ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 9 June 2012

โวหารและความเห็นต่างกฎหมายหมิ่นฯ (1): อภิปรายโดยประวิตรและครูเบน

ที่มา ประชาไท


เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา เวลา 19.00 น. ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา มีการจัดงานเสวนา "Rhetoric and Dissent: Where to next for Thailand's lese majeste law?" (วาทกรรมและความเห็นต่าง: อนาคตของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับประเทศไทย) มีวิทยากรร่วมเสวนา ได้แก่ เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ศาสตราจารย์ด้านเอเชียศึกษามหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสเดอะ เนชั่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนและนักเขียน แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตนักข่าวอาวุโสรอยเตอร์และผู้เขียนหนังสือ "Thai Story" ดำเนินรายการโดยผู้สื่อข่าวอิสระ ลิซ่า การ์ดเนอร์
โดยในตอนแรก นำเสนอการอภิปรายของประวิตร โรจนพฤกษ์ และเบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ดังนี้




วิพากษ์สถาบันผ่านมุมมองความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
ประวิตร เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า ที่ผ่านมา การถกเถียงเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่ยังถูกจำกัดอยู่เพียง ด้านกฎหมาย ตนจึงอยากจะพูดถึงด้านวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ซึ่งไม่ค่อยถูก พูดถึงมากนัก จึงอยากจะอภิปรายประเด็นของสถาบันกษัตริย์ผ่านทางมุมมองของศาสนา
เขาตั้งข้อสังเกตว่า ในแง่หนึ่ง การเคารพนับถือสถาบันกษัตริย์ก็เหมือนกับเป็นความสบายใจด้านจิตวิทยา โดยเป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวด้านจิตใจโดยเฉพาะในหมู่รอยัลและอัลตร้ารอ ยัลนิสต์ ที่ต้องการหาที่พึ่งทางจิตใจจากความเกลียดชังที่มีต่อนักการเมือง จึงจำเป็นจะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ไว้ และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จึงทำหน้าที่นั้นเพื่อไม่ให้มีการวิจารณ์ต่อสถาบัน
นอกจากนี้ ในฐานะที่สถาบันกษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิคล้ายกับศาสนา จึงต้องมีพิธีกรรมมาประกอบ เช่น ดนตรีพระราชนิพนธ์ เพลงขับร้อง หนังสือ และงานต่างๆ เพื่อเชิดชูเกียรติสถานะของสถาบัน ยังรวมถึงการใส่เสื้อสีเฉพาะต่างๆ และสติ๊กเกอร์ที่แปะอยู่ตามท้ายรถ เพื่อแสดงความจงรักภักดี
ประวิตรตั้งข้อสังเกตว่า พระสงฆ์อย่าง อย่างว.วชิรเมธี ก็มีส่วนในการเผยแพร่คำสอนของพระมหากษัตริย์เพื่อมาเสริมให้เข้ากับคำสอนทาง ศาสนาผ่านทางสื่อกระแสหลักได้เป็นอย่างดี และเพื่อให้พล็อตเรื่องนี้สมบูรณ์ จึงต้องมีผู้ร้ายหรือ "ซาตาน" อยู่ด้วย ซึ่งในขณะที่สมัยก่อนผู้ร้ายคือคอมมิวเนิสต์ แต่ปัจจุบัน "ซานตาน"?ก็จะเป็นทักษิณ และผู้สนับสนุนคือเสื้อแดงนั่นเอง
และสำหรับฝั่งที่มีทัศนคติวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันกษัตริย์ หรือเป็นฝ่าย "สนับสนุนซาตาน" จึงมักจะเห็นว่า ชีวิตของฝ่ายนี้จึงต้องประสบกับอุปสรรคมากเกินกว่าคนปรกติทั่วไป
นักข่าวอาวุโสผู้นี้มองว่า สิ่งที่เป็นปัญหาอีกข้อหนึ่ง ก็คือ สื่อกระแสหลักของไทยเองก็ยังอยู่ในสภาวะที่ปฏิเสธการถกเถียงเรื่องนี้ โดยเซ็นเซอร์ตนเอง และกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากชนชั้นนำที่จะได้ประโยชน์จากการขาดการตรวจสอบและความ โปร่งใส
สุดท้าย เขาสรุปว่า เรื่องนี้มีความสำคัญเพราะเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานและเสรีภาพในการแสดงออกของ ประชาชน ซึ่งในอนาคตก็คงขึ้นอยู่กับว่าสังคมไทยจะมีวุฒิภาวะมากแค่ไหน
"เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา มาถึงจุดที่ย้อนกลับไปไม่ได้แล้ว" ประวิตรกล่าว

