เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม 2551 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ไปในการพระราชทานเพลิงศพนางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดการชุมนุมและปะทะกับเจ้าหน้าที่ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ณ เมรุวัดศรีประวัติ ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
8 สิงหาคม 2555
13 ตุลา 51 เย็นศิระ เพราะพระบริบาล
พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร-เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม 2551 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ไปในการพระราชทานเพลิงศพนางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดการชุมนุมและปะทะกับเจ้าหน้าที่ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ณ เมรุวัดศรีประวัติ ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
ใน โอกาสดังกล่าวนายจินดา ระดับปัญญาชาติวุฒิ บิดาของนางสางอังคณา พร้อมด้วยนางสาวดารณี นางสาววิชชุดา บุตรสาวทั้งสองเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พลับพลาที่ประทับ
สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับครอบครัวระดับปัญญาวุฒิ ประมาณ 15 นาที ก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ
หลัง จากที่ทั้งสองพระองค์เสด็จฯกลับ นายจินดาให้สัมภาษณ์ โดยที่หนังสือพิมพ์มติชนรายงานว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า นางสาวอังคณาเป็นคนดีเป็นคนเก่ง และขอชื่นชมที่ได้ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ขอเป็นกำลังใจให้ครอบ ครัวสู้ต่อไป
"พระองค์ทรงรับสั่งว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนางสาวอังคณา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับรู้เรื่องราวโดยตลอด รวมทั้งกรณีพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทรัพย์ช่วยเหลือมาด้วย ซึ่งผมและครอบครัวระดับปัญญาวุฒิรู้สึกภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้
ที่ทั้งสองพระองค์เสด็จในงานพระราชทานเพลิงของลูกสาว ซึ่งผมและครอบครัวจะน้อมนำเอาพระราชดำรัสที่ทรงห่วงใยมาเป็นกำลังใจในการ ดำเนินชีวิตต่อไป"
ต่อมานายจินดาให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า
"พระองค์ตรัสว่า อังคณาเขาทำดีน่ะ รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์ท่านตรัสว่า เสียใจไม่น่าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เลย"
"สมเด็จพระราชินีทรงถามสารทุกข์สุกดิบของครอบครัว พระองค์ตรัสถามถึงอาการของภรรยาผมเป็นอย่างไรบ้าง ผมทูลฯตอบไปว่า รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช อยู่ในพระราชินูปถัมภ์ พระองค์ท่านยังทรงกล่าวอีกว่า ยังไงก็ต้องมางานนี้ เพราะทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระองค์ด้วย"
พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า
"ตี๋ ชิงชัย" วาดพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ ด้วยมือซ้าย
พระ มหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯต่อพสกนิกรนั้นยังแผ่ไพศาลต่อมาอย่างสืบ เนื่อง ในคราววันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหามหาราชินีเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2552 เวบไซต์ผู้จัดการASTV รายงาน ข่าวว่า "พระราชินีตรัสชื่นชม"ตี๋ ชิงชัย"วาดพระสาทิสลักษณ์"เก่งมาก" โดยรายละเอียดข่าวมีว่า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ หรือ ตี๋ ชิงชัย ศิลปินผู้สูญเสียมือขวาจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 พร้อมภรรยาเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่นายชิงชัยวาดด้วยมือซ้าย ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า "เก่งมาก"
พระ บรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผลงานการวาดด้วยมือซ้ายของนายชิงชัย อุดมเจริญกิจ ศิลปินผู้สูญเสียมือขวาจากเหตุการณ์ 7 ตุลา 51
"ตี๋ ชิงชัย" เป็นหนึ่งในศิลปินนักสู้ที่เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมนั้น "ตี๋ ชิงชัย" ถูกระเบิดแก๊สน้ำตาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมือข้างขวาที่เคยใช้วาดรูป ขาดกระจุยและกล่องเสียงถูกทำลาย แต่มีตำรวจบางคนและสื่อมวลชนบางฉบับ ได้รายงานว่านายชิงชัยว่ากำระเบิดมาเอง แต่ผู้จัดการASTVระบุว่า ในความเป็นจริงสิ่งที่เขากำอยู่ในมือคือพวงกุญแจหนัง
