โดย รองศาสตราจารย์ ดร.
วรพล พรหมิกบุตร
อาจารย์ประจำคณะ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กระผมและท่านต่างก็มีสถานะสองอย่างอยู่ในตัวเอง
คือ สถานะทางอาชีพการงานเป็นข้าราชการประจำและสถานะทางการเมืองเป็นประชาชน
ในความเป็นประชาชนเราต่างก็มีสิทธิและหน้าที่ในการปกป้องพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้ยั่งยืนต่อไป
ใน
ความเป็นข้าราชการประจำที่ดำรงชีวิตด้วยเงินเดือนและค่าตอบแทนจากภาษีและราย
ได้ของประชาชนเราก็ต่างก็มีหน้าที่ในการปกป้องพิทักษ์การเมืองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ของประชาชนทรงเป็นประมุขให้สืบทอดมั่นคงต่อ
ไป
กระผม
เชื่อว่าข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ผู้
บังคับบัญชาชั้นสัญญาบัตรระดับกลางลงมาถึงผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นข้า
ราชการเสียงส่วนใหญ่ของปวงชนชาวไทยทั่วประเทศได้ประจักษ์ด้วยตนเองเรียบร้อย
แล้วว่าประเทศนี้มีผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงยิ่งในองค์กรการเมืองต่าง
ๆ ใช้อำนาจเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญมอบให้เป็นลายลักษณ์อักษรในตัวบทกฎหมาย
แต่บิดตะแบงอ้างเอกสารอื่นที่มิใช่กฎหมายในการใช้อำนาจทางการเมืองและอำนาจ
ตุลาการ
เช่น การอ้างพจนานุกรมภาษาไทย และการอ้างเอกสารคำแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ทางราชการใช้เผยแพร่เนื้อหารัฐธรรมนูญไทยให้ชาวต่างประเทศทราบ
ความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่มีประเด็นใดอันจะนำไปสู่การล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเลย
ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นงานราชการของรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญ
๒๕๕๐ บัญญัติมอบอำนาจให้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และ
สมาชิกรัฐสภาส่วนที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ได้ดำเนินการโดยชอบทุก
ประการดังที่อัยการสูงสุดสั่งการให้มีการแถลงผลการสอบสวนข้อเท็จจริงดัง
กล่าวไปเรียบร้อยแล้ว
ในทางตรงข้าม, ความพยายามเพื่อกระทบถ่วงรั้งขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการต่าง
ๆ ที่มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่น
การใช้อำนาจทางราชการในแนวทางบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การใช้อำนาจตุลาการเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเพื่อถ่วงรั้งขัดขวางการทำงานของรัฐสภาที่มีอำนาจนิติบัญญัติ, การใช้ตำแหน่งหน้าที่ ส.ส. ฝ่ายค้านฉุดกระชากประธานรัฐสภาให้ลุกจากบัลลังก์การประชุมในระหว่างการประชุมรัฐสภา
ฯลฯ
พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐
และเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ของประชาชนทรงเป็นประมุข
ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐
เองก็กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ชัดเจนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย, พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. และพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
และศาล ทั้งนี้ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันและกลุ่มบุคคลอื่น
ๆ จำนวนหนึ่ง ทั้งที่มีตำแหน่งราชการและที่ไม่มีตำแหน่งดังกล่าว ได้กระทำการอันส่อแสดงถึงการละเมิดอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยรวมทั้งการก้าวล่วงสถานะขององค์พระประมุข ทั้งนี้ด้วยการใช้อำนาจที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมิได้อนุญาตให้กระทำ[1] และด้วยการดำเนินการอื่น ๆ
เจือสมสอดคล้องกับการละเมิดรัฐธรรมนูญดังกล่าว
บัดนี้
สถานการณ์มีแนวโน้มว่ากลุ่มที่ละเมิดรัฐธรรมนูญมิได้สนใจใยดีเกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์
รวมทั้งมิได้สนใจใยดีต่อเสถียรภาพทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน
มากไปกว่าความสนใจใยดีในอำนาจและผลประโยชน์ระดับชาติที่ตน พรรค
และพวกตนหวังจะได้รับหรือกอบโกยเอาเปรียบท่านและเอาเปรียบประชาชนส่วนรวมต่อไปให้ยั่งยืน
กระผม
เห็นว่า
ท่านคือความหวังอีกส่วนหนึ่งของประเทศในอันที่จะร่วมพิทักษ์ปกป้องระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ทั้งนี้
ด้วยวิธีการปลีกย่อยรายละเอียดต่างๆ
ที่ปรากฏตามวิถีทางรัฐธรรมนูญและครรลองความเป็นธรรม ความยุติธรรม
ความชอบธรรม และหลักนิติธรรมที่แท้จริง
ร่วมกับประชาชนอีกเป็นจำนวนมากทั่วประเทศซึ่งแสดงความพร้อมเรียบร้อยแล้วใน
การร่วมกันปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จึงเรียน กราบเรียน
และประทานกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
นาย วรพล พรหมิกบุตร
รองศาสตราจารย์ ๙
[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ มิได้อนุญาตให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจสอบสวนข้อเท็จจริง และ/หรือพิจารณาสั่งการเรื่องร้องเรียนใด ๆ ตามมาตรา ๖๘ ก่อนการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดในกรณีร้องเรียนนั้น