สถาบันกษัตริย์กับความศักดิ์สิทธิ์ที่เปลี่ยนแปลง 
ด้าน เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ซึ่งในขณะนี้กำลังเขียนบทความทางวิชาการเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เหลือใน โลก 27 ราชวงศ์ หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของประเทศในสหประชาชาติ ตั้งข้อสังเกตว่า ในหมู่สถาบันกษัตริย์ที่มีความเข้มแข็งและน่าจะอยู่รอดได้อย่างยืนยาว มีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากแต่ในปัจจุบันนี้ แทบจะไม่ได้ถูกนำเอามาใช้เลย
อย่างในนิตยสารหรือ หนังสือพิมพ์ในประเทศอังกฤษ ก็มีมุกตลกเสียดสีราชวงศ์ที่มีความแสบสันต์ แต่สถาบันกษัตริย์อังกฤษนี้ก็เข้มแข็งมากพอที่จะปล่อยคนที่อยากจะหัวเราะให้ หัวเราะไป น่าสังเกตว่า การเพิ่มขึ้นโทษของกฎหมายหมิ่น จะสูงขึ้นเมื่อสถาบันเกิดความกลัว ตัวอย่างเช่นในยุโรป ประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นแรงสุดก็คือสเปน ทั้งนี้ ก็มีเหตุผลที่สืบเนื่องจากข่าวในทางลบเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์สเปน เสียจนกระทั่งถึงจุดที่ทำให้นักข่าวและนักการเมืองออกมาพูดว่าถึงเวลาที่ กษัตริย์ต้องสละราชย์แล้ว โดยแอนเดอร์สันมองว่า นั่นก็เป็นวิธีที่ดีในการหาทางออกหากสถาบันมีสมาชิกและปัญหาที่น่าไม่พึ่ง ประสงค์ แต่สำหรับวิกฤติการณ์ในปัจจุบัน สเปนก็ยังไม่กล้าเอาคนเข้าคุกมากนัก เพราะข่าวเสียๆหายๆ มันไกลออกไปมากแล้ว
เขาเล่าว่า ปัญหาล่าสุดที่ทำให้สถาบันกษัตริย์สเปนอยู่ในภาวะนี้ คือทริปไปล่าสัตว์ป่าที่บอตสวานาของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสที่สอง ในขณะที่สเปนกำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจอย่างสาหัสและมีประชาชนว่างงานจำนวน มาก และค่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้ ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากเศรษฐีซีเรียผู้เป็นมือขวาของกษัตริย์ซาอุดิอาระ เบีย เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์เรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในกรุงเมกกะ นอกจากนี้ การที่เขาเป็นประธานกิติมศักดิ์ของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก ก็ยิ่งทำให้การขุดคุ้ยเรื่องนี้โดยสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้นและส่งผลเสียแก่ สถาบันกษัตริย์มากขึ้น
"จะเห็นว่าไม่เพียงแต่ซาตานจะเป็นต่อมากขึ้นเท่านั้น แต่พระเจ้าเองก็ทำตัวไม่ได้ดีไปสักเท่าไร" แอนเดอร์สันกล่าว
อีกสิ่งที่ต้องจำไว้คือ สถาบันกษัตริย์ในหลายประเทศก็ไม่ได้อยู่รอดตลอดไป เพราะย่อมถึงเวลาที่สมาชิกในราชวงศ์จะหมดไป ช่วงหลังนี้ เหล่าราชวงศ์จึงเลยมีส่งเสริมให้ปฏิบัติตนดีเป็นพิเศษ เพราะมิเช่นนั้น หากประสบอุปสรรคจากหลายด้าน ประเทศก็อาจต้องกลายเป็นสาธารณรัฐในที่สุด
สิ่งที่สองที่ตนอยากเน้น แต่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันมากนัก โดยหากพูดตรงไปตรงมาก็คือว่า ถ้าดูสถิติจาก นสพ. บางกอกโพสต์ จะเห็นว่าผู้ชายไทยที่บวชเป็นพระหรือเณร เมื่อสิบปีที่มีอยู่ราวหกล้านคน แต่เมื่อปีที่แล้วเหลือเพียงหนึ่งล้านหาแสนคน ซึ่งนับว่าเปลี่ยนไปเยอะมากในระยะสิบปี โดยเหล่านักบวชหายไปประมาณ 70% เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสื่อ ความเป็นเมือง (urbanization) และปัจจัยอื่นๆ นี่หมายความว่าพื้นที่ของความศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้มีมากเท่าเดิมอีกต่อไป และสำหรับสถาบันกษัตริย์ที่เมื่อก่อนมีรังสีและความศักดิ์สิทธิ์ด้านศาสนา จึงเป็นสิ่งที่ต้องควรนำมาพิจารณาคู่กันด้วย
ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เล่าถึงการเดินทางผ่านเมืองต่างๆ ในภาคใต้ของไทยเมื่อสองสามปีที่แล้ว ก่อนวันการเลือกตั้งทั่งไปหนึ่งวัน ที่เขานั่งรถผ่านจังหวัดชุมพร เพชรบุรี และอื่นๆ ก็หาดูป้ายข้างถนนเพื่อสำรวจว่าป้ายการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์จะมีมาก แค่ไหน แต่เขาแปลกใจมากที่หาเจอไม่มากนัก ทั้งๆ ที่พื้นที่ตรงนี้เป็นฐานเสียงของประชาธิปัตย์ แต่ป้ายที่เขาพบเจอมาก นอกจากป้ายโฆษณากิจกรรมของวัดต่างๆ ซึ่งคิดเป็นราวร้อยละ 30 ที่เหลือ กลับกลายเป็นป้ายที่มีรูปภาพของสถาบันกษัตริย์เต็มไปหมด ราวกับกำลังทำการหาเสียงอยู่ในการเลือกตั้ง โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นปรากฎการณ์ที่แตกต่างไปจากเมื่อราว 40 ปีก่อน และแทบจะหาที่อื่นในโลกไม่ได้อีกแล้วที่มีปรากฏการณ์เช่นนี้
"ยิ่งมีความกลัวมากเท่าไร ไม่เพียงแต่กฎหมายหมิ่นฯ จะรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีอีกด้านที่ขนานกันไปด้วย นั่นก็คือการรณรงค์ขนานใหญ่ ผมคิดว่าที่ทำโดยข้าราชการและตำรวจ เพื่อกระหน่ำติดป้ายภาพต่างๆ ของสถาบันกษัตริย์ตามถนน และร้านค้าต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งในแง่หนึ่งมันอาจจะเข้าใจได้ แต่มันยากที่จะหาที่ไหนอื่นในโลกที่มีการทุ่มเทพลังงานมหาศาลลงสู่อะไรแบบ นี้" แอนเดอร์สันตั้งข้อสังเกต พร้อมกับกล่าวว่า หากว่าเป็นในอังกฤษหรือสวีเดน จะไม่มีอะไรแบบนี้ เพราะมันเยอะเกินไป เราต้องรู้ว่าเราจะอยู่อย่างมีเหตุผลกันอย่างไร
สุดท้าย แอนเดอร์สันเล่าเรื่องสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ว่า แต่ก่อน เมื่อเขาไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ หลังหนังฉายจบจะมีคลิปสั้นๆ ของพระราชินีกำลังขีม้า แต่ผู้ชมก็จะไม่ชอบใจเป็นอย่างมาก อีกสิบปีถัดมาในทศวรรษ 1960 จึงได้เปลี่ยนเอาคลิปดังกล่าวมาฉายก่อนภาพยนตร์จริง คู่กันกับโฆษณาขายช็อคโกแลต ป๊อบคอร์น ฯลฯ ซึ่งคนดูก็จะรอให้โฆษณาจบลงแล้วถึงเข้าไปดู แต่ในที่สุด คนก็สามารถดูหนังได้ทุกเรื่องโดยไม่จำเป็นต้องดูหนังสั้นของสถาบัน เพราะทางราชสำนักได้ยกเลิกการฉายหนังสั้นดังกล่าวในโรงภาพยนตร์ เพราะประชาชนตั้งคำถามมากขึ้นว่าทำไมต้องมีพิธีกรรมเหล่านี้
"คือเราก็ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันบ้าง แต่ไม่ใช่ทุกที่ ทุกเวลาผมคิดว่าคนเราจะต้องมีความยืดหยุ่นและความเข้าใจที่มากขึ้นว่าสังคม ไทยทุกวันนี้เป็นอย่างไรและมุ่งหวังที่จะเป็นอย่างไร" แอนเดอร์สันกล่าว