พสกนิกร ไทยต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า นับเป็นบุญที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ได้อาศัยพระบรมโพธิสมภารเป็นที่พึ่ง โดยเฉพาะในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤตการณ์แตกแยกความสามัคคี แบ่งออกเป็นหลายฝ่ายช่วงหลายปีมานี้
ทั้ง นี้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ที่อาศัยอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร นอกจากประชาชนฝ่ายผู้ชุมนุมแล้ว ก็รวมทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมือง ด้วย
พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น-พระ ราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการวางพวงมาลา และพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติการยึดคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 ในการนี้มีรับสั่งว่า
เสียใจ เสียดายนายทหารที่ดี นับว่าเป็นการสูญเสียทหารที่ทำหน้าที่ปกป้องบ้านเมือง และขอขอบคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกมาเป็นอย่างดี มีความภักดีต่อราชวงศ์(รายละเอียดข่าว)
ใน คราวเกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นในบ้านเมืองเมื่อปีที่แล้ว ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศสำนักนายกฯ ระบุว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ให้แก่ ข้าราชการทหารสังกัดกองทัพบก ซึ่งเสียชีวิตเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยความเสียสละและฝ่าอันตรายจนถึงแก่ชีวิต ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการและเป็นแบบอย่างอันควรแก่การยกย่อง สรรเสริญสืบไปจำนวน 5 ราย ดังนี้
ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
1. พลเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม
เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
2 . ร้อยเอก ภูริวัฒน์ ประพันธ์
3. ร้อยเอก อนุพนธ์ หอมมาลี
4. ร้อยโท อนุพงษ์ เมืองอำพัน
5. ร้อยตรี สิงหา อ่อนทรง
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
เย็นศิระ เพราะพระบริบาล-เมื่อ เวลา19.00น.เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2553 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ยังอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี เพื่อทรงเยี่ยมทหารที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างปฏิบัติการขอพื้นที่คืนจากผู้ ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เมษายน
โดยมีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมาก(ภาพข่าว:ASTVผู้จัดการ)
ทรงมีพระราชหัตถเลขาชมเชยสตรีไทยช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์ของชาติ
อีก เรื่องหนึ่งที่นำความปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นต่อปวงพสกนิกรชาวไทยก็คือใน คราวที่เกิดจลาจลในกรุงเทพฯเมื่อปีที่แล้วนั้น ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ นางสนองพระโอษฐ์ และรองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้อัญเชิญพระราชหัตถเลขา ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชทานให้กับคุณนภัส ณ ป้อมเพชร
พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2553 มีความรายละเอียดว่า
ถึง คุณนภัส ณ ป้อมเพ็ชร์
ฉันได้อ่านจดหมายของคุณที่เขียนถึงสำนักข่าว CNN แล้ว รู้สึกภูมิใจที่คุณยืนขึ้นทำหน้าที่ของคนไทยตอบโต้นักข่าวต่างชาติอย่าง องอาจตรงไปตรงมา แต่ก็ด้วยความสุภาพและมีเหตุผลที่ชัดเจนพอที่จะทำให้ประชาคมโลกที่ได้อ่าน จดหมายของคุณต้องทบทวนความเชื่อถือที่มีต่อ CNN
ชื่นชมยิ่งที่คุณช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศชาติ
( ลายพระราชหัตถเลขาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ )
'พล.อ.ณพล'เผย พระราชินีพระราชทานเงินช่วยชุมชนบ่อนไก่20ล.บาท
ไทยรัฐ รายงาน
ว่า พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ เผย "พระราชินี" พระราชทานเงิน 20
ล.บาท ช่วยชาวบ่อนไก่ 2 พันคน จากเหตุทหารกระชับพื้นที่เสื้อแดงปี 53
ระบุผู้ค้ารถเข็นไม่อยู่ในข่ายได้เงินชดเชย...
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2555 ที่โรงแรมเฟิร์ส ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไม่ได้ทรงสนพระทัยทุกข์ของประชาชนเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่ต้องการช่วยประชาชนที่ทุกข์ยากในทุกภาคของประเทศ เมื่อได้รับจดหมายร้องเรียน หรือร้องทุกข์เข้ามา พระองค์ท่านก็จะรับสั่งให้ตนและคณะทำงานลงไปดู เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาให้ราษฎรเหล่านั้น
“สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็บอกให้ผมไปดูหน่อยว่า ชาวบ้านตรงบ่อนไก่มีปัญหาอะไร เพราะพระองค์ทรงทราบว่ามีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ก็มีคนค้านว่าจะไปช่วยทำไมตรงนั้น บ่อนไก่แดงทั้งเมือง พระองค์ท่านก็ไม่ว่าอะไร รับสั่งให้ผมลงไป เพราะ เชื่อว่าผมจัดการได้ พร้อมพระราชทานเงินเบื้องต้นใส่ถุงมา 2 ล้านบาท ผมแต่งชุดธรรมดา ใส่เสื้อขะมุกขะมอม หมวกทรวงม้าเหยียบไปดู คุยหาข่าวจากร้านส้มตำไก่ย่าง ถามว่าไปไหนกันหมด เขาก็บอกว่าไปหาเงิน เพราะพวกทหารไล่ยิง เดือดร้อน รถเข็นเดือดร้อน ยิงหม้อก๋วยเตี๋ยวทะลุ กระจกพัง ชาวบ้านบอก ทหารตัวดี ถ้าเจอจะเอาทุเรียนตบหน้า เท่าที่ฟังชาวบ้านไม่ได้รับการช่วยเหลือจากทางการ เพราะหาบเร่ รถเข็นไม่มีใบทะเบียนการค้าที่จะได้รับสิทธิ์ได้เงินชดเชย” พล.อ.ณพล กล่าว
รองสมุหราชองครักษ์ กล่าวต่อไปว่า จากนั้นตนได้นัดหมายให้ชาวบ้านมารับความช่วยเหลือที่กองงานของรองสมุหราช องครักษ์ ในเบื้องต้นมีคนมาขอให้ช่วยเหลือ 50 คน ซึ่งตนได้มอบเงินพระราชทานให้คนละ 5 พันบาท เพื่อใช้ทำทุนในการค้าขาย หรือซื้อรถเข็นใหม่ พร้อมถุงยังชีพพระราชทาน ที่สามารถใช้ยังชีพได้ 2-3 สัปดาห์ พร้อมบอกชาวบ้านว่า มีใครที่เดือดร้อนอีกให้มากรอกประวัติ และแจ้งความเสียหาย แล้วเราจะส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจเพื่อช่วยเหลือต่อไป ปรากฏว่ามีชาวบ้านมาแจ้งความจำนงจำนวนมาก สรุปแล้วเราได้ช่วยชาวบ้านที่บ่อนไก่ไปกว่า 2 พันคน ใช้เงิน 20 ล้านบาทที่พระองค์ท่านพระราชทานลงมา.
