ที่มา go6
5 มิถุนายน 2555
ศาลรัฐธรรมนูญเข้าแทรกแซง ก้าวก่าย ไม่ใช่เข้ามาในแดนอำนาจนิติบัญญัติ แต่เข้ามาในแดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า "Pouvoir constituant dérivé"
อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ใหญ่กว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ สามอำนาจหลังนี้ เป็นเพียงอำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ
โปรดดูภาพ ลำดับชั้น ดังต่อไปนี้
๑. อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ Pouvoir constituant
๒. อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่ใช้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ Pouvoir constituant dérivé
๓. อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ Pouvoir constitué - ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ
ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ แต่นี่คือ การเข้าแทรกแซงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ !!!!
แผนภาพ 'อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ'
ที่มา : เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพ : วิญญูชน, ๒๕๕๕. หน้า ๑๔๙. |
++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อมูลเพิ่มเติมจากเฟซบุ๊ค "มั่นใจว่าเสื้อแดงจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับทักษิณเรื่องการปรองดอง"
"การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ไม่ใช่เรื่อง "หลักการแบ่งแยกอำนาจ" แต่อำนาจที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าที่มาจากรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนด [1]
ตามคำอธิบายของคณะนิติราษฎร์ และ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [2]
โดยหลักการ รัฐสภาจะมี 2 สถานะ คือ:
(1) สถานะในการออกกฎหมาย (สถานะที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ)
(2) สถานะในการก่อตั้ง/แก้ไขรัฐธรรมนูญ (สถานะที่ใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม)
อำนาจระดับในข้อ (1) ทั้งรัฐสภาและศาลต่างใช้อำนาจที่ได้รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกตรวจสอบอำนาจ
แต่อำนาจระดับในข้อ (2) รัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจนี้ให้กับรัฐสภา ซึ่งทำให้สภามีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และถือว่าเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ที่มีลำดับชั้นทางกฎหมายสูงกว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
ในประเด็นศาลรัฐธรรมนูญนี้ คณะนิติราษฎร์ อธิบายว่า "ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจตุลาการ เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถควบคุมตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดัง เช่นการควบคุมตรวจสอบพระราชบัญญัติมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญได้" [3]
สรุป ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ์และความชอบธรรมในการมาระงับหรือยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
[1] รูปนี้ดัดแปลงมาจากรูปในประชาไท โดยผู้จัดทำมีเจตนาที่จะทำให้ประเด็นนี้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดูตามลิงค์นี้ [http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150879384546699&set=a.376656526698.158748.108882546698&type=1&theater]
[2] ดู แถลงการณ์ คณะนิติราษฎร์ "เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาและคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ" [http://www.enlightened-jurists.com/blog/64] และ status ใน facebook ส่วนตัวของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [http://www.facebook.com/phuttipong.ponganekgul/posts/449607045051967]
[3] แถลงการณ์ คณะนิติราษฎร์ "เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาและคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ" [http://www.enlightened-jurists.com/blog/64]
"การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ไม่ใช่เรื่อง "หลักการแบ่งแยกอำนาจ" แต่อำนาจที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าที่มาจากรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนด [1]
ตามคำอธิบายของคณะนิติราษฎร์ และ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [2]
โดยหลักการ รัฐสภาจะมี 2 สถานะ คือ:
(1) สถานะในการออกกฎหมาย (สถานะที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ)
(2) สถานะในการก่อตั้ง/แก้ไขรัฐธรรมนูญ (สถานะที่ใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม)
อำนาจระดับในข้อ (1) ทั้งรัฐสภาและศาลต่างใช้อำนาจที่ได้รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกตรวจสอบอำนาจ
แต่อำนาจระดับในข้อ (2) รัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจนี้ให้กับรัฐสภา ซึ่งทำให้สภามีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และถือว่าเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ที่มีลำดับชั้นทางกฎหมายสูงกว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
ในประเด็นศาลรัฐธรรมนูญนี้ คณะนิติราษฎร์ อธิบายว่า "ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจตุลาการ เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถควบคุมตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดัง เช่นการควบคุมตรวจสอบพระราชบัญญัติมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญได้" [3]
สรุป ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ์และความชอบธรรมในการมาระงับหรือยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------------------
อ้างอิง[1] รูปนี้ดัดแปลงมาจากรูปในประชาไท โดยผู้จัดทำมีเจตนาที่จะทำให้ประเด็นนี้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดูตามลิงค์นี้ [http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150879384546699&set=a.376656526698.158748.108882546698&type=1&theater]
[2] ดู แถลงการณ์ คณะนิติราษฎร์ "เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาและคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ" [http://www.enlightened-jurists.com/blog/64] และ status ใน facebook ส่วนตัวของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [http://www.facebook.com/phuttipong.ponganekgul/posts/449607045051967]
[3] แถลงการณ์ คณะนิติราษฎร์ "เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาและคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ" [http://www.enlightened-jurists.com/blog/64]