ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 23 June 2012

คำ ผกา กรี๊ด "คณะราษฎรที่ 2"

ที่มา Thai E-News



 performance นี้กระชากใจ ในขณะเดียวกันก็ขำแบบเสียดแปล๊บเข้าไปในใจ บังเกิดความเวทนาใน "คน" ผู้ไม่เคยรู้ตัวได้ถูกกำกับบทมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกในสังคมนี้อย่างไร


โดย คำ ผกา
ทีี่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 22-28 มิถุนายน 2555


หลัง การรัฐประหารมีกลุ่มนักศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งกลุ่ม "ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก" เพื่อยืนยันศักดิ์ศรีของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เมื่อถูกทำให้เป็น "ไทยๆ" แล้วมันหมายถึงการปู้ยี่ปู้ยำประชาธิปไตยให้กลายเป็นผลไม้ที่ชิงสุกก่อนห่าม กินไปก็เสาะท้อง

สถานะ "กิ๊ก" ของประชาธิปไตยในสังคมไทยยังบ่งบอกถึงการห้ามเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ ตามกฎหมายทั้งปวงเพราะความเป็น "กิ๊ก" มิใช่ "รักแท้"

ปีนี้ นักศึกษาจากทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกมาทำ กิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่น่าสนใจอีกนั่นคือการ "แสดง" ของพวกเขาในนามของ "คณะราษฎรที่ 2"

มองดู อย่างผิวเผินนี่เป็นเพียงกิจกรรมของ "เด็กๆ" เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎร แต่มองให้ผิวเผินน้อยลงอีกนิด กิจกรรมของนักศึกษากลุ่มนี้น่าตื่นเต้นมากกว่านั้น ไม่นับว่า "เทคนิค" ในการจัดกิจกรรม หรือเราอาจใช้คำว่า "การแสดง" ของพวกเขามีความร่วมสมัยและสื่อสารกับคนร่วมยุคสมัยร่วมเจเนอเรชั่นของพวก เขาอย่างที่ฉันขอใช้คำคุณศัพท์โบราณว่ามัน "เก๋" มาก

กลุ่ม คณะราษฎรที่ 2 (แค่ชื่อก็เก๋) เปิดตัวด้วยการทำวิดีโอสั้นๆ เปิดตัวพวกเขาในชุดทหาร และมีชุดพลเรือนหนึ่งคนที่น่าจะหมายถึง ปรีดี พนมยงค์ ภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เด็กหนุ่ม บุหรี่ เพลงในวิดีโอ สะพานพระราม 8 และประกาศคณะราษฎร เจตจำนงของระบอบประชาธิปไตย

ฉันอยากให้ผู้อ่านคอลัมน์ของฉันได้ดูวิดีโอนี้จริงๆ ถ้าสนใจกิจกรรมของพวกเขา เข้าไปดูที่ http://www.youtube.com/watch?v=5o8pLOSOTx8&feature=youtu.be

กิจกรรม ลำดับต่อมา คณะราษฎรที่ 2 ใน "คอสตูม" ของพวกเขาได้ไปยื่นหนังสือของยืมยุทโธปกรณ์ที่กองทัพบก เพื่อนำมาใช้ใน "กิจกรรม" ฉันดูคลิปนี้แล้วอยากจะยกให้เป็น Art Performance แห่งปี





กลุ่ม คณะราษฎรที่ 2 เปลี่ยนพื้นที่ "ทหาร" ให้กลายเป็น "เวทีการแสดง" นักข่าวกลายมาเป็น "นักแสดง" และ "ทหาร" ที่มารับหนังสือ ต่างเป็นนักแสดงที่พูดตาม "บท" เป๊ะ โดยที่ "บท" นั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการเขียนออกมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ต้องมีการซ้อมการแสดง ไม่ต้องซ้อมบทพูดเพราะ "เรา" ทุกคนในสังคมไทยต่างอยู่ใน "บท" และถูก "กำกับ" มาด้วยบทเดียวกัน เราจึงรับ-ส่ง บทของการแสดงนี้โดยไม่ได้คิดว่ากำลัง "แสดง"

ส่งผล ให้ performance นี้กระชากใจ ในขณะเดียวกันก็ขำแบบเสียดแปล๊บเข้าไปในใจ บังเกิดความเวทนาใน "คน" ผู้ไม่เคยรู้ตัวได้ถูกกำกับบทมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกในสังคมนี้อย่างไร

ขณะ ที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้ฉันรอชมกิจกรรมของพวกเขา (ที่พวกเราไปร่วมด้วยได้-จะเรียกว่าเป็น relational art ได้ป่าวเนี่ย) ที่จะมีขึ้นในเวลาย่ำรุ่ง วันที่ 24 มิถุนายน นี้

อัน ที่จริงในศตวรรษที 21 การพูดเรื่อง "ชาติ" มันเป็นสิ่งที่เชยและล้าสมัยยิ่งในสามโลก เพราะตั้งสี่สิบปีมาแล้วกระมังที่โลกตะวันตกตั้งคำถามถึงความศักดิ์ของชาติ ว่า "เฮ้ย มันเป็น inovation and always innovative" คือมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ทั้งประดิษฐ์แปลงร่างกลายพันธุ์กันไปตลอดเวลา มิใช่ว่า โลกหลังสมัยใหม่ของเรากำลังรื้อ "ชาติ" ทิ้งไปหรือ?

เราไป ทึ้งเอาธนบัตรมาดูว่าทำไมมันต้องเป็นรูปคนนั้นไม่เป็นคนนี้ ทำไมเป็นรูปอนุสาวรีย์นั้นไม่เป็นอนุสาวรีย์นี้ เราไปนั่งไล่เรียงดูแสตมป์ว่าในยุคไหนแสดงรูปอะไร เชิดชูอะไร ไปศึกษาเพลงชาติ เพลงปลุกใจ เพลงสดุดีต่างๆ นานา ไปนั่งสำรวจมิวเซียม ไปศึกษาประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์แห่งชาติเพื่อจะบอกว่า เรื่อง "ชาติ" มันเหลวไหลทั้งเพ อย่าไปยึดติดกับมัน ที่สำคัญ "อย่าไปตายเพื่อมัน"!!!

หลัง จากยุคแห่งความเป็น "ชาติ" ที่ต้องการการอุทิศ เสียสละ ความสามัคคี ความภูมิใจ เราได้เริ่มต้นที่จะอยู่กับ "ชาติ" ในแบบที่ "ชาติอย่างเป็นทางการ" ศักดิ์สิทธิ์น้อยลง อนุสาวรีย์ต่างๆ นานา มีความน่าขบขันมากขึ้น เราสบายใจกับการล้อเลียน เย้ยหยันชาติของตน เราสนุกกับคุณค่าของสิ่งที่เคยถูก "สถาบันชาติ" เหยียดหยามว่า "ไร้ค่า" ขึ้นมาเชิดชู และเราได้ทำอะไรอีกหลายอย่างรวมถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างที่สุดคือการเกิด ขึ้นของกลุ่มยูโรทั้งสกุลเงินและการทำวีซ่าสำหรับการเข้ายุโรปครั้งเดียวได้ หลาย "ชาติ"

แต่ นั่นเป็นเรื่อง "ชาติ" ที่อื่น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคือเรากลับต้องเดินย้อนรอยไปหายุคสร้าง "ชาติ" อีกครั้งแล้วบอกว่า "ช่วยกลับมาดูหน่อยว่า "ชาติ" นี้สำคัญและมีความหมายแค่ไหน"

ในขณะ ที่ โลกอื่น ชาติอื่น ให้ความสำคัญกับวันชาติน้อยลงเรื่อยๆ หากวันชาตินั้นไม่เกี่ยวกับการประกาศเอกราช อิสรภาพหรือการการปฏิวัติแตกหักกับระบอบเก่า หลายๆ ชาติๆ ไม่มีวันชาติ เช่น เดนมาร์ก มีแต่วันรัฐธรรมนูญ แต่ในสังคมไทย

พวกเรากลับต้องสะกดรอยไปค้นหาวันชาติในอดีตเพื่อจะสอบทานความถูกต้องและชาติที่เราปรารถนา

อุดมการณ์ ที่มาพร้อมกับการ "สร้างชาติ" เช่น หลัก 6 ประการของคณะราษฎร คือ "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา" เป็นคุณค่าที่คนเกิดหลังปี 2500 ไม่เคยได้ยินอีกต่อไปและไม่เคยรู้ว่ามันเคยเป็นคุณค่าสถาปนาให้กับ "ชาติไทย" (ชาติไทยในฐานะที่เป็นรัฐชาติสมัยใหม่) ที่เพิ่งจะถือกำเนิดขึ้นหลังปี 2475 ทั้งไม่เคยได้ยินคำว่า "หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของประชาชนไทยคือการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ"

จาก นั้นจึงไม่เคยรู้ว่าเราเคยมีอนุสาวรีย์ที่ชื่อ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" อันประชาชนชาวไทยปัจจุบันเรียกว่าอนุสาวรีย์หลักสี่ และเกือบจะเดาเอาเองว่า อนุสาวรีย์หลักสี่นี้อาจสร้างเป็นอนุสรณ์สถานให้กับคนสร้างถนนหลักสี่หรือ เปล่าวะ?

ทำไม จึงมีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดของชาติที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อราษฎรหรือประชาชนสำคัญที่สุดในชาติ ใครก็ย่อมไม่มีสิทธิละเมิดอำนาจสูงสุดของราษฎร และกฎหมายที่มาจากราษฎร

กลุ่ม กบฏบวรเดชคือกลุ่มที่พยายามก่อการ "ฉีกรัฐธรรมนูญ" ของราษฎร พวกเขาจึงถูกรัฐบาลในขณะนั้นปราบปราม มีตำรวจและทหาร 17 นายเสียชีวิตในคราวปราบกบฏบวรเดช จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารและตำรวจที่ปกป้อง พิทักษ์รัฐธรรมนูญ 

ใน ปัจจุบันสมัยของพวกเราก็อาจต้องมีการสร้างอนุสาวรีย์ให้กลุ่มคนที่ออกมาปก ป้องรัฐธรรมนูญเช่นกัน เพียงแต่รัฐธรรมนูญที่พวกเขาปกป้องนั้นเป็น "รัฐธรรมนูญปลอม" เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการโค่นอำนาจของประชาชน และฉีกรัฐธรรมนูญของประชาชนทิ้ง

ประชาชน ไทยที่เกิดหลังปี 2500 จึงไม่รู้ว่าเราเคยมีวัดชื่อ "วัดประชาธิปไตย" ตั้งมันซื่อๆ โต้งๆ อย่างนี้ให้สมกับเป็นชาติใหม่ ชาติใหม่ต้องการคุณค่าแบบใหม่ และคุณค่าที่คณะราษฎรหวังจะเพาะไว้ในแผ่นดินไทยคือคุณค่าของประชาธิปไตย สิทธิ เสมอภาค เสรีภาพเป็นหลักไว้ให้ประชาชนไทยจึงสร้างวัดของระบอบการปกครองใหม่ของเราว่า "วัดประชาธิปไตย"

แต่มันคงเป็นชื่อ radical เกินไปจึงกลายเป็นวัดที่เรารู้จักกันในชื่อ "วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน" ในปัจจุบัน

เรา ยังมีร่องรอยของชื่อถนนที่มีร่องรอยของการให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยและ ประชาชน เช่น ประชาราษฎร์บำเพ็ญ, ประชาอุทิศ หรือในสมุดแจกตามโรงเรียนในสมัยที่รัฐบาลของฝ่ายคณะราษฎรยังไม่ถูกโค่นล้ม ทำลายนั้น บนสมุดยังเขียนว่า "สมุดนี้พิมพ์จากภาษีราษฎร" อันตรงกันข้ามกับชื่อถนน และสาธารณสถานต่างๆ ที่ถูกตั้งชื่อหลัง 2500 

สาหัส กว่านั้น ล่าสุดฉันเข้าห้องน้ำที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เจอป้ายเขียนว่า "กระดาษชำระเป็นทรัพย์สินของราชการ โปรดใช้อย่างประหยัด"

โอ้โห...ตกลงวันนั้น พยายามดึงชายเสื้อลงไปเช็ด ไม่กล้าแตะต้องทรัพย์สินของทางราชการเลย-ใหญ่โตเหลือกำลัง

อยู่ๆ ประชาชนก็หายไปจาก "ชาติ" เหลือแต่ "ราชการ" อยู่ๆ ทรัพย์สินของราชการก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับภาษีของราษฎร อยู่ๆ การสถาปนาสร้างชาติอันมีหลักยึดอยู่ประชาชนอันเรียกกันว่า ประชาธิปไตยก็หายไปจากสังคมไทย

วัน ที่ 24 มิถุนายน กลายเป็นวันธรรมดาๆ วันหนึ่งที่ไม่มีความหมายอะไรเลยมานานหลายทศวรรษ ไม่เพียงแต่กลายเป็นวันธรรมดาๆ วันหนึ่งที่ไม่สลักสำคัญอะไร ยังถูกบิดเบือนความหมายให้กลายเป็นเพียงวันที่ "คณะบุคคลคณะหนึ่งบังอาจฯ" ทั้งยังมีการตอกย้ำความรู้เรื่องว่าการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเพื่อคืนอำนาจให้ปวงชนชาวไทยมิใช่ให้ "กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง"

การ อ้างพระราชดำรัสอย่างปราศจากบริบททำให้ คณะราษฎร กลายเป็น "ผู้ร้าย" ในประวัติศาสตร์ฉบับที่เป็น "ทางการ" และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อันเป็นผู้นำที่มีความเป็นประชาธิปไตยและ "รักชาติ" (ไม่ว่าจะในความหมายบวกหรือลบ) มากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย กลายเป็น ฟาสซิสต์จากปลายปากกาของนักประวัติศาสตร์ของ "ราชการ" 

ประชาธิปไตย กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม การเปลี่ยนแปลงการปกครองกลายเป็นเรื่องของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งที่ในงานวิจัยเรื่อง การปฏิวัติสยาม 2475 ของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เสนอไว้ชัดเจนว่าปราศจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญาของชนชั้นกลางไทยที่เกิดใหม่หลายสิบปีก่อน 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคณะผู้ก่อการ 100 คนจะไม่มีวันสำเร็จ

ปราศจาก การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในวงการวรรณกรรม สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ และสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ทำให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ล้วนแต่เป็นบุคคลในบังคับอังกฤษหรือฝรั่งเศส ทำให้พวกเขาไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นเหตุให้หนังสือพิมพ์สมัยนั้นสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างตรงไป ตรงมาและเผ็ดร้อนอย่างยิ่ง

วัฒนธรรม การอ่าน และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผยที่เกิดขึ้นนับสิบปีก่อนการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองคือปัจจัยที่ทำให้คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ มิใช่ด้วยความเก่งกล้าหาญของผู้นำคณะราษฎรเพียงลำพัง

แต่ความเข้าใจเช่นนี้ก็ถูกทำให้ "หาย" ไปจากสังคมไทยแล้วแทนที่ด้วยวาทกรรม "คนไทยยังโง่ ยังไม่พร้อม สำหรับประชาธิปไตย"

แม้ ว่าฉันจะอยากไม่ "รักชาติ" ให้สมกับที่เกิดมาในโลกยุคหลังสมัยใหม่ แต่การที่เราจะไม่รักชาติได้นั้นเราต้องมี "ชาติ" ให้ปรากฏเสียก่อน (หากไม่มีวัตถุใดวัตถุหนึ่งปรากฏอยู่ เราคงไม่สามารถบอกว่าเราจะรักมันหรือไม่รักมัน)

ดัง นั้น ฉันจึงดีใจที่มีการก่อตัวของคณะราษฎรที่ 2 ที่เขาจะนำความหมายของการสถาปนาชาติของคณะราษฎรเมื่อปี 2475 กลับมาสู่สังคมไทยอีกครั้ง