ที่มา Thai E-News
โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
วันเสาร์ที่ 02 มิถุนายน 2012 เวลา 11:35 น.
1
มิถุนายน 2555 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้อ้างอำนาจตาม
“รัฐธรรมนูญ มาตรา 68” เพื่อรับคำร้องมาวินิจฉัยว่า
การดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
โดยรัฐสภาและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลจะสั่งการให้
“เลิกการกระทำ” ได้หรือไม่
นอก
จากนี้ ศาลได้มี “คำสั่ง”
ไปยังเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแจ้งให้รัฐสภารอการดำเนินการดังกล่าวจน
กว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย โดยข้อมูลจากรายงานข่าวนั้น
ไม่ชัดเจนว่าศาลได้สั่งไปยัง “สมาชิกรัฐสภา” โดยเจาะจง
หรือเป็นเพียงการสั่งไปยัง “เลขาธิการ” เพื่อ “แจ้งสภาให้ทราบ” เท่านั้น
(http://on.fb.me/LQrM7w )
ไม่
ว่าจะเป็นกรณีใด ผู้เขียนขออาศัยวันเดียวกันเขียนเชิญชวนให้เรา โดยเฉพาะ
“บรรดาผู้แทนของเรา” ร่วมกันใคร่ครวญว่า “รัฐสภา” ในฐานะ
“ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแทนปวงชนชาวไทยเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารและ
ตุลาการ” นั้น จะสามารถ “ปฏิเสธคำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ?
ใน
ขั้นแรก รัฐธรรมนูญ ได้กำหนดว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด
มีผลผูกพันรัฐสภา...” แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่า “คำสั่ง” ของศาลนั้น
มีผลผูกพันเด็ดขาดต่อรัฐสภาหรือไม่
ใน
ขั้นต่อมา การที่รัฐสภาจะตัดสินใจปฏิเสธหรือปฏิบัติตาม “คำสั่ง”
ของศาลหรือไม่นั้น รัฐสภาจะต้องปฏิบัติตาม “รัฐธรรมนูญ” อย่างน้อยสี่มาตรา
คือ
มาตรา 3 วรรค 2 บัญญัติว่า ทั้งรัฐสภาและศาล ต่างต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม
มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายอื่นจะมาขัดแย้งมิได้
มาตรา 291 (5) บัญญัติให้ รัฐสภามีหน้าที่ต้องพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สาม เมื่อพ้น 15 วันหลังเสร็จสิ้นการพิจารณาวาระที่สอง
และที่สำคัญ คือ มาตรา 122 ซึ่งบัญญัติว่า
“สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความ
ผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ
และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์”
ดัง
นั้น ประเด็นที่ “รัฐสภา” ต้องพิจารณาก็คือ หาก “รัฐสภา” ปฎิบัติตาม
“คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วไซร้
จะเกิดผลอะไรต่อบทบัญญัติทั้งสี่มาตราที่กล่าวมานี้ ?
กล่าว
อย่างตรงไปตรงมาก็คือ หากการปฎิบัติตาม “คำสั่งศาล” ดังกล่าว
มีผลเป็นการยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
อันเป็นการขัดหลักนิติธรรมทั้งโดยศาลและรัฐสภา
เป็นการละเมิดกำหนดเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
อีกทั้งส่งผลให้ผู้แทนปวงชนชาวตกอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย
หรือความครอบงำ ของศาลแล้วไซร้ รัฐสภาย่อมมี “หน้าที่”
ตามรัฐธรรมนูญที่จะปฏิเสธ “คำสั่ง” ดังกล่าว !
หาก
“รัฐสภา” สำนึกในหน้าที่ของตนได้ดังนี้
ผู้เขียนก็จะขอเสนอคำถามเบื้องต้นที่อาจช่วยตรวจสอบว่า “คำสั่ง”
ของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่านั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
คำถามแรก: ศาลใช้อำนาจ “เกินกรอบ” มาตรา 68 หรือไม่ ?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า
“บุคคล
จะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้
หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม
วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้”
ถ้อย
คำของ มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเฉพาะการกระทำที่เป็นการ
“ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ เท่านั้น
ซึ่ง “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ย่อมเป็นคนละเรื่องกับ “การใช้อำนาจหน้าที่”
เช่น การลงมติสนับสนุนหรือเห็นชอบการแก้ไข มาตรา 291
ลักษณะสำคัญของ “การใช้สิทธิเสรีภาพ” คือ
ผู้กระทำได้อ้าง “สิทธิเสรีภาพ”
เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ตนปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ และจะใช้หรืออ้าง
“สิทธิเสรีภาพ” หรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างการกระทำที่อาจเข้าข่าย มาตรา 68
อาจมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น
การดำเนินนโยบายพรรคการเมืองเพื่อยุยงให้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ
การนัดชุมนุมเพื่อทำให้คณะรัฐมนตรี
รัฐสภาหรือศาลไม่อาจทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
แต่ “การใช้อำนาจหน้าที่” นั้น
หมายถึง ผู้กระทำมิอาจเลือกได้อย่างอิสระว่า
ตนจะกระทำหรือไม่กระทำเพื่อประโยชน์ของตนตามที่ปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ
แต่เป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกำหนดให้กระทำไปเพราะมีอำนาจหน้าที่ต้องกระทำหรือ
ต้องใช้ดุลพินิจกระทำไปในฐานะส่วนหนึ่งของกลไลตามรัฐธรรมนูญ
เช่น
การที่สมาชิกรัฐสภาจะเสนอญัตติ หรือออกเสียงลงคะแนน
หรือกระทำการอื่นที่เกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 291 ก็ถือเป็น
“การใช้อำนาจหน้าที่” ซึ่งการใช้ดุลพินิจย่อมไม่อิสระ แต่อยู่ภายใต้ มาตรา
122 กล่าวคือ
จะอ้างว่ามีเสรีภาพใช้ดุลพินิจเพื่อตนเองหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้
และจะสงวนการใช้สิทธิเสรีภาพว่าขอละเว้น ไม่รับรู้
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในสภาก็ไม่ได้ เช่นกัน เป็นต้น
ข้อที่สำคัญกว่านั้น คือ หากมี “การตีความปะปน” ว่า “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญ กลายเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ตาม มาตรา 68 ไปเสียแล้วก็จะส่งผลแปลกประหลาดทำให้ ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรที่มีเขตอำนาจล้นพ้น สามารถรับเรื่องมาวินิจฉัยการใช้อำนาจหน้าที่ได้มากมาย
เช่น
การใช้อำนาจของคณะองคมนตรีในการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
พระองค์ตาม มาตรา 19 การใช้อำนาจของรัฐสภาในการเห็นชอบการประกาศสงครามตาม
มาตรา 189
การใช้อำนาจของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาในการเลือกผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง
เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 204 ก็อาจล้วนถูกศาลตรวจสอบได้ เป็นต้น
หรือ
แม้แต่การเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง หากมีผู้อ้างว่าเป็นการ
“ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ
ก็จะกลายเป็นว่า สามารถถูกตรวจสอบโดยศาลได้
โดยไม่ต้องรอให้มีการพิจารณาตามวาระของรัฐสภาเสียด้วยซ้ำ
และอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือตัดสิทธิทางการเมืองได้อีกด้วย !
ยิ่ง
ไปกว่านั้น หาก “สิทธิการยื่นคำร้อง” ตามมาตรา 68 ถูกตีความอย่างพร่ำเพรื่อ
เช่น
อ้างอำนาจตุลาการมายับยั้งการใช้ดุลพินิจของผู้แทนปวงชนได้ทุกกรณีแล้วไซร้
“สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” นี้เองอาจกลับกลายมาถูกนำมาใช้ในทางที่เป็น
“ปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ” ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ
และขัดต่อหลักการใช้สิทธิตาม มาตรา 28 อีกด้วย
(อนึ่ง
ผู้เขียนน้อมรับหากมีผู้เห็นต่างเรื่องสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและการแยก
แยะสถานะของ “เอกชน” และ “รัฐ”
ซึ่งก็หวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนในทางวิชาการต่อไป)
คำถามที่สอง: ศาลใช้อำนาจ “ข้ามขั้นตอน” อัยการสูงสุดหรือไม่ ?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติว่า
“ใน
กรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อ
เท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดัง
กล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”
ศาล
ตีความว่า ผู้ที่จะนำคดีมาสู่ศาล
จะเสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้ หรือ
จะยื่นคำร้องเองโดยตรงต่อศาลเลยก็ได้ ดังนั้น
ศาลจึงรับคำร้องได้โดยไม่ต้องรออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
คำถามก็คือ การตีความที่ว่านี้ ขัดต่อทั้งถ้อยคำและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งสร้างผลประหลาดตามมาหรือไม่
หาก
พิจารณาถ้อยคำ มาตรา 68 ว่า
“มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาล
รัฐธรรมนูญวินิจฉัย” การตีความของศาลทำให้เกิดปัญหาทางภาษาอย่างน้อย 2
ระดับ ระดับแรก คือ เสมือนศาลได้แทนคำว่า “และ” ด้วยคำว่า “หรือ”
และระดับที่สอง คือ ศาลได้ใช้ตรรกะภาษาที่ตีความขัดกับรูปประโยค
เพราะหากศาลมองคำว่า “และ” ให้แปลว่า “หรือ” ก็จะเท่ากับว่า
รูปประโยคไม่ได้ให้อำนาจ “อัยการสูงสุด” เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล
หาก
พิจารณาในแง่เจตนารมณ์ จะเห็นว่า “อัยการสูงสุด” มีบทบาทจำเป็นในการกรองคดี
เพราะศาลไม่มีทรัพยากรที่จะไปตรวจสอบหรือสืบสวนการ “ล้มล้างการปกครองฯ...”
ซึ่งอาจมีข้อเท็จจริงและพฤติกรรมที่ต้องอาศัยพยานหลักฐานจำนวนมาก
เห็นได้จาก คดีอื่นในทางมหาชน เช่น คดีทุจริต หรือ คดีพรรคการเมือง ก็จะมี
อัยการ ป.ป.ช. หรือ กกต. เป็นผู้นำคดีมาสู่ศาล หรือ
หากเป็นคดีที่ฟ้องตรงได้ต่อศาล
ก็จะต้องเป็นกรณีที่วินิจฉัยข้อกฎหมายและมีข้อจำกัดในเรื่องผู้มีสิทธินำคดี
มาสู่ศาล อีกทั้งป้องกันการกล่าวอ้างสารพัดมาเพื่อสร้างภาระคดีต่อศาลโดยตรง
การให้ความสำคัญกับอัยการสูงสุด ยังปรากฏหลักฐานจาก “รายงานการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ” ครั้งที่ 27/2550 เช่น คำอภิปรายโดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ในหน้าที่ 6-8 และนายจรัญ ภักดีธนากุล
(ผู้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในเวลานี้) ในหน้าที่ 32-34
ซึ่งอภิปรายถึงการให้อัยการสูงสุดเป็นผู้นำคดีไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ
และไม่ได้กล่าวถึงการให้สิทธิบุคคลอื่นยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาลแต่อย่างใด (
http://bit.ly/Mg9kLY )
นอก
จากนี้ การตีความของศาลก็ส่งผลประหลาด คือ ทำให้บทบาทของ “อัยการสูงสุด”
ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลนั้นไร้ความหมาย เพราะหากผู้ใดจะนำคดีไปสู่ศาล
ก็ย่อมยื่นต่อศาลโดยไม่เสนอเรื่องผ่านอัยการ
และหากผู้อื่นเสนอเรื่องเดียวกันให้อัยการในเวลาเดียวกัน
ก็จะเกิดคำถามตามมาว่าอัยการต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไปหรือไม่
เพราะศาลได้รับคำร้องเรื่องเดียวกันจากผู้อื่นที่ยื่นตรงต่อศาลไปแล้ว
ยิ่ง
ไปกว่านั้น การที่ มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจ “ยุบพรรคการเมือง” หรือ
“ตัดสิทธิทางการเมือง”
ก็คือการให้ตุลาการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมี
“อัยการ” เป็นกลไกในการกรองคดี
แต่หากศาลตีความเพิ่มอำนาจให้ตนเองได้อย่างกว้างขวางแล้ว
ก็จะเป็นช่องทางให้มีผู้ใช้ตุลาการเป็นอาวุธทางการเมือง
ซึ่งก็จะกลับมาทำร้ายตุลาการในที่สุด
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผู้
เขียนไม่ปฏิเสธเลยว่าการแก้ไข มาตรา 291
มีปัญหาและความไม่สง่างามหลายประการ
แต่นั่นคือปัญหาที่รัฐสภาเสียงข้างมากต้องรับผิดชอบทางการเมือง
และประชาชนก็ต้องจ่ายราคาของประชาธิปไตยที่จะอดทนเรียนรู้และตัดสินใจได้ดี
ขึ้นในครั้งต่อไป แต่ประชาชนจะไม่มีวันเรียนรู้โดยตัวเองเลย
หากเราปล่อยให้มีเสียงข้างน้อยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนำมาตรฐานจริยธรรม
และความพึงพอใจทางการเมืองส่วนตนมาลากประชาชนไปสู่ทางออกที่ตนยังไม่ทันได้
เข้าใจ
ดัง
นั้น หาก “รัฐสภา” พิจารณาได้ว่า “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น
เป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นเพราะ “เกินกรอบ” และ
“ข้ามขั้นตอน” ตามตามที่อธิบายมาก็ดี หรือ เพราะขัดหลักนิติธรรม
หรือหลักการแบ่งแยกอำนาจ หรือ หลักอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญก็ดี
(หรือสภาเห็นช่องทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการอนุโลมกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพ่งที่ศาลกำหนดขึ้นเอง “ระหว่างรอกฎหมาย” จากรัฐสภาก็ดี!) “รัฐสภา” ย่อมมี
“หน้าที่” ที่จะต้องปฎิเสธและไม่ปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ดังกล่าว
เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญแทนปวงชนชาวไทย อีกทั้งต้องร่วมต่อต้าน
ดำเนินการตรวจสอบ
รวมทั้งพิจารณาถอดถอนผู้ใดที่จงใจใช้อำนาจนอกวิถีรัฐธรรมนูญ
แต่
หากประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาปฏิบัติตาม “คำสั่ง”
อันขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อีกทั้งยัง “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่”
เมื่อพ้นเวลา 15 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้วไซร้ ก็พึงสังวรว่า
กลับเป็นประธานและสมาชิกรัฐสภาหรือไม่
ที่ร่วมลงมือละเมิดรัฐธรรมนูญของประชาชน และอาจต้องโทษอาญาเสียเอง
อ่านเพิ่ม
อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เสนอให้ล่ารายชื่อ ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้อหาผิดมาตรา 270 ได้
ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง
ข่าวจากสื่อ
- เครือข่ายประชาธิปไตยแห่ผูกผ้าดำหน้าศาลรธน. จี้ทบทวนมติ
- นายกฯ เปิดงาน"เทศกาลเที่ยวเมืองไทยในปี 2555"
- "ศันสนีย์"โฆษกรัฐบาลคนใหม่เผยพร้อมประชาสัมพันธ์งาน รบ.เชิงรุก
- ชี้ทางออก"ปรองเดือด"สู่"ปรองดอง"
- เสื้อแดงแจ้งธาริตเอาผิดมาร์ค-สุเทพฐานสร้างความปั่นป่วน
- ห่วงบานปลาย คอป.ห้ามทัพ พท.-ศาลรธน.
- นปช.นัดชุมนุมขับไล่ศาล รธน. พร้อมล่ารายชื่อถอดถอนใน 2 สัปดาห์
- "พานทองแท้" สอนมวย "มาร์ค"-จี้ขอโทษประชาชน ฐานปล่อยส.ส.โชว์เถื่อนในสภา
- ใช้ปมแก้รธน. ยุบเพื่อไทย ดูดสส.ตั้งรบ.
- "สมศักดิ์ เจียมฯ" เสนอรบ.-สภา "ชน" ศาลรธน. จี้พท.-นปช.ทบทวนยุทธศาสตร์การเมืองทั้งหมด
- นิติราษฎร์" แถลงชี้-ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- นิติราษฎร์แถลงชี้คำสั่งศาลรธน.ชะลอแก้รธน. 'ไร้อำนาจ'
- งามแต้ๆ เจ้า! "นายกฯ ปู" แต่งชุดพื้นเมือง-ผ้าซิ่นสีชมพูแอ่วเมืองพะเยา ปชช.แห่ต้อนรับเพียบ (ชมภาพชุด)
- กกต.เชียงใหม่เตรียมรับรองผลเลือกตั้งส.ส.ใน 7 วัน-"เกษม" ขอบคุณปชช.
- "จาตุรนต์"ปลุกกระแสต้าน"รัฐประหาร" ชี้ปม"ศาลรัฐธรรมนูญ"สั่งสภาฯระงับพิจารณาร่างรธน.
- “จาตุรนต์” ชี้ อำนาจประชาชนถูกปล้น- “ชนชั้นนำ” ไม่อยากปรองดอง - คาดเกิด “ยุบพรรค” อีกรอบ
- "ปู"ทำบุญเปิดหอฉันวัดเชียงบาน ชาวพะเยากว่า2,000คนต้อนรับแน่น
- อาจารย์เกษียร เสียดาย "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" คิดได้แค่นี้หรือ..!?!
- ขึ้นป้ายไล่"หมอวรงค์"ทำคนพิษณุโลกอับอาย
- โลกออนไลน์ เบื่อหน่ายพฤติกรรม ส.ส. ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภา
- "เรืองไกร" ฉวย! ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินสอบ "ณัฎฐ์" ดูคลิปหวิวในสภา อ้างนำความเสื่อมเสียมาสู่สภาฯ
- แกนนำนปช...."อย่าเป็นวัวลืมตีน"
- ข่าว"เหตุเกิดในมาเลเซีย" ข่าว"เมด อิน ไทยแลนด์" ข่าวกระพือ"ไฟใต้"
- "ณัฐวุฒิ" สวน "กรณ์" ขวางปรองดอง-ไม่ทวงข้อเท็จจริง "10เมษา" ตั้งแต่ยุค "รบ.อภิสิทธิ์"(ชมคลิป)
- เสียงก้องจาก 2 กูรู "ตุลาการ" ไม่มีอคติ ไม่มีล็อบบี้ ไม่มีใบสั่ง
- "ทักษิณ"เข้าสักการะพระธาตุหลวง-เผยซึ้งใจได้ทำบุญ แกนนำแดง อดีต ส.ส. แห่รับพรึบ (ชมคลิป)
- "จตุพร" ท้าตั้ง คตส.ตรวจสอบการทำงาน "มาร์ค-ชวน" เหมือนกับที่ทำกับ "ทักษิณ" ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
- "หาดใหญ่"อ่วมซ้ำ ไฟไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์กลางเมืองวอดเรียบ!
- "ทักษิณ"ทำบุญสีบชะตาที่ลาว ลั่นไม่นานเกินรอกลับไทย ขบวนแดงแห่ร่วมคึก
- “แม้ว” ทำบุญในลาวแฟนคลับเสื้อแดงแห่รับเพียบ
บทความจากสื่อ
- ประชาธิปัตย์...เปลี่ยนเถอะ !โดย ฐากูร บุนปาน
- กฤษฎีกาชี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งชะลอลงมติร่าง รธน.วาระ 3 ไม่เคยเกิดขึ้นในโลก บอกไร้ช่องทางต่อสู้
- เกม"แก้ รธน.291" สภาชน"ศาลรัฐธรรมนูญ" เกมค่ายกล′ยุบพรรค′?
- ปัญหา"มาตรา68" สกัด"ร่างแก้ไขรธน. แหลมคมจาก"นิติราษฎร์"
- งามหน้าสภาไทย ! เมื่อท่านประธานฯ ถูกจี้คาบัลลังก์
- แกะกล่อง "หัวใจสองสี" ขัตติยา สวัสดิผล
- "ทักษิณ-เพื่อไทย"ปรับแผน เปลี่ยน"รูปมวย"...รู้จัก"รอ" ย้ำภาพ"ฝ่ายมีเปรียบ"
- ฐากูร บุนปาน : เจรจา-ผิดตรงไหน?
- พระราชทานเครื่องราชฯ 'มหาปรมาภรณ์' แก่นายกฯ
- ซ่อนหลัง"หน้ากาก"
- ดร.โกร่ง คนเดินตรอก : การบริหารจัดการมหเศรษฐกิจ
- ยอดคลิกทะลุ! รวมข่าวที่มีคนอ่านมากที่สุดใน "มติชนออนไลน์" ประจำวันที่ 6เม.ย.2555
- วิเคราะห์ปัญหา-ค้นคว้าทางออกของเหตุความรุนแรงภาคใต้กับ "ชัยวัฒน์-รอมฎอน"
- ปฏิบัติการ "ป๋า" ภาค 2 สู้ "นารีพิฆาต" กับปากคำ "บิ๊กบัง" เรื่อง "ป๋า" และการเมืองแสนซับซ้อน ในมุม "ประยุทธ์"
- กลุ่มสตรีมองปมร้อน'โฟร์ซีซั่นส์'
- ดูกันชัดๆ บทบาทฝ่ายค้าน เล่นของ ว. 5 ปักทิ่ม ยิ่งลักษณ์ เอาให้ตาย!!
- ต่อสู้ 2 แนวทาง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ กรณี โฟร์ซีซั่นส์
- นิวัฒน์ธำรง-ลงธรรมาสน์ ธุดงค์ในทำเนียบ เผยแพร่ลัทธิเพื่อไทย กางสูตรรัฐบาล + พล.อ.เปรม = การเมืองนิ่ง
- ยกร่าง′รัฐธรรมนูญ′ และความห่วงใย ล็อกสเปก′สภาร่างฯ′
- "กุนซือ" คิด "ปคอป." พูด ข้อมูล-คีย์เวิร์ด "เยียวยา"