ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 8 October 2012

"อ๋อย" แถลงสับรายงาน "คอป." ไม่ปรองดอง แนะ 3 ข้อ ยึด 6ตุลาโมเดล นิรโทษ ปชช.ทั่วไปเว้นแกนนำ

ที่มา มติชน

 


เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่โรงแรมอมารี เอเทรียม ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงข่าว"จาก 6 ตุลา 19 ถึงรายงาน คอป." ตอนหนึ่งว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2553  มีความเหมือนกัน คือเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อประชาชน รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีทั้งข้อดีและจุดบกพร่อง โดยรวมรายงานของ คอป.มีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อศึกษารายงานของคอป.แล้วมีข้อผิดพลาดและข้อจำกัดซึ่งไม่นำพาประเทศไป สู่ความปรองดอง ดังนั้น รายงานของคอป.จึงไม่ใช่รายงานฉบับสุดท้ายที่สังคมสามารถฝากความหวังให้เกิด ความปรองดองได้

"รายงานคอป. กลับเน้นชายชุดดำ โดยไม่ได้บอกว่าคือใครอยู่ฝ่ายไหนกันแน่ เพิ่มความชอบธรรมให้กับรัฐในการจัดการชุมนุม ทั้งที่โดยหลักการแล้ว แม้ว่าจะมีชายชุดดำจริง เป็นใคร ทำอะไรไม่ได้ค้นหาแต่เรื่องนี้แม้มีชายชุดดำจริงรัฐก็ไม่มีความชอบธรรม ที่จะใช้ความรุนแรงต่อประชาชนให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ชุดความจริงสาเหตุรากเหง้าความขัดแย้ง โดยเน้นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์อย่างกว้างแล้วไม่ลงลึก  ระยะความขัดแย้งปรากฎในการช่วงชิงอำนาจ คอป.ใช้ประเด็นนำมาเรียงต่อกัน แล้วบอกว่าปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระตุ้นซ้ำกัน  คอป.เน้นเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารอย่างหนักแน่น ใช้เนื้อหายาวมาก พอมาถึงรัฐประหาร คอป.พูดถึงเพียงไม่กี่คำ แล้วพูดถึงรัฐประหารว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงเช่นกัน เพราะขัดขวางต่อการแก้ปัญหาประชาธิปไตยข้อความนี้เบามาก" นายจาตุรนต์ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า เมื่อข้อเสนอคอป.ไม่เพียงพอให้สังคมไทยพ้นวิกฤต ตนมีข้อเสนอที่จะเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1.เสนอว่าเมื่อรายงานคอป.ยังค้นหาได้ไม่พอ ควรส่งเสริมให้ค้นคว้าหาความจริงเพิ่มเติมต่อไป ทั้งในส่วนเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงและรากเหง้าสาเหตุความขัดแย้งใน สังคม การค้นหาความจริงอาจทำเหมือนที่คอป.ทำแต่ทำเพิ่มเติมข้อมูลข้อเท็จจริง หรือตามที่ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) ทำก็ได้ นอกจากนั้น อาจส่งเสริมให้หลายฝ่ายที่ใส่ใจค้นหาความจริง ได้ทำมากขึ้นโดยฝ่ายรัฐจะส่งเสริมสนับสนุนให้ความร่วมมือ และนำข้อค้นพบรวบรวมและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ จะหวังจากรายงานไม่ได้แล้วหาคนกลางที่ยอมรับจากสังคมคงยาก ดังนั้นควรเปลี่ยนแนวให้หลายฝ่ายค้นหาความจริงแล้วให้สังคมศึกษาเรียนรู้ ถ้าเป็นเรื่องทางการเมืองให้ประชาชนใช้วิจารณญาณตัดสินใจ

"2.ข้อเสนอใดของคอป.เป็นประโยชน์มีความเห็นแตกต่างน้อยก็ดำเนินการไป เลย โดยบทเรียนจาก 6 ตุลาก็เป็นประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การนิรโทษกรรม ซึ่งผมคิดว่าคอป.และหลายฝ่ายก็ยังไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เป็นแกน นำตัวการสำคัญทั้งหลาย ซึ่งคิดว่าคงยังไม่เหมาะน่าจะยังไม่รีบดำเนินการ แต่กรณี 6 ตุลา แม้นิรโทษจะนิรโทษผู้มีอำนาจ แต่ผู้ได้รับอานิสงส์คือประชาชนทั่วไป ดังนั้น ถ้าจะศึกษา 6 ตุลานำแง่มุมมาใช้ควรนิรโทษกรรมประชาชนที่ไม่ใช่แกนนำไปก่อน ส่วนจะนิรโทษกรรมผู้อื่นส่วนอื่นอย่างไรต้องใช้เวลา"นายจาตุรนต์กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า  3.กรณีเห็นว่าเรื่องจำเป็นต้องทำเช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ เมื่อยังมีความเห็นต่างกันควรมีกระบวนการรับความเห็นใช้ประชามติหาข้อยุติ ที่เห็นต่างจาก คอป. ประเด็นที่จำเป็นต้องทำควรจะเร่งดำเนินการให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ไม่ใช่ทำเป็นเรื่องระยะยาวไม่รู้กี่ปีจะทำ เพราะอาจทำให้วิกฤตปะทุขึ้นมาได้อีก" นายจาตุรนต์ กล่าว