ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Thursday, 24 May 2012

จากปัญหาชายแดนใต้-การกระจายอำนาจ ความเป็นไปได้ของโมเดล'เชียงใหม่มหานคร'-'นครปัตตานี'

ที่มา Thai E-News


งานเสวนา "จากแบ่งแยกดินแดนถึงการกระจายอำนาจ ความเป็นไปได้ ณ ปัจจุบัน" เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ณ ร้าน Book Re:public



เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ปัตตานีฟอรั่ม(Patani Forum) ร่วมกับร้านหนังสือ Book Re:public จัดงานเวทีสาธารณะ "Patani Cafe @Chiangmai" เสวนาเรื่อง"จากแบ่งแยกดินแดนถึงการกระจายอำนาจ ความเป็นไปได้ ณ ปัจจุบัน"
 
นายดอน ปาทาน
นายดอน ปาทาน ผู้สื่อข่าวอาวุโส เดอะเนชั่น กล่าว ว่า หากลองมองอาเซียนโดยเอาเส้นแบ่งเขตแดนออก แล้วใช้วัฒนธรรม อัตลักษณ์เป็นอาณาเขต จะเห็นความเป็นอัตลักษณ์ข้ามพรมแดน ฉะนั้นเวลามอง 3 จังหวัดชายแดนใต้จึงไม่ควรมองเฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งไทย
"กบฏ" หรือ "ความรุนแรง"ในภาคใต้ เป็นเรื่องของการเจรจาต่อรองที่ยังไม่จบ ความรุนแรงเป็นบทสะท้อนของ "การทูตที่ล้มเหลว"
คน ทั่วไปมักจะมองไปไม่ถึงเนื้อหาของปัญหาชายแดนใต้ โดยมักจะมองว่า คนสอนศาสนาอิสลามผิด เป็นโจร หลงศาสนาตัวเอง สำหรับตนคิดว่าปัญหาชายแดนใต้อยู่ที่ปัญหาอัตลักษณ์ของความเป็นไทยกับอัต ลักษณ์ของมาลายูมันชนกัน ไม่สามารถไปด้วยกันได้ "เรื่องเล่า"ทางประวัติศาสตร์ก็ไม่ไปด้วยกัน ถ้าหาจุดต่อรองไม่ได้ความรุนแรงนี้ก็ไม่หยุด เพราะผู้ก่อความรุนแรงก็ใช้จิตวิญญาณของอัตลักษณ์และเรื่องเล่าที่ต่างกันใน การสร้างรุ่นใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่ได้ใช้ศาสนาสร้าง
มี หลายเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ข้อหนึ่ง คือ หลายคนมักจะมองว่าเป็นเรื่องศาสนามุสลิมตีกับศาสนาพุทธ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นเรื่องของชาติพันธุ์และชาตินิยม
อีก เรื่องหนึ่งคือคิดที่ว่าความรุนแรงเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งถ้าย้อนดูแล้วจะเห็นว่า กลุ่มกบฏที่จับอาวุธขึ้นมาอย่างปูโร บีอาร์เอ็น บีอาร์พีพี เริ่มมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 60 ซึ่งตนอยากให้นักวิชาการย้อนดูเหมือนกันว่าตอนกลายเป็นรัฐไทยใหม่ทำไมอยู่ กันได้ถึง 60 ปี เขามีกระบวนการเจรจาต่อรองกันอย่างไร
เรื่อง ต่อมา คือ มักจะคิดว่าเด็กวัยรุ่นติดยา หลงศาสนา รวมถึงมักมองว่ากระบวนการนี้เป็นกระบวนการเดียวกัน มีผู้นำและองค์กรชัดเจน ซึ่งตนเห็นว่ามีช่องว่างระหว่างคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ มีกลุ่มรุ่นเก่าที่วางอาวุธในช่วง "ใต้ร่มเย็น" แล้วไม่ได้จับอีกเลยก็มี มีบางกลุ่มที่ไปอยู่ต่างประเทศแล้วพยายามติดต่อกับนักรบในพื้นที่และรัฐบาล เพื่อทำกระบวนการสันติภาพก็มี
