ต้นแบบปฏิวัติ 2475-ภาพยนตร์ 1911 ซึ่งออกฉายในปี 2554 ที่ผ่านมา เฉลิมฉลองโอกาส 100 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนจากราชาธิปไตยสู่สาธารณรัฐ ทั้งนี้คณะก่อการ รศ.130ของไทยได้เอาอย่างการปฏิวัตินี้เป็นแม่แบบ ทั้งการแต่งตั้งนายแพทย์เหล็งให้เป็นหัวหน้าคณะก่อการ แบบเดียวกับนายแพทย์ซุนยัดเซ็น และอุดมการณ์ อย่างไรก็ตามการก่อการของคณะรศ.130ในปีพ.ศ.2555 หรือ 100 ปีที่แล้วล้มเหลวกลายเป็นกบฎ แต่คณะราษฎรได้สืบสานสายธารการปฏิวัติจนสำเร็๋จในปี2475
เชิญชมคลิปภาพยนตร์ 1911
ภาพยนตร์ เรื่อง 1911 (หนึ่งเก้าหนึ่งหนึ่ง) เล่าถึงเหตุการณ์ "การปฏิวัติชินไฮ่" ในปีค.ศ.1911 เมื่อกลุ่มนายทหารลุกขึ้นมาต่อต้านการปกครองแบบราชวงศ์ ของราชวงศ์ชิงที่มีมานานกว่า 267 ปี และยุติการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีมากว่า 2 , 000 ปี พร้อมกับ สถาปนาการปกครองแบบ สาธารณรัฐ ขึ้น
เรื่อง ราวทั้งหมดถูกเล่าผ่านตัวละครที่มีบทบาทในการปฎิวัติอย่าง แม่ทัพหวงซิ่ง (เฉินหลง) และเขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง และเป็นผู้นำคณะปฎิวัติของ ดร.ซุนยัดเซน (วินสตัน เชา) เขาได้ต่อสู้กับกองทัพของจักรพรรดิจนสามารถเอาชนะได้ โดยมี ซูจงฮั่น (หลี่ปิงปิง) ภรรยาเป็นที่ปรึกษาและคอยให้กำลังใจ
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
20 มิถุนายน 2555
คณะผู้มาก่อนกาล-ทหาร หนุ่มคณะรศ.130ช่วงติดคุกการเมือง หลังพ้นโทษได้เผยแพร่ความคิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อนายทหารหนุ่มใน รุ่นถัดมา ทำหนังสือพิมพ์โฆษณาให้คนไทยคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง และถอดบทเรียนให้คณะราษฎรก่อการ 2475 สำเร็จในอีก 20 ปีต่อมา
สมาชิกส่วนใหญ่ถูกโยนเข้าคุกไปเป็นเวลากว่า 12 ปี ความรุนแรงของตัดสินโทษของรัฐบาล สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ มีต่อเพื่อนๆของพวกเขาทํา ให้ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ สมาชิกคนหนึ งที ยังไม่ถูกจับกุมได้ลักลอบส่งจดหมายติดต่อกับเพื่อนที่ ต้องโทษทัณฑ์ว่า เขาจะเป็นผู้ถือ “ธงรีปัปลิ๊ก” นําขบวนการปฏิวัติปลดปล่อยเพื่อนออกจากการลงทัณฑ์โดยรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ แต่เคราะห์ร้ายที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลยึดจดหมายบับนี้ได้ทําให้เขาถูกจับกุมในเวลาต่อมา
ในระหว่างที่พวกเขาถูกลงโทษ สมาชิกหลายคนเสียชีวิตในคุก ร.ต.วาศ วาสนา หนึ่งในสมาชิกของคณะ เขาได้กล่าวกับเพื่อนๆในวาระสุดท้ายของชีวิตนักปฏิวัติว่า “เพื่อนเอ๋ย กันต้องลาเพื่อนไปเดี๋ยวนี้ ขอฝากลูกของกันไว้ด้วย กันขอฝากไชโย ถ้าพวกเรายังมีชีวิตได้เห็น”
การรับรู้การปฏิวัติจีนและความเคลื่อนไหวของ “ไทยเหม็ง”
หาก หันมาดูบทบาทของปรีดี พนมยงค์ แกนนําสายพลเรือนในคณะราษฎรซึ่งมีส่วนในการก่อตั้ง“คณะราษฎร” ขึ้นในปารีสเพื่อทําการปฏิวัติ 2475 จนสําเร็จนั้น ในเวลาต่อมา เขาได้เล่าย้อนถึงแรงดลใจของเขานั้นเกิดขึ้นจากความสําเร็จของการปฏิวัติจีน และความกล้าหาญของ “ไทยเหม็ง” หรือ “คณะ ร.ศ. 130” ว่า
“ฝ่าย พวกจีนเก็กเหม็งที่อยุธยาก็ได้ใช้วิธีโฆษณา โดยเช่าห้องไว้ที่ตลาดหัวรอไว้เป็นห้องอ่านหนังสือ มีภาพการรบเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้สนใจ ส่วนงิ้วที่ศิลปินจีนแสดงประจําที่วัดเชิง (วัด พนัญเชิง)นั้น ก็เปลี่ยนเรื่องเล่นใหม่ให้สมกับสมัย คือ เล่นเรื่องกองทหารเก็กเหม็งรบกับกองทหารกษัตริย์ จึงทําให้คนดูเห็นเป็นการสนุกด้วย”
