้ฟ้องที่ 45 ซึ่งอ้างว่าได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมนั้น ข้อเท็จจริงจากมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ระบุว่า ผู้ฟ้องถูกกลุ่มเสื้อแดงดักทำร้ายขณะรถติดไฟแดง ที่ถนนวิภาวดีซอย 3 ด้วยอาวุธไม้ท่อนทุบตีและใช้มีดฟันมือ เบื้องต้นมูลนิธิได้จ่ายค่ารักษาให้จำนวน 90,000 บาท เมื่อกรณีไม่ได้ถูกกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศาลจึงไม่กำหนดค่าเสียหายให้ และพิพากษาให้ยกฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำพิพากษานี้ ยังเป็นเพียงศาลปกครองชั้นต้น หากคู่ความไม่พอใจยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน
ที่มา: มติชนออนไลน์