อีก เรื่อง คือ คนทั่วไปมักคิดว่า คนจาก 3 จังหวัด 4 อำเภอชายแดนใต้อยากจะแยกประเทศไปอยู่กับมาเลเซีย ซึ่งไม่ใช่เลย คนสามจังหวัดยอมที่จะอยู่กับรัฐไทยแต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขของเขา ไม่ใช่บนเงื่อนไขของกรุงเทพฯ คือ มีอัตลักษณ์ มีเรื่องเล่ามีฮีโร่ที่เป็นของเขา
อีก ประเด็นที่มักเข้าใจผิดกัน คือ พวกกลุ่มนักรบผลิตโดยปอเนาะห์ โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งก็ไม่จริง เท่าที่ตนได้ตระเวนไปตามหมู่บ้าน ร้านน้ำชาคึกคักกว่าปอเนาะห์อีก ซึ่งแน่นอนว่ามีเด็กจากปอเนาะห์เข้าร่วม แต่ก็จะเป็นกลุ่มเล็กๆหลายกลุ่ม มาหลายที่
ใน ทางสาธารณะรัฐบาลมักจะอ้างว่าไม่คุยหรือเจรจาต่อรองกับกลุ่มพวกนี้ แต่ความจริงแล้วตั้งแต่ปี 1980 มีการบินไปคุยกันที่ต่างประเทศตลอด แล้วเรื่องก็เงียบหายไปเกือบสิบปี พอปี 2004 ก็ปะทุขึ้นมาอีก ปี 2005 มีการคุยที่ลังกาวีโดยนายกฯต่างประเทศมาเลเซียจัดให้ คุณอานันท์(ปัญญารชุน)ไปรับข้อเสนอแต่ก็ไม่เกิดอะไรเพราะ รัฐบาลสมัยทักษิณมั่ววุ่นอยู่กับการเมืองในประเทศ มีการเจรจาต่อรองตลอดแต่ไม่สำเร็จเพราะพยายามจะต่อรองครั้งเดียวให้จบ ซึ่งตนคิดว่าการต่อรองไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคคลอย่าง ทักษิณ หัวหน้าผู้ก่อความรุนแรง แต่ขึ้นอยู่กับสังคม เวลาต่อรอง ต้องต่อรองกับสังคม ต้องทำให้เขารู้สึกเหมือนกับเป็นเจ้าของประเทศ ตอนนี้เขารู้สึกเหมือนเป็นเมืองขึ้น มีทหาร 30,000 กว่าคน มีเจ้าหน้าที่ที่ติดอาวุธอีก 30,000 กว่าคน อยู่ในเมือง
หลาย คนมักเสนอ "เขตปกครองพิเศษ" เพื่อเป็นทางออกของปัญหา3จังหวัดชายแดนใต้ แต่ถ้าเราดูการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ทุกพรรค ยกเว้นประชาธิปัตย์ชูนโยบาย "นครปัตตานี" แต่ก็ไม่มีใครได้เก้าอี้ เพราะหลังจากกรณีตากใบ พิสูจน์แล้วว่าระบบสภานั้นล้มเหลว ฉะนั้นการจะแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ที่ออกไปจากกรอบนี้ จะหวังพึ่งเพียงแค่ ศอบต. ไม่ได้ เพราะทำตามแต่ระบบราชการ
"เขต ปกครองพิเศษอาจจะดีก็ได้ แต่ผมยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร ผมเคยสัมภาษณ์กบฏบีอาร์เอ็นที่ต่างประเทศ เขาตอบว่า ไม่รู้ว่าเขตปกครองพิเศษหมายความว่าอะไร ปัญหาของเรามันเป็นเรื่องศักดิ์ศรี และ Space(พื้นที่-ประชา ธรรม) มีถนนของเราไหม มีชื่อผู้นำของพวกเราไหม ชื่อหมู่บ้านบางหมู่บ้านก็เปลี่ยนชื่อเป็นไทย...คือเขาไม่มีส่วนร่วม ไม่มีความเป็นเจ้าของ"
 
นายชำนาญ จันทร์เรือง
นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ กล่าว ว่า เชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ไม่ต่างจากที่ปัตตานี แนวคิดการจัดการตนเองมีมานานแล้วหลายสิบปี แต่สิ่งที่เป็นตัวเร่งให้เกิดร่างพ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯคือสถานการณ์การ เมืองเหลือง-แดงในช่วงที่อภิสิทธิ์เป็นนายก เนื่องจากเมื่อนายกฯจะลงพื้นที่ก็มีม๊อบมาต้านตลอด คนที่เดือดร้อนก็คือคนเชียงใหม่ทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงที่ไม่ประกอบ ธุรกิจไม่ได้ จึงนำมาสู่การคุยกันของคนเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง (แต่กลุ่มที่ฮาร์ดคอก็ปฏิเสธที่จะคุย) ซึ่งประเด็นตรงกัน คือ การรวมศูนย์อำนาจปัญหาที่ทำให้เราแก้ไขปัญหาของเราไม่ได้ ก็เลยมีการจัดเวทีพูดคุย จนนำมาสู่การร่างพ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร
หลัก การส่วนใหญ่ของพ.ร.บ.ฉบับนี้รับมาจากญี่ปุ่น และกรุงเทพมหานคร แต่มันแตกต่างจากที่อื่นโดยมีหลักสำคัญอยู่ 4 ข้อ คือ หนึ่ง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค เหลือแต่ราชการส่วนกลางและท้องถิ่นเต็มพื้นที่ ไม่ใช่ไข่แดงแบบพัทยา แบ่งเป็นสองระดับ ข้างบนกับข้างล่าง ข้างบนเรียกว่า "เชียงใหม่มหานคร" ข้างล่างเรียกเทศบาล(อบต.เปลี่ยนเป็นเทศบาลหมด)โดยแบ่งหน้าที่กันทำชัดเจน ไม่ได้หมายความว่าให้เชียงใหม่มหานครเป็นผู้บังคับบัญชาของเทศบาล ระดับเชียงใหม่มหานคร หัวหน้าฝ่ายบริหารเรียกว่า "ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร" ในส่วนของฝ่ายบริหารจะทำทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข แต่จะไม่ยุ่งอยู่ 4 เรื่อง คือ การทหาร การต่างประเทศ ระบบเงินตรา การศาล
สอง มีสภาพลเมือง เพื่ออุดช่องว่างจุดอ่อนระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน เช่นการซื้อเสียง ขายเสียง การฮั้วกัน โดยมีตัวแทนจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ทำหน้าที่ในการตรวจสอบติดตามเพื่อถ่วงดุลอำนาจการบริหาร แต่ไม่มีหน้าที่ในการตัดสินเพราะมีองค์กรปปช.และศาลอยู่แล้ว
สาม รายได้ภาษีอากรทั้งหลายจากที่เคยจัดสรรมาเป็นงบประมาณเชียงใหม่ ประมาณร้อยละ 25 เปลี่ยนใหม่เป็นรายได้ทั้งหมดร้อยละ 70 ให้ท้องถิ่น อีกร้อยละ 30 เก็บเข้าส่วนกลาง โดยให้ท้องถิ่นเป็นคนเก็บ
อีก อันหนึ่งซึ่งอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักแต่ทุกคนใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้น คือ ตำรวจขึ้นอยู่กับท้องถิ่น จะมีองค์กรดีเอสไอก็ไม่มีปัญหา แต่จุดประสงค์หลัก คือ แก้ไขปัญหาตำรวจคนเดียว ดูแล ตำรวจทั้งประเทศ 2-3 แสนคน
หลัง จากยุบส่วนภูมิภาคแล้ว ข้าราชการส่วนภูมิภาคสามารถเลือกได้ว่า จะกลับไปอยู่ส่วนกลางโดยสังกัดกระทรวง ทบวงกรม หรืออยู่กับท้องถิ่นโดยขึ้นกับผู้ว่าฯ
ส่วนกำนัน ผู้ใหญ่ก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ปรับบทบาทเป็นฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นหัวหน้าฝ่ายตำรวจ
"ผม ตอบแทนไม่ได้ว่า (แนวคิดเรื่องการจัดการตนเอง) เหมาะหรือไม่เหมาะกับพื้นที่สามจังหวัด แต่โดยธรรมชาติของคนไม่ว่าชาติไหน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิในการจัดการชีวิตตนเองในระดับหนึ่งต้องมี หลักร่วมกันต้องมี แต่ผมคิดว่าถ้ารวมกัน 3 จังหวัด ฝ่ายทหารคงระแวง โอกาสต้านคงเยอะ แต่ถ้าใช้จังหวัดเป็นฐานแบบของเชียงใหม่ โอกาสจะเกิด จะง่ายกว่า"