ปรีดี ได้เล่าย้อนในวัยเด็กต่อไปว่า เขาได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เขาเห็น ชายจีนทุกคนตัดผมเปียทิ้ง ทั้ง ๆ ที่ได้ไว้เปียมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ชาวจีนเหล่านั้นอธิบายกับเขาว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีนเป็นผู้กําหนดให้ไว้ผมเปียได้ถูกล้มล้างไป แล้ว จีนได้เปลี่ยนการปกครองก้าวสู่สาธารณรัฐอันมีซุนยัดเซนเป็นผู้นํา
เขาบันทึกว่า “ในสมัยนั้น หนังสือพิมพ์ยังไม่แพร่หลายในสยาม โดยเฉพาะในจังหวัดบ้านเกิดของข้าพเจ้า บิดาข้าพเจ้าเห็นว่าข้าพเจ้ากระหายใคร่รู้ข่าวคราวต่าง ๆ มากนัก จึงได้นําหนังสือพิมพ์เก่า ๆ ของญาติของข้าพเจ้าคนหนึ่ง ซึ่งเป็นนายทหารแห่งกองทัพบกมาให้ข้าพเจ้าอ่าน ทําให้ข้าพเจ้ารับรู้ทีละเล็กทีละน้อยว่า ระบอบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น มีข้อเสียหรือข้อบกพร่องอย่างไร ชาวจีนจึงได้ต่อต้านการปกครองระบอบนี้ และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ”
นอก จากนี้ ครูวิชาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของเขาได้สอนให้เขารู้จักรูปแบบการปกครอง ฉบับย่อ ว่า “ครูสอนว่าแบบการปกครองประเทศแยกออกเป็นสามชนิด คือ ๑.พระเจ้าแผ่นดินอย่เหนือกฎหมาย เรียกว่า ‘สมบูรณาญาสิทธิราชย์’๒.พระเจ้าแผ่นดินอยู่ใต้กฎหมายการปกครองแผ่นดิน ๓.ราษฎรเลือกตั้งขึ้นเป็นประมุขเรียกว่า ‘รีปับลิก’… มีคณะเสนาบดี การปกครองประเทศตามความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร…ครูบางท่านที่ก้าวหน้าได้ ติดตามข่าวแล้วเอามาวิจารณ์ให้นักเรียนฟังว่า วันไหนฝ่ายใดชนะฝ่ายใดแพ้ ซึ่งทําให้ปรีดีและนักเรียนที่สนใจเกิดสนุกกับข่าวนั้น”
ต่อ มาในภายหลัง เขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า ครูมัธยมผู้นี้ อาจเป็นสายจัดตั้งของ“คณะ ร.ศ. 130” เพราะนําความคิดประชาธิปไตยมาเผยแพร่ แก่นักเรียน โดยเฉพาะในช่วงเกิดสงครามในประเทศจีนระหว่างฝ่ายเก็กเหม็งกับฝ่ายกษัตริย์ ราชวงศ์แมนจู
ครู ได้สอนอีกว่า “ ต่อมาในไม่ช้า ความปรากฏว่าฝ่ายกษัตริย์แห่งราชวงศ์แมนจูต้องพ่ายแพ้ ครูที่ก้าวหน้าจึงพดเปรย ๆ กับปรีดีว่า ระบบสมบูรณาฯ ก็สิ้นไปแล้วในจีน ยังเหลือแต่รุสเซียกับเมืองไทยเท่านั้น ครูไม่รู้ว่าระบบสมบูรณาฯ ใดใน ๒ ประเทศนี้ประเทศใดจะสิ้นสุดก่อนกัน”
การปฏิวัติจีนกับหนังสือ“ลัทธิตรัยราษฎร์” : การแพร่ กระจายของความคิด “ประชาธิปไตย”ในสังคมสยาม
ต้นแบบ-หมอซุนยัดเซ็น ผู้นำการปฏิวัติพ.ศ.2454 ต้นแบบของหมอเหล็งและคณะในปีต่อมา
นายแพทย์นักปฏิวัติ-ร้อย เอกนายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์ หรือ"หมอเหล็ง"ได้เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ เพราะประสงค์จะเจริญรอยตามจีนที่ได้นายแพทย์ซุนยัดเซ็นเป็นหัวหน้าคณะ ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จมาก่อนหน้านี้
ไม่ แต่เพียงการรายงานข่าวความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปสู่สาธารณรัฐของจีนจะ สร้างความตื่นตัวและสนใจให้กับสังคมสยามเป็นเวลาหลายปี ท่ามกลางความสนใจของสังคมสยามในช่วงกลางทศวรรษ 2460 ได้ปรากฎการแปลความคิดทางการเมืองของซุนยัดเซนและเหตุการณ์การปฏิวัติจีน เป็นหนังสือหลายเล่ม เช่น ซุ่ยเทียม ตันเวชกุล “สุนทรพจน์ของท่านซุนยัดเซน เรื่อง ความเพียรนำามาซึ่งผล หรือ เรื่อง การเก๊กเหมงในประเทศจีน ปี พ.ศ.2454”(2465) และ“มินก๊กอินหงี” (2467)
ต่อมา ตันบุญเทียม อังกินันทน์ ได้แปล “ลัทธิตรัยราษฎร์”ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสําคัญของซุนยัดเซนที่ถือได้ว่าเป็นคัมภีร์ของการปฏิวัติจีนเป็นตอนๆบนหน้าหนังสือพิมพ์หลักเมืองในช่วงปี 2468
การ นําเข้าความคิด“ประชาธิปไตย”แบบจีนและความคิดทางการเมืองของซุนยัดเซนผ่าน การแปลในหนังสือพิมพ์และตีพิมพ์เป็นหนังสือได้สร้างความหวั่นวิตกให้กับ รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ งเมื่ อ ต.บุญเทียมได้ตีพิมพ์ผลงานแปลความคิดของซุนยัดเซนเป็นเล่ม และใช้ชื อหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นสามภาษาซึ่งแสดงความเป็นสากลของความคิดว่า “ลัทธิตรัยราษฎร์ ซามินจูหงี (三民主義 San Min Chu I : The Three Principles of The People)”(2472)
จากบันทึกของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีต อธิบดีกรมตํารวจ นายทหารผู้ใกล้ชิด“คณะราษฎร” และอดีตนายทหารมหาดเล็กคนหนึ่งในขณะนั้น ได้บันทึกเรื่องราวในช่วงดังกล่าวว่า “ คณะหนังสือพิมพ์หลักเมืองของนาย ต. บุญเทียม เจ้าของโรงพิมพ์หลักเมือง ก็ได้เผยแพร่ ลัทธิไตรราษฎร์หรือซามินจูหงี ขึ้น ซึ่งลัทธินี้เป็นลัทธิการต่อสู้ที่น่าสนใจของคณะก๊กมินต๋องที่ต่อสู้มากับ ระบบเจ้าขุนมูลนายเป็น
ผลสําเร็จ... คําว่าเก็กเหม็งหรือการปฏิวัติก็เริ่มเผยแพร่ เข้ามาอย่ในความรู้สึกของคนไทย ”
ไม่นานจากนั้น รัฐบาลได้สั่งเก็บหนังสือเล่มดังกล่าวออกไปจากตลาดหนังสืออย่างรวดเร็วและนําไปทําลายทิ้ง หลังจากจําหน่ายได้เพียงไม่กี่เล่ม
โดยรัฐบาลขณะนั้นอาศัยอํานาจตาม พระราชบัญญัติสมุดเอกสารแลหนังสือพิมพ์ พระพุทธศักราช 2465
ด้วย เหตุนี้ การทําลายหนังสือดังกล่าวย่อมสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลขณะนั้นไม่ต้องการให้ความคิดการปฏิวัติและความคิด “ประชาธิปไตย”เข้ามาสู่สังคมสยาม
ภารกิจของคณะ ร.ศ.130 และศรีกรุงกับการสนับสนุนการปฏิวัติครั้งใหม่
หลัง จาก ปรีดี ว่าที่ นักปฏิวัติรุ่นใหม่ ได้ไปเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมาย เมื่อเขาสําเร็จการศึกษา เขาได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ฝรั่งเศสในปี 2463 พร้อมกับการนําการรับรู้การพยายามปฏิวัติของ“คณะ ร.ศ.130” ไปด้วย และต่อมา เขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่ งของ“คณะราษฎร” ที่ก่อตั้งขึ้นในปารีสเมื อ 2469 และได้ร่วมนําการปฏิวัติ 2475 ในอีกไม่กี ปีต่อมาจากนั้น โดยมี “คณะร.ศ.
130” เป็นแนวร่วมในการบ่มเพาะและปลุกกระแสความตื่นตัวของสังคมสยามให้พร้อมในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กําลังจะเกิดขึ้นต่อไป
ใน ระหว่างที่คณะ ร.ศ.130 ถูกจําคุกอย่างทรมานระหว่าง 2455-2467 ในบันทึกของสมาชิกของคณะได้บันทึกว่า แม้ว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่ ถูกทารุณ แต่ความคิดทางการเมืองของพวกเขายังคงสว่างไสว ทําให้พวกเขายังคงเคลื่ อนไหวทางการเมืองต่อไป ด้วยการลักลอบเขียนบทความแสดงการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์และนวนิยายส่งไปลงตามหนังสือพิมพ์การเมืองหลายฉบับ เช่น “จีโนสยามวารศัพท์” “ผดุงวิทยา”ของเซียวฮุดเส็ง “สยามราษฎร์” ของมานิต วสุวัต “ยามาโต” “วายาโม” “พิมพ์ไทย” “ตู้ทอง” และ “นักเรียน” เป็นต้น
หลัง พ้นโทษในปี 2467 สมาชิกหลายคนไปทํางานหนังสือพิมพ์ เช่น ร.ท.ทองดํา คล้ายโอภาศ ร.ต.จือ ควกุล ทํางานหนังสือพิมพ์ “บางกอกการเมือง” ซึ่งมีอุทัย เทพหัสดินทร์ เพื่อนนักปฏิวัติผู้มีหุ้นส่วนในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว
ส่วน ร.ต.บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ ร.ต.ถัด รัตนพันธุ์ ร.ต.สอน วงษ์โต ร.ต.โกย วรรณกุล และร.ต.เนตร ทํางานที ”ศรีกรุง” และ “สยามราษฎร์” ของมานิต วสุวัต
สมาชิก ของคณะร.ศ.130 ได้เล่าความมุ่งมั่นของพวกเขาในการทําหน้าที่นักหนังสือพิมพ์ว่า “ผู้ที่เคยก่อการ(คณะร.ศ.130)เป็นนักหนังสือพิมพ์แท้ มักตระหนักชัดแจ้งว่า (พวกเขา)เป็นส่วนหนึ่งของชาติหน่วยหนึ่ง
พอ เลิกงานแล้วมักจะออกเที่ยวคบค้าสมาคมตามสโมสรและแหล่งชุมนุมต่างๆ เพื่อสังสรรกลั่นกรองความคิดความเห็นและข่าวสารการเมืองเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน”
เผ่า ศรียานนท์
บทบาท ของเหล่าผู้มาก่อนกาลยังคงต้องการผลักดันการปฏิวัติของสยามต่อไป ดังที่ พล.ต.อ.เผ่า ในขณะนั้นเขามียศเพียงร.ต.ทหารมหาดเล็กฯได้บันทึกว่า เขาได้รับอิทธิพลทางความคิด “ประชาธิปไตย”จาก“คณะร.ศ.130” และต่อมานายทหารผู้นี้ได้ให้การสนับสนุนการปฏิวัติ 2475 และร่วมต่อสู้กับอํานาจเก่าจนเขาพ้นจากอํานาจไป
เขา ได้บันทึกต่ออีกว่า “(ความคิดปฏิวัติได้แพร่ เข้ามาอยู่ในกระแสความคิดของคนสยามและนายทหาร) เพราะพวกทหารที่คิดเก็กเหม็งหรือคิดปฏิวัติในรัชกาลก่อน(รัชกาลที 6)นั้น ก็มาทํางานตามโรงพิมพ์หนังสือรายวันต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพิมพ์ศรีกรุง เชิงสะพานมอญ และคําภาษาไทยใหม่ๆก็ได้เกิดขึ้นขนานค่กับลัทธิไตรราษฎร์ของดร.ซุนยัดเซนที่ เผยแพร่ ในหนังสือพิมพ์หลักเมือง เช่น คําว่า เสมอภาค ภราดรภาพ ดัง นี้เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องเร้าอารมณ์ของนายทหารหนุ่มๆ ยิ่งหนังสือพิมพ์หลักเมืองถูกปิด โรงพิมพ์ศรีกรุงถูกปิด ก็ทําให้มีนายทหารเป็นจํานวนมากแอบซื้อหนังสือพิมพ์นี้มาอ่าน ”
พล.ต.อ เผ่า ได้บันทึกความทรงจําต่อไปว่า ด้วยความกระหายใคร่รู้ของนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จํานวนหนึ ง พวกนายทหารเหล่านั้นได้เริ่มต้นค้นหาความหมายของคําว่า“เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ที่เคยเป็นแต่เสียงกระซิบกระซาบ ก็เกิดมีการค้นคว้ากันว่า มัน คือ อะไร”
และ เมื่ อนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จํานวนหนึ่ งเริ่มตระหนักสนใจในแนวคิดเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มระแคะระคายถึงความตื ่นตัวทางการเมืองดังกล่าว ทําให้เกิดการจัดตั้ง “สมาคมลับแหนบดํา”ขึ้นเพื อทําการต่อต้านการปฏิวัติ โดยสมาคมนี้มีหน้าที่ป้องกันการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที เริ่มปรากฎขึ้นภายในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
พล.ต.อ.เผ่าเชื อว่า พล.อ.พระยาสุรเดชรณชิต ทําหน้าที ่สืบข่าวและปรามความคิดทางการเมืองของเหล่านายทหาร
แม้ รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามจะติดตามกระแสความคิดที ่ไม่พึงปรารถนามิให้เผยแพร่ในกองทัพ แต่กระนั้นก็ดี ร.ต.บ๋วย สมาชิกคณะ ร.ศ.130 ก็ยังคงเพียรทําหน้าที เข้าไปเผยแพร่แนวความคิดในสโมสรนายทหารมหาดเล็กต่อไป
ดัง ที่ พล.ต.อ.เผ่า ได้บันทึกบทบาทของ “คณะร.ศ.130”ว่า “ลัทธิเก็กเหม็งหรือปฏิวัติแบบซุนยัดเซนก็กระพือสะพัดไปทั่ว นายทหารที่คิดการปฏิวัติเมื่อร.ศ.130 ก็เริ่มเป็นดาราดวงเด่นขึ้น มีคนอยากรู้อยากฟังเรื่องปฏิวัติใน ร.ศ.130 และส่วนมากของนายทหารซึ่งได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ในสมัยรัชกาลที่หกนั้น ก็เข้าทํางานหาเลี้ยงชีพอยู่ตามโรงพิมพ์เป็นส่วนมาก ผู้ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ ร.ต.บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ เป็นนักเขียนเรื่องเริงรมย์ทางสวาทชั้นยอด ร.ต.บ๋วยทํางานอยู่โรงพิมพ์ศรีกรุงได้มีโอกาสมาเยี่ยมทหารมหาดเล็กบ่อยๆและ ชอบเล่าเรื่องการปฏิวัติใน ร.ศ.130
บางคนถามว่าอยู่ในคุกลําบากไหม ร.ต.บ๋วยตอบว่า จะเอาอะไรล่ะคุณ เราก็เป็นทหาร เคยเป็นนักเรียนนายร้อย กินอย่างไรก็ได้ นอนอย่างไรก็ได้ ในคุกนั้นมีของทุกอย่าง เว้นไว้แต่ช้าง ไม่มี เพราะลอดประตูคุกเข้าไปไม่ได้ ทุกๆคนนิ่งฟัง ชมเชยในความกล้าหาญ อีกคนถามว่า กลัวถูกยิงเป้าไหม ร.ต.บ๋วยตอบว่า กลัวน่ะกลัวกันทุกคน แต่อย่างมากคนเราก็แค่ตายเท่านั้น ผมพดอย่างนี้จริงหรือไม่ แล้วสังคมก็ครื้นเครงอารมณ์ไปในทางเลื่อมใส ร.ต.บ๋วย บุณยรัตนพันธ์เป็นอย่างยิ่ง”
ร.ต.บ๋วย ได้พยายามเผยแพร่ แนวความคิด“ประชาธิปไตย”ให้กับนายทหารอย่างต่อเนื ่อง แม้ในเวลาต่อมา มีคําสั งห้ามมิให้นายทหารชวนคนภายนอกเข้ามาในสโมสร แต่ร.ต.บ๋วยก็ยังคงเพียรเปลี ยนแปลงความคิดของนายทหารต่อไปด้วยการส่งหนังสือพิมพ์มาให้ห้องสมุดนายทหาร มหาดเล็กเสมอ และได้ย้ายวงสังสรรค์ออกไปนอกกรมทหาร ตามรอบสวนเจ้าเชตุ บางวันก็ไปกินเลี้ยงกันตามร้านอาหารใหญ่ เช่น ร้านฮงเฮง ร้านฮั วตุ้น ตามแต่ขณะนั้นจะมีเงินมากหรือเงินน้อย
การ พบปะสังสรรค์แลกเปลี ยนความคิดทางการเมืองระหว่างร.ต.บ๋วยกับนายทหารคนอื ่นๆทําให้นายทหารเริ ่มรับรู้และเห็นด้วยกับความคิดทางการเมืองนั้น ดังที่ พล.ต.อ.เผ่าบันทึกไว้ว่า“เรื่องกบฏเก็กเหม็งในเมืองไทยและ ที่ในเมืองจีนซึ่งกําลังต่อสู้กันอยู่ก็เริ่มกระจ่างแจ้งในใจของผู้บังคับ หมวด คือ ร.ต.เผ่า ศรียานนท์”
การบรรจบกันของ“คณะร.ศ.130” กับ “คณะราษฎร” ในการปฏิวัติ 2475
ปรีดี พนมยงค์
เมื อปรีดีเดินทางกลับสู่สยาม ภายหลังที เขาสําเร็จการศึกษาและร่วมจัดตั้ง “คณะราษฎร” ที่ปารีสแล้ว เขาได้มีโอกาสพบปะกับ ร.ต.เนตร อดีตแกนนําของ“คณะ ร.ศ.130” ด้วย
เมื่ อมีความคุ้นเคยระหว่างกันมากขึ้น เขาได้เคยถามถึงสภาพชีวิตในคุกของเหล่าคณะร.ศ.130 และได้แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อโศกนาฏกรรมที่ เหล่าผู้มาก่อนกาลได้รับโทษทัณฑ์ และเขาได้ซักถามถึงสาเหตุของความล้มเหลวของ“คณะ รศ.130” คือ อะไร
เขา ได้รับคําตอบจากร.ต.เนตรว่า เกิดจากการทรยศหักหลังของคนในคณะนําความลับไปแจ้งแก่รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ ร.ต.เนตรมั ่นใจว่า หากไม่มีเหตุการณ์ทรยศดังกล่าว ร.ต.เนตรมั่ นใจว่าการปฏิวัติจะประสบความสําเร็จ
ความสัมพันธ์พิเศษระหว่างเขากับแกนนําใน “คณะร.ศ.130” นี้ เขาได้บันทึกยืนยันความสัมพันธ์นี้ว่า “ปรีดีสนใจในข่าวนี้มาก เพราะเห็น
ว่า เมืองไทยก็มีคณะ ร.ศ.130 รักชาติกล้าหาญ เตรียมเลิกระบบสมบูรณาฯ หากแต่มีคนหนึ่งในขณะนั้นทรยศนําความไปแจ้งแก่รัฐบาล ปรีดีจึงพยามสอบถามแก่ผู้รู้เพื่อทราบเรื่องของ ร.ศ.130ด้วยความเห็นใจมาก”
จาก ประสบการณ์ของ “คณะร.ศ.130” ที ่เขาได้รับฟังมา ทําให้เขาต้องสรุปบทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ดังที่ เขาบันทึกว่า “มีคนกลุ่มหนึ่งเช่นอย่างร.ศ.130 ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่จะทํา(การปฏิวัติ)แต่ถูกหักหลัง ถ้าไม่ถูกหักหลังเขาก็สําเร็จ...ผมก็เอาบทเรียนที่เขา(คณะร.ศ.130)พลาดพลั้ง มาศึกษา... ”
เมื่ อความสัมพันธ์พิเศษระหว่าง “คณะร.ศ. 130” กับ “คณะราษฎร” มีความแนบแน่นมากขึ้น จนนําไปสู่ความร่วมมือกัน ดังสมาชิกสําคัญใน“คณะร.ศ.130” ได้บันทึกถึงบาทบาทของพวกเขาในการสนับสนุนการปฏิวัติ 2475 ว่า “เราในโรงพิมพ์ศรีกรุงซึ่งมีสมองปฏิวัติอยู่แล้วแต่เดิม เมื่อเห็นเขาเต้นเขารําก็อดไม่ได้ มิหนําซํ้ามีบางคนได้ตกปากรับคํากับสายสื่อของคณะ พ.ศ.2475 เป็นทางลับไว้ด้วยว่า จะขออนุญาตเจ้าของโรงพิมพ์ใช้หนังสือพิมพ์ศรีกรุงเป็นปากเสียง(organ)ของคณะ 2475 ก็เผอิญนายมานิต วสุวัต ท่านเจ้าของโรงพิมพ์ศรีกรุงซึ่งมีนิสัยใจคอใคร่เห็นความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศชาติให้ทันสมัยอยู่่แล้วได้อนุญาตอย่างลูกผู้ชายนับแต่นั้นเป็นต้นมา ”
ความหมายของ“ประชาธิปไตย”ก่อนการปฏิวัติ 2475
ก่อน การปฏิวัติ 2475 ปรีดีรับราชการในกระทรวงยุติธรรมและเขายังได้ทําหน้าที ผู้สอนวิชากฎหมายปกครองในโรงเรียนกฎหมายและได้เขียนตํารา “คําอธิบายกฎหมายปกครอง”เล่มสําคัญขึ้น เพื อสอนเหล่านักเรียนกฎหมาย
ใน ตํารามีการจําแนกของคําว่ารัฐบาลในโลกนี้ ออกเป็น 2 แบบ คือ แบบแรก คือ รัฐบาลราชาธิปไตย ซึ งมีหลายชนิดตั้งแต่ รัฐบาลราชาธิปไตยอํานาจไม่จํากัด (Monarchie absolue)ซึ งพระเจ้าแผ่นดินมีอํานาจเต็ม จนถึง รัฐบาลราชาธิปไตยอํานาจจํากัด (Monarchie limitee)ซึ ่งพระเจ้าแผ่นดินไม่มีอํานาจในการแผ่นดิน
และแบบที สอง คือ รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลที ่มีหัวหน้าของผู้บริหารเป็นคนสามัญธรรมดา ไม่มีการสืบทอดตําแหน่งไปยังทายาท แต่การเข้าสู่ตําแหน่งมาจากมาจากการเลือกตั้ของประชาชนตามกําหนดเวลา รัฐบาลประชาธิปไตยมี สองชนิด คือ รัฐบาลที มีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้า เช่น ฝรั งเศส กับ รัฐบาลที อํานาจ
บริหารอยู่กับคณะบุคคล เช่น สหภาพโซเวียต
การ เรียนการสอนและการถกเถียงถึงรูปแบบการปกครองแบบต่างๆของโรงเรียนกฎหมายใน ช่วงก่อนการปฏิวัติ 2475 นั้น สร้างความตื่นตัวทางการเมืองให้กับผู้สนใจในความรู้สมัยนั้น โดยเฉพาะนักเรียนกฎหมาย จนกระทั ่งนายทหารผู้หนึ่ งขณะนั้นคนหนึ ่งบันทึกว่า “ มีข่าวแพร่มาว่า ที่โรงเรียนกฎหมายได้วิพากษ์วิจารณ์ลัทธิการปกครองแบบใหม่อย่างกว้างขวาง... ที่ของโรงเรียนกฎหมายอันเป็นแหล่งเพาะวิชาปกครองบ้านเมืองและเป็นสถาบันค้น คว้าวิชาการปกครองได้แพร่สะพัดออกมาว่า การที่เขาวิพากษ์วิจารณ์กันเช่นนั้นได้ เพราะเป็นสถานที่ๆให้การศึกษาวิชา
กฎหมายจึงไม่กีดกันความคิดเห็นแต่อย่างใด ”
เมื องานฉลองพระนคร 150 ปี (เมษายน 2475)ใกล้เข้ามา มีข่าวลือแพร่ สะพัดไปทั วตามเบียร์ฮออล์ บาร์ ร้านจําหน่ายสุรา สถานที่ เต้นรํา แม้กระทั งในสโมสรนายทหารว่า จะเกิดการจลาจล ทําให้รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์สั่ งการให้ตํารวจภูบาลซึ งเป็นตํารวจลับของระบอบเก่าปลอมตัวเข้ามาเป็นแขกขายเนื้อสเต๊ะเข้ามาสืบข่าว ในกรมทหารอย่างสมํ าเสมอ ประกอบกับบทบาทของ“ศรีกรุง” ได้ลงบทความโจมตีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างต่อเนื่ อง ทําให้เหล่านักหนังสือพิมพ์ชาว“คณะร.ศ.130” ถูกติดตามจากตํารวจภูบาลด้วยเช่นกัน
ข่าว การเข้ามาสืบข่าวของตํารวจลับแพร่ออกไป พล.ต.อ.เผ่าได้บันทึกว่า “ร.ต.บ๋วย บุณยรัตน์พันธ์ อาจารย์เก็กเหม็งก็หัวเราะร่วนในวงสุราว่า เห็นไหมล่ะ ผมว่าแล้วมีข่าวแปร่งๆในหมู่ทหารบก พวกเรานี่ เมืองไทยนั้นถึงคราวมาช้านาน ถ้าพร้อมเพรียงกันเป็นสําเร็จแน่”
ความคิด “ประชาธิปไตย”ในประกาศคณะราษฎร
ทหารคณะราษฎรแจกจ่ายเอกสารประกาศคณะราษฎร พร้อมเปล่งเสียงไชโยให้กับการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
พลัน ที ่การปฏิวัติได้เริ่มต้นขึ้น ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ปรีดี ได้รับภารกิจสําคัญจาก“คณะราษฎร” ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิถุนายน และร่าง “ประกาศคณะราษฎร”ซึ่ งถือเป็นคําประกาศอิสรภาพของราษฎรจากการปกครองระบอบเก่าและประกาศก้าวสู่ ระบอบใหม่ ว่า
“เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่า กษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอํานาจอย่เหนือกฎหมายเดิม
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง..คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้ กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกําหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอํานา จลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจําเป็นที่ประเทศจะต้องมีการ ปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นอยู่ใน ตําแหน่งตามกําหนดเวลา…"
ประกาศคณะราษฎรฉบับที่1
ัดัง นั้น จะเห็นได้ว่า แม้ความคิด“ประชาธิปไตย”ที่ เริ่มต้นขึ้นจากความคิดของ“คณะร.ศ.130”จะมิได้เกิดขึ้นจริง แต่ความคิดดังกล่าวยังปรากฏแพร่หลายในสังคมสยามโดยสื อผ่านเหตุการณ์การปฏิวัติในจีน หนังสือ“ลัทธิตรัยราษฎร์” ของซุนยัดเซ็นและปรากฏขึ้นมาอย่างสําคัญอีกครั้งในคําประกาศคณะราษฎร
เมื่ อพ้นเช้าแห่งประวัติศาสตร์ที่ เกิดการปฏิวัติในสยาม เมื อ 24 มิถุนายน 2475 ในช่วงบ่ายพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้า“คณะราษฎร” ได้เชิญ ร.อ.เหล็งและเหล่า“คณะร.ศ.130” มาที ่พระที่นั งอนันตสมาคม ซึ งขณะนั้นเป็นกองบัญชาการของ“คณะราษฎร” ในเวลา 13.00 น. หัวหน้า“คณะราษฎร” ได้ยื่ นมือสัมผัสกับอดีตผู้ก่อการรุ่นก่อนหน้า
เขาได้กล่าวกับ “คณะร.ศ.130” ว่า “ถ้าผมไม่ได้ไปเรียนที่เยอรมนี ก็เห็นจะเข้าอยู่ในคณะของคุณอีกคนเป็นแน่” เขาเล่าให้“คณะร.ศ.130” ฟังว่า ในเช้าตรู่ ของวันที 24 มิถุนายน ในระหว่างที เขาคุมกําลังทหารเข้าปฏิวัติ เขาได้จับกุมพระยากําแพงราม(แต้ม) ผู้ทรยศคณะร.ศ.130ได้ และต้องการสั่งยิงเป้าพระยากําแพงรามเพื อเซ่นธงชัยเฉลิมพลที สี ่แยกเกียกกาย แต่พระยาทรงสุรเดช แกนนําสําคัญของคณะราษฎร ได้ห้ามไว้
ส่วน พระยาทรงสุรเดช ผู้เป็นเพื ่อนนักเรียนนายร้อยทหารบกรุ่นเดียวกับร.ต.บ๋วย ได้กล่าวทักทายว่า “พอใจไหมบ๋วย ที่กันทําในครั้งนี้” อดีตนักปฏิวัติได้กล่าวตอบว่า “ พอใจมากครับ เพราะทําอย่างเดียวกับพวกผม”
และ ในบ่ายวันนั้น “คณะร.ศ.130” ได้พบกับปรีดี แกนนําฝ่ายพลเรือน เขาได้กล่าวกับกล่าวกับเหล่าผู้มาก่อนกาลว่า “พวกผมถือว่า การปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทําที่ต่อเนื่องกันมาจากการกระทําเมื่อ ร.ศ.130 จึงขอเรียกคณะร.ศ.130 ว่า พวกพี่ๆต่อไป”
เมื อการปฏิวัติในวันนั้นผ่านพ้นไป บรรดาเหล่าผู้ที่ ได้เคยสนับสนุนความคิด“ประชาธิปไตย”ได้ให้การสนับสนุน“คณะราษฎร” เช่น การบริจาคสิ ่งของ และการจัดพิมพ์สิ ่งพิมพ์สนับสนุนการปฏิวัติ 2475 โดย ต. บุญเทียม ผู้แปลหนังสือ“ลัทธิตรัยราษฎร์” และ“คณะร.ศ.130” ได้เข้าสนับสนุนการปฏิวัติครั้งนี้อย่างแข็งขัน
พวก เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของประวัติศาสตร์ เช่น ร.ต. เนตร จรูญ ณ บางช้าง ต่อมา สมาชิกบางส่วนได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที มีความกล้าหาญและมีฝีปากกล้าในการคัดค้านพระราชประสงค์ของพระปกเกล้าฯที ่ขัดรัฐธรรมนูญซึ ่งเป็นตัวอย่างสําคัญยิ่งของประวัติศาสตร์สภาผู้แทนราษฎร เช่น ร.ต. สอน (ชัยนาท) ร.ท.ทองคํา(ปราจีนบุรี) และร.ต. ถัด (พัทลุง)
สมาชิก บางส่วนกลับเข้ารับราชการภายหลังที ่“คณะราษฎร”นิรโทษกรรมความผิดที ผ่านมาให้ นอกจากนี้ พวกเขาได้สนับสนุนพิมพ์หนังสือเอกสารสนับสนุนการปฏิวัติออกแจกจ่ายด้วย รวมทั้ง มานิต วสุวัต ผู้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ที เสียสละยอมให้หนังสือพิมพ์ของตนเป็นหัวหอกในการสนับสนุนการปฏิวัติได้รับการ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนชุดแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทยเช่นกัน
แม้ “คณะราษฎร” จะทําการปฏิวัติเปลี่ ยนแปลงระบอบการปกครองของสยามได้ แต่กลุ่มอํานาจเก่ามิได้ถูกขจัดไปทั้งหมด ทําให้การปฏิวัติ 2475หาได้ปลอดจากการต่อต้าน เห็นได้จากกลุ่มอํานาจเก่าให้การสนับสนุนกบฎบวรเดช(2476) แต่ “คณะราษฎร”ก็สามารถปราบกบฏบวรเดชลงได้
และ ต่อมามีการจัดงานฌาปนกิจศพเหล่าทหารและตํารวจ ฝ่ายคณะราษฎร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เชิญ“คณะร.ศ.130” ร่วมเป็นเจ้าภาพงานศพเจ้าหน้าที ฝ่ายรัฐบาลที สละชีวิตปกป้องระบอบใหม่
แบบและประสบการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศสในความคิดของแกนนําคณะราษฎร
วัฒนธรรมปฏิกริยาต้านปฏิวัติ-ฝ่าย ปฏิกริยาได้ผลิตงานโฆษณาชวนเชื่้อออกมาจำนวนมากเพื่อต่อต้านการปฏิวัติ หนึ่งในนั้นคือนวนิยาย"สี่แผ่นดิน"ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเป็นละครเวทีที่เต็มไปด้วยชุดวาทกรรมประณามการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เช่น"ทรยศต่อพระเจ้าแผ่นดิน ,ชิงสุกก่อนห่าม ,คิดเอาอย่างฝรั่งโดยหลงลืมวัฒนธรรมและัการเมืองแบบไทยๆ" ตลอดจนโหยหาชีวิตในสทัยราชาธิปไตยว่าเต็มไปด้วยความสุขสมบูรณ์ชวนฝัน จนถึงล่าสุดเขียนบทให้ 1 ในคณะปฏิวัติรำพึงรำพันสารภาพผิดที่ก่อการปฏิวัติในวันนั้น
ภาย หลังการปฏิวัติ 2475 สังคมสยามมีความตื่ นตัวกับการเปลี ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวอย่างมาก เห็นได้จากในขณะนั้น มีการผลิตหนังสือที กล่าวถึงประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั งเศสหลายเล่ม เช่น “ประวัติศาสตร์สมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส”(2477) “ปฏิวัติฝรั่งเศส ฉบับพิศดาร” และ “ขุมปฏิวัติ(ปฏิวัติฝรั่งเศสฉบับประชาชน)”
มี การเกริ ่นนําในหนังสือว่า “ดุเดือดที่สุด… เลวร้ายที่สุด…ทารุณี.สุด…แต่ก็ดีที่สุด ปฏิวัติฝรั่งเศสระเบิดขึ้นในปี ค.ศ.1789 ไม่ใช่แต่ฝรั่งเศสเท่านั้นเปลี่ยนโฉมหน้าไป โลกทั้งโลกก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเป็นการพลิกประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่”
สอง ปีหลังการปฏิวัติ เราจะเห็นท่าทีของนายปรีดีที มีความประนีประนอม เนื ่องจาก เขาอาจคิดว่า กลุ่มอํานาจเก่าคงจะไม่ต่อต้านการปฏิวัติ 2475อีก และเขาต้องการทํางานมากกว่าการพะวักพะวงกับปัญหาการต่อต้าน เขากล่าวว่า เป้าหมายของเขาอยู่ที่ ความสุขสมบูรณ์ของประชาชนมากกว่าการเปลี ยนแต่เพียงแบบ และเขาวิจารณ์การปฏิวัติฝรั งเศส 1789 ว่า การปฏิวัติฝรั งเศสเป็นการปฏิวัติที ไม่สมบูรณ์(Revolution imparfaite) เนื องจากให้ความสําคัญกับการ“เปลี่ยนแบบ เปลี่ยนบุคคลผู้เป็นประมุขแห่งการปกครอง” มากกว่าการสร้างความสุขสมบูรณ์ของประชาชน การดําเนินการของคณะปฏิวัติฝรั่ งเศสจึงนําไปสู่การช่วงชิงอํานาจทางการเมืองที ไม่รู้จบ เขาเห็นว่า แบบการปฏิวัติฝรั งเศสที ่หาได้มุ่งสู่ความสุขสมบูรณ์เป็นแบบที ไม่ควรนํามาใช้กับสยาม
ในขณะที ในเวลาต่อมา จอมพล ป. เพื ่อนนักปฏิวัติในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวอย่างตระหนักถึงผลที ่จะตามมาภายหลังการปฏิวัติของ“คณะราษฎร”จากการต่อต้านโดยกลุ่มอํานาจเก่าต่อ สภาผู้แทนฯในปี 2482 หลังรัฐบาลได้ปราบปรามการก่อการบกบฎและก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มอํานาจเก่าลงได้ เช่น กบฏบวรเดช การลอบสังหาร“คณะราษฎร” และตัวเขา(2476-2481) เขาได้กล่าวว่า “การเปลีjยนแปลงการปกครองนัhน ใช่ว่าจะเปลีjยนแต่ระบอบแล้วย่อมเป็นการเพียงพอ ...ยังต้องคอยควบคุมดูแลมิให้ถอยหลังกลับเข้าสู่ที่เดิมอีก ู ”
และในปี 2483 เขาได้กล่าวย้ำกับสภาผู้แทนฯอีกว่า “ระบอบเก่าและระบอบใหม่นี้จะต้องรบกันไปอีกนานจนกว่าระบอบใดจะชะนะ และผมขอยืนยันว่า ในชั่วชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วยจะต้องรบกันไปอีกและแย่งกันระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้ ”
บท ความนี้ ขอสรุปด้วยการยกคําพูดของ ปรีดี แกนนําสําคัญใน“คณะราษฎร” ผู้ร่างประกาศคณะราษฎร(2475) ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกที สุด(2475) ผู้เคยไม่เห็นด้วยกับการนําแบบการปฏิวัติฝรั งเศสมาใช้(2477) ผู้เคยเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์(2484-2489) และต่อมาเขาได้พยายามปรองดองและปลดปล่อยกลุ่มอํานาจเก่าโดยหวังว่า กลุ่มอํานาจเก่าจะลืมความขัดแย้งในอดีต และร่วมมือกันสร้างสรรค์การปกครองที่ ยอมรับอํานาจประชาชน(2488)
ไม่ นานจากนั้นเขาได้ถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวข้องกับการสวรรคต(2489-2490) และพ้นอํานาจไปด้วยกลุ่มคนที่เขาเคยทําดีด้วย(2490) ในเวลาต่อมา เขาได้วิเคราะห์การเมืองไทยด้วยสายตาของนักปฏิวัติในช่วงปลายแห่ง ชีวิต(2526)ที่น่าคิดว่า
“ในเมืองไทยเวลานี้ ซากทาส-ศักดินายังมีพลังมากหรือน้อยเพียงใดก็ไม่ควรประมาท คิดว่าได้อํานาจรัฐแล้ว จะไม่มีซากเก่าคอยจองล้างจองผลาญอย่างนั้นหรือ ? ”