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2555 ที่โรงแรมเฟิร์ส ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไม่ได้ทรงสนพระทัยทุกข์ของประชาชนเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่ต้องการช่วยประชาชนที่ทุกข์ยากในทุกภาคของประเทศ เมื่อได้รับจดหมายร้องเรียน หรือร้องทุกข์เข้ามา พระองค์ท่านก็จะรับสั่งให้ตนและคณะทำงานลงไปดู เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาให้ราษฎรเหล่านั้น
“สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็บอกให้ผมไปดูหน่อยว่า ชาวบ้านตรงบ่อนไก่มีปัญหาอะไร เพราะพระองค์ทรงทราบว่ามีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ก็มีคนค้านว่าจะไปช่วยทำไมตรงนั้น บ่อนไก่แดงทั้งเมือง พระองค์ท่านก็ไม่ว่าอะไร รับสั่งให้ผมลงไป เพราะ เชื่อว่าผมจัดการได้ พร้อมพระราชทานเงินเบื้องต้นใส่ถุงมา 2 ล้านบาท ผมแต่งชุดธรรมดา ใส่เสื้อขะมุกขะมอม หมวกทรวงม้าเหยียบไปดู คุยหาข่าวจากร้านส้มตำไก่ย่าง ถามว่าไปไหนกันหมด เขาก็บอกว่าไปหาเงิน เพราะพวกทหารไล่ยิง เดือดร้อน รถเข็นเดือดร้อน ยิงหม้อก๋วยเตี๋ยวทะลุ กระจกพัง ชาวบ้านบอก ทหารตัวดี ถ้าเจอจะเอาทุเรียนตบหน้า เท่าที่ฟังชาวบ้านไม่ได้รับการช่วยเหลือจากทางการ เพราะหาบเร่ รถเข็นไม่มีใบทะเบียนการค้าที่จะได้รับสิทธิ์ได้เงินชดเชย” พล.อ.ณพล กล่าว
รองสมุหราชองครักษ์ กล่าวต่อไปว่า จากนั้นตนได้นัดหมายให้ชาวบ้านมารับความช่วยเหลือที่กองงานของรองสมุหราช องครักษ์ ในเบื้องต้นมีคนมาขอให้ช่วยเหลือ 50 คน ซึ่งตนได้มอบเงินพระราชทานให้คนละ 5 พันบาท เพื่อใช้ทำทุนในการค้าขาย หรือซื้อรถเข็นใหม่ พร้อมถุงยังชีพพระราชทาน ที่สามารถใช้ยังชีพได้ 2-3 สัปดาห์ พร้อมบอกชาวบ้านว่า มีใครที่เดือดร้อนอีกให้มากรอกประวัติ และแจ้งความเสียหาย แล้วเราจะส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจเพื่อช่วยเหลือต่อไป ปรากฏว่ามีชาวบ้านมาแจ้งความจำนงจำนวนมาก สรุปแล้วเราได้ช่วยชาวบ้านที่บ่อนไก่ไปกว่า 2 พันคน ใช้เงิน 20 ล้านบาทที่พระองค์ท่านพระราชทานลงมา.
มติชนออนไลน์ รายงานว่า นารี แสงประเสริฐศรี วัย 52 ปี มารดาของนายมานะ แสงประเสริฐศรี วัย 21 ปีเจ้า
หน้าที่กู้ภัยที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกยิงที่ศีรษะ
จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 บอกว่า
ลูกชายมีอาชีพขับแท็กซี่ ในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมนั้น
ไม่สามารถไปขับแท็กซี่ได้ ขณะเกิดเหตุได้เข้าไปช่วยเหลือประชาชน
เนื่องจากเป็นอาสาสมัครป่อเต็กตึ๊ง แต่กลับถูกยิงที่ศีรษะเสียชีวิตคาที่
"หลัง จากการเสียชีวิตได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นเงิน 400,000 บาท และได้รับเงินช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จากการเป็นหน่วยกู้ภัย 150,000 บาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาแล้ว 1 ครั้งเป็นเงิน 50,000-100,000 บาท โดยยื่นเรื่องผ่านทางจดหมายเวียนของชุมชน
"โดย ส่วนตัวรู้สึกเสียใจที่ลูกชายเสียชีวิต แต่ก็ต้องใช้ชีวิตต่อไป ทั้งนี้ ลูกชายถือเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว ส่วนเงินช่วยเหลือที่ได้รับมาแล้วนั้น แม้จะมากแต่ก็เทียบไม่ได้กับการสูญเสียที่เกิดขึ้น ฉันเองไม่คาดฝันว่าจะมาสลายการชุมนุมที่บ่อนไก่เนื่องจากห่างไกลพื้นที่ราช ประสงค์มาก ส่วนเรื่องความช่วยเหลือที่จะได้รับจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้น ยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ก็มีความรู้สึกปลื้มปีติยินดีมาก" นารีกล่าว
ด้วย น้ำพระทัยแผ่ไพศาลต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าใต้ร่มพระบารมี ทำให้บ้านเมืองที่เคยรุ่มร้อน ก็ผ่อนคลายร่มเย็นสงบลงด้วยพระบารมีเป็นที่ตั้ง
ปวงข้าพระพุทธเจ้าต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด