(17 มิ.ย.55) ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบรรยายพิเศษเรื่อง “การเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549
และบทบาทที่ควรจะเป็นของ ขบวนการภาคประชาชน” เนื่องในโอกาสรำลึก 21
ปีการสูญหาย ของทนง โพธิ์อ่าน จัดโดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ณ
ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลารายละเอียดมีดังนี้
เรากำลังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง โดยอาจมองว่าความขัดแย้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดี เพราะต้องมีความขัดแย้งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีสูตรแก้ความขัดแย้งที่จะคลี่คลายความขัดแย้งได้ทันทีทันใด ไม่ว่าจะมีคณะกรรมการปรองดองสักกี่ชุด แก้กฎหมายกี่ฉบับ หรือเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกี่มาตรา ก็จะไม่ทำให้ความขัดแย้งสูญหายไปทันที สมมติเราไปหาหมอ ได้ยามา ก็จะลดความเจ็บปวดลงได้บ้าง แต่เราก็ต้องรอให้ร่างกายเยียวยาตัวเองจนแผลค่อยๆ หาย แต่ในระหว่างรอเยียวยาตัวเองให้ดีขึ้น เราควรจะมีท่าที-จุดยืนอย่างไรกับสถานการณ์การเมืองบางอย่างที่จะส่งกับ สถานการณ์การเมืองในระยะยาว เช่น จุดยืนต่อรัฐประหาร-ล้มรัฐธรรมนูญ หรือการเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
ทนง โพธิ์อ่าน หายตัวไปในขณะที่เมืองไทยมีรัฐบาลแต่งตั้งจากการรัฐประหาร เขาเป็นผู้ที่มีหลักการและอุดมการณ์ที่ทำงานเพื่อสิทธิและเสรีภาพของแรง งานอย่างแท้จริง ทนงเป็นผู้นำแรงงานระดับแนวหน้า ที่ต่อต้านกฎอัยการศึกและการยกเลิกสิทธิของคนงานรัฐวิสาหกิจในการก่อตั้ง สหภาพและนัดหยุดงาน โดยได้รวบรวมคนงานออกมาประท้วงกรณีดังกล่าวบนท้องถนนในวันที่ 14 มิ.ย. (2534) ก่อนจะถูกอุ้มหายไปเมื่อ 19 มิ.ย.
ปัจจุบัน ผ่านมา 21 ปีแล้วก็ยังไม่มีหน่วยงาน ส.ส. หรือใครเข้ามาช่วยติดตามให้ทราบว่า ทนงหายไปไหน และขณะนี้ ได้ทราบว่า อายุความของคดีได้จบสิ้นลงแล้ว แต่ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้ไม่จบและยังต้องต่อสู้ต่อไป อยากเห็น ส.ส.คนใดคนหนึ่งออกมาต่อสู้ให้กับคนงาน และแสดงให้เห็นว่า อำนาจประชาธิปไตยน่าจะเป็นอำนาจสูงสุดที่จะต่อสู้กับทหารได้ในเวลาอันเหมาะ สม
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย การที่ผู้ต่อต้านรัฐหายตัวไปเช่นนี้โดยไม่มีใครรับผิดชอบ มักเกิดในสมัยของเผด็จการทหาร หรือภาวะที่มีรัฐบาลจากคณะรัฐประหาร การอุ้มเป็นวิธีการที่รัฐไทยจัดการกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยด้วยความรุนแรง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดกับเรา หรือใครก็ได้ นี่จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องต่อต้านอย่างถึงที่สุด ซึ่งหมายถึงเราต้องพยายามจรรโลงสิ่งที่อยู่ตรงข้ามคือระบอบรัฐสภา ประชาธิปไตยด้วย
โดยการเมืองในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยที่มีหลักการอยู่ที่การเลือกตั้ง แม้ไม่ใช่ระบอบการเมืองในอุดมคติ แต่ขณะนี้ ประเทศสำคัญส่วนใหญ่ของโลกที่มีเสถียรภาพทางการเมืองตามสมควร และประชาชนได้รับการทำนุบำรุงเรื่องสิทธิเสรีภาพ ก็ล้วนปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นระบอบที่จะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งได้ดีที่สุด และเป็นระบอบที่จะช่วยลดการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด เมื่อเรายังไม่มีทางเลือกซึ่งดีกว่านี้และเป็นที่ยอมรับกันในสากลโลก เราจึงต้องจรรโลงระบอบประชาธิปไตยให้ดีที่สุด
บางคนบอกว่า ระบบแต่งตั้งดีกว่าเพื่อจะได้เลือกคนดีๆ เข้ามาทำงาน คำถามคือ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิแต่งตั้ง คนธรรมดาจะมีโอกาสมากแค่ไหน แล้วใครจะคานอำนาจหรือตรวจสอบกับผู้แต่งตั้ง ขณะที่บางคนบอกว่าระบบพรรคเดียวแบบจีนที่ตัดสินใจทำอะไรได้รวดเร็วดีกว่า แต่อย่าลืมว่าคนไทยได้ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยที่มีหลักการสิทธิเสรีภาพ ภราดรภาพ เสมอภาคมานานแล้ว และไทยไม่ใช่จีน ดังนั้น การหวนสู่ระบอบที่พรรคกำหนดทุกอย่างและมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพคงเป็นไปไม่ ได้
แต่ระบอบประชาธิปไตยต้องอยู่ใต้กติกาที่กำหนดในรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมาย สูงสุด โดยที่รัฐธรรมนูญหากไม่ดี ก็ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนหรือกฎเกณฑ์เดิมไม่เอื้อให้ระบบทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สำหรับกติกาหรือกระบวนการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญก็มักจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
ข้อดีของระบอบรัฐสภาอีกประการคือการที่พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์หรือ วิธีจัดการกับระบบเศรษฐกิจสังคมที่ต่างกัน อาจแข่งขันกันเสนอนโยบายให้ประชาชนเลือก และเข้าปกครองประเทศตามวาระ เช่น อังกฤษ ที่สับเปลี่ยนกันระหว่างพรรคแรงงานกับพรรคอนุรักษนิยม แต่กติกาคือ เมื่อพรรคใดชนะการเลือกตั้ง พรรคที่แพ้ต้องยอมถอยและไม่ขัดขวางจนเกินเลย ขอบเขตและกติกาที่วางไว้ เพราะหากเราเปลี่ยนกติกาบ่อยๆ ไม่ชอบรัฐบาลนี้ ชวนทหารขึ้นมาปฏิวัติ เราจะถอยหลังเข้าคลองไปหลายสิบปี และปัจจุบันเราก็กำลังเผชิญปัญหาจากการที่เรายอมให้ทหารเข้ามาปฏิวัติเมื่อ 2549
เราอาจไม่ชอบนักการเมือง โดยในเมืองไทยมักพูดกันว่า เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่คอร์รัปชั่น แต่จากการศึกษาของตนเอง พบว่า ระบบเลือกตั้งเปิดโอกาสให้จำกัดหรือกำจัดคอร์รัปชั่นได้ดีกว่าระบบแต่งตั้ง และไม่ใช่ว่ารัฐบาลที่มาจากรัฐประหารหรือการแต่งตั้งจะไม่คอร์รัปชั่น
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยชี้ว่า มีนักการเมืองถูกลงโทษในคดีคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลเลือกตั้งมากกว่าระบอบ เผด็จการ โดยจากปี 2500 ที่มีรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้เราอยู่ใต้ระบอบเผด็จการทหารจนถึง 2519 เป็นเวลาเกือบ 20 ปี มีรัฐมนตรีถูกลงโทษจำคุกด้วยข้อหาคอร์รัปชั่นเพียงคนเดียว แต่ในช่วง 5 ปีนับจาก 2544-2549 เรามีระบอบประชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ 2540 มีรัฐมนตรีที่ถูกตัดสินจำคุกในข้อหาคอร์รัปชั่นหรือถูกตัดสิทธิไม่ให้เล่น การเมืองเป็นเวลา 5 ปีถึง 5 คน มีนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพลสูงถูกตัดสินจำคุกจากคอร์รัปชั่น 1 คน และมีข้าราชการประจำจำนวนมากถูกลงโทษ
อดคิดไม่ได้ว่าถ้าไม่มีรัฐประหาร 2549 แล้วรัฐธรรมนูญ 2540 ดำเนินต่อไปจนปัจจุบัน เราอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องคอร์รัปชั่นในทางที่ดีขึ้นกว่านี้ก็ได้ แต่ป่วยการที่จะพูดถึงสิ่งที่เราไม่สามารถย้อนกลับได้ เราควรมาพูดว่าเราควรมีท่าทีอย่างไร
ท่าทีต่อความขัดแย้งทางการเมือง
ในการเมืองไทย ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยไม่ถูกพัฒนาตามธรรมชาติ รัฐประหารทีไร ต้องถอยหลังเข้าคลองและเริ่มใหม่ ทำให้ฝ่ายกองทัพที่ยึดกุมอำนาจความรุนแรงแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับฝ่าย พลเรือน ไม่เป็นผลดีต่อการลดความรุนแรงในสังคม และเป็นปรปักษ์กับการพัฒนาประชาธิปไตย
กรณีทนง โพธิ์อ่าน ทำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในบ้านเรายังไม่ทำงานอย่างถูกต้องเหมือนกับใน สากลโลก ตำรวจไม่สืบสวนสอบสวน ศาลไม่อาจได้รับความเชื่อถือ กล่าวกันด้วยว่าอาจได้รับอิทธิพลจากภายนอก บ้างว่าการตัดสินคดีความที่เกี่ยวโยงกับการเมือง คำตัดสินมีลักษณะเลือกปฏิบัติ ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมของเราจึงเป็นอีกสถาบันที่ต้องได้รับปรับปรุง เพื่อให้เป็นอิสระ โปร่งใสและเชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อกรณีเช่นคุณทนงจะไม่เกิดขึ้นอีก
ขบวนการแรงงานเป็นขบวนการทางสังคมที่มีความสำคัญมากเพราะมีจำนวนมาก จึงมีแรงต่อรองสูง และมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจ จึงอยู่ในฐานะที่จะผลักดันให้ปฏิรูปได้ในหลายเรื่อง โดยผลงานสำคัญเช่น การผลักดันให้มี พ.ร.บ.แรงงาน พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งล้วนส่งผลต่อคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม เช่น พ.ร.บ.ประกันสังคมเป็นรากฐานที่นำไปสู่ระบบสวัสดิการสังคมด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลัง อย่าลืมว่าปัญหาการเมืองไทย เหมือนแผลที่ต้องใช้เวลา ระหว่างนั้น เราต้องยึดโยงกับหลักการให้มั่นคง และต่อต้านรัฐประหารที่ล้มรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยอย่างสุดขีด
เป้าหมายของขบวนการแรงงานนั้นเพื่อต่อรองให้คนงานมีสภาพการทำงาน รายได้ ศักดิ์ศรี สถานภาพที่ดี ขณะเดียวกัน มีความคาดหวังว่าขบวนการแรงงานจะมีบทบาททางสังคมด้วย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมกิจกรรมของแรงงาน โดยเฉพาะจุดยืนว่าเมืองไทยควรมีระบอบการเมืองไปทางไหน และจุดยืนเพื่อกดดันให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย
4 พัฒนาการการเมืองไทย
แม้ขณะนี้ หลายคนจะอึดอัดกับการเมืองวันต่อวันที่สร้างความหดหู่ มีแต่ความขัดแย้ง มีผู้วิจารณ์ว่านักการเมือง "ยังอาละวาด แย่งของเล่นกันในสภา" ศาล "เหาะเหินเกินลงกา" หรือถูกสงสัยว่า "จะทำตามคำขอร้องของใคร" แต่การเมืองไทยในระยะสั้น จะเป็นเช่นนี้สักระยะ โดยส่วนตัวมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาต่อรองในกระบวนการทางการเมืองใน กรอบของประชาธิปไตย ที่แม้เราอาจจะไม่พอใจ แต่จะต้องใช้เวลา โดยขอให้มองยาวๆ สำรวจความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระดับรากหญ้าและการเมืองท้องถิ่น ซึ่งอาจทำให้ใจชื้นขึ้นบ้าง ทั้งนี้ มองว่าที่ผ่านมา มีสิ่งดีๆ ที่เป็นพัฒนาการการเมืองไทย ดังนี้
หนึ่ง ผลของการเลือกตั้งทั่วไป 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2544 ตอกย้ำว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการระบบรัฐสภาประชาธิปไตย อย่าตกใจที่พรรคของทักษิณ ชินวัตร ชนะขาดลอยทุกครั้ง เราต้องทำใจ อย่ามีอคติและวิเคราะห์เพื่อก้าวเดินไปข้างหน้า ส่วนตัวไม่ใช่ผู้ที่นิยมทักษิณแต่เราต้องดูปรากฏการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เราอาจวิเคราะห์ว่า ผลดังกล่าวทำให้ข้ออ้างของฝ่ายต่อต้านพรรคการเมืองทั่วไปที่ว่า พรรคทักษิณชนะเพราะซื้อเสียง เริ่มหมดน้ำยาหรือเสื่อมมนต์ขลังลง โดยข้อมูลในระดับพื้นที่ที่นักวิชาการลงไป พบว่า แม้มีการซื้อเสียงแต่ลดลงทุกปี โดยการเลือกตั้งที่มีเสถียรภาพ เป็นเพราะมวลชนจำนวนมากให้ความสนใจมากขึ้น เพราะได้ประโยชน์จากการเมืองเลือกตั้ง
นักวิชาการท้องถิ่นในเขตเสื้อสีแดงเล่าว่าในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ประชาชนจะพูดคุยกันทุกวันว่าต้องไปออกเสียงเลือกตั้งเยอะๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าปฏิเสธสิ่งที่เป็นอยู่ พรรคที่ร่วมมือกับทหาร หรือปฏิเสธการสนับสนุนรัฐประหาร ส่วนตัวมองว่าเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของ "คนจริง เสียงจริง" จำนวนมาก
การเมืองเลือกตั้งสำคัญขึ้นในระดับท้องถิ่น แม้จะมีปัญหาอุปสรรคจากภาคราชการ แต่มีพัฒนาการทางบวก เช่น กิจกรรมที่เคยทำที่ส่วนกลาง คือกรุงเทพฯ ได้ย้ายมาทำที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และเริ่มต่อสู้-ต่อรองกัน ทั้งนี้มองว่า ถ้ากระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นได้จะลดภาระของรัฐบาลส่วนกลางลง จะทำให้ ส.ส.และรัฐมนตรีส่วนกลาง มีเวลาทำงานประเด็นระดับชาติที่ยุ่งยากกว่าได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วนการคอร์รัปชั่นในท้องถิ่นนั้นก็ต้องหาทางปรับปรุง สร้างระบบกำกับควบคุมให้ได้ ซึ่งต้องใช้เวลาและต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมาก
สอง สื่อสารมวลชนในไทยมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้สังคมไทยตื่นตัวทางการเมืองมากกว่าสังคมเมื่อ 15 ปีก่อน เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารได้ลดภาวะการผูกขาดของสื่อโทรทัศน์-วิทยุ ของรัฐบาล-ทหารไทย ได้มาก ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นผ่านการสื่อสารออนไลน์ หลายประเภท ทั้งโซเชียลเน็ตเวิร์ก เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหลากหลาย คิดด้วยตัวเองมากขึ้น ไม่แน่ว่าคนนอกกรุงเทพฯ ได้รับสื่อหลากหลายกว่าคนกรุงเทพฯ ที่ดูเพียงไม่กี่ช่องเสียอีก การสื่อสารที่แพร่กระจายทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเร็ว จนคนที่อยู่กรุงเทพฯ ที่เรียกว่าชนชั้นนำและนักธุรกิจตามไม่ทัน
สาม ยุทธศาสตร์การอิงสถาบันกษัตริย์เพื่อผลทางการเมืองถึงคราวต้องทบทวนและยังส่งผลสะท้อนกลับที่ไม่เป็นคุณ ความน่าเชื่อถือของกลุ่มที่พยายามใช้ยุทธศาสตร์นี้ลดลงโดยตลอดโดยเฉพาะหลัง เหตุการณ์ยึดสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งยังไม่สามารถก่อตั้งพรรคการเมืองที่เป็นชิ้นเป็นอัน เพื่อเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
กองทัพยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเมืองไทย แต่กองทัพเองก็เสี่ยงถ้าจะทำรัฐประหารอีก เว้นแต่จะมีเหตุการณ์พิเศษที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
พรรคเพื่อไทยเองดูเหมือนจะตระหนักว่าปัจจุบัน ให้กองทัพอยู่สบายโดยไม่แซะเก้าอี้ อาจเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด และชัดเจนว่า กองทัพเองก็ไม่อยากเสี่ยงที่จะอยู่อย่างไม่สบาย
สี่ รัฐบาลที่โอบรับโลกาภิวัตน์เพื่อให้ เศรษฐกิจเจริญเติบโต ขณะเดียวกันทำให้ประชาชนระดับล่างมีรายได้สูงขึ้นเพื่อเป็นฐานของตลาดภายใน ควบคู่ตลาดภายนอก ล้วนเป็นผลดีกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งที่รัฐบาลแบบนี้ต้องทำมากกว่านี้คือต้องคิดระยะปานกลางและยาวมากกว่านี้ โดยต้องคิดเรื่องการหารายได้เพื่อใช้จ่ายดำเนินนโยบายต่างๆ ที่ให้ผลดีกับประชาชน นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการเพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศแทนการลดภาษีเป็นหลัก อาจต้องคิดเรื่องปฏิรูประบบภาษี ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยกเลิกการผลักดันการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน ก็อยากเห็นพรรคคู่แข่งผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ดีขึ้นและรัฐบาลนำเงินมาใช้ในด้านสวัสดิการมาก ขึ้น
โดยสรุป พัฒนาการการเมืองดีๆ หลายประการได้ลงรากลึกแล้ว แม้จะมีอุบัติเหตุการเมืองได้อีก แต่สิ่งดีๆ ที่กล่าวมา ส่อว่าการเมืองไทยมีแนวโน้มจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในระยะยาวซึ่งจะเป็นผลดีกับ นักธุรกิจ เศรษฐกิจ และทุกคนในประเทศ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลว่าทำไมจึงต้องต้านรัฐประหาร และจรรโลงระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย
000000
สาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเป็นหัวข้อที่ใหญ่มากและมีคำ
อธิบาย-ข้อเสนอที่แตกต่างกัน อยากสรุปว่า ที่เรารู้แน่ๆ คือ
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่ใช่ของที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทย
ประเทศอื่นๆ ได้ผ่านกระบวนการความขัดแย้งทางการเมืองในแบบเดียวกันมาแล้ว
เมื่อประชาชนส่วนใหญ่เปลี่ยน แต่สถาบันทางการเมืองและชนชั้นนำยังไม่ปรับตัว
เปลี่ยนแปลงตาม ยังคงต้องการรักษาสภาพเดิม
ซึ่งไม่สามารถสนองตอบกับความต้องการและความคาดหวังใหม่ๆ ได้แล้วเอาไว้
ทำให้เกิดความลักลั่น ไม่สอดคล้อง ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งตามมาเรากำลังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง โดยอาจมองว่าความขัดแย้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดี เพราะต้องมีความขัดแย้งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีสูตรแก้ความขัดแย้งที่จะคลี่คลายความขัดแย้งได้ทันทีทันใด ไม่ว่าจะมีคณะกรรมการปรองดองสักกี่ชุด แก้กฎหมายกี่ฉบับ หรือเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกี่มาตรา ก็จะไม่ทำให้ความขัดแย้งสูญหายไปทันที สมมติเราไปหาหมอ ได้ยามา ก็จะลดความเจ็บปวดลงได้บ้าง แต่เราก็ต้องรอให้ร่างกายเยียวยาตัวเองจนแผลค่อยๆ หาย แต่ในระหว่างรอเยียวยาตัวเองให้ดีขึ้น เราควรจะมีท่าที-จุดยืนอย่างไรกับสถานการณ์การเมืองบางอย่างที่จะส่งกับ สถานการณ์การเมืองในระยะยาว เช่น จุดยืนต่อรัฐประหาร-ล้มรัฐธรรมนูญ หรือการเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
ทนง โพธิ์อ่าน หายตัวไปในขณะที่เมืองไทยมีรัฐบาลแต่งตั้งจากการรัฐประหาร เขาเป็นผู้ที่มีหลักการและอุดมการณ์ที่ทำงานเพื่อสิทธิและเสรีภาพของแรง งานอย่างแท้จริง ทนงเป็นผู้นำแรงงานระดับแนวหน้า ที่ต่อต้านกฎอัยการศึกและการยกเลิกสิทธิของคนงานรัฐวิสาหกิจในการก่อตั้ง สหภาพและนัดหยุดงาน โดยได้รวบรวมคนงานออกมาประท้วงกรณีดังกล่าวบนท้องถนนในวันที่ 14 มิ.ย. (2534) ก่อนจะถูกอุ้มหายไปเมื่อ 19 มิ.ย.
ปัจจุบัน ผ่านมา 21 ปีแล้วก็ยังไม่มีหน่วยงาน ส.ส. หรือใครเข้ามาช่วยติดตามให้ทราบว่า ทนงหายไปไหน และขณะนี้ ได้ทราบว่า อายุความของคดีได้จบสิ้นลงแล้ว แต่ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้ไม่จบและยังต้องต่อสู้ต่อไป อยากเห็น ส.ส.คนใดคนหนึ่งออกมาต่อสู้ให้กับคนงาน และแสดงให้เห็นว่า อำนาจประชาธิปไตยน่าจะเป็นอำนาจสูงสุดที่จะต่อสู้กับทหารได้ในเวลาอันเหมาะ สม
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย การที่ผู้ต่อต้านรัฐหายตัวไปเช่นนี้โดยไม่มีใครรับผิดชอบ มักเกิดในสมัยของเผด็จการทหาร หรือภาวะที่มีรัฐบาลจากคณะรัฐประหาร การอุ้มเป็นวิธีการที่รัฐไทยจัดการกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยด้วยความรุนแรง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดกับเรา หรือใครก็ได้ นี่จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องต่อต้านอย่างถึงที่สุด ซึ่งหมายถึงเราต้องพยายามจรรโลงสิ่งที่อยู่ตรงข้ามคือระบอบรัฐสภา ประชาธิปไตยด้วย
โดยการเมืองในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยที่มีหลักการอยู่ที่การเลือกตั้ง แม้ไม่ใช่ระบอบการเมืองในอุดมคติ แต่ขณะนี้ ประเทศสำคัญส่วนใหญ่ของโลกที่มีเสถียรภาพทางการเมืองตามสมควร และประชาชนได้รับการทำนุบำรุงเรื่องสิทธิเสรีภาพ ก็ล้วนปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นระบอบที่จะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งได้ดีที่สุด และเป็นระบอบที่จะช่วยลดการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด เมื่อเรายังไม่มีทางเลือกซึ่งดีกว่านี้และเป็นที่ยอมรับกันในสากลโลก เราจึงต้องจรรโลงระบอบประชาธิปไตยให้ดีที่สุด
บางคนบอกว่า ระบบแต่งตั้งดีกว่าเพื่อจะได้เลือกคนดีๆ เข้ามาทำงาน คำถามคือ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิแต่งตั้ง คนธรรมดาจะมีโอกาสมากแค่ไหน แล้วใครจะคานอำนาจหรือตรวจสอบกับผู้แต่งตั้ง ขณะที่บางคนบอกว่าระบบพรรคเดียวแบบจีนที่ตัดสินใจทำอะไรได้รวดเร็วดีกว่า แต่อย่าลืมว่าคนไทยได้ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยที่มีหลักการสิทธิเสรีภาพ ภราดรภาพ เสมอภาคมานานแล้ว และไทยไม่ใช่จีน ดังนั้น การหวนสู่ระบอบที่พรรคกำหนดทุกอย่างและมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพคงเป็นไปไม่ ได้
แต่ระบอบประชาธิปไตยต้องอยู่ใต้กติกาที่กำหนดในรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมาย สูงสุด โดยที่รัฐธรรมนูญหากไม่ดี ก็ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนหรือกฎเกณฑ์เดิมไม่เอื้อให้ระบบทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สำหรับกติกาหรือกระบวนการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญก็มักจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
ข้อดีของระบอบรัฐสภาอีกประการคือการที่พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์หรือ วิธีจัดการกับระบบเศรษฐกิจสังคมที่ต่างกัน อาจแข่งขันกันเสนอนโยบายให้ประชาชนเลือก และเข้าปกครองประเทศตามวาระ เช่น อังกฤษ ที่สับเปลี่ยนกันระหว่างพรรคแรงงานกับพรรคอนุรักษนิยม แต่กติกาคือ เมื่อพรรคใดชนะการเลือกตั้ง พรรคที่แพ้ต้องยอมถอยและไม่ขัดขวางจนเกินเลย ขอบเขตและกติกาที่วางไว้ เพราะหากเราเปลี่ยนกติกาบ่อยๆ ไม่ชอบรัฐบาลนี้ ชวนทหารขึ้นมาปฏิวัติ เราจะถอยหลังเข้าคลองไปหลายสิบปี และปัจจุบันเราก็กำลังเผชิญปัญหาจากการที่เรายอมให้ทหารเข้ามาปฏิวัติเมื่อ 2549
เราอาจไม่ชอบนักการเมือง โดยในเมืองไทยมักพูดกันว่า เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่คอร์รัปชั่น แต่จากการศึกษาของตนเอง พบว่า ระบบเลือกตั้งเปิดโอกาสให้จำกัดหรือกำจัดคอร์รัปชั่นได้ดีกว่าระบบแต่งตั้ง และไม่ใช่ว่ารัฐบาลที่มาจากรัฐประหารหรือการแต่งตั้งจะไม่คอร์รัปชั่น
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยชี้ว่า มีนักการเมืองถูกลงโทษในคดีคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลเลือกตั้งมากกว่าระบอบ เผด็จการ โดยจากปี 2500 ที่มีรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้เราอยู่ใต้ระบอบเผด็จการทหารจนถึง 2519 เป็นเวลาเกือบ 20 ปี มีรัฐมนตรีถูกลงโทษจำคุกด้วยข้อหาคอร์รัปชั่นเพียงคนเดียว แต่ในช่วง 5 ปีนับจาก 2544-2549 เรามีระบอบประชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ 2540 มีรัฐมนตรีที่ถูกตัดสินจำคุกในข้อหาคอร์รัปชั่นหรือถูกตัดสิทธิไม่ให้เล่น การเมืองเป็นเวลา 5 ปีถึง 5 คน มีนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพลสูงถูกตัดสินจำคุกจากคอร์รัปชั่น 1 คน และมีข้าราชการประจำจำนวนมากถูกลงโทษ
อดคิดไม่ได้ว่าถ้าไม่มีรัฐประหาร 2549 แล้วรัฐธรรมนูญ 2540 ดำเนินต่อไปจนปัจจุบัน เราอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องคอร์รัปชั่นในทางที่ดีขึ้นกว่านี้ก็ได้ แต่ป่วยการที่จะพูดถึงสิ่งที่เราไม่สามารถย้อนกลับได้ เราควรมาพูดว่าเราควรมีท่าทีอย่างไร
ท่าทีต่อความขัดแย้งทางการเมือง
ในการเมืองไทย ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยไม่ถูกพัฒนาตามธรรมชาติ รัฐประหารทีไร ต้องถอยหลังเข้าคลองและเริ่มใหม่ ทำให้ฝ่ายกองทัพที่ยึดกุมอำนาจความรุนแรงแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับฝ่าย พลเรือน ไม่เป็นผลดีต่อการลดความรุนแรงในสังคม และเป็นปรปักษ์กับการพัฒนาประชาธิปไตย
กรณีทนง โพธิ์อ่าน ทำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในบ้านเรายังไม่ทำงานอย่างถูกต้องเหมือนกับใน สากลโลก ตำรวจไม่สืบสวนสอบสวน ศาลไม่อาจได้รับความเชื่อถือ กล่าวกันด้วยว่าอาจได้รับอิทธิพลจากภายนอก บ้างว่าการตัดสินคดีความที่เกี่ยวโยงกับการเมือง คำตัดสินมีลักษณะเลือกปฏิบัติ ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมของเราจึงเป็นอีกสถาบันที่ต้องได้รับปรับปรุง เพื่อให้เป็นอิสระ โปร่งใสและเชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อกรณีเช่นคุณทนงจะไม่เกิดขึ้นอีก
ขบวนการแรงงานเป็นขบวนการทางสังคมที่มีความสำคัญมากเพราะมีจำนวนมาก จึงมีแรงต่อรองสูง และมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจ จึงอยู่ในฐานะที่จะผลักดันให้ปฏิรูปได้ในหลายเรื่อง โดยผลงานสำคัญเช่น การผลักดันให้มี พ.ร.บ.แรงงาน พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งล้วนส่งผลต่อคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม เช่น พ.ร.บ.ประกันสังคมเป็นรากฐานที่นำไปสู่ระบบสวัสดิการสังคมด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลัง อย่าลืมว่าปัญหาการเมืองไทย เหมือนแผลที่ต้องใช้เวลา ระหว่างนั้น เราต้องยึดโยงกับหลักการให้มั่นคง และต่อต้านรัฐประหารที่ล้มรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยอย่างสุดขีด
เป้าหมายของขบวนการแรงงานนั้นเพื่อต่อรองให้คนงานมีสภาพการทำงาน รายได้ ศักดิ์ศรี สถานภาพที่ดี ขณะเดียวกัน มีความคาดหวังว่าขบวนการแรงงานจะมีบทบาททางสังคมด้วย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมกิจกรรมของแรงงาน โดยเฉพาะจุดยืนว่าเมืองไทยควรมีระบอบการเมืองไปทางไหน และจุดยืนเพื่อกดดันให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย
4 พัฒนาการการเมืองไทย
แม้ขณะนี้ หลายคนจะอึดอัดกับการเมืองวันต่อวันที่สร้างความหดหู่ มีแต่ความขัดแย้ง มีผู้วิจารณ์ว่านักการเมือง "ยังอาละวาด แย่งของเล่นกันในสภา" ศาล "เหาะเหินเกินลงกา" หรือถูกสงสัยว่า "จะทำตามคำขอร้องของใคร" แต่การเมืองไทยในระยะสั้น จะเป็นเช่นนี้สักระยะ โดยส่วนตัวมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาต่อรองในกระบวนการทางการเมืองใน กรอบของประชาธิปไตย ที่แม้เราอาจจะไม่พอใจ แต่จะต้องใช้เวลา โดยขอให้มองยาวๆ สำรวจความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระดับรากหญ้าและการเมืองท้องถิ่น ซึ่งอาจทำให้ใจชื้นขึ้นบ้าง ทั้งนี้ มองว่าที่ผ่านมา มีสิ่งดีๆ ที่เป็นพัฒนาการการเมืองไทย ดังนี้
หนึ่ง ผลของการเลือกตั้งทั่วไป 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2544 ตอกย้ำว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการระบบรัฐสภาประชาธิปไตย อย่าตกใจที่พรรคของทักษิณ ชินวัตร ชนะขาดลอยทุกครั้ง เราต้องทำใจ อย่ามีอคติและวิเคราะห์เพื่อก้าวเดินไปข้างหน้า ส่วนตัวไม่ใช่ผู้ที่นิยมทักษิณแต่เราต้องดูปรากฏการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เราอาจวิเคราะห์ว่า ผลดังกล่าวทำให้ข้ออ้างของฝ่ายต่อต้านพรรคการเมืองทั่วไปที่ว่า พรรคทักษิณชนะเพราะซื้อเสียง เริ่มหมดน้ำยาหรือเสื่อมมนต์ขลังลง โดยข้อมูลในระดับพื้นที่ที่นักวิชาการลงไป พบว่า แม้มีการซื้อเสียงแต่ลดลงทุกปี โดยการเลือกตั้งที่มีเสถียรภาพ เป็นเพราะมวลชนจำนวนมากให้ความสนใจมากขึ้น เพราะได้ประโยชน์จากการเมืองเลือกตั้ง
นักวิชาการท้องถิ่นในเขตเสื้อสีแดงเล่าว่าในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ประชาชนจะพูดคุยกันทุกวันว่าต้องไปออกเสียงเลือกตั้งเยอะๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าปฏิเสธสิ่งที่เป็นอยู่ พรรคที่ร่วมมือกับทหาร หรือปฏิเสธการสนับสนุนรัฐประหาร ส่วนตัวมองว่าเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของ "คนจริง เสียงจริง" จำนวนมาก
การเมืองเลือกตั้งสำคัญขึ้นในระดับท้องถิ่น แม้จะมีปัญหาอุปสรรคจากภาคราชการ แต่มีพัฒนาการทางบวก เช่น กิจกรรมที่เคยทำที่ส่วนกลาง คือกรุงเทพฯ ได้ย้ายมาทำที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และเริ่มต่อสู้-ต่อรองกัน ทั้งนี้มองว่า ถ้ากระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นได้จะลดภาระของรัฐบาลส่วนกลางลง จะทำให้ ส.ส.และรัฐมนตรีส่วนกลาง มีเวลาทำงานประเด็นระดับชาติที่ยุ่งยากกว่าได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วนการคอร์รัปชั่นในท้องถิ่นนั้นก็ต้องหาทางปรับปรุง สร้างระบบกำกับควบคุมให้ได้ ซึ่งต้องใช้เวลาและต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมาก
สอง สื่อสารมวลชนในไทยมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้สังคมไทยตื่นตัวทางการเมืองมากกว่าสังคมเมื่อ 15 ปีก่อน เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารได้ลดภาวะการผูกขาดของสื่อโทรทัศน์-วิทยุ ของรัฐบาล-ทหารไทย ได้มาก ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นผ่านการสื่อสารออนไลน์ หลายประเภท ทั้งโซเชียลเน็ตเวิร์ก เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหลากหลาย คิดด้วยตัวเองมากขึ้น ไม่แน่ว่าคนนอกกรุงเทพฯ ได้รับสื่อหลากหลายกว่าคนกรุงเทพฯ ที่ดูเพียงไม่กี่ช่องเสียอีก การสื่อสารที่แพร่กระจายทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเร็ว จนคนที่อยู่กรุงเทพฯ ที่เรียกว่าชนชั้นนำและนักธุรกิจตามไม่ทัน
สาม ยุทธศาสตร์การอิงสถาบันกษัตริย์เพื่อผลทางการเมืองถึงคราวต้องทบทวนและยังส่งผลสะท้อนกลับที่ไม่เป็นคุณ ความน่าเชื่อถือของกลุ่มที่พยายามใช้ยุทธศาสตร์นี้ลดลงโดยตลอดโดยเฉพาะหลัง เหตุการณ์ยึดสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งยังไม่สามารถก่อตั้งพรรคการเมืองที่เป็นชิ้นเป็นอัน เพื่อเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
กองทัพยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเมืองไทย แต่กองทัพเองก็เสี่ยงถ้าจะทำรัฐประหารอีก เว้นแต่จะมีเหตุการณ์พิเศษที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
พรรคเพื่อไทยเองดูเหมือนจะตระหนักว่าปัจจุบัน ให้กองทัพอยู่สบายโดยไม่แซะเก้าอี้ อาจเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด และชัดเจนว่า กองทัพเองก็ไม่อยากเสี่ยงที่จะอยู่อย่างไม่สบาย
สี่ รัฐบาลที่โอบรับโลกาภิวัตน์เพื่อให้ เศรษฐกิจเจริญเติบโต ขณะเดียวกันทำให้ประชาชนระดับล่างมีรายได้สูงขึ้นเพื่อเป็นฐานของตลาดภายใน ควบคู่ตลาดภายนอก ล้วนเป็นผลดีกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งที่รัฐบาลแบบนี้ต้องทำมากกว่านี้คือต้องคิดระยะปานกลางและยาวมากกว่านี้ โดยต้องคิดเรื่องการหารายได้เพื่อใช้จ่ายดำเนินนโยบายต่างๆ ที่ให้ผลดีกับประชาชน นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการเพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศแทนการลดภาษีเป็นหลัก อาจต้องคิดเรื่องปฏิรูประบบภาษี ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยกเลิกการผลักดันการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน ก็อยากเห็นพรรคคู่แข่งผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ดีขึ้นและรัฐบาลนำเงินมาใช้ในด้านสวัสดิการมาก ขึ้น
โดยสรุป พัฒนาการการเมืองดีๆ หลายประการได้ลงรากลึกแล้ว แม้จะมีอุบัติเหตุการเมืองได้อีก แต่สิ่งดีๆ ที่กล่าวมา ส่อว่าการเมืองไทยมีแนวโน้มจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในระยะยาวซึ่งจะเป็นผลดีกับ นักธุรกิจ เศรษฐกิจ และทุกคนในประเทศ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลว่าทำไมจึงต้องต้านรัฐประหาร และจรรโลงระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย