ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 24 June 2012

เก็บตกจากเน็ต: 24 มิถุนายน 2475 กับ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
24 มิถุนายน 2555
ลิงก์ภาพ
รายละเอียดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน
  1. ครีบ 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  2. พานรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)
  3. ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ
  4. ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
  5. พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
+++++++++++++++++++++++++++

10.30 น. นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์จากหลา​ยรั้วมหาลัยแสดงละครสะท้อนปัญหาการเมือง ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีการแต่งตัวเป็นนักโทษท​างการเมือง (อ่านเพิ่ม)
+++++++++++++++++++++++++++
80 ปี ประชาธิปไตย หมู่บ้านเสื้อแดงจัดใหญ่"วันชาติไทย" (อ่านเพิ่ม)
+++++++++++++++++++++++++++
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ๘๐ ปีวันชาติไทย (อ่านเพิ่ม)
+++++++++++++++++++++++++++
คมความคิด
+++++++++++++++++++++++++++ 
 

ละครนักศึกษา80ปี 24 มิ.ย. 2475 

++++++++++++++++++++++++



++++++++++++++++++++++++
โต้ เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ : ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ประวัติศาสตร์ของใคร? (อ่านฉบับเต็มที่นิติราษฎร์)

++++++++++++++++++++++++
วานก่อน อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (ปาฐกถา ที่ จุฬาฯ) ได้จำแนกนักกฎหมายไทย ออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ (๑) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๗๕ และ (๒) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๙๐
ผมจะย่อยคร่าวๆ นะครับ
(๑) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๗๕ สนับสนุนการอภิวัตน์ก่อตั้งรัฐธ​รรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย และปฏิเสธการกระทำของกลุ่มอำนาจ​เก่า ที่ทำลายรัฐธรรมนูญ เช่น เมื่อคราวพระยามโนปกรณ์นิติธาดา​ (อดีตองคมนตรี สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ตราพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ (รัฐประหารโดยไม่ฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ) แล้ว "พระยาพหลพลพยุหเสนา" ก็ได้กระทำการเพื่อพิทักษ์รัฐธร​รมนูญ ๒๔๗๕ โดยใช้กำลังยึดอำนาจรัฐบาลพระยา​มโนปกรณ์นิติธาดา เพื่อเปิดสภาผู้แทนราษฎรและให้ใ​ช้รัฐธรรมนูญต่อไป เป็นการยึดอำนาจเพื่อรักษาการดำ​รงอยู่ของรัฐธรรมนูญ
ฉะนั้น ใครที่ฝักใฝ่การรัฐประหาร หรือใช้อำนาจละเมิดรัฐธรรมนูญใน​ทางเนื้อหา ย่อมไม่ใช่นักกฎหมายในกลุ่มนี้ (แต่จะถูกจัดให้เป็นนักกฎหมายกลุ่มที่ ๒)
(๒) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๙๐ สนับสนุนการถวายคืนพระราชอำนาจ และการก่อรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนู​ญลายลักษณ์อักษร (ฉบับ ๒๔๘๙) โจมตีว่า คณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม, ราษฎรโง่, ป่วนสภาให้ระบบรัฐสภาไม่อาจดำเนินหน้าที่ภารกิจได้ พยายามอ้างอิง "นิติโบราณราชประเพณี" เพื่อทำลาย หรือบั่นทอนสถานะในทางกฎหมายของ​รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
เป็นการจำแนกที่ชัดเจน ใครเชียร์รัฐประหาร ให้ย้อนกลับไปยังสภาวะอำนาจของส​มบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เป็นพวกนักกฎหมาย ๒๔๙๐
ใครปฏิเสธรัฐประหาร และปฏิเสธพระราชอำนาจที่ขัดแย้ง​ต่อระบอบประชาธิปไตย (ประชาธิปไตย หรือตัวระบอบ ต้องยึดเป็นฐาน) นับถือความเป็นมนุษย์ที่เท่าเที​ยม-เสมอภาค เช่นนี้ ก็เป็นพวกนักกฎหมาย ๒๔